ม่อนแสงดาว ลมหนาวที่ไม่รู้วันหวนคืน(2) โดย บรรณวิชญ์ สมบุญ

 

"นี่เป็นประสบการณ์ไปต่างจังหวัดเองครั้งแรกของผม"

 

     ความรู้สึกตอนนั้นมันตื่นเต้นไปหมด ใจเต้นตึกตัก คึกคักถี่ๆ ถี่เสียยิ่งกว่าปลากระดี่เสียอีก (ไม่เกี่ยว!) มันก็เป็นช่วงเวลาที่ดีเหมือนกันนะ ช่วงเวลาที่ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองเป็นระยะเวลา ๑๑ ชั่วโมง แล้วนึกถึงความทรงจำต่างๆที่ผ่านมา

 

     ครั้งแรกบนรถทัวร์ของผม ผมจำได้แทบทุกเหตุการณ์ที่อยู่บนรถทัวร์เลยล่ะครับ...

 

   [๑]  

      ตั้งแต่ ตอนที่ "ฟิตรี" ปวดคอ แล้วขอเปลี่ยนที่นั่งกับผม เนื่องจาก เธอไม่ถนัดเอียงคอมองวิวทางซ้าย

   [๒]

     "เจ๊โบนัส" กำลังล่องเรือไปกับเจ้าหญิงโมอาน่าอย่างใจจดใจจ่อ

   [๓]

       แอบเหลือบไปมอง "จริงจัง" ผู้มีท่าทีจริงจังและดูจริงจังอย่างจริงจังไปกับทุกเรื่องกำลังฟังเพลงด้วยท่าทางที่ดูจริงจังมาก สมกับชื่อของเธอจริงๆ

   [๔]

       พอผมหันหลังไปมอง "พี่วริศ" ตรงนั้นมันมืดไปหมด คงนอนล่ะมั้งครับ

   [๕]

       ส่วนผมก็ฟังเพลงช้าๆสไตล์ผู้ชายเปื้อนฝุ่น กอดอุ่นเพราะมีพุง และเล่นเอ็มวีไปพร้อมกับวิวข้างทาง จนเผลอนอนหลับไป

 

     ระหว่างทางบนรถทัวร์ ผมจินตนาการถึงปลายทางว่ามันจะต้องสวยงามมากแน่ๆ คำพูดโฆษณา "ม่อนแสงดาว" อย่างสุดฤทธิ์สุดเดชของพี่ตุ้ม ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการ #storytellersinjourney ดังวนไปวนมาอยู่ในใจ

 

     "ที่นี่สวยมากเลยล่ะ บรรยากาศเชิงเขา อากาศดี เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งลุ่มแม่น้ำโขงที่มีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชนเผ่ามากมาย..." และนี่คือคำพูดของพี่ตุ้ม อันที่จริง เขาพรรณนามากกว่าที่ผมเขียนมาเสียอีก แต่ผมจำมาเขียนได้ไม่หมดจริงๆ

 

      สีหน้าของพี่ตุ้มที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มในขณะที่โฆษณา "ม่อนแสงดาว" ราวกับเป็นเจ้าของที่ดินตรงนั้น ทำให้ผมคาดหวังกับจุดหมายปลายทางมาก มากจนผมอยากจะลองแต่ง "นิราศแสงดาว" พรรณนาความงดงามของม่อนแสงดาวเมื่อผมไปถึงเลยล่ะครับ

 

 

สวัสดีครับคุณม่อนแสงดาว   

    "ผิดหวัง”

    ไหนล่ะ... บรรยากาศม่อนริมแม่น้ำโขง เห็นแต่บ่อน้ำสีคล้ำๆ เต็มไปด้วยวัชพืชยุ่งเหยิงริมบ่อ

    ไหนล่ะ... แหล่งการเรียนรู้เชิงเกษตรที่วาดฝันไว้ เจอแต่ถาดพลาสติกเพาะเมล็ดแห้งกรอบ คงวางตากแดดไว้มานานเป็นเดือนแล้ว

    "ไหนล่ะ.. ไหนล่ะ.. ไหนล่ะ.."

    เฮ้อ... คนเราเวลาตั้งใจทำอะไรมากๆ เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พอปลายทางไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ ไม่แปลกหรอกครับ ถ้าเราจะรู้สึกแย่ แต่ในความรู้สึกแย่นั้น เชื่อเถอะ เราว่ามันมีสิ่งดีๆแฝงอยู่

    อย่างน้อย มันก็ทำให้เราได้รู้ว่า...

     "เรายังเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจ ไม่ได้ไร้ความรู้สึก"

 

 

"ตื้นตันใจ"

      วันนั้นเราออกไปชมศิลปะที่วัดร่องขุ่นกันข้างนอก แล้วกลับมากันจนดึกดื่น ตอนแรกไฟข้างทางมืดมิดไปหมด เหมือนอนาคตการสอบไฟนอลที่กำลังจะมาถึง พวกเราจึงคิดว่าคนชนบทน่าจะนอนเร็ว  ชาวม่อนแสงดาวคงหลับกันหมดแล้ว

        "สายลมหนาวพัดโบกโบย พริ้วดูแล้วสวยใสใส"

       "หนาวจัง..." ผมอุทานออกมาเบาๆในขณะที่ลมหนาวกำลังปะทะกับร่างตนเองบนรถสองแถว

       พอมาถึงที่ม่อน คุณครูและน้องๆยังก่อกองไฟนั่งปิ้งข้าวหลามรอพวกเรามาลองชิมข้าวหลามฝีมือชาวเหนือ เมื่อเราลองชิม มันไม่มีรสชาติ เพราะไม่ได้การปรุงเพิ่มความหวาน แต่มันมีรสชาติแห่งความอบอุ่น มันรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก

       "โรงเรียนของหนู อยู่ไกลไกล๊ไกล อยากให้คุณคุณหันมอง..."

      เสียงกีต้าร์คลอเบาๆประกอบกับเสียงร้องของน้องจัมโบ้ เด็กนักเรียนคนหนึ่งในโรงเรียนม่อนแสงดาว วนเวียนอยู่ในโสตประสาท แล้วส่งต่อไปยังสมอง ไม่สิ! หัวใจมากกว่า ผมตกอยู่ในห้วงภวังค์ของความลึกซึ้งที่บรรยายออกมาไม่ถูก

วันแห่งการจากลาก็มาถึง...

       คุณครูให้พวกเราวาดรูปไว้เป็นที่ระลึก ส่วนน้องๆก็วาดรูปให้พวกเราเช่นกัน และสุดท้าย ความทรงจำก็ได้รับการบันทึกลงในรูปวาด

หยิบมองรูปนี้อีกสักกี่ครั้ง ก็รู้สึกดี

ลาก่อน ม่อนแสงดาว

----------------

#CHUBBYINCHIANGRAI

#MIDL2018

#INCLUSIVECITIES

#STORYTELLERSINJOURNEY

#สาธารณะศึกษา

#พื้นที่เรียนรู้สาธารณะ

 

บรรณวิชญ์  สมบุญ

   แถ่นแทนแท้น

 

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (2) โดยนางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (1) โดย นางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Storytellers In Journey : นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

เดินทาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ก้าวข้าม โดย ดาราวดี พานิช

หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้