Skip to main content
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท


โดยปกติ ผู้ซื้อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องจ่ายค่ากองทุนน้ำมันลิตรละ 1.70 บาทและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์ลังงานอีกลิตรละ 0.75 บาท รวม 2.45 บาท ต่อไปนี้ก็ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนทั้งสองนี้จำนวน 0.45 บาทต่อลิตร


การแก้ปัญหาดังกล่าวคงจะสร้างความพอใจให้กับผู้บริโภคในสังคมไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ถามว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ที่ตรงประเด็นแล้วหรือ?


ปัญหาราคาน้ำมันจริงๆ แล้วมี 2 ระดับ คือ


ระดับโลก ที่มีการผูกขาดโดยพ่อค้าน้ำมันเพียงไม่กี่ตระกูลที่สัมพันธ์กับนักการเมืองผู้มีอำนาจในการก่อสงครามและตลาดหุ้น ตลาดเงิน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความต้องการและการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและอื่น ๆ ซึ่งในระดับนี้ประเทศไทยเรารวมทั้งรัฐบาลชุดไหน ๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้เลย


ระดับภายในประเทศ กิจการตรงนี้มีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การจัดซื้อน้ำมันดิบเข้ามารวมทั้งการขุดเจาะเองภายในประเทศ การกลั่น (โรงกลั่น 7 โรง ปัจจุบันมีกำลังการกลั่นได้เกินความต้องการใช้ภายในประเทศประมาณ 30%) การค้าน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นไปยังปั๊มต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนการขายปลีกของปั๊มที่มีอยู่ประมาณ 19,000 ปั๊ม


ปัญหาระดับประเทศนี้แหละที่รัฐบาลต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

จะแก้ปัญหานี้ได้จะต้องค้นหาให้ได้เสียก่อนว่า ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ต่อไปนี้เป็นคำถามที่ชวนให้คิด

 

คำถามที่หนึ่ง ใครเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทย

คำตอบคือ ผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้กำหนด รัฐบาลไม่ได้มีส่วนในการกำหนดราคาแต่อย่างใด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีและกองทุนเท่านั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลเก็บภาษีและเงินกองทุนกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลิตร 10.18 บาท คิดเป็น 35% ของราคาหน้าปั๊ม


หลายท่านอาจจะไม่เชื่อว่ารัฐบาลปล่อยให้พ่อค้าน้ำมันกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี ผมมีหลักฐานจากเอกสารของ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นองค์กรที่อ้างว่าเป็นอิสระและเป็นกลางทางวิชาชีพ) เราสามารถค้นได้จาก www.ptit.org/events/RefineryMargin9May05.pdf พอสรุปได้ว่า

ก่อนปี 2534 รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาหน้าปั๊มและกำหนดค่าการตลาดเอง โดยยึดหลักการว่าตั้งให้ราคาอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนาประเทศได้


แต่หลังจากปี 2534 เอกสารชิ้นนี้ (จัดทำในปี 2548) ระบุว่า "ผู้ค้าปลีกเป็นผู้กำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกของการแข่งขันในธุรกิจขายปลีก" อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงราคาเป็นครั้งคราว เช่น ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2547 (รัฐบาลทักษิณ)


เป็นเรื่องน่าแปลกครับ ในปี 2551 คนไทยใช้น้ำมันประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลกลับไม่ได้เข้ามาควบคุมแต่อย่างใด ได้แต่หวังว่าให้มีการแข่งขันโดยเสรี แต่ในความเป็นจริงเป็นการค้าเสรีจริงหรือ

 

คำถามที่สอง ตลาดน้ำมันไทยมีการแข่งขันเสรีจริงหรือ

โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีทั้งหมด 7 โรง มีกำลังการผลิตได้รวมกันประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สิงคโปร์ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แต่ในจำนวนนี้ ร้อยละ 85 อยู่ในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด

ร้อยละ 34% ของยอดจำหน่ายน้ำมันหน้าปั๊มติดตรา ปตท. บริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองมียอดจำหน่ายเพียงประมาณ 12 % เท่านั้น


ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นการแข่งขันโดยเสรีได้ไหม? ผมว่าท่านผู้อ่านคงตอบได้

 

คำถามที่สาม ราคาหน้าโรงกลั่นกำหนดจากอะไร

เจ้าของโรงกลั่นในประเทศจะเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น แต่เพื่อให้ดูดี เจ้าของโรงกลั่นจะอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ท่าเรือสิงคโปร์ (ราคาเอฟโอบี)


ถ้าราคาที่สิงคโปร์ลิตรละ 10 บาท (สมมุติ) ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยก็จะกำหนดเป็นลิตละ 10 บาท บวกค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากสิงคโปร์ (ตัวแทนบริษัทบอกในที่ประชุมกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ว่าประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลหรือ ประมาณ 22 สตางค์ต่อลิตร) การกำหนดราคาส่งออกก็ทำนองเดียวกัน


คนทั่วไปที่ไม่ได้สืบค้นข้อมูลด้วยตนเองอย่างเกาะติดก็จะเชื่อตามนี้ แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

 

คำถามที่สี่ ทำไมราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยจึงแพงกว่าสิงคโปร์

ผมพบข้อมูลของทางราชการชิ้นหนึ่ง เมื่อผมนำมาแปลงให้เป็นหน่วยเดียวกันที่เข้าใจง่ายแล้วพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าราคาเอฟโอบีในสิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท (ดีเซลหมุนเร็ว วันที่ 3 มีนาคม 2552) ขอย้ำว่านี่เป็นราคาที่ไม่เกี่ยวกับภาษี


ผู้แทนของบริษัทน้ำมัน แย้งผมว่า การดูราคาน้ำมันจะดูวันเดียวไม่ได้ ต้องดูกันทั้งปี ผมก็กลับมาทำการบ้านเพิ่มเติม โดยการคิดทั้งปี 2550 (ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย) ก็พบอาการแบบเดิม คือราคาหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าสิงคโปร์


มาวันนี้ ผมพยายามตรวจสอบข้อมูลปี 2552 ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย เนื่องจากข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ต้องเสียเวลาในการสืบค้น ผมจึงเลือกเอาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์รวม 15 สัปดาห์ติดต่อกัน พบความจริงดังนี้


ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดดูไบลิตรละ 11.20 บาท

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ท่าเรือสิงคโปร์ลิตรละ 13.47 บาท

แต่ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่หน้าโรงกลั่นไทยลิตรละ 13.88 บาท

น้ำมันเบนซิน 95 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

ถ้าคิดว่าแพงกว่าเพราะค่าการขนส่งก็ลิตรละ 22 สตางค์เท่านั้น (เขาบอก) แต่นี่มันถึง 41 สตางค์

คนไทยใช้น้ำมันปีละ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นเงินก้อนเท่าไหร่ครับ

นอกจากนี้ ผมพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่ากลุ่มประเทศยุโรปเยอะเลย

 

คำถามที่ห้า คนไทยต้องจ่าย "ค่าขนส่งเทียม" จริงหรือ

ในขณะที่พ่อค้าน้ำมันคิดต้นทุนน้ำมันดิบ โดยการอ้างอิงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแล้วบวกค่าขนส่งจากตลาดโลกเข้ามาเมืองไทยกับน้ำมันดิบทั้งหมดที่เข้าโรงกลั่น แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ประเทศเราสามารถขุดน้ำมันได้เองภายในประเทศถึงร้อยละ 22 ของน้ำมันดิบที่เข้าโรงกลั่น (อีก 78% เป็นการนำเข้า)


แต่ปรากฏว่า พ่อค้าน้ำมันคิดค่าขนส่งน้ำมันดิบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

นี่คือ "ค่าขนส่งเทียม"

ปี 2551 น้ำมันดิบในประเทศไทยที่เข้าโรงกลั่น(ยังไม่รวมคอนเดนเสตที่ได้จากหลุมก๊าซ) ถึง 84 ล้านบาร์เรล คิดเป็นค่าขนส่งเทียมที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเกือบ 3 พันล้านบาท

 

คำถามที่หก ค่าการตลาดคืออะไร ลิตรละเท่าใด ถูกหรือแพงเกินไป

ค่าการตลาดมี 2 ราคาคือราคากรุงเทพฯและปริมณฑล กับราคาต่างจังหวัด

ค่าการตลาดคือ ราคาหน้าปั๊ม ลบด้วยผลรวมของราคาหน้าโรงกลั่นกับภาษีและเงินกองทุน ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นราคาที่รวมค่าขนส่งแล้ว แต่ในต่างจังหวัดจะคิดค่าขนส่งต่างหาก ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของเจ้าของปั๊ม กำไรของเจ้าของปั๊มเท่ากับค่าการตลาดลบด้วยค่าใช้จ่ายภายในปั๊มและค่าดอกเบี้ย


ผู้แทนของบริษัท ปตท. ชี้แจงในวงเสวนาของวุฒิสภาว่า "ค่าการตลาดที่เหมาะสมอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท โดยเจ้าของปั๊มได้รับลิตรละ 70-80 สตางค์"


เรื่องนี้ใครรู้จักเจ้าของปั๊มกรุณาสอบถามหาความจริงให้หน่อยครับ ที่ผมทราบมานั้นประมาณ 40 สตางค์เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า บางช่วง (8 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 3.10 บาทต่อลิตร แต่ในบางช่วง (12 พฤษภาคมถึง 15 มิถุนายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 1.42 บาท เหตุผลเพราะอะไร ผมไม่ทราบครับ แต่ความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยมาก


ถ้าถามว่าค่าการตลาด 1.50 บาทต่อลิตรนั้นถูกหรือแพงเกินไป ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้นหาคำตอบมาให้ประชาชน


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าในประเทศแคนาดา ค่าการตลาดลิตรลิตรละ 1.50 โดยเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี ไม่แกว่งไปแกว่งมาเหมือนบ้านเรา แต่ค่าใช้จ่ายภายในปั๊มน่าจะแพงกว่าในประเทศไทย เพราะค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเรา

 

คำถามที่เจ็ด ทำไมพ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกในราคาที่ถูกกว่าที่ขายให้คนไทย

จากข้อมูลของทางราชการเช่นเดิม ผมพบว่า ในปี 2551 พ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกไปขายในราคา 103.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 77 ล้านบาร์เรล (รวมเป็นเงิน 2.78 แสนล้านบาท) แต่นำเข้ามาในราคา 107.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 14.3 ล้านบาร์เรล


ในปี 2550 ก็ทำนองเดียวกัน ในขณะที่ราคาส่งออกอยู่ที่ระดับ 75.60 แต่ขายภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 79.25 $/บาร์เรล


เรื่องนี้เหมือนกับราคาน้ำตาลทราย ที่คนในประเทศ(ผู้มีบุญ!) ซื้อแพงกว่าราคาส่งออก


ผู้แทนของบริษัท ปตท. อธิบายว่า "น้ำมันส่งออกส่วนหนึ่งเป็นน้ำมันเตาที่ราคาต่ำ ดังนั้นราคาเฉลี่ยจึงต่ำกว่า" ผมกลับมาค้นคว้าใหม่ พบว่าที่ผู้แทนบริษัทพูดก็เป็นความจริง แต่ก็ไม่ยอมบอกสัดส่วนที่แท้จริง


ที่ผมเรียนมาทั้งหมดในข้อนี้ ยังไม่ได้ตอบว่า "ทำไม ราคาส่งออกจึงถูกว่าภายในประเทศ"


ผมคิดเอานะครับว่า "เพราะการส่งออกต้องมีการแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ในโลก แต่ในประเทศไทยเป็นการผูกขาด (85%) เป็นหมูในอวย"

 

คำถามที่แปด บริษัทน้ำมันควรจะมีกำไรเท่าใด

คำตอบในข้อนี้น่าจะสะท้อนภาพรวมได้ดี จากเอกสารที่ค้นได้จาก http://www.api.org พบว่า กำไรขั้นต้นของบริษัทน้ำมันในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 5.7% แต่ในปี 2551บริษัท ปตท. อยู่ที่ร้อยละ 8.5 บางปีเกือบถึง 10%

ตัวเลขนี้คงบอกอะไรได้ชัดเจนอยู่ในตัว

 

คำถามที่เก้า การแก้ปัญหาราคาน้ำมันของรัฐบาลนี้ถูกต้องตรงประเด็นไหม

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงจริงครับ แต่ความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับพ่อค้าน้ำมัน ระหว่างเจ้าของปั๊มกับพ่อค้ารายใหญ่ รัฐบาลนี้แกล้งทำเป็นไม่เห็นครับ


ความไม่เป็นธรรมจึงยังคงดำรงอยู่ต่อไป แล้วสังคมนี้จะมีความสงบและสันติสุขได้อย่างไร

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…