Skip to main content

งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สำรวจตาม "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว"[๑] ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ไปเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ และจะนำประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น

พบว่า งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์มีจำนวน "เพิ่มขึ้น" จากงบปีที่ผ่านมาจำนวน ๓,๑๙๔,๕๙๓,๖๗๘ บาท[๒] นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า งบประมาณแผ่นดินฯ ประเภท "แผนงานเทิดทูนฯ" ปีนี้ มีการเพิ่มเติมหน่วยงานที่ได้รับงบประเภทนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กรมการจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งตามงบประมาณแผ่นดินฯ ยุคก่อนรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ทั้งสามหน่วยงานนี้ไม่ได้รับงบ "แผนงานเทิดทูนฯ" แต่อย่างใด

รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๘ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยหกสิบแปดล้านสองแสนห้าหมื่นหกพันสองร้อยบาท)

เฉลี่ยวันละ ๔๗,๓๑๐,๒๙๐ บาท
ชั่วโมงละ ๑,๙๗๑,๒๖๒ บาท
นาทีละ ๓๒,๘๕๔ บาท
วินาทีละ ๕๔๗ บาท

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบงบประมาณแผ่นดินฯ ใน "งบเทิดทูนฯ (หรือ งบที่ใช้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์)" ซึ่งผมเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึงปีงบประมาณปัจจุบัน[๓] จะเห็นได้ว่า งบประมาณแผ่นดิน ประเภท "งบเทิดทูนฯ" หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โปรดพิจารณากราฟ

สำหรับงบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปี ๒๕๕๘ รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
มาตรา ๔ (๑) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๔ (๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๓๕,๙๔๖,๑๐๐ บาท

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๕๖๑,๘๓๘,๘๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๘๘,๗๙๔,๗๐๐ บาท

กรมราชองครักษ์
มาตรา ๖ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๑๙,๔๗๒,๗๐๐ บาท

กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา ๖ ข้อ ๓ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๙๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพบก
มาตรา ๖ ข้อ ๔ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๐๙,๕๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพเรือ
มาตรา ๖ ข้อ ๕ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๒,๒๔๖,๑๐๐ บาท

กองทัพอากาศ
มาตรา ๖ ข้อ ๖ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๗ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๗๐,๑๖๒,๘๐๐ บาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา ๑๗ ข้อ ๖ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๖๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๑ (๕) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๑๑๒,๐๐๐ บาท

กรมการจัดหางาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๒ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๓ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๓,๘๗๒,๒๐๐ บาท

สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๒๙,๕๐๓,๗๐๐ บาท

สำนักพระราชวัง
มาตรา ๒๕ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓,๓๒๗,๐๕๕,๓๐๐ บาท

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๗๒,๐๔๙,๔๐๐ บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๗ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕๐๑,๑๐๒,๔๐๐ บาท

หมายเหตุ งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ (จำนวน ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท : ปี ๒๕๕๘) มากกว่าเงินงบประมาณของ
- กระทรวงการต่างประเทศ (งบ ๘,๕๙๒,๙๕๙,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (งบ ๘,๓๐๒,๓๖๕,๙๐๐ บาท)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งบ ๙,๕๓๙,๐๔๗,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งบ ๕,๗๒๓,๖๙๒,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงพลังงาน (งบ ๑,๙๙๗,๐๑๒,๗๐๐ บาท)
- กระทรวงพาณิชย์ (งบ ๗,๓๔๑,๙๓๓,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งบ ๘,๙๔๒,๖๙๔,๓๐๐ บาท)
- หน่วยงานของรัฐสภา (งบ ๖,๘๔๔,๗๑๖,๘๐๐ บาท)
- หน่วยงานอิสระของรัฐ (งบ ๑๓,๕๒๙,๘๔๙,๓๐๐ บาท)
- สภากาชาดไทย (งบ ๕,๙๘๑,๓๔๕,๓๐๐ บาท)

ฯลฯ

_____________________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ระเบียบวาระการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว" ใน http://www.senate.go.th/w3c/senate/main.php?url=meeting1&mid=19594 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๒] การสำรวจ "ร่างงบประมาณประจำปี ๒๕๕๗" นั้น เมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาปรากฏว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ (ฉบับที่ยังไม่ผ่านการแก้ไขโดยรัฐสภา) กล่าวคือ ยอดรวม "ร่างงบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท แต่ยอดรวมงบประมาณ "งบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๔,๐๗๓,๖๖๒,๕๒๒ บาท  โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; เทียบ "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ห้องสมุดกฎหมาย : พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a708/%a708-20-2556-a0001.pdf [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๓] อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน ๑๐,๗๘๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์," : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๒๐๘,๘๐๐,๙๗๕ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ" ใน http://prachatai.com/journal/2012/03/39614 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗]  ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๖ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๒,๔๘๗,๗๘๕,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันบาท) ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสามพันแปดร้อยหกสิบเก้าล้านหกแสนหกหมื่นสองร้อยบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง