Skip to main content

โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว

ในบทความนี้จะโต้แย้ง [โดยสังเขป] เกี่ยวกับข้อเขียนของ จิตติ ติงศภิย์ ซึ่งอธิบายยืนยันว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ในเชิงอรรถที่ ๔๙ หัวข้อ ๑๑๔๔ กฎหมายอาญา ภาค ๒ ตอน ๒ และภาค ๓ โดยให้เหตุผลว่า "เพราะยิ่งเอาความจริงมาพูด ยิ่งทำให้เกิดความไม่สงบได้ยิ่งขึ้น ต่างกับทางแพ่ง ซึ่งถ้ากล่าวเป็นความจริง ก็เป็นข้อที่แสดงความถูกต้องของข้อความที่กล่าวให้เห็นว่าผู้กล่าวถึงไม่มีชื่อเสียงที่จะเสียเพราะข้อความที่กล่าวนั้นตรงกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ซึ่งต้องเป็นข้อที่ฝ่าฝืนต่อความจริง" และ อ.จิตติ อธิบายต่อไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญาว่า "โดยเฉพาะมาตรา ๓๓๐ ที่กฎหมายยอมให้ผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ความจริงได้ และก็เพียงแต่ยกเว้นให้ไม่ต้องรับโทษเท่านั้น มิได้ยกเว้นความผิดด้วย...ถ้าผู้กล่าวข้อความโดยเข้าใจว่าไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นการกล่าวโดยสุจริตตามมาตรา ๓๒๙"

เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ในกฎหมายอาญา ผมไม่เห็นด้วยกับ อ.จิตติ ติงศภัทิย์ และอันที่จริงแล้วตามคำอธิบายของ จิตติฯ น่าจะชี้ผล "กลับตาลปัตร" จากที่แกอธิบายชี้ผลไว้เสียด้วยซ้ำ กล่าวคือ ควรต้องสรุปว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา "ยิ่งเท็จยิ่งหมิ่นประมาท ยิ่งต้องได้รับโทษ ยิ่งมีความผิด" จึงจะถูกต้องสอดคล้องตามบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร ด้วยเหตุว่า

๑.ถ้าผู้ถูกกล่าวหารู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ย่อมไม่สุจริต จึงไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามมาตรา ๓๒๙ ("ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต...ผู้นั้นไม่มีความผิด") และ
๒.ถ้าข้อความนั้นเป็นเท็จ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมอ้างแก้ตัวเป็นเหตุยกเว้นโทษ ตามมาตรา ๓๓๐ มิได้ ("ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ")

เช่นนี้จะกล่าวว่า "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ได้อย่างไร โดยอธิบายจากฐานของบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร มิใช่ตีความโดยขยายความองค์ประกอบความผิดทางอาญา มิให้ประชาชนพูดความจริง ทั้ง ๆ ที่ภายใต้คุณค่าพื้นฐานของระบบกฎหมายที่มุ่งพิทักษ์หลักความสุจริต-ความสัตย์จริงอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่เมื่อปรากฏคำอธิบาย "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น" ซึ่งกลับตาลปัตรไปจาก "คุณค่าพื้นฐานของระบบกฎหมายและขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร" เช่นนี้ จึงควรตั้งเป็นข้อกังขาอย่างยิ่ง

และเป็น "แนวปฏิบัติ" ของตำรากฎหมายไทยเวลาอธิบายประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ในองค์ประกอบเรื่อง "หมิ่นประมาท" ก็จะไปให้อ่านคำอธิบายมาตรา ๓๒๖ (เรื่องหมิ่นประมาท) ฉะนั้น จึงสามารถสอดแทรก "ความคลาดเคลื่อน" แล้วผลลัพธ์ผูกโยงได้เป็นลูกโซ่ได้อย่างแนบเนียน.
--------------------------------------------
หมายเหตุ : บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ บัญญัติว่า  "ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่"

- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ บัญญัติว่า "ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

(๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท"

- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๐ บัญญัติว่า "ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน"

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง