Skip to main content

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ให้สัมภาษณ์หลังจากทราบว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า

“พลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นสำหรับการจัดหาพลังงานในระยะยาวของประเทศ ขณะนี้ทั่วโลกก็กำลังกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน” (มติชน,19 กันยายน 50) ในตอนท้ายรัฐมนตรีท่านนี้ได้ฝากถึงนักการเมืองในอนาคตว่า

“อยากฝากถึงพรรคการเมืองต่างๆ ด้วยว่าหากจะมีการกำหนดนโยบายอะไรออกมาขอให้ดูผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และต้องดูถึงผลระยะยาวด้วย เรื่องนิวเคลียร์ต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี แต่รัฐบาลมีอายุการทำงานเพียง 4 ปีเท่านั้น”

สาระสำคัญที่รัฐมนตรีพลังงานได้เสนอมี 3 ประเด็นคือ

หนึ่ง ทั่วโลกกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งหนึ่ง (หลังจากการระเบิดที่เชอโนบิลเมื่อ 21 ปีก่อน) สอง พลังงานนิวเคลียร์ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน และ สาม เรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องต้องใช้เวลาเตรียมตัวนานถึง 14 ปี

ความจริงแล้วเรื่องพลังงานนิวเคลียร์หรือเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีหลายประเด็น เช่น เรื่องต้นทุน เรื่องอุบัติเหตุ เรื่องการเก็บกากของเสีย เรื่องการก่อการร้าย เป็นต้น แต่เมื่อท่านรัฐมนตรีเสนอมาเพียง 3 ประเด็น เราจึงมาพิจารณาเหตุผลกันทีละประเด็นกันครับ

ในสองประเด็นแรก คนไทยเราไม่ค่อยมีข้อมูลเพราะเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แม้จะมีการเคลื่อนไหวกันหลายครั้ง ตั้งแต่ก่อนรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (2510) แต่ก็ต้องชะงักไปทุกครั้ง สำหรับประเด็นที่สามนั้น แม้จะเป็นความจริงอย่างที่รัฐมนตรีกล่าวคือต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวนานอย่างน้อยถึง 14 ปี แต่สิ่งที่คุณปิยะสวัสดิ์ไม่ยอมกล่าวถึงก็คือ การจัดกระบวนการมีส่วนของประชาชน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนทั้งที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง แต่อยู่ๆ รัฐบาลชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารและมีอายุการทำงานเพียง 1 ปีก็รวบรัดบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนการพัฒนากำลังผลิตที่เรียกว่า “แผนพีดีพี 2007” และได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

เป็นที่น่าสังเกตว่า การทำประชาพิจารณ์แผนดังกล่าวก็ทำกันในสโมสรทหารบก (3 เมษายน 50) เพราะเกรงชาวบ้านที่ติดตามเรื่องมีมาชนิดกัดไม่ปล่อยจะเข้าไปคัดค้าน ในสื่อโทรทัศน์เองก็มีการโฆษณาของฝ่ายสนับสนุนเพียงอย่างเดียว ฝ่ายที่มีความเห็นต่างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศ

อมาตยะ เซ็น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์และคลุกคลีอยู่กับคนยากจนกล่าวว่า “ระบอบประชาธิปไตยก็คือระบอบที่ให้สังคมได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุด้วยผลอย่างกว้างขวางในประเด็นสาธารณะ”

การจัดทำแผนพลังงานดังกล่าวของรัฐบาลชุดนี้เป็นเผด็จการทั้งรูปแบบและเนื้อหา ดังนั้นในประเด็นที่สามที่ท่านรัฐมนตรีพลังงานเสนอนั้น เขาไม่เห็นชาวบ้านอยู่ในสายตา คิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของความรู้

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสกับคณะทูตและกงสุลประจำประเทศต่างๆ ว่า

"...เขาบอกว่าเดี๋ยวนี้พลังงานปรมาณู เป็นพลังงานที่สะอาดมาก ก็จริง สะอาดที่สุด แต่ว่าถ้าอันตรายก็อันตรายถึงตายทั้งนั้น ท่านทูตน่าจะไปถามผู้เชี่ยวชาญที่ทำเกี่ยวข้องกับพลังงาน..” (กรุงเทพธุรกิจ 29 สิงหาคม 2550)

คุณปิยะสวัสดิ์ก็ออกมาปรามว่า ไม่อยากให้ใครนำกระแสพระราชดำรัสไปอ้างโดยไม่ระมัดระวัง

ต่อไปนี้มาพิจารณาในประเด็นแรกกันครับ คือ ทั่วโลกกลับมาหาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งหนึ่ง

ท่านรัฐมนตรีใช้คำว่า “ทั่วโลก” เป็นการกล่าวที่เกินความจริงไปมากทีเดียว จากเอกสาร “Nuclear Power in the World Today.” World Nuclear Association.(2007) http://www.world-nuclear.org/info/inf01.html พบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีเพียง 30 ประเทศเท่านั้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ คิดเป็นเพียง 16% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในโลก โดยมีเตาปฏิกรณ์จำนวน 435 แห่ง

ที่น่าคิดคือ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ส่งออกแร่ยูเรเนียมมากที่สุดในโลก แต่ยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้แต่โรงเดียว (ปัจจุบันกำลังมีการถกเถียงกันว่าสมควรจะมีหรือไม่)

เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการคิดค้นพลังงานนิวเคลียร์ได้สำเร็จครั้งแรกในโลก ก็ประกาศว่าจะค่อยๆ ปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด โดยไม่มีการสร้างขึ้นใหม่อีก แต่หันไปหาพลังงานลม แสงอาทิตย์และชีวมวล

ปัจจุบันทั่วโลกมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 32 แห่ง ในจำนวนนี้ 18 แห่งอยู่ในทวีปเอเชีย

 

01.jpg

 

ณ ปี 2550 ทั่วโลกมีการเสนอสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 214 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศจีน 86 แห่งและอินเดีย 15 แห่ง ถ้านับเป็นประเทศก็มีเพียง 23 ประเทศ ในจำนวน 23 ประเทศนี้ ส่วนมากก็เป็นการสร้างเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว ที่เป็นการเสนอสร้างใหม่ครั้งแรกของประเทศมีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นต้น

อย่างไรก็ตามข้อมูลในความเป็นจริงยังห่างไกลจากคำว่า “ทั่วโลก” ที่ท่านรัฐมนตรีพยายามจะชักนำสังคมราวกับเป็นนัก “ลอบบี้ (Lobby)” (ดูภาพการ์ตูนประกอบ)

บางท่านอาจคิดว่า “เห็นไหมประเทศจีนหันมาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันเยอะมาก” แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกันแล้ว พบว่าประเทศจีนมีการสร้างพลังงานหมุนเวียนมากเป็นสองเท่าของพลังงานนิวเคลียร์

เรายังคงเหลือประเด็นเดียวคือการช่วยลดปัญหาโลกร้อนครับ

ด้วยความที่ต้องการจะแหกวงล้อมที่รัฐบาลชุดได้พยายามมิให้สังคมไทยได้รับทราบทัศนะที่แตกต่าง ผมจึงได้ค้นคว้าหาความรู้มาจากผู้เชี่ยวชาญมาเสนอในที่นี้

ผู้เชี่ยวชาญที่ผมว่านี้เป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยคิดเหมือนกับนักฟิสิกส์หนุ่มๆทั่วไปว่า “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานสะอาดสำหรับอนาคต” แต่เมื่อเขาได้ผ่านประสบการณ์การทำงาน มานานปีเขาก็กลับปฏิเสธความคิดในอดีตของเขาเองอย่างสิ้นเชิง

ท่านผู้นี้คือศาสตราจารย์เอียน โลวิ (Ian Lowe) เป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการวิชาการในระดับสากล ทำงานวิจัยมานานกว่า 40 ปี ท่านศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาได้รับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยยอร์กประเทศอังกฤษ โดยได้รับทุนจากการสนับสนุนจากองค์การพลังงานอะตอมแห่งสหราชอาณาจักร (UK Atomic Energy Authority) นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เอียน โลวิ เป็นประธานมูลนิธิอนุรักษ์แห่งประเทศออสเตรเลีย (Australia Conservation Foundation) อีกด้วย

ในประเด็นที่ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วยลดปัญหาโลกร้อน ศาสตราจารย์ผู้นี้แสดงความเห็นว่า

การแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมันช้าเกินไปเสียแล้ว สมมุติว่าสังคมใดมีความเห็นพ้องต้องกันทางการเมืองว่าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในวันนี้ ก็ต้องรออีกอย่างน้อย 15 ปี (ใกล้เคียงกับที่คุณปิยะสวัสดิ์อ้างถึง แต่เริ่มต้นจากการเห็นพ้องกันแล้ว ไม่ใช่เริ่มต้นจากการเสนอจากภาครัฐ) จึงจะสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ บางความเห็นบอกว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 25 ปีจึงจะเป็นจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมและการคัดค้านในประเทศออสเตรเลียเอง

เราไม่อาจรอเป็นเวลานานหลายทศวรรษจึงค่อยตอบสนองต่อปัญหาโลกร้อนได้ ปัญหาโลกร้อนกำลังกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงมากขึ้นทุกปี

ตรงกันข้ามกับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ภายใน 1 ปีและการประหยัดพลังงานสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในทันที

ท่านกล่าวว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะการทำเหมืองแร่ยูเรเนียม กระบวนการผลิตแร่ยูเรเนียม การเพิ่มประสิทธิภาพแร่ (enrichment) และการสร้างโรงไฟฟ้า ล้วนต้องใช้พลังงานจากฟอสซิลจำนวนมากซึ่งก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนเช่นกัน

“ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระยะเริ่มต้นจะเป็นการเพิ่มมลพิษเรือนกระจก (greenhouse pollution) แต่ในระยะยาวแล้ว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าพลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเสียอีก”

ท่านให้เหตุผลว่า แร่ยูเรเนียมที่มีคุณภาพดีค่อนข้างจะมีน้อย มีการประมาณกันว่า ถ้าความต้องการไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม แร่ยูเรเนียมคุณภาพดีจะสามารถตอบสนองความต้องการของโลกได้อีกเพียง 40 ถึง 50 ปีเท่านั้น ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันทั้งโลก มาจากพลังงานนิวเคลียร์ประมาณ 16% เท่านั้น ดังนั้นถ้าเราจะนำพลังงานนิวเคลียร์มาแทนโรงไฟฟ้าถ่านหิน แร่ยูเรเนียมชั้นดีก็จะหมดภายในเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษเท่านั้น

จริงอยู่ยังมีสินแร่ยูเรเนียมคุณภาพรองลงมาอีกมาก แต่ก็ต้องใช้พลังงานอีกจำนวนมากไปในกระบวนการผลิตซึ่งก็เป็นการสร้างก๊าซที่ทำให้โลกร้อนขึ้นมากอีกมาก ดังนั้นข้อเสนอเรื่องการลดปัญหาโลกร้อนของท่านรัฐมนตรีปิยะสวัสดิ์จึงไม่เห็นความจริง

ศาสตราจารย์เอียน โลวิ สรุปในประเด็นนี้ว่า โปรดอย่าลืมว่า แร่ยูเรเนียม ก็เหมือนน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน คือเป็นแหล่งพลังงานที่มีจำนวนจำกัด มีเพียงพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) เท่านั้น คือลม แสงแดด และชีวมวล ที่มีจำนวนไม่จำกัด

ดังนั้น สิ่งที่พลเมืองไทยควรเรียกร้องต่อรัฐบาลทุกชุด ก็คือการเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย ไม่ใช่ฝ่ายรัฐเป็นผู้โฆษณาอยู่ฝ่ายเดียว โปรดฟังอีกครั้ง!

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…