Skip to main content

งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สำรวจตาม "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว"[๑] ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ไปเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ และจะนำประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น

พบว่า งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์มีจำนวน "เพิ่มขึ้น" จากงบปีที่ผ่านมาจำนวน ๓,๑๙๔,๕๙๓,๖๗๘ บาท[๒] นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า งบประมาณแผ่นดินฯ ประเภท "แผนงานเทิดทูนฯ" ปีนี้ มีการเพิ่มเติมหน่วยงานที่ได้รับงบประเภทนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กรมการจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งตามงบประมาณแผ่นดินฯ ยุคก่อนรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ทั้งสามหน่วยงานนี้ไม่ได้รับงบ "แผนงานเทิดทูนฯ" แต่อย่างใด

รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๘ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยหกสิบแปดล้านสองแสนห้าหมื่นหกพันสองร้อยบาท)

เฉลี่ยวันละ ๔๗,๓๑๐,๒๙๐ บาท
ชั่วโมงละ ๑,๙๗๑,๒๖๒ บาท
นาทีละ ๓๒,๘๕๔ บาท
วินาทีละ ๕๔๗ บาท

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบงบประมาณแผ่นดินฯ ใน "งบเทิดทูนฯ (หรือ งบที่ใช้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์)" ซึ่งผมเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึงปีงบประมาณปัจจุบัน[๓] จะเห็นได้ว่า งบประมาณแผ่นดิน ประเภท "งบเทิดทูนฯ" หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โปรดพิจารณากราฟ

สำหรับงบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปี ๒๕๕๘ รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
มาตรา ๔ (๑) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๔ (๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๓๕,๙๔๖,๑๐๐ บาท

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๕๖๑,๘๓๘,๘๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๘๘,๗๙๔,๗๐๐ บาท

กรมราชองครักษ์
มาตรา ๖ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๑๙,๔๗๒,๗๐๐ บาท

กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา ๖ ข้อ ๓ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๙๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพบก
มาตรา ๖ ข้อ ๔ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๐๙,๕๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพเรือ
มาตรา ๖ ข้อ ๕ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๒,๒๔๖,๑๐๐ บาท

กองทัพอากาศ
มาตรา ๖ ข้อ ๖ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๗ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๗๐,๑๖๒,๘๐๐ บาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา ๑๗ ข้อ ๖ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๖๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๑ (๕) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๑๑๒,๐๐๐ บาท

กรมการจัดหางาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๒ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๓ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๓,๘๗๒,๒๐๐ บาท

สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๒๙,๕๐๓,๗๐๐ บาท

สำนักพระราชวัง
มาตรา ๒๕ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓,๓๒๗,๐๕๕,๓๐๐ บาท

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๗๒,๐๔๙,๔๐๐ บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๗ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕๐๑,๑๐๒,๔๐๐ บาท

หมายเหตุ งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ (จำนวน ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท : ปี ๒๕๕๘) มากกว่าเงินงบประมาณของ
- กระทรวงการต่างประเทศ (งบ ๘,๕๙๒,๙๕๙,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (งบ ๘,๓๐๒,๓๖๕,๙๐๐ บาท)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งบ ๙,๕๓๙,๐๔๗,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งบ ๕,๗๒๓,๖๙๒,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงพลังงาน (งบ ๑,๙๙๗,๐๑๒,๗๐๐ บาท)
- กระทรวงพาณิชย์ (งบ ๗,๓๔๑,๙๓๓,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งบ ๘,๙๔๒,๖๙๔,๓๐๐ บาท)
- หน่วยงานของรัฐสภา (งบ ๖,๘๔๔,๗๑๖,๘๐๐ บาท)
- หน่วยงานอิสระของรัฐ (งบ ๑๓,๕๒๙,๘๔๙,๓๐๐ บาท)
- สภากาชาดไทย (งบ ๕,๙๘๑,๓๔๕,๓๐๐ บาท)

ฯลฯ

_____________________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ระเบียบวาระการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว" ใน http://www.senate.go.th/w3c/senate/main.php?url=meeting1&mid=19594 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๒] การสำรวจ "ร่างงบประมาณประจำปี ๒๕๕๗" นั้น เมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาปรากฏว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ (ฉบับที่ยังไม่ผ่านการแก้ไขโดยรัฐสภา) กล่าวคือ ยอดรวม "ร่างงบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท แต่ยอดรวมงบประมาณ "งบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๔,๐๗๓,๖๖๒,๕๒๒ บาท  โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; เทียบ "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ห้องสมุดกฎหมาย : พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a708/%a708-20-2556-a0001.pdf [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๓] อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน ๑๐,๗๘๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์," : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๒๐๘,๘๐๐,๙๗๕ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ" ใน http://prachatai.com/journal/2012/03/39614 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗]  ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๖ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๒,๔๘๗,๗๘๕,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันบาท) ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสามพันแปดร้อยหกสิบเก้าล้านหกแสนหกหมื่นสองร้อยบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ