Skip to main content

โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล*

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ธงทองกล่าวว่า เมื่อพูดถึงมาตรา 112 มีคำถามในเชิงปรัชญากฎหมายว่า การที่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทใครคนใดคนหนึ่งกับผู้มีตำแหน่งแห่งหนหรือ ตำแหน่งหน้าที่ ควรจะรับโทษหนักขึ้นหรือไม่อย่างไร คิดว่าเป็นข้ออภิปรายทางกฎหมายได้อย่างยาวมาก ซึ่งจะพบว่าถ้าตรวจสอบในกฎหมายอาญาของเรา เราได้คุ้มครองหรือเพิ่มความคุ้มครองพิเศษ โดยเฉพาะมาตรา 112 คุ้มครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือแม้เจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน  ก็ได้รับโทษหนักขึ้นเหมือนกัน แม้กระทั่งผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ก็มีบทบัญญัติพิเศษคุ้มครอง จะต้องรับโทษมากกว่ากรณีปกติ

ดู 'ธงทอง' วิเคราะห์ในเวทีอียู ม.112 vs เสรีภาพในการแสดงความเห็น  ใน http://www.prachatai3.info/journal/2013/02/45056 (เผยแพร่เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖)

ต่อคำอภิปรายข้างต้นของ ธงทอง จันทรางศุ ผมจะแยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี คือ กรณีที่หมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ กับ กรณีที่หมิ่นศาลและเจ้าพนักงาน

๑.มาตรา๑๓๓ หมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ - พิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้

๑.๑ การบังคับใช้ - มาตรานี้ตั้งแต่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มา ๕๔ ปี ยังไม่เคยปรากฎคดีเข้าสู่ศาลเลย อาจจัดประเภทได้ว่า เป็น 'กฎหมายที่นอนหลับอยู่' (แต่ไม่ตาย) , ทีนี้เวลาดูกฎหมาย เราต้องพิจารณาในทางปฏิบัติการ ว่า เมื่อมาตรานี้ไม่เคยปรากฎว่า ใช้บังคับเลย (เช่น คุณด่า ประธานาธิบดีอเมริกา , รัสเซีย , ปาปัวนิวกินี เข้ามาตรานี้ทั้งสิ้น แต่ไม่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ กันเลย , คือไม่มีการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้

๑.๒ การดำรงอยู่ในระบบกฎหมาย - ดังกล่าวใน ๑.๑ กฎหมายนอนหลับได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันตาย ,มันยังดำรงชีพอยู่ในระบบกฎหมาย ถามว่าควรดำรงอยู่ในระบบกฎหมายหรือไม่ ; คำตอบคือ ไม่ควร, แล้วทำไมแก้เฉพาะมาตรา๑๑๒? ; คำตอบคือ มาตรา ๑๑๒ ใช้ถี่ ใช้บ่อย และมีปัญหาวิกฤตอย่างยิ่งยวด , ดังนั้น "เรื่องที่สำคัญกว่าย่อมมาก่อน" (มาตรา๑๓๓ ไม่มีการใช้อยู่แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่ดำรงอยู่ในระบบเท่านั้น ซึ่งควรกำจัดเช่นกัน แต่ไม่รีบเร่งเท่า ๑๑๒) 

๒. ส่วนกฎหมายห้ามหมิ่นศาล, เจ้าพนักงาน ทั้งนี้เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ - กฎหมายในเรื่องนี้กำหนดโทษแรงกว่าบุคคลทั่วไป แต่สังเกตนะครับว่า

ก.กฎหมายพวกนี้ไม่คุ้มครองความเป็นอยู่ส่วนบุคคล ของบุคคลที่เป็นศาล เจ้าพนักงาน แต่คุ้มครองในวงกรอบงานเท่านั้น

ข.กฎหมายพวกนี้ไม่คุ้มครองนักการเมืองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ (สมมติด่า นักการเมืองหรือ ส.ส. ว่าไอ้เหี้ย - ก็เป็นความผิดลหุโทษ ไม่ใช่ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน)เพราะมันยก บุคคลเป็นอีกกลุ่มที่คุ้มครองอยู่ใน มาตรา ๑๔๙ แยกระหว่าง เจ้าพนักงาน กับสมาชิกสภานิติบัญญัติ ในทางกฎหมายตีความกันว่า ฉะนั้น มาตราที่กำหนดเจ้าพนักงาน จึงไม่รวมถึง สมาชิกสภานิติบัญญัติ

ค.ทั้ง ๆ ที่ ประมุขของรัฐปฏิบัติหน้าที่และก่อตั้งโดยฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ดุจเดียวกับนักการเมือง

ง.การกระทำของประมุขของรัฐในมาตรา๑๑๒ ครอบคลุมทั้งเรื่องที่เป็นการปฏิบัติในหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติและเรื่องส่วนตัวหรือนอกกรอบอำนาจตามกฎหมาย (ไม่แยก แบบในข้อ ก.) จึงเอามาเทียบเคียง เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ดูหมิ่นศาล ไม่ได้เลย 

จ.ความเป็นส่วนตัวของประมุขของ รัฐ กับ การปฏิบัติหน้าที่ แยกออกจากกันไม่ได้โดยสภาพ เพราะทุกขณะเวลา องค์กรประมุขของรัฐ ใช้งบประมาณแผ่นดิน ตามพรบ.งบประมาณประจำปี อยู่ทุกชั่วขณะ ในการบำรุงชีพ กล่าวได้ว่า ประมุขของรัฐ ไม่มีสภาพส่วนตัวในแต่ละขณะเลย เพราะทุกขณะชีวิตที่ครองตำแหน่งประมุขของรัฐ เป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งสิ้น (เงินสาธารณะ)

ฉ.นอกจากนี้ เจ้าพนักงาน และศาล หากปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วยกฎหมาย  , กฎหมายบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเหล่านี้ต้องรับผิดตั้งแต่จำคุกไปยังขั้นสูงถึง ประหารชีวิต ครับ กล่าวได้ว่า ภายใต้กรอบการคุ้มครองที่ยิ่งกว่า บุคคลเหล่านี้มีพันธะความรับผิดที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป (เช่นพนักงานบริษัท ทำผิดกฎ ทุจริต ก็เพียงไล่ออก เป็นต้น) ซึ่งกรณีต่างกับกษัตริย์ที่จะฟ้องร้องกล่าวโทษมิได้ 

บทสรุป

ธงทองฯ เอามาตรา ๑๑๒ ไปเทียบ กฎหมายหมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ (ไม่มีการบังคับใช้ในความเป็นจริง) หมิ่นศาล หมิ่นเจ้าพนักงาน (มีโทษสูงกว่าบุคคลธรรมดา) ไม่ได้หรอกครับ เพราะการคุ้มครองเจ้าพนักงาน ยิ่งสูงเพียงใด มันแปรผันตรงกับ "ความรับผิดชอบที่สูงด้วยเช่นกัน" (เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ โทษขั้นสูงคือ ประหารชีวิต) แต่กรณีหมิ่นบุคคลตามมาตรา ๑๑๒ มัน "แปรผกผัน" กับ "ความรับผิดชอบของคนที่กฎหมายคุ้มครอง" (มาตรา ๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะฟ้องร้องกษัตริย์ในทางใดมิได้เลย) จะเห็นได้ว่า ข้ออ้างนี้มัน absurd ครับ.

(สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญาปัจจุบัน โทษสูงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โปรดดู  พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "มาตรา 112 : ผลพวงรัฐประหาร 6 ตุลา 2519" ใน http://prachatai.com/journal/2011/12/38272  บทความดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔)

_______________________________

* บทความนี้ปรับปรุงมาจากบทความของผมทางเฟซบุค ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔  (ดู  http://www.facebook.com/notes/phuttipong-ponganekgul/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%92-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/10150571678177176 )

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"