Skip to main content

ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑)

หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑

-------------------------------------------------------

"ราษฎรกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมายืนคอยรับเสด็จอยู่มากมายสองข้างทาง ข้าพเจ้าหันไปดูอย่างแปลกใจ ก็เห็นตำรวจกับประชาชนที่ยืนอยู่แถวนั้นช่วยกันปล้ำตัวชายผู้หนึ่งไว้ แต่ก็ไม่ทัน ชายผู้นั้นได้ยกมือ ๒ ข้างขึ้นแล้วคลี่ป้ายและข้าพเจ้าก็ได้เห็นเข้าพอดี ป้ายนั้นมีใจความเป็นภาษาไทยว่า "เราไม่ต้องการต้อนรับผู้เผด็จการเมืองไทย"" - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชนิพนธ์ (๒๕๑๑)

"วันแรกที่ถึงออสเตรเลียเราก็โดนดีทันที พอพิธีต้องรับเสด็จที่สนามบินเมืองแคนเบอราเสร็จแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จขึ้นประทับรถยนตร์พระที่นั่งพร้อมด้วยข้าพเจ้า มีเซอร์ดัลลัส และเลดี้บรุกส์ผู้ว่าราชการแทนผู้สำเร็จราชการออสเตรเลียและภริยาตามเสด็จไปในรถคันที่ ๒ ทันใดนั้นก็มีเสียงพึ่บ ๆ พั่บ ๆ ดังออกมาจากกลุ่มราษฎรกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมายืนคอยรับเสด็จอยู่มากมายสองข้างทาง ข้าพเจ้าหันไปดูอย่างแปลกใจ ก็เห็นตำรวจกับประชาชนที่ยืนอยู่แถวนั้นช่วยกันปล้ำตัวชายผู้หนึ่งไว้ แต่ก็ไม่ทัน ชายผู้นั้นได้ยกมือ ๒ ข้างขึ้นแล้วคลี่ป้ายและข้าพเจ้าก็ได้เห็นเข้าพอดี ป้ายนั้นมีใจความเป็นภาษาไทยว่า "เราไม่ต้องการต้อนรับผู้เผด็จการเมืองไทย"

ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นคนเรียกพระเจ้าอยู่หัวว่าผู้เผด็จการและแสดงว่าไม่ยินดีต้อนรับเมืองเสด็จมาถึงบ้านเมืองเขา ข้าพเจ้ารู้สึกว่าใจหายวาบไปหมด พอคลี่ป้ายเสร็จ เมื่อรถพระที่นั่งจะแล่นผ่านไป ข้าพเจ้าชำเลืองดูก็เห็นตำรวจและราษฎรที่อยู่แถวนั้นทำสีหน้าโกรธขึ้นแย่งป้ายจากมือชายผู้นั้นไปทิ้งเสีย ใจของข้าพเจ้ายังเต้นผิดปรกติอยู่และมือก็สั่นเมื่อนึกถึงถ้อยคำในป้ายนั้น กระซิบทูลถามพระเจ้าอยู่หัวว่า ทอดพระเนตรเห็นป้ายไล่ผู้เผด็จการหรือไม่ รับสั่งตอบว่าทอดพระเนตรเห็น พลางหันไปทรงยิ้มและโบกพระหัตถ์กับประชาชนที่มาโห่ร้องรับเสด็จไปตลอดทางจนถึงทำเนียบรัฐบาลอันเป็นที่ประทับ ไม่ทรงแสดงความรู้สึกแม้แต่น้อย ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๆ ที่โบกมือและยิ้มไปตลอดทางเช่นเดียวกัน แต่ยิ้มนั้นออกจะเหยเต็มที

ข้าพเจ้าเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยเย็นเป็นที่สุด ข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าใจยังสั่นด้วยความน้อยใจปนความโกรธ นึกสงสารตัวเองเป็นกำลังว่า เรามาเหนื่อย ๆ เพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเรากับประเทศเขา กลับมาโดนคลี่ป้ายไล่ทันทีที่มาถึง ใช่ว่าเราขอมาเมื่อไร เขาเชิญเรามาต่างหาก พระเจ้าอยู่หัวกลับรับสั่งปลอบว่า ให้เฉย ๆ ไว้ ทำใจเย็นเข้าสู้ อย่าได้แสดงความรู้สึกเช่นเสียใจหรือน้อยใจออกมาให้ทางฝ่ายบ้านเมืองเห็นเป็นอันขาด อันที่จริงก็เป็นการกระทำทำของผู้ก่อกวนเพียงคนเดียวหรือส่วนน้อย รัฐบาลออกเตรเลียได้ถวายพระเกียรติเต็มที่ และราษฎรก็ต้อนรับเราด้วยความไมตรีอันดียิ่ง อาจจะเป็นความประสงค์ของคนส่วนเดียวก็ได้ที่จะแกล้งทำให้เราโกรธจนหัวเสียไปตลอดเวลา ๑๘ วันที่ท่องเที่ยวอยู่ในประเทศออสเตรเลีย พระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำไม่ให้ข้าพเจ้าลืมว่าเมื่อกี้เป็นการกระทำของคนส่วนน้อย ไม่ใช่เป็นการกระทำของประชาชนทั่วประเทศ" - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชนิพนธ์
______________________
คัดจากหนังสือ : สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระนางเจ้า,. 'ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางการ.' ใน "เนื่องในวันเฉลิมพระชนมายุครบ ๓ รอบ ๑๒ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๕๑๑." พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๑, หน้า ๓๘๐-๓๘๒.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"