Skip to main content

 หลังจากส่งบทความไปกับทาง Story tellers in journey ก็ไม่ได้สมหวังตั้งแต่แรกอย่างเพื่อนๆ ทั้ง 19 คนที่ได้ไป Workshop กันหรอก ฮ่าๆ แต่หลังจากนั้นก็มี G-mail เด้งมาจากพี่ตุ้ม จำได้ว่าตอนนั้นกำลังพรีเซ้นท์งานอยู่ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ว่ามีคนสละสิทธิ์ และให้เราได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม และบังเอิญตรงที่มีรุ่นพี่ที่เรียนเมเจอร์เดียวกัน 2 คนผ่านเข้ารอบไปก่อนหน้านี้แล้ว และต้องเตรียมตัวออกเดินทางพร้อมกับพี่ๆ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ในตอนเช้า ยอมรับเลยว่าตอนนั้นเตรียมตัวไม่ทันจริงๆ เวลาแค่ 1 คืน ในการเตรียมทุกอย่างให้พร้อมเพื่อออกเดินทางในเช้าของวันที่ 6 พฤศจิกายน ในคืนนั้นก็หยิบทุกอย่างที่จำเป็นยัดใส่กระเป๋าแล้วนอนพักผ่อนเพื่อจะออกเดินทางในตอนเช้า

วันที่ 7-8 พฤศจิกายน ก็ได้เข้าร่วม Workshop กับเหล่า Storytellers ทั้ง 20 คน จากทั่วประเทศ เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน ที่ใจหายมากจริงๆ ทั้งๆ ที่ต่างคนต่างที่มา และไม่ได้รู้จักกันมาก่อนเลย แต่ทุกคนมีเป้าที่พร้อมจะเรียนรู้และเล่ามันออกมาตามสไตล์ของตัวเอง ในคืนวันที่ 7 หลังจากได้โจทย์ของการลงพื้นที่แต่ละพื้นที่มา ก็ได้คิดและปรึกษาพี่ๆ ที่ไปด้วยกันว่า ในการเรียนรู้ครั้งนี้จะเลือกเพื่อนที่ไหนดี คืนนี้เพื่อนๆ ทุกคน ต่างวุ่นหาข้อมูล และปรึกษากันเกือบทั้งคืนเลยก็ว่าได้ ในตอนเช้าก่อนเหล่านักเล่าเรื่องจะแยกกันไปลงพื้นที่เรียนรู้ ทั้งหมดก็ได้มาปรึกษากันอีกครั้ง

จากจุดเริ่มต้นที่มีเป้าหมาย สู่การเรียนรู้โลกใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด 20 ชีวิต ที่เคมีเข้ากันสุดขั้ว ต่างออกเดินทางกระจายไปทั่วทุกภาคของไทย เด็กใต้ล่องขึ้นเหนือ เด็กเหนือล่องใต้ แต่เรามีเป้าหมายเดียวกันคือ เรียนรู้ และเล่ามันออกมาผ่านการเล่าเรื่องของแต่ละคน เพื่อพัฒนางาน และสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในที่ต่างๆ ต่อไป...

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ผมและเพื่อนร่วมทางอีกสองคนคือพี่ๆ ที่ไปด้วยกันจากภาคใต้ วาร์ปจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และนั่งรถเหลืองไปด้วยความงัวเงียเพราะเป็นตอนเช้าของอีกวันแล้ว เพื่อเดินทางไปยัง โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่มระหว่างทางก็เป็นป่า ขึ้นเนินลงเนิน ทางโค้งสลับกันไปอากาศหนาวมาก ณ ตอนนั้น

 

บทเรียนที่ 1 : การสื่อสาร


   ระหว่างทางในการนั่งรถเหลืองไปยังอำเภอแม่แจ่ม ก็ชมบรรยากาศสองข้างทางที่เป็นป่าเขา น้ำตก และเนิน บวกกับอาชีพของชาวดอย ที่มักปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ทำไร่นา แต่ด้วยระยะทางที่คดเคี้ยว และยาวนาน หลังจากที่นั่งฟังเจ้าถิ่นพูดคุยกันบนรถแล้ว ก็ได้ทำให้ผมตัดสินใจพูดกับแม่บนรถระหว่างทางไม่ต้อง งงหรอกครับว่าผมไปกับแม่หรอ เห็นตอนเล่าบอกไปกับพี่ๆ ใช่ผมไปกับพี่ๆ ฮ่าๆ แต่แม่ก็คือ คนเฒ่าคนแก่ที่นี่เวลาพูดก็จะแทนตัวเองว่าแม่ ซึ่งเมื่อได้ฟังจะทำให้รู้สึกดี และคนที่นี่น่ารักมากทำให้เราดูสนิทกันขึ้นมาเลย และด้วยความที่เราเป็นเด็กใต้แน่นอนนอกจากความแตกต่างของภูมภาคแล้ว ก็มีภาษา คำพูดนี่แหละที่แตกต่างมาก บางครั้งแม่ก็พูดเบา บางครั้งก็พูดเร็ว แต่คนต่างถิ่นอย่างพวกเราก็พยามฟัง พูดคุยกับแม่ เพื่อนสานสัมพันธ์เรื่องราวกันระหว่างทาง และศึกษาคำพูดคำแรกที่แม่สอนให้ผมพูด แล้วผมยังจำได้นั้นเป็นใครฟังก็ประทับใจกันทั้งนั้นแหละครับ ก็คือ คำว่า โอ หมือ โช ปือ แปลว่า ยินดีต้อนรับ

 

บทเรียนที่ 2 เปิดใจแล้วไปด้วยกัน


   เมื่อเดินทางจากรถเหลืองกว่า 2 ชั่วโมงแล้วก็เดินเท้าขึ้นเนินลงเนินกว่า 1 กิโลเมตร แล้วพวกก็มาถึงโรงเรียนสาธิตชุมชนสมเด็จย่า ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีระบบการเรียนรู้สองรูปแบบคือการศึกษาวิชาการ และการศึกษาวิชาชีพ เรียนรู้วิถีชุมชนเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียน มีความเป็นผู้นำ ดูแลตัวเองได้ เข้าใจ ได้ความรู้และสามารถนำไปใช้ในการใช้ชีวิตหลังจากจบจากที่นี่ไป


   ในช่วงเช้าจะเป็นการเรียนแบบวิชาการเป็นวิชาทั่วไปอังกฤษคณิตส่วนตอนบ่าย เป็นการเรียนรู้วิถีชุมชนปลุกผักทักโทรเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการใช้ชีวิตหลังจากจบไปจากโรงเรียนแห่งนี้ได้และอีกมากมายตามตารางสอนในแต่ละวันในวันที่ผมไปถึงเธอวันศุกร์เล่นในตอนบ่ายของวันศุกร์นั้นคือการประชุมสภาก็จะมีหลายวาระด้วยกันเลยเช่นแจ้งให้ทราบพิจารณากระทู้วางแผนงานแต่ละวาระนักเรียนและคุณครูจะสามารถเสนอความคิดเห็นและพูดคุยกันด้วยเหตุผลที่จะต้องตัดสินใจว่าเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


   แต่มี 1 วาระที่น่าสนใจมากสำหรับโรงเรียนแห่งนี้ คือวาระการเปิดใจและพูดคุยอื่นๆ ด้วยโรงเรียนแห่งนี้จะมีกิจกรรมเยอะอยู่แล้ว นักเรียนคนนึง ชื่อน้องหมิว น้องหมิวได้เสนอไปว่า เมื่อมีกิจกรรมขอครูไม่ต้องให้การบ้าน แน่นอนแหละ ว่ามันน่าขำ แต่ก็ทำให้เรานึกถึงตอนเด็กๆ ที่ไม่อยากทำการบ้านเลย ฮ่าๆ แต่สุดท้ายคุณครูก็เห็นพ้องต้องกัน ก็เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมเต็มที่นั่นแหละ แต่ก็ขึ้นอยู่ในโอกาศต่างๆ และเหตุผลด้วย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
คุณครูที่นี่น่ารักมากทั้งการต้อนรับ พาไปยังสถานที่ต่างๆ และอาหารการกิน อร่อยแปลกสำหรับเด็กใต้อย่างผมมาก ฮ่าๆ ประทับใจและขอบคุณมากๆ

 

   ส่วนวันนี้จะมีอะไรอีกหรือเราจะวาร์ปไปนอนนั้น ก็ต้องรอติดตามกันอีก แต่เมื่อไปถึงที่พักเก็บกระเป๋ากำลังจะไปอาบน้ำ ก็ทำให้ผมขนลุกเลยเมื่อก้าวเข้าห้องน้ำไป สิ่งที่ผมเจอไม่ใช่สัตว์ที่น่ากลัว หรืออะไรที่เพื่อนๆ จินตนาการไประหว่างอ่านอยู่หรอกครับ ฮ่าๆ แต่เป็น... น้ำที่นี่ต่างหากไม่ใช่ขี้เกียจอาบน้ำหรอก แต่อย่างกับเอาน้ำแข็งมาละลายน้ำแล้วอาบเลยครับหนาวมากกกกกกกกกกกก ตัวนี้แข็งทื้อ ระหว่างอาบเลย สำหรับการเดินทางที่แสนนานของวันนี้ ทั้งขึ้นเขาลงเขา และเป็นการเดินเท้า ที่ทำให้เพลียมาก ฮ่าๆ ไว้เจอกันตอนหน้าเน้อ บ๊ายบายเจ้าาาา

 

บทเรียนที่ 3 ความละเอียด

 

   การเดินทางสู่การเรียนรู้ในวันที่สองของผม เริ่มต้นด้วยการไปเรียนรู้การถักทอผ้าสิ้นตีนจก เสื้อผ้า กระเป๋าย่าม และสิ่งถักทอต่างๆ การถักทอเป็นความละเอียดที่ต้องใช้ความประณีตมาก การมาเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้ผมเห็นถึงความละเอียดของผ้าที่ถักออกมา แล้วลองคิดเล่นเล่นดูว่าความละเอียดนี้จะไปหอหุ้ม ปกคุมตัวคุณนั้น คุณจะให้ตัวเองเป็นคนที่อ่อนโยน อ่อนหวาน หรือคุณจะให้แค่สิ่งถักทอที่ละเอียด มาปลุกคุมความหยาบกระด้างของคุณล่ะ

 

   จากการดูวิธีถักทอ และพูดคุยกับพี่คนทำ ทำให้ผมคิดได้ในหลายๆ อย่าง มันบ่งบอกถึงความเป็นอยู่ของคนที่นี่ บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน ว่าภายใต้ความละเอียดนั้น กว่าจะออกมาได้ สำเร็จได้ก็ต้องออกมาจากความอ่อนโยน ของคนคนนั้นแหล่ะ แน่นอนเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่คนที่นั่งอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมทำหน้าที่ฟัง และรับฟังตลอดไม่มีทางได้รู้เลย จนกว่าคุณจะออกมาเรียนรู้ และเปิดใจให้มันเข้ามาในใจคุณเอง “ ของบางอย่างไม่ใช่งานแบรนด์ อย่าคิดว่ามันแพงเพราะมันเป็นงานฝีมือ “

 

 

บทเรียนที่ 4 ความสัมพันธ์ที่ดีเกิดจากการพูดคุย


   มาถึงวันแรกก็ยังไม่ได้พูดคุย หรือสนิทกับน้องๆ คนไหนเลย แต่ในวันที่สองก็ไปทำตัวให้กลมกลืนกับเด็กๆ ซะหน่อยแต่คงไม่ได้แล้ว เพราะผมเองก็ไม่ได้เด็กขนาดนั้นแล้ว ฮ่าๆ น้องๆ ที่นี่น่ารักกันทุกคนเลย และหลังจากที่ตอนเช้าได้ไปเรียนรู้การถักทอ การทำผ้าซิ่นตีนจกแล้ว ก็เดินทางกลับมายังโรงเรียน และได้เดินขึ้นไปยังห้องสมุดของโรงเรียน ใครจะคิดล่ะว่าภายในห้องที่มีแต่หนังสือบนชั้นวางจะมีเสียงกระซิบ แว่วออกมาด้วย เมื่อเดินขึ้นไปก็พบแต่ความเงียบ เนื่องจากเป็นวันเสาร์ คงไม่มีเด็กคนไหนขึ้นใหม่ยังห้องสมุดหรอก เด็กๆ คงจะนอนพัก ไปทำกิจกรรมตามประสาเด็กชาย หญิง แหละ แต่เมื่อเดินขึ้นไปเสียง กระซิบก็ดังขึ้นเรื่อยๆ และต้นเสียงนั้นก็คือน้องมอลลี่ และน้องริสา นักเรียนชั้นมัธยม 1 นั่นเอง

 

   น้องใช้เวลาว่างในการมานั่งอ่านหนังสือ และทอผ้ากันบนห้องสมุด ที่เป็นบ้านไม้สองชั้นแห่งนี้ แน่นอนการจะเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งต่างๆ จากต่างถิ่น ก็ต้องเรียนรู้จากเจ้าถิ่นนี่แหละ จากการพูดคุยกับน้องๆ ทั้งสองคนนี้ สิ่งที่ผมได้รับมากกว่าการเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องการคือ ความแตกต่างของสัจธรรมชีวิตนี่แหละ ทั้งโอกาส สถานที่ ความฝันความ ต้องการ ในสิ่งที่เด็กอย่างผมมีครบ และสามารถ สานฝันตัวเองได้กล้าพูดถึงความฝัน และความต้องการโดยไม่อายเลยไม่ลังเลในเป้าหมายของตน แต่กลับมีคนอีกฝั่ง อย่างน้องๆ ที่กว่าจะกล้าพูดถึงความฝัน และความต้องการของตัวเองนั้น แววตา ณ ตอนพูดคุยทำให้ผมรู้สึกถึฃหลายๆ อย่างด้วยกันเลย ทั้งความท้อ ยอมแพ้ และยอมรับว่าตัวเองคงอยู่ได้แค่นี้ มันทำให้ผม และพี่ๆ ไม่กล้าที่จะถามน้องๆ ต่ออีกเลย มันทำให้เราฟังแล้ว เข้าใจว่าน้องๆ ท้อในโชคชะตาและโอกาสที่ตัวเองมี แต่อย่างน้อยสิ่งที่น้องๆมีแล้วก็ภูมิใจกับมันมาก คือการเรียนที่นี่และมีความสุข ณ จุดๆ นี้ ที่ได้รับจากโรงเรียนแห่งนี้

 

บทเรียนที่ 5 ไกด์นำทางต่างสปีชี่


   เป็นเรื่องตลกที่น่ารักที่สุดแล้วนอกจากผู้คน ชาวบ้าน คุณครู และเด็กๆ ที่นี่จะน่ารักแล้ว ตั้งแต่วันแรกที่เข้าที่พักมา ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าบ้านพักที่ผมไปพักตลอดการเรียนรู้ทั้งสามวันนั้น จะเป็นบ้านชนเผ่าที่สร้างด้วยไม้ไผ่ สร้างไว้เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และที่พักสำหรับผู้มาเยือน ตั้งแต่วันแรกที่ผม และพี่ๆ เข้าพักจะมีสุนัขตัวหนึ่งมาต้อนรับ และหยอกล้อราวกับสนิทสนมกันมานาน เขาก็คือ เจ้าน้ำตาลนั่นเอง


   ในการเดินทางครั้งนี้นับเป็นการเดินทางที่แท้จิงเลยก็ว่าได้ เพราะเดินตั้งแต่วันแรกที่มาถึง จนวันที่กลับเลย ฮ่าๆ ระยะทางจากบ้านพักกับโรงเรียน ก็จะมีสองทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าตรู่หรือตอนค่ำ ก็จะมีน้ำตาลเดินไปด้วยกันตลอดทาง ในตอนกลางวันนี่ไม่เท่าไหร่นะ เพราะระหว่างทางจะเป็นทางถนน ซึ่งจะไกลมาก อ้อมมาก และอีกทาง เป็นทางลัดเขา ก็เปลี่ยวมากเช่นกัน แต่ระยะทางใกล้กว่า และในตอนค่ำมืดนี่แหละ เจ้าน้ำตาลก็ยังตามไปจนกว่าเราจะกลับมาที่พัก แต่ทว่า เสียงวิ่งของเจ้าน้ำตาลนี่แหละ ทำเอาทุกคนตกใจ ขวัญอ่อน กันเลยทีเดียว ฮ่าๆ แหม !! ก็กลางดึกกลางป่า เดินอยู่ท่ามกลางแสงแฟลชจากโทรศัพท์ เป็นใครก็ต้องกลัวกันทั้งนั้นแหละ แต่เจ้าน้ำตาลน่ารักมาก นำทาง และพาสำรวจระหว่างทางตลอด สมกับเป็นเจ้าถิ่นที่ทำหน้าที่เป็นไกด์นำลูกทัวร์ท่องเที่ยวระหว่างทางตลอดเลย พูดแล้วก็คิดถึงอยากกลับไปหาเจ้าน้ำตาล และน้องๆ ที่โรงเรียนเลย ถ้าเป็นไปได้มีโอกาสก็ไว้เจอกันนะ เจ้าน้ำตาล มอลลี่ และริสา

 

บทเรียนที่ 6 รู้เขารู้เรา

          ณ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา จ.เชียงใหม่

   หลังจากที่ได้ขึ้นดอยไปเรียนวิถีชีวิตของน้องๆ ที่โรงเรียนสาธิตสมเด็จย่า และชาวบ้านในชุมชนแม่แจ่มแล้ว สิ่งนึงที่เราได้เจอคือเผ่าต่างๆ ในฐานะที่เราเป็นเด็กใต้จึงไม่ได้มีความรู้เรื่องชนเผ่ามากนัก เมื่อไปที่ อ.แม่แจ่ม ก็พบว่ามีหลายชนเผ่ามากที่มารวมตัวอยู่ในชุมชนรอบๆโรงเรียน และภายในโรงเรียนเองก็มีเด็กๆ มาจากต่างๆ ชนเผ่า ทำให้เราอยากที่จะเข้าใจ และทำความรู้จักเกี่ยวกับความเป็นมาของน้องๆแต่ละคน เกิดจากการที่เราได้ไปอยู่ เรียนรู้ และพูดคุยกับน้องๆเหล่านี่ ทำให้เราเลือกที่จะมาเรียนรู้ต่อเพื่อเข้าใจความเป็นมา ของน้องๆ และที่นี่สามารถให้คำตอบ ทำให้เราเข้าใจ และได้รู้อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นมา ประวัติ และกิจกรรมต่างๆ ของชนเผ่าเหล่านี้

 

 

 

 

                                                       Remember that happiness a way of travel…..

จงจำไว้ว่า ความสุขของการเดินทางไม่ใช่จุดหมายปลายทาง.....

 

 

                                                                                                                                                 พีรพล แซ่ชั้น

                                                                                                                                                ( นายพีรพล แซ่ชั้น )

 

 

ภาพจาก https://web.facebook.com/SATIT.BODHISWU/photos/a.434560866739131/530561647139052/?type=1&theater

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน