Skip to main content

ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

     คราวก่อน ผมได้อธิบายเรื่องกระบวนการบิดเบือนคำพิพากษาฎีกาไว้ สำหรับคราวนี้จะเป็นเรื่อง "ต้นตอ" เกี่ยวกับคำอธิบายมาตรา ๙๘ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ หรือมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา ในประเด็นการห้ามนำบทยกเว้นความผิด และบทยกเว้นโทษ มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้น (การโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น ถูกอธิบายว่า ห้ามจำเลยอ้างเป็นเหตุยกเว้นความผิด ซึ่งต่างจากการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาสามัญชน) ซึ่งไม่ใช่เป็นการห้ามนำมาปรับบทโดยที่ปรากฏชัดแจ้งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด หากแต่เป็น 'คำอธิบายทางตำรา'

     คำอธิบายเช่นว่านี้นับแต่ ร.ศ.๑๒๗ อันเป็นปีแรกเริ่มในการใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นต้นมา ไม่มีตำราคำอธิบายกฎหมายเล่มใดกล่าวถึงประเด็นนี้เลย แต่ก็เพิ่งปรากฏครั้งแรกในหนังสือ คำบรรยายวิชากฎหมายอาญา ปีการศึกษา ๒๔๙๐ ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดย ดร.หยุด แสงอุทัย (เรื่อยมาจนถึงตีพิมพ์ถึงปีการศึกษา ๒๔๙๓) โดยเป็นการริเริ่มอธิบายว่า มิให้นำบทยกเว้นความผิด และบทยกเว้นโทษ มาปรับใช้แก่ความผิดฐานนี้เพราะรัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองสถานะเป็นพิเศษ (ย้ำว่าเป็นตำราเล่มเดียว และตำราในยุคก่อนหน้านั้น ไม่ปรากฏคำอธิบายเช่นนี้อยู่เลย ทั้งไม่ผ่านการชี้นำโดยคำพิพากษาศาลฎีกา)    

     อย่างไรก็ดี ในตำรา คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ของ ดร.หยุด แสงอุทัย ที่ตีพิมพ์เป็นกิจจะลักษณะ ร้อยเรียงคำอธิบายรายมาตรา เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๔๙๔ นั้น ไม่ปรากฏคำอธิบายเรื่อง "มิให้นำบทยกเว้นความผิด บทยกเว้นโทษ" มาปรับใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ อีกเลย กล่าวคือ อ.หยุด "ตัดคำอธิบายส่วนนี้ไป" จากตำราของเขา

     แม้กระทั่งในปี ๒๔๙๖ อันเป็นปีที่ หยุด แสงอุทัย "สังคายนา" คำอธิบายของเขาใหม่ทุกมาตรา ก็ไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้

     ในปีกึ่งพุทธกาล (พ.ศ.๒๕๐๐) ก็ได้ยกเลิก "กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗" แล้วบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา" ขึ้นแทน ดร.หยุด ก็ตีพิมพ์ตำราเล่มใหม่ (พิมพ์ในงานศพพ่อตาของ ดร.หยุด) เป็น คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาศึกษาจากคำพิพากษาฎีกา ตลอดจนตำรากฎหมายอาญาเล่มอื่นที่ตีพิมพ์ถัดจากนั้น ก็ไม่ปรากฏคำอธิบายว่า ไม่นำบทยกเว้นความผิด/โทษ มาให้แก่มาตรา ๑๑๒ แต่ประการใด

     แต่ในปี ๒๕๑๒ ดร.หยุด ได้ออก "คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๒-๓" เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ก็ปรากฏว่า คราวนี้ ดร.หยุด นำคำอธิบายเมื่อปี ๒๔๙๐-๒๔๙๓ มาใช้อีกครั้ง และตีพิมพ์ซ้ำเรื่อยมาจำหน่ายจนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้ ดร.หยุด ก็ไม่เคยอ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๑/๒๕๐๓ ซึ่งถูกบิดเบือนโดยยล ธีรกุล (๒๕๐๔) และจิตติ ติงศภัทิย์ (๒๕๐๙) ว่าเป็น "คำพิพากษาบรรทัดฐาน" ในการไม่นำบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษมาใช้บังคับแก่มาตรา ๑๑๒ ซึ่งความจริงคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้นำเอาบทยกเว้นความผิด/ยกเว้นโทษ มาปรับใช้ แต่ข้อเท็จจริงของคดีไม่เข้าเงื่อนไขของการยกเว้นความผิดก็เท่านั้น

________________________

ในทางกลับกัน ได้ปรากฏว่า ขุนนิทัศน์คดี (ม.ร.ว.อุบลสนิทวงศ์ ณ อยุธยา) นักนิติศาสตร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เขียนบทความ "ลักษณความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา" [ปี ๒๔๖๘]* อธิบายว่า จำเลยสามารถกล่าวอ้างเหตุยกเว้นความผิด,เหตุยกเว้นโทษ ต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ (กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ มาตรา ๙๘) ได้ดุจเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลอื่นๆ

"สถานะพิเศษ" [ขุนนิทัศน์คดี ใช้คำนี้เลยนะในการจัดกลุ่มของฐานความผิด] ของกษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นเพียงเหตุเพิ่มโทษเท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องกับการห้ามนำเหตุยกเว้นความผิด/ยกเว้นโทษ ไม่ ทั้งยังอธิบายในภาพรวมอีกด้วยว่า "ในเรื่องไม่ให้จำเลยนำสืบความจริงนี้...เปนความคิดเก่าแก่มานาน แต่เปนสิ่งที่เพียรเลิกไปทีละน้อยเปนลำดับมา โดยถือว่าการที่จะรู้ความจริงความเท็จในส่วนตัวคนใด ๆ มีผลประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป ด้วยว่าคนนั้น ๆ จะต้องพบต้องปะคนผู้อื่นอยู่เสมอ สาธารณชนควรรู้ว่าเปนคนขี้ปด หรือเปนคนควรเชื่อถืออย่างใด" ดู ธรรมศาสตร์วินิจฉัย, เล่ม ๑ ฉบับที่ ๖ (วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘), หน้า ๓๔๕-๓๗๑.

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ "กระบวนการบิดเบือนคำพิพากษาฎีกา" ดังกล่าวนี้ใน พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิด ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4230

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"