Skip to main content

งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สำรวจตาม "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว"[๑] ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ไปเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ และจะนำประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น

พบว่า งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์มีจำนวน "เพิ่มขึ้น" จากงบปีที่ผ่านมาจำนวน ๓,๑๙๔,๕๙๓,๖๗๘ บาท[๒] นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า งบประมาณแผ่นดินฯ ประเภท "แผนงานเทิดทูนฯ" ปีนี้ มีการเพิ่มเติมหน่วยงานที่ได้รับงบประเภทนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กรมการจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งตามงบประมาณแผ่นดินฯ ยุคก่อนรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ทั้งสามหน่วยงานนี้ไม่ได้รับงบ "แผนงานเทิดทูนฯ" แต่อย่างใด

รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๘ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยหกสิบแปดล้านสองแสนห้าหมื่นหกพันสองร้อยบาท)

เฉลี่ยวันละ ๔๗,๓๑๐,๒๙๐ บาท
ชั่วโมงละ ๑,๙๗๑,๒๖๒ บาท
นาทีละ ๓๒,๘๕๔ บาท
วินาทีละ ๕๔๗ บาท

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบงบประมาณแผ่นดินฯ ใน "งบเทิดทูนฯ (หรือ งบที่ใช้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์)" ซึ่งผมเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึงปีงบประมาณปัจจุบัน[๓] จะเห็นได้ว่า งบประมาณแผ่นดิน ประเภท "งบเทิดทูนฯ" หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โปรดพิจารณากราฟ

สำหรับงบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปี ๒๕๕๘ รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
มาตรา ๔ (๑) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๔ (๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๓๕,๙๔๖,๑๐๐ บาท

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๕๖๑,๘๓๘,๘๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๘๘,๗๙๔,๗๐๐ บาท

กรมราชองครักษ์
มาตรา ๖ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๑๙,๔๗๒,๗๐๐ บาท

กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา ๖ ข้อ ๓ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๙๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพบก
มาตรา ๖ ข้อ ๔ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๐๙,๕๐๐,๐๐๐ บาท

กองทัพเรือ
มาตรา ๖ ข้อ ๕ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑๒,๒๔๖,๑๐๐ บาท

กองทัพอากาศ
มาตรา ๖ ข้อ ๖ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๗ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๗๐,๑๖๒,๘๐๐ บาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา ๑๗ ข้อ ๖ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๖๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๑ (๕) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕,๑๑๒,๐๐๐ บาท

กรมการจัดหางาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๒ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรา ๑๙ ข้อ ๓ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๓,๘๗๒,๒๐๐ บาท

สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๑ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๒๙,๕๐๓,๗๐๐ บาท

สำนักพระราชวัง
มาตรา ๒๕ ข้อ ๒ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓,๓๒๗,๐๕๕,๓๐๐ บาท

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๔ (๑) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖๗๒,๐๔๙,๔๐๐ บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา ๒๕ ข้อ ๗ (๔) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕๐๑,๑๐๒,๔๐๐ บาท

หมายเหตุ งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ (จำนวน ๑๗,๒๖๘,๒๕๖,๒๐๐ บาท : ปี ๒๕๕๘) มากกว่าเงินงบประมาณของ
- กระทรวงการต่างประเทศ (งบ ๘,๕๙๒,๙๕๙,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (งบ ๘,๓๐๒,๓๖๕,๙๐๐ บาท)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งบ ๙,๕๓๙,๐๔๗,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งบ ๕,๗๒๓,๖๙๒,๒๐๐ บาท)
- กระทรวงพลังงาน (งบ ๑,๙๙๗,๐๑๒,๗๐๐ บาท)
- กระทรวงพาณิชย์ (งบ ๗,๓๔๑,๙๓๓,๐๐๐ บาท)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งบ ๘,๙๔๒,๖๙๔,๓๐๐ บาท)
- หน่วยงานของรัฐสภา (งบ ๖,๘๔๔,๗๑๖,๘๐๐ บาท)
- หน่วยงานอิสระของรัฐ (งบ ๑๓,๕๒๙,๘๔๙,๓๐๐ บาท)
- สภากาชาดไทย (งบ ๕,๙๘๑,๓๔๕,๓๐๐ บาท)

ฯลฯ

_____________________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ระเบียบวาระการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว" ใน http://www.senate.go.th/w3c/senate/main.php?url=meeting1&mid=19594 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๒] การสำรวจ "ร่างงบประมาณประจำปี ๒๕๕๗" นั้น เมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาปรากฏว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ (ฉบับที่ยังไม่ผ่านการแก้ไขโดยรัฐสภา) กล่าวคือ ยอดรวม "ร่างงบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท แต่ยอดรวมงบประมาณ "งบรักษาเกียรติกษัตริย์ ๒๕๕๗" ตามพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ๒๕๕๗ คือ ๑๔,๐๗๓,๖๖๒,๕๒๒ บาท  โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; เทียบ "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ห้องสมุดกฎหมาย : พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a708/%a708-20-2556-a0001.pdf [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

[๓] อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน ๑๐,๗๘๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์," : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗] ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๕ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๑,๒๐๘,๘๐๐,๙๗๕ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ" ใน http://prachatai.com/journal/2012/03/39614 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗]  ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๖ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๒,๔๘๗,๗๘๕,๐๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันบาท) ; และเทียบ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๗ สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น ๑๓,๘๖๙,๖๖๐,๒๐๐ บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นสามพันแปดร้อยหกสิบเก้าล้านหกแสนหกหมื่นสองร้อยบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, "[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗" ใน http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4290 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗].

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"