Skip to main content

กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

     ตามที่ได้มีการเผยแพร่สเตตัสของคุณบอย โกสิยพงษ์ (เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖) เรื่อง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" สเตตัสดังกล่าวปรากฏความคลาดเคลื่อนหลายประการเนื่องจากขาดการพิจารณา "ตัวบท"  แม้คุณบอย โกสิยพงษ์ จะมิได้เขียนเอง หากแต่บุคคลจำนวนมากเผยแพร่ต่อ ๆ กันอย่างแพร่หลายจากการเผยแพร่โดยคุณบอยฯ เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมจึงเห็นสมควรอธิบายให้ชัดแจ้งกัน

     ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า เหตุที่คณะราษฎรต้องตั้ง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" (ทรัพย์สินส่วนที่ไม่ต้องเสียภาษี) ขึ้นมา โดยแยกออกจาก "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" (ทรัพย์สินส่วนที่ต้องเสียภาษี) ก็เพื่อจะให้รัฐเป็นธุระจัดการด้านความเป็นอยู่ของกษัตริย์เอง ผ่านการจัดการโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ภายหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ได้แก้ไขเพิ่มเติม "พระราชบัญญัติจัดการระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์" โดยให้เป็นพระราชอำนาจโดยแท้ ในการเข้าครอบงำ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" สืบมาจนมาถึงปัจจุบัน) ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาโดยสืบจากกองมรดกบิดามารดานั้นให้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ดูแลรักษาเอง

     ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หาได้แยกแยะระหว่างทรัพย์สินของแผ่นดิน กับทรัพย์สินกษัตริย์ไม่ หากแต่กองอยู่รวมกันตามแต่จะใช้ก็โดยพระราชอัธยาศัย เมื่อเปลี่ยนระบอบจากระบอบเผด็จการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ก็จะปล่องงบประมาณแผ่นดินให้กองปนกันกับทรัพย์สินกษัตริย์ดั่งเดิมไม่ได้ แต่จะต้องแยกแยะว่าเงินภาษีอากรของราษฎรนั้นจะต้องใช้ตามส่วนสัดอย่างไร จึงเกิดการวางแผนงบประมาณประจำปีขึ้นครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

     ควรเข้าใจว่า การจัดการงบประมาณแผ่นดินหลัง ๒๔๗๕ เป็นต้นมา หาใช่การแย่งชิงสมบัติจาก "เจ้า" ไม่ --- หากแต่เป็น "การทวงคืน" ทรัพย์สินของประชาชนซึ่งเจ้าทึกทักโดยอำนาจในความเป็นจริงขณะนั้น นำทรัพย์สินไปเป็นของตน คณะราษฎรนำทรัพย์สินกลับคืนมาเป็น สาธารณสมบัติของรัฐ แล้วจัดการทรัพย์สินวางแผนการใช้ให้เป็นระเบียบล่วงหน้ารายปี

     เอาล่ะ เรากลับมาสู่ประเด็นเรื่องฟอร์บ (จัดอันดับรวยที่สุด) กันครับ ที่ไปโจมตีเขาว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ของกษัตริย์ --- เรามาพิจารณากันดีกว่าครับว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงเหนือ "กองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ?

     สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ชื่อว่า คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

     คณะกรรมการคณะนี้มีอำนาจลงมติแสดงความคิดเห็นในการจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์พระมหากษัตริย์ แต่ความคิดเห็นนั้น ยังไม่มีผลทันทีแต่จะมีผลบังคับได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น (มาตรา ๖ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๕ ทวิ วรรคสอง)*

     ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ด้วยว่า ในบรรดาคณะกรรมการจัดการทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ มี "บุคคลภายนอกเพียงคนเดียว" เป็นประธานโดยตำแหน่ง (คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) นอกนั้น "กรรมการอื่น" ในคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาจากการแต่งตั้งโดยพระราชอัธยาศัยทั้งสิ้น (มาตรา ๔ ตรี วรรคหนึ่ง)

     (* พระบรมราชานุญาต นั้นก็อาจมอบหมายให้บุคคลใดใช้ดุลพินิจตัดสินใจแทนก็ได้เป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ เว้นแต่จะถูกเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ)

     โดยทั่วไป การประชุมแบบคณะกรรมการเพื่อลงมติใด ๆ ประธาน (ในที่นี้ คือ รัฐมนตรีคลังฯ) จะไม่ลงคะแนนเสียง [เว้นแต่คะแนนเสียงเท่ากัน จึงจะให้ประธานลงคะแนนเสียงชี้ขาด] นั่นเท่ากับว่า "บุคคลภายนอกซึ่งกษัตริย์มิได้แต่งตั้งเองนั้น" ไม่อาจส่งผลใด ๆ ต่อการโหวตลงมติในการจัดการโอนจำหน่าย/ลงทุนเพื่อประโยชน์ในกองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดเลย หรือถ้ามี ก็มีเพียง ๑ เสียง นอกนั้นเป็น กรรมการของกษัตริย์เองทั้งสภา (หรือคณะกรรมการ)

     และผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อจัดการไปตามมติของคณะกรรมการฯ ก็คือ "ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย - เรื่อง "พระราชอัธยาศัย" นี้เอง ศาลปกครองสูงสุด เคยวางบรรทัดฐานใน คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๘๔/๒๕๔๗ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าโดยสภาพของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น มิใช่ หน่วยงานทางปกครอง แต่อย่างใด ฉะนั้น เมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มิใช่ หน่วยงานของรัฐ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจขอให้ศาลปกครองสั่งเปิดเผย "เอกสารฎีกาซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยและทำการฟ้องขับไล่นางยับซื้อ มารดาของผู้ฟ้องคดีทั้งหกให้ออกจากที่ดิน" (รายละเอียดดูในลิงค์โหลดคำสั่งศาลปกครองฯ)

     ทรัพย์สินทั้งหลายภายใต้การจัดการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีที่มาจากการหาประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น ที่ดินสาธารณะในครอบครอง --- แล้วนำไปลงทุนต่อ เช่น ซื้อขายหุ้น) บรรดาเงินบริจาคทูลเกล้าฯถวายต่างๆ ที่ "ถวายโดยเอกชน" ก็จัดเป็นทรัพย์สินที่จัดอยู่ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ ไม่เสียภาษี เพราะ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ (ที่ต้องเสียภาษี) ตามมาตรา ๔ วรรคสอง นิยามเพียงกรณีทรัพย์สินที่ "ถวายโดยรัฐ" เท่านั้น ที่จะจัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ส่วนทรัพย์สินอื่นนอกจากนั้นให้ถือเป็น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา ๔ วรรคท้าย)

     จะเห็นได้ว่า

     "ผู้มีอำนาจที่แท้จริง" ในการควบคุมการจัดการและใช้สอย "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" (และไม่ต้องเสียภาษี) ก็คือ กษัตริย์ นั่นเอง  ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัตจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์

     ควรกล่าวด้วยว่า การเผยแพร่ข้อเท็จจริงทางสถิติจัดลำดับกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด ไม่มีความผิดตามกฎหมายอาญาแต่อย่างใด.

__________________________

     [บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง] พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ [แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ๒๔๙๑]
(โหลดใน ห้องสมุดกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a812/%a812-20-9999-update.pdf )

     "รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" (มาตรา ๖ วรรคท้าย)

     "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต" (มาตรา ๗)

     "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน" (มาตรา ๘)

     "ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"...รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า ๔ คนซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง" (มาตรา ๔ ตรี วรรคหนึ่ง)

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"