Skip to main content

ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑)

หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑

-------------------------------------------------------

"ราษฎรกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมายืนคอยรับเสด็จอยู่มากมายสองข้างทาง ข้าพเจ้าหันไปดูอย่างแปลกใจ ก็เห็นตำรวจกับประชาชนที่ยืนอยู่แถวนั้นช่วยกันปล้ำตัวชายผู้หนึ่งไว้ แต่ก็ไม่ทัน ชายผู้นั้นได้ยกมือ ๒ ข้างขึ้นแล้วคลี่ป้ายและข้าพเจ้าก็ได้เห็นเข้าพอดี ป้ายนั้นมีใจความเป็นภาษาไทยว่า "เราไม่ต้องการต้อนรับผู้เผด็จการเมืองไทย"" - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชนิพนธ์ (๒๕๑๑)

"วันแรกที่ถึงออสเตรเลียเราก็โดนดีทันที พอพิธีต้องรับเสด็จที่สนามบินเมืองแคนเบอราเสร็จแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จขึ้นประทับรถยนตร์พระที่นั่งพร้อมด้วยข้าพเจ้า มีเซอร์ดัลลัส และเลดี้บรุกส์ผู้ว่าราชการแทนผู้สำเร็จราชการออสเตรเลียและภริยาตามเสด็จไปในรถคันที่ ๒ ทันใดนั้นก็มีเสียงพึ่บ ๆ พั่บ ๆ ดังออกมาจากกลุ่มราษฎรกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมายืนคอยรับเสด็จอยู่มากมายสองข้างทาง ข้าพเจ้าหันไปดูอย่างแปลกใจ ก็เห็นตำรวจกับประชาชนที่ยืนอยู่แถวนั้นช่วยกันปล้ำตัวชายผู้หนึ่งไว้ แต่ก็ไม่ทัน ชายผู้นั้นได้ยกมือ ๒ ข้างขึ้นแล้วคลี่ป้ายและข้าพเจ้าก็ได้เห็นเข้าพอดี ป้ายนั้นมีใจความเป็นภาษาไทยว่า "เราไม่ต้องการต้อนรับผู้เผด็จการเมืองไทย"

ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นคนเรียกพระเจ้าอยู่หัวว่าผู้เผด็จการและแสดงว่าไม่ยินดีต้อนรับเมืองเสด็จมาถึงบ้านเมืองเขา ข้าพเจ้ารู้สึกว่าใจหายวาบไปหมด พอคลี่ป้ายเสร็จ เมื่อรถพระที่นั่งจะแล่นผ่านไป ข้าพเจ้าชำเลืองดูก็เห็นตำรวจและราษฎรที่อยู่แถวนั้นทำสีหน้าโกรธขึ้นแย่งป้ายจากมือชายผู้นั้นไปทิ้งเสีย ใจของข้าพเจ้ายังเต้นผิดปรกติอยู่และมือก็สั่นเมื่อนึกถึงถ้อยคำในป้ายนั้น กระซิบทูลถามพระเจ้าอยู่หัวว่า ทอดพระเนตรเห็นป้ายไล่ผู้เผด็จการหรือไม่ รับสั่งตอบว่าทอดพระเนตรเห็น พลางหันไปทรงยิ้มและโบกพระหัตถ์กับประชาชนที่มาโห่ร้องรับเสด็จไปตลอดทางจนถึงทำเนียบรัฐบาลอันเป็นที่ประทับ ไม่ทรงแสดงความรู้สึกแม้แต่น้อย ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๆ ที่โบกมือและยิ้มไปตลอดทางเช่นเดียวกัน แต่ยิ้มนั้นออกจะเหยเต็มที

ข้าพเจ้าเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยเย็นเป็นที่สุด ข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าใจยังสั่นด้วยความน้อยใจปนความโกรธ นึกสงสารตัวเองเป็นกำลังว่า เรามาเหนื่อย ๆ เพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเรากับประเทศเขา กลับมาโดนคลี่ป้ายไล่ทันทีที่มาถึง ใช่ว่าเราขอมาเมื่อไร เขาเชิญเรามาต่างหาก พระเจ้าอยู่หัวกลับรับสั่งปลอบว่า ให้เฉย ๆ ไว้ ทำใจเย็นเข้าสู้ อย่าได้แสดงความรู้สึกเช่นเสียใจหรือน้อยใจออกมาให้ทางฝ่ายบ้านเมืองเห็นเป็นอันขาด อันที่จริงก็เป็นการกระทำทำของผู้ก่อกวนเพียงคนเดียวหรือส่วนน้อย รัฐบาลออกเตรเลียได้ถวายพระเกียรติเต็มที่ และราษฎรก็ต้อนรับเราด้วยความไมตรีอันดียิ่ง อาจจะเป็นความประสงค์ของคนส่วนเดียวก็ได้ที่จะแกล้งทำให้เราโกรธจนหัวเสียไปตลอดเวลา ๑๘ วันที่ท่องเที่ยวอยู่ในประเทศออสเตรเลีย พระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำไม่ให้ข้าพเจ้าลืมว่าเมื่อกี้เป็นการกระทำของคนส่วนน้อย ไม่ใช่เป็นการกระทำของประชาชนทั่วประเทศ" - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชนิพนธ์
______________________
คัดจากหนังสือ : สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระนางเจ้า,. 'ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางการ.' ใน "เนื่องในวันเฉลิมพระชนมายุครบ ๓ รอบ ๑๒ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๕๑๑." พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๑, หน้า ๓๘๐-๓๘๒.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง