Skip to main content

ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

     คราวก่อน ผมได้อธิบายเรื่องกระบวนการบิดเบือนคำพิพากษาฎีกาไว้ สำหรับคราวนี้จะเป็นเรื่อง "ต้นตอ" เกี่ยวกับคำอธิบายมาตรา ๙๘ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ หรือมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา ในประเด็นการห้ามนำบทยกเว้นความผิด และบทยกเว้นโทษ มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้น (การโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น ถูกอธิบายว่า ห้ามจำเลยอ้างเป็นเหตุยกเว้นความผิด ซึ่งต่างจากการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาสามัญชน) ซึ่งไม่ใช่เป็นการห้ามนำมาปรับบทโดยที่ปรากฏชัดแจ้งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด หากแต่เป็น 'คำอธิบายทางตำรา'

     คำอธิบายเช่นว่านี้นับแต่ ร.ศ.๑๒๗ อันเป็นปีแรกเริ่มในการใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นต้นมา ไม่มีตำราคำอธิบายกฎหมายเล่มใดกล่าวถึงประเด็นนี้เลย แต่ก็เพิ่งปรากฏครั้งแรกในหนังสือ คำบรรยายวิชากฎหมายอาญา ปีการศึกษา ๒๔๙๐ ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดย ดร.หยุด แสงอุทัย (เรื่อยมาจนถึงตีพิมพ์ถึงปีการศึกษา ๒๔๙๓) โดยเป็นการริเริ่มอธิบายว่า มิให้นำบทยกเว้นความผิด และบทยกเว้นโทษ มาปรับใช้แก่ความผิดฐานนี้เพราะรัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองสถานะเป็นพิเศษ (ย้ำว่าเป็นตำราเล่มเดียว และตำราในยุคก่อนหน้านั้น ไม่ปรากฏคำอธิบายเช่นนี้อยู่เลย ทั้งไม่ผ่านการชี้นำโดยคำพิพากษาศาลฎีกา)    

     อย่างไรก็ดี ในตำรา คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ของ ดร.หยุด แสงอุทัย ที่ตีพิมพ์เป็นกิจจะลักษณะ ร้อยเรียงคำอธิบายรายมาตรา เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๔๙๔ นั้น ไม่ปรากฏคำอธิบายเรื่อง "มิให้นำบทยกเว้นความผิด บทยกเว้นโทษ" มาปรับใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ อีกเลย กล่าวคือ อ.หยุด "ตัดคำอธิบายส่วนนี้ไป" จากตำราของเขา

     แม้กระทั่งในปี ๒๔๙๖ อันเป็นปีที่ หยุด แสงอุทัย "สังคายนา" คำอธิบายของเขาใหม่ทุกมาตรา ก็ไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้

     ในปีกึ่งพุทธกาล (พ.ศ.๒๕๐๐) ก็ได้ยกเลิก "กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗" แล้วบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา" ขึ้นแทน ดร.หยุด ก็ตีพิมพ์ตำราเล่มใหม่ (พิมพ์ในงานศพพ่อตาของ ดร.หยุด) เป็น คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาศึกษาจากคำพิพากษาฎีกา ตลอดจนตำรากฎหมายอาญาเล่มอื่นที่ตีพิมพ์ถัดจากนั้น ก็ไม่ปรากฏคำอธิบายว่า ไม่นำบทยกเว้นความผิด/โทษ มาให้แก่มาตรา ๑๑๒ แต่ประการใด

     แต่ในปี ๒๕๑๒ ดร.หยุด ได้ออก "คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๒-๓" เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ก็ปรากฏว่า คราวนี้ ดร.หยุด นำคำอธิบายเมื่อปี ๒๔๙๐-๒๔๙๓ มาใช้อีกครั้ง และตีพิมพ์ซ้ำเรื่อยมาจำหน่ายจนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้ ดร.หยุด ก็ไม่เคยอ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๑/๒๕๐๓ ซึ่งถูกบิดเบือนโดยยล ธีรกุล (๒๕๐๔) และจิตติ ติงศภัทิย์ (๒๕๐๙) ว่าเป็น "คำพิพากษาบรรทัดฐาน" ในการไม่นำบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษมาใช้บังคับแก่มาตรา ๑๑๒ ซึ่งความจริงคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้นำเอาบทยกเว้นความผิด/ยกเว้นโทษ มาปรับใช้ แต่ข้อเท็จจริงของคดีไม่เข้าเงื่อนไขของการยกเว้นความผิดก็เท่านั้น

________________________

ในทางกลับกัน ได้ปรากฏว่า ขุนนิทัศน์คดี (ม.ร.ว.อุบลสนิทวงศ์ ณ อยุธยา) นักนิติศาสตร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เขียนบทความ "ลักษณความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา" [ปี ๒๔๖๘]* อธิบายว่า จำเลยสามารถกล่าวอ้างเหตุยกเว้นความผิด,เหตุยกเว้นโทษ ต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ (กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ มาตรา ๙๘) ได้ดุจเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลอื่นๆ

"สถานะพิเศษ" [ขุนนิทัศน์คดี ใช้คำนี้เลยนะในการจัดกลุ่มของฐานความผิด] ของกษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นเพียงเหตุเพิ่มโทษเท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องกับการห้ามนำเหตุยกเว้นความผิด/ยกเว้นโทษ ไม่ ทั้งยังอธิบายในภาพรวมอีกด้วยว่า "ในเรื่องไม่ให้จำเลยนำสืบความจริงนี้...เปนความคิดเก่าแก่มานาน แต่เปนสิ่งที่เพียรเลิกไปทีละน้อยเปนลำดับมา โดยถือว่าการที่จะรู้ความจริงความเท็จในส่วนตัวคนใด ๆ มีผลประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป ด้วยว่าคนนั้น ๆ จะต้องพบต้องปะคนผู้อื่นอยู่เสมอ สาธารณชนควรรู้ว่าเปนคนขี้ปด หรือเปนคนควรเชื่อถืออย่างใด" ดู ธรรมศาสตร์วินิจฉัย, เล่ม ๑ ฉบับที่ ๖ (วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘), หน้า ๓๔๕-๓๗๑.

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ "กระบวนการบิดเบือนคำพิพากษาฎีกา" ดังกล่าวนี้ใน พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิด ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4230

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 การนิรโทษกรรมประชาชนตามกรอบร่างพรบ.ฉบับวรชัยฯ ไม่ขัดหลักเสมอภาค พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล กรรมาธิการวิสามัญพิจาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ :กรณี ร.๙ พิพากษาคดีในศาล?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รวบรวมข้อมูลการเดินทางเยือนต่างประเทศของพระบรมวงศานุวงศ์ (๑ ม.ค.-๑๒ ก.ย.๒๕๕๖)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภาพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยการดูหมิ่น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล