Skip to main content

โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล*

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ธงทองกล่าวว่า เมื่อพูดถึงมาตรา 112 มีคำถามในเชิงปรัชญากฎหมายว่า การที่ดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทใครคนใดคนหนึ่งกับผู้มีตำแหน่งแห่งหนหรือ ตำแหน่งหน้าที่ ควรจะรับโทษหนักขึ้นหรือไม่อย่างไร คิดว่าเป็นข้ออภิปรายทางกฎหมายได้อย่างยาวมาก ซึ่งจะพบว่าถ้าตรวจสอบในกฎหมายอาญาของเรา เราได้คุ้มครองหรือเพิ่มความคุ้มครองพิเศษ โดยเฉพาะมาตรา 112 คุ้มครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือแม้เจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน  ก็ได้รับโทษหนักขึ้นเหมือนกัน แม้กระทั่งผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ก็มีบทบัญญัติพิเศษคุ้มครอง จะต้องรับโทษมากกว่ากรณีปกติ

ดู 'ธงทอง' วิเคราะห์ในเวทีอียู ม.112 vs เสรีภาพในการแสดงความเห็น  ใน http://www.prachatai3.info/journal/2013/02/45056 (เผยแพร่เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖)

ต่อคำอภิปรายข้างต้นของ ธงทอง จันทรางศุ ผมจะแยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี คือ กรณีที่หมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ กับ กรณีที่หมิ่นศาลและเจ้าพนักงาน

๑.มาตรา๑๓๓ หมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ - พิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้

๑.๑ การบังคับใช้ - มาตรานี้ตั้งแต่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มา ๕๔ ปี ยังไม่เคยปรากฎคดีเข้าสู่ศาลเลย อาจจัดประเภทได้ว่า เป็น 'กฎหมายที่นอนหลับอยู่' (แต่ไม่ตาย) , ทีนี้เวลาดูกฎหมาย เราต้องพิจารณาในทางปฏิบัติการ ว่า เมื่อมาตรานี้ไม่เคยปรากฎว่า ใช้บังคับเลย (เช่น คุณด่า ประธานาธิบดีอเมริกา , รัสเซีย , ปาปัวนิวกินี เข้ามาตรานี้ทั้งสิ้น แต่ไม่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ กันเลย , คือไม่มีการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้

๑.๒ การดำรงอยู่ในระบบกฎหมาย - ดังกล่าวใน ๑.๑ กฎหมายนอนหลับได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันตาย ,มันยังดำรงชีพอยู่ในระบบกฎหมาย ถามว่าควรดำรงอยู่ในระบบกฎหมายหรือไม่ ; คำตอบคือ ไม่ควร, แล้วทำไมแก้เฉพาะมาตรา๑๑๒? ; คำตอบคือ มาตรา ๑๑๒ ใช้ถี่ ใช้บ่อย และมีปัญหาวิกฤตอย่างยิ่งยวด , ดังนั้น "เรื่องที่สำคัญกว่าย่อมมาก่อน" (มาตรา๑๓๓ ไม่มีการใช้อยู่แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่ดำรงอยู่ในระบบเท่านั้น ซึ่งควรกำจัดเช่นกัน แต่ไม่รีบเร่งเท่า ๑๑๒) 

๒. ส่วนกฎหมายห้ามหมิ่นศาล, เจ้าพนักงาน ทั้งนี้เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ - กฎหมายในเรื่องนี้กำหนดโทษแรงกว่าบุคคลทั่วไป แต่สังเกตนะครับว่า

ก.กฎหมายพวกนี้ไม่คุ้มครองความเป็นอยู่ส่วนบุคคล ของบุคคลที่เป็นศาล เจ้าพนักงาน แต่คุ้มครองในวงกรอบงานเท่านั้น

ข.กฎหมายพวกนี้ไม่คุ้มครองนักการเมืองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ (สมมติด่า นักการเมืองหรือ ส.ส. ว่าไอ้เหี้ย - ก็เป็นความผิดลหุโทษ ไม่ใช่ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน)เพราะมันยก บุคคลเป็นอีกกลุ่มที่คุ้มครองอยู่ใน มาตรา ๑๔๙ แยกระหว่าง เจ้าพนักงาน กับสมาชิกสภานิติบัญญัติ ในทางกฎหมายตีความกันว่า ฉะนั้น มาตราที่กำหนดเจ้าพนักงาน จึงไม่รวมถึง สมาชิกสภานิติบัญญัติ

ค.ทั้ง ๆ ที่ ประมุขของรัฐปฏิบัติหน้าที่และก่อตั้งโดยฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ดุจเดียวกับนักการเมือง

ง.การกระทำของประมุขของรัฐในมาตรา๑๑๒ ครอบคลุมทั้งเรื่องที่เป็นการปฏิบัติในหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติและเรื่องส่วนตัวหรือนอกกรอบอำนาจตามกฎหมาย (ไม่แยก แบบในข้อ ก.) จึงเอามาเทียบเคียง เรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ดูหมิ่นศาล ไม่ได้เลย 

จ.ความเป็นส่วนตัวของประมุขของ รัฐ กับ การปฏิบัติหน้าที่ แยกออกจากกันไม่ได้โดยสภาพ เพราะทุกขณะเวลา องค์กรประมุขของรัฐ ใช้งบประมาณแผ่นดิน ตามพรบ.งบประมาณประจำปี อยู่ทุกชั่วขณะ ในการบำรุงชีพ กล่าวได้ว่า ประมุขของรัฐ ไม่มีสภาพส่วนตัวในแต่ละขณะเลย เพราะทุกขณะชีวิตที่ครองตำแหน่งประมุขของรัฐ เป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งสิ้น (เงินสาธารณะ)

ฉ.นอกจากนี้ เจ้าพนักงาน และศาล หากปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วยกฎหมาย  , กฎหมายบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเหล่านี้ต้องรับผิดตั้งแต่จำคุกไปยังขั้นสูงถึง ประหารชีวิต ครับ กล่าวได้ว่า ภายใต้กรอบการคุ้มครองที่ยิ่งกว่า บุคคลเหล่านี้มีพันธะความรับผิดที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป (เช่นพนักงานบริษัท ทำผิดกฎ ทุจริต ก็เพียงไล่ออก เป็นต้น) ซึ่งกรณีต่างกับกษัตริย์ที่จะฟ้องร้องกล่าวโทษมิได้ 

บทสรุป

ธงทองฯ เอามาตรา ๑๑๒ ไปเทียบ กฎหมายหมิ่นประมุขของรัฐต่างประเทศ (ไม่มีการบังคับใช้ในความเป็นจริง) หมิ่นศาล หมิ่นเจ้าพนักงาน (มีโทษสูงกว่าบุคคลธรรมดา) ไม่ได้หรอกครับ เพราะการคุ้มครองเจ้าพนักงาน ยิ่งสูงเพียงใด มันแปรผันตรงกับ "ความรับผิดชอบที่สูงด้วยเช่นกัน" (เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ โทษขั้นสูงคือ ประหารชีวิต) แต่กรณีหมิ่นบุคคลตามมาตรา ๑๑๒ มัน "แปรผกผัน" กับ "ความรับผิดชอบของคนที่กฎหมายคุ้มครอง" (มาตรา ๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะฟ้องร้องกษัตริย์ในทางใดมิได้เลย) จะเห็นได้ว่า ข้ออ้างนี้มัน absurd ครับ.

(สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญาปัจจุบัน โทษสูงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โปรดดู  พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "มาตรา 112 : ผลพวงรัฐประหาร 6 ตุลา 2519" ใน http://prachatai.com/journal/2011/12/38272  บทความดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔)

_______________________________

* บทความนี้ปรับปรุงมาจากบทความของผมทางเฟซบุค ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔  (ดู  http://www.facebook.com/notes/phuttipong-ponganekgul/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%92-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/10150571678177176 )

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง