Skip to main content
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป)
 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 
เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืนสะเทือนขวัญคราใด บรรดานักศีลธรรมก็จะออกมาเรียกร้องให้บัญญัติความผิดฐานข่มขืนต้องประหารชีวิตเป็นกระแสทุกครั้งไป ผมจึงถือโอกาสรวบรวมข้อเขียนเก่า ๆ ในเฟซบุคของผม มาเผยแพร่อย่างเป็นกิจจลักษณะอีกครั้ง พร้อมกับอภิปรายประเด็นการดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิตไปในคราวเดียวกัน การกำหนดมาตรการการลงโทษทางกฎหมายวางอยู่บนฐานคิดในเรื่องความพอสมควรแก่เหตุ และจะขาดเสียมิได้ในการชั่งน้ำหนัก 'เกณฑ์ความรับผิดของความผิด' แต่ละประเภท อย่างเป็นเอกภาพในระบบกฎหมาย
 
การข่มขืน ก็คือ การประทุษร้ายต่ออวัยวะเพศหรือทวารหนัก (คือร่างกาย) ให้เกิดความเสียหาย
 
๑.เปรียบเทียบความรับผิดในความผิดฐาน 'ข่มขืน' กับ ความผิดฐาน 'ทำลายอวัยวะเพศถาวร'
 
ตามประมวลกฎหมายอาญา แยก "ความผิดเกี่ยวกับเพศ" เป็นอีกลักษณะหนึ่งแยกจาก "ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย" แต่โดยสภาพของการกระทำผิดก็มีลักษณะเดียวกันคือ ประทุษร้ายต่อกายหรือจิตใจ และความผิดเกี่ยวกับเพศ ก็มีการกำหนดอัตราโทษจำคุกสูงกว่า การทำร้ายร่างกายธรรมดาหลายเท่านั้น
 
มีประเด็นให้พิจารณาว่า การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ เช่น ทำลายอวัยวะเพศ นั้น มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยสภาพแล้ว รุนแรงยิ่งกว่าข่มขืนอีกนะครับ เพราะการข่มขืนทำให้อวัยวะเพศเสียหายแต่รักษาได้ แต่การทำลายอวัยวะเพศ นอกจากจะทำร้ายจิตใจแล้ว ยังสูญเสียอวัยวะเพศถาวร แต่ความผิดฐานทำลายอวัยวะเพศนั้น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๗ วรรคสอง (๒)) มีโทษจำคุกเพียงตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๑๐ ปีเองนะครับ อัตราโทษขั้นสูง เบากว่าความผิดฐานข่มขืนซะอีก
 
กลับกัน ความผิดฐานข่มขืน มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ ๔ ปี และสูงสุดคือ ๒๐ ปี จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันความรับผิดในคดีข่มขืนนั้น มีอัตราโทษที่สูงมากอยู่แล้ว (อย่างน้อยเมื่อเทียบเคียงกับความผิดฐานอื่นที่มีความรุนแรงโดยสภาพที่ร้ายแรงกว่า) และค่อนข้างจะไม่สมเหตุสมผลด้วยดังที่ผมได้เทียบกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย อันตรายสาหัสคือตัดอวัยวะเพศ แต่ก็ยังอยู่ในกรอบของการจำคุก ซึ่งอาจพอรับได้อยู่บ้าง ทั้งนี้ควรแยกแยะให้ดีว่า การข่มขืนแล้วฆ่า เป็นความผิดฐานฆ่าฐานหนึ่ง และเป็นความผิดฐานข่มขืนอีกฐานหนึ่ง อัตราโทษสูงสุดในกรณีนี้คือ ประหารชีวิต นั่นเอง (โปรดดูการอภิปรายเรื่อง 'ประหารชีวิต' ในข้อ ๓.)
 
ครั้นจะกำหนดความรับผิดฐานข่มขืนให้ถึงขนาดอัตราโทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต นั้น หากเป็นกฎหมาย ก็ถือเป็นกฎหมายที่ขัดหลักรัฐธรรมนูญ เพราะขัดหลักความพอสมควรแก่เหตุ และถือเป็นกฎหมายที่ป่าเถื่อน ปราศจากความสมเหตุสมผล ทำลายความเป็นเอกภาพของระบบกฎหมาย เป็นกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษตามอำเภอใจ หรือสนองความสะใจโดยปราศจากสำนึกในการชั่งน้ำหนักระหว่างอาชญากรรมและการลงทัณฑ์
 
๒.ความลื่นไหลของข้อเท็จจริงในคดี
 
ประเทศเราอยู่ในกลุ่มของรัฐที่มีโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่า การมีโทษประหารชีวิตในระบบกฎหมาย ก็ไม่ได้ทำให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัวไม่กล้ากระทำผิด เพราะการกระทำผิดนั้นมีปัจจัยที่ส่งเสริมจิตใจในขณะกระทำ ทั้งโดยธรรมดาของการกระทำผิด ผู้กระทำมีโอกาสสูงที่จะไม่ต้องรับโทษ เช่น หนีคดีจนหมดอายุความ หรือตำรวจจับผู้กระทำผิดไม่ได้ เป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นแรงสร้างเสริมจิตใจของผู้กระทำผิดไม่ว่าความผิด นั้นจะเป็นความผิดฐานฆ่า ฐานลักทรัพย์ หรือฐานหมิ่นประมาท คนก็กล้าที่จะเสี่ยงกระทำผิดแม้ว่าความผิดเหล่านี้มีบทลงโทษจำคุกทั้งสิ้น
 
นัทธี จิตสว่าง (อธิบดีกรมราชทัณฑ์ - ในขณะนั้น) เคยให้สัมภาษณ์ ลงมติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ว่า "ขณะนี้มีผู้บริสุทธ์ถูกศาลพิพากษาจำคุกในทัณฑสถานประมาณ ๗๐%"  ผมไม่ทราบว่าอธิบดีกรมราชทัณฑ์ทราบได้อย่างไร แต่ก็เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และน่าทบทวนความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่ากระบวนการในชั้นศาล มันไม่มีความแน่นอนที่จะได้ "ความจริง" ในห้องพิจารณาคดีเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของทนายความ การชิงไหวชิงพริบในชั้นศาล การจัดหาพยานเท็จ การยัดข้อหา ความสามารถของทนายความ ตลอดจนการติดสินบนผู้พิพากษาตุลาการ เป็นต้น เหล่านี้ส่งผลต่อผลคำพิพากษาทั้งสิ้น
 
๓.ความไม่ไว้วางใจต่อตัวแปรในกระบวนการยุติธรรม และ การปฏิเสธการดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต
 
ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๒ จะเห็นได้ว่า คนที่คิดว่า "ยิ่งกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง จะทำให้อาชญากรไม่กล้ากระทำความผิด" นั้นเป็นความคิดที่ค่อนข้างไร้เดียงสา คนพวกนี้มีฐานคิดเดียวกับการให้มีโทษประหารชีวิตในระบบกฎหมายเพราะเกรงว่า หากยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วจะยิ่งมีคนกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น และถ้าคุณกำหนดบทลงโทษรุนแรงมาก ๆ ไปประหารชีวิตเขา ภายใต้การพิพากษาคดีที่เสี่ยงมีความผิดพลาดสูงขนาดนี้ (ตัวแปรเยอะ - ข้อเท็จจริงลื่นไหลตลอดเวลา) แล้วถ้าปรากฏในภายหลังว่า คุณประหารชีวิตผิดคน เช่นนี้ ต่างจากการลงโทษจำคุกนะครับ ถ้าปรากฏในภายหลังว่าขังผิดคน ก็รื้อฟื้นคดีพิจารณาใหม่ได้ แต่คนตายแล้ว(คือถูกประหาร) ไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกเลย ทำนองเดียวกับการประหารชีวิตแพะในคดีสวรรคตนั่นเอง ดังนั้นเวลาจะกำหนดโทษต่าง ๆ ต้องครุ่นคิดตระหนักให้มาก ต้องพิจารณาความพอสมควรแก่เหตุด้วย จะเอาความสะใจเป็นฐานไม่ได้
 
ถ้าคิดว่าบทลงโทษสูง ๆ จะได้ไม่มีคนกล้าก่ออาชญากรรม นะ ต่อไปนี้แก้กฎหมาย "ทุกมาตรา กำหนดให้การกระทำผิดทุกอย่างมีโทษประหารชีวิต" สิครับ
 
เช่น ถ่มน้ำลายบนทางสาธารณะ (อาจแพร่เชื้อโรคทำร้ายคนอื่นๆได้) ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง หมิ่นประมาท พูดจาหยาบคาย ฯลฯ เหล่านี้กำหนดเป็นความผิดลงโทษประหารชีวิตให้หมด ดูซิจะมีคนกล้ากระทำความผิดกฎหมายสักมาตราไหม
 
คำตอบคือ หากกำหนดให้การฝืนฝืนกฎหมายไม่ว่าจะมาตราใด ๆ ทุก ๆ มาตรา จะต้องประหารชีวิตแล้ว การกระทำความผิดไม่ลดลงหรอกครับ (มันไม่แปรผันกัน การกระทำความผิดไม่ได้ขึ้นอยู่ว่า กลัวโทษหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับแรงผลักดันแวดล้อมให้กระทำชั่วขณะ) เช่นนี้ ประชาชนจะมองว่ากฎหมายเหล่านี้มันไม่ใช่กฎหมาย เพราะขัดความยุติธรรมและไม่พอสมควรแก่เหตุอย่างรุนแรง จนกระทั่งกฎหมายแบบนี้มีสภาพเป็น 'กฎหมายปลอม/กฎหมายที่ไม่ใช่กฎหมาย' (false law/Unrichtiges Recht) ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกฎหมายอีกต่อไป และถือว่าระบบกฎหมายเช่นนี้เป็นระบบกฎหมายที่ล้มเหลว.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ