Skip to main content

คำเตือน

การพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมาก

อ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?

ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า

 

.

Pre-

ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561

Storytellers In Journey นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“เปิดรับเยาวชนนักเล่าเรื่องที่สนใจสะไปเที่ยว” คำสะดุดจากเพจ ‘สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา’ การสมัครเพียงการเล่าเรื่องใดใดที่ใจต้องการ

วันที่ 26 ตุลาคม 2561

หลังจากนั่งพรรณาครุ่นคิดแล้ว คิดมาก คิดเพ้อเจ้อ ปรับเปลี่ยนคำนามที่ใช้เรียกแทนตัวเอง ปรับเปลี่ยนเรื่องราวให้ดูกระชับ เพื่อเหตุอะไรก็ไม่รู้สิ ไม่นานมากนักก็ตัดสินใจส่ง ส่งแบบมีความหวัง แต่ก็พอทำใจเพราะตัวเองเล่าเรื่องออกมาไม่เอาไหน แต่ก็ต้องลุ้นกันไป ในใจภาวนาให้ประกาศผลโดยเร็ว เพื่อที่จะได้คิดวางแผนชีวิตต่อ เพราะเพื่อนล้วนนัดเที่ยวก่อนออกฝึกงาน

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

ช่วงเวลาเช้าแล้ว จนล่วงเลยบ่ายแล้วหนา สุดท้ายก็มีEmailเข้ามา แสดงว่าเราไม่ได้ เราคงไม่มีวาทะศิลป์มากพอกับการพิมพ์เล่า จึงตัดสินใจในใจจะเดินทางไปเที่ยวกับเพื่อนที่เชียงคานในวันที่4 ผิดหวังเล็กๆแต่ไม่เป็นไรนะ ฮึบ

 

 

 

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561

ในยามดึกมืดค่ำ ออกเดินทางจากหมอชิตกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่เชียงคาน จังหวัดเลย แผนของการเดินทางในครั้งนี้ เพื่อการพักผ่อนสมอง กายา และจิตใจ ให้มีความพร้อมผจญโลกกว้าง หมู่เพื่อนพ้องล้วน
นึกถึงการฝึกงานที่ใกล้เข้ามา ช่วงเวลามีการหมุนเวียนสู่วัยทำงานจะต้องมีสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

พวกเราเดินทางในวันที่4 อยู่พักกันถึงเย็นๆ วันที่7 คิดว่าคงเพียงพอให้จิตใจสงบ

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561

ณ เชียงคาน จังหวัดเลย

หลังจากการเดินทางเมื่อคืนผ่านมาอย่างราบรื่น พวกเรามาถึงจุดหมายในรุ่งเช้า เมื่อลงจากรถทัวร์มีหมอกจางๆทักทาย เดินตรงไปเล็กน้อยจะเจอตลาดสด ผู้คนมาจับจ่ายซื้อของสดและอาหารเช้า บ้างก็ใส่บาตร ตามวิถีชาวบ้านที่เรียบง่าย

ตามธรรมเนียมของที่พักทั่วไป ให้ผู้พักเข้าCheck-Inในเวลาเที่ยง-14.00 เป็นต้นไป แต่เรามากันในวันธรรมดา และได้เจอกับพี่ผู้ดูแลที่พักที่ใจดี พี่อนุญาตให้พวกเราเข้าพักในบ้านพักก่อนเวลา แนะนำสถานที่ต่างๆอย่างเป็นกันเอง พวกเราจึงตัดสินใจนอนพักผ่อนก่อน ช่วงเย็นๆจะออกไปเดินถนนคนเดิน ในวันรุ่งขึ้นจะออกเดินทางไปภูทอก(สถานที่ดูทะเลหมอก)และสถานที่อื่นๆโดยเช่ามอร์เตอร์ไซค์ ขับกับตามความอยากไป

แต่แล้ว เวลาประมาณ บ่าย2โมง

ฉันกำลังงัวเงียจากการนอนกลางวัน มีเสียงโทรศัพท์ดัง ครืด ครืด เป็นเสียงโทรศัพท์ที่วางไว้กับโต๊ะไม้ ฉันรวบรวมสติและรับสาย

“สวัสดีค่ะ” ฉันพยายามเรียกสติ

“สวัสดีค่ะ น้องกฤษณ์มนนะคะ จากโครงการStoryteller In Journey ค่ะ อย่างที่มีการแจ้งไปว่าอยากให้มีการแลกเปลี่ยนการเล่าต่างๆ บลาๆๆๆๆ น้องสะดวกเข้ามาร่วมกันไหมคะ” ปลายสายอธิบายวัตถุประสงค์ที่โทรมา

“… คะ?” ฉันพยายามเรียกสติอยู่! ห้ะ ห้ะ อะไรนะ เดี๋ยวก่อน ฉันได้ไปหรอวะ เอ๊ะ อ๊ะ เอออออ

“ค่ะ น้องยังสะดวกมาไหมคะ” ปลายสายย้ำในสิ่งที่พูดไป

“ค่ะ สะดวกค่ะ ไปได้เลยค่ะ” ฉันตัดสินใจภายใน เสี้ยววินาที พร้อมนึกในใจว่าคงต้องรีบจองตั๋วกลับกรุงเทพฯ

หลังจากบทสนทนานี่จบลง พี่ผู้ประสานงานแจ้งถึงรายละเอียดต่างๆพร้อมส่งกำหนดการมาให้กำหนดการจะมีWorkshop วันที่7เวลา10โมงเช้า และวันที่8-11คือการเดินทางท่องเที่ยวเรียนรู้สาธารณะจุดสำคัญนาทีนี้ฉันกำลังตื่นเต้นถึงการเรียนรู้ใหม่ พร้อมกับโครงการดีๆ

ฉันตัดสินใจบอกเพื่อนๆว่ามีสิ่งสำคัญที่ต้องกลับกรุงเทพฯก่อน ตอนเย็นเพื่อนๆจึงพาฉันมาเปลี่ยนตั๋วเดินทางจากวันที่ 7 มาเป็นวันที่ 6 ในตอนเย็นแทน เพื่อให้วันที่ 6 ช่วงเช้ากลางวันได้เที่ยวเชียงคานตามกำหนด และกลับมาทันเข้าตามกำหนดการของโครงการ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561

วันแห่งการท่องเที่ยงเชียงคาน เช้าแล้วหนา เช้าตรู่เวลาประมาณ ตี4 เพื่อนอีก2คนจากกรุงเทพฯ เดินทางมาสมทบ โทรมาเพื่อบอกว่าถึงเชียงคาน ให้พวกเราที่นอนอยู่ตอนนี้ตื่นไปรับ พวกเราจึงไปรับเพื่อนมาที่พักเพื่อฝากของก่อน และเดินทางออกจากที่พักในเวลาตี 5

ตอนนี้เวลา 5.00 น. เดินทางออกจากที่พักโดยการขับมอเตอร์ไซค์ฝ่าหมอกเย็นๆ ขึ้นเขาไปที่ภูทอก เพื่อดูทะเลหมอก และตอนรับเจ้าพระอาทิตย์ที่กำลังจะมา ในการขับมอเตอร์ไซค์ไม่ยากนัก แต่การไปให้ถูกเส้นทางนั้นคือสิ่งที่ยาก มีหลงอ้อมไปบ้างแต่ก็ไปจนถึง เมื่อถึงตีนเขาทางขึ้นภูทอก จะมีเจ้าหน้าที่รับฝากมอเตอร์ไซค์ ให้เราต่อรถขึ้นไปด้านบน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตต้องปฏิบัติตาม เมื่อไปถึงแล้วสัมผัสได้ถึงไอเย็นสบาย มองทอดสายตาไป300องศา เป็นทะเลหมอกที่สวยกว่าในรูปภาพร้อยเท่า ทะเลหมอกเหมือนปุยนุ่นรวมๆกัน ตัดกับสีท้องฟ้าส้มนิดๆค่อยๆเปลี่ยนสีจ้าขึ้นตามการขึ้นของพระอาทิตย์ รู้สึกเหมือนได้รับกำลังใจจากธรรมชาติ นึกถึงรอยยิ้มยามท้อแท้ที่ครอบครัวมอบให้

หลังจากการชมทะเลหมอก พวกเราได้ใส่บาตรต้อนรับสิ่งดีๆตามความเชื่อชาวพุทธ และขับมอเตอร์ไซค์ตระเวนทั่วล้า ข้ามอำเภอ ตามความคะนองของวัย

และแล้วก็เย็น ทุกคนมาส่งฉันขึ้นรถเพื่อกลับกรุงเทพฯ โบกมืออำลากันประนึงว่าจะไม่เจออีก แต่ไม่หรอกที่เราอำลากันอาจเป็นเพราะโอกาสที่จะมาเที่ยวด้วยกันมันไม่มากนัก เลยต้องใช้เวลาและซึมซับมัน ถึงเวลาที่ฉันได้อยู่ที่นี้มันจะน้อยไป แต่มันก็เป็นเวลาที่มีคุณค่าให้จดจำ และเป็นช่วงเวลาดีๆ

 

 

 

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561       

หาววววว  อ้าปากน้ำตาเล็ด ขณะนี้เวลาประมาณตี5 ฉันรู้สึกตัวเป็นระยะตลอดเวลาที่นั่ง(นอน)บนรถทัวร์ ผ่านมาร่วมสิบชั่วโมง การเดินทางจากเชียงคาน จังหวัดเลย สู่หมอชิต กรุงเทพฯ  เวลากำหนดการของโครงการStoryteller  In Journey เริ่มที่10โมง ตอนนี้เพิ่งจะตี5 ขอกลับบ้านไปนอนก่อนแล้วกัน

หึบ ! ถึงบ้านอย่างปลอดภัยขอนอนสัก1งีบ ในใจมุ่งคิดวิธีการไปเรือนร้อยฉนำ (สถานที่จัดWorkshop) แต่งตัวอะไรดี ตื่นเต้นเบาๆ คนที่ไปต้องเก่งแน่ๆเลย เอาวะเราไปเพราะอยากไปเที่ยว ไม่ได้หวังเรียนรู้แต่อย่างใด(55555555555555) อะอะ ขอนอนตื่นมาคงไปได้พอดี

สคิปข้ามวาปมาWorkshop ณ เรือนร้อยฉนำ!

“ขณะนี้เวลา 10 นาฬิกา 0นาที 0วินาที”เคยได้ยินปะจากวิทยุอะ  แต่คือฉันไม่ได้มีหรือฟังวิทยุอยู่ เพียงแต่หันมองหน้าจอโทรศัพท์เวลามันขึ้นหราเหมือนตอกย้ำความสายนี้  สายไม่พอยังหลงอีก ให้ตายสิไม่ทันแล้วโว้ยยยย ฉันโดยสารพี่แกรป(Grab)  พี่แกรปก็ไม่รู้จักไอที่ฉันปักหมุดจะถูกรึเปล่าก็ไม่รู้ เอาวะ!! ไม่ได้จะสู้ต่อนะ แต่ตัดสินใจโทรหาพี่ที่โครงการให้คุยกับพี่แกรป 5555555

~ แต่เราก็หากันจนเจอ .. ถึงแล้วจ้าทางเข้าเรือนร้อยฉนำ เห้อม ทางเข้านี้จะถูกปะเนี่ย

เอาวะ! สู้ .. ฉันเจอพี่ผู้ชายคนนึงแกคงสงสัยไอนี่เป็นใคร ท่อมๆมองๆ  แกตัดสินใจเข้ามาถามฉัน

“จะไปไหนรึเปล่าครับ”

“พอดีมาเรือนร้อยฉนำคะ พอจะทราบไหมคะ”

“อ๋อครับ เชิญเลยครับมาถูกแล้ว”

เขร้!ในใจเบาๆ ฉันมาถึงที่หมายแบบสายๆ แต่ ณ ตอนนั้นมาถึงก็ดีใจแล้ว 

ฉันมาถึงในช่วงเวลาที่พี่ๆทีมงานแนะนำตัวไปแล้ว กำลังจะเริ่มแนะนำเพื่อนร่วมโครงการ หว่าาา พลาดจริงเชียว แต่ไม่เป็นไรเราต้องMove on ตีเนียนไปจ้ะ

”สวัสดีครับ/ค่ะ.. จากคณะศิลปศาสตร์ จาก~นิเทศ ” (จากอิสานบ้านนามาอยู่กรุง ~  เสียงเพลงมาเฉย555555555) นี่คือการแนะนำตัวจากหลากหลายบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ ดีกรีการบอกเล่าการถ่ายทอดนานาคงจะดีแน่ๆ  คิดว่าฉันจะดูถูกตัวเองหรอ ไม่หรอก ฉันไม่ได้มาเพื่ออะไร ฉันมาเพื่อเที่ยวววว!!

 

จบการแนะนำตัวเอง  ก็ไปจ้ะ Workshop

ขออนุญาตสรุปโดยสังเขป Workshop นี้เป็นการละลายพฤติกรรม แลกเปลี่ยนความคิด และที่สำคัญคือเสริมความรู้ความเข้าใจที่อาจผิดพลาดระหว่าง ‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’

          การศึกษา คือ การสิ่งที่เราจำเป็นต้องศึกษา มีข้อแม้ กฎระเบียบ นานาจิตตัง เป็นไปอย่างมีระบบ มีขั้นตอน มีตัวชี้วัดเหมือนกับเราต้องเข้าเรียนกันตามหลักสูตรพื้นฐาน

          การเรียนรู้ คือ การที่เราเรียนรู้โดยไม่ได้บังคับ ไม่ได้มีกฎระเบียบ ไม่มีขั้นตอน อย่างการที่เรานั่งรถเมล์ผิดสาย มันทำให้เราเรียนรู้ว่าควรนั่งรถสายอะไรให้ถูกต้อง

          ทุกวันนี้อาจมีการเถียงกันไปมา เกิดข้อโต้แย้งเยอะแยะ ทำไมการศึกษาไทยไม่เป็นแบบนู่นแบบนี้
 ไอเถียงไอค้านฉันเองก็เป็นนะ แต่พอมาแยกจริงๆระหว่างการศึกษากับการเรียนรู้ ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น
บางสิ่งที่เราอยากศึกษามันไม่จำเป็นหรอก มันสามารถเรียนรู้ได้ถ้าอยากทำและชอบมันจริงๆ

จบการ Workshop

ผ่านมาเนิ่นนานล่วงเลยจนดึกดื่น  เอ๋ ทำไมเพื่อนๆเอากระเป๋ามาบ้าง ดูไม่กระวนกระวายกลับบ้านดึก จึงตัดสินใจถามเพื่อน ได้ความว่า เขาให้เตรียมเสื้อผ้ามานอนด้วย มานอนด้วย มานอนด้วยยยยย โว้ยยย (วันคืนเก่าๆยังคอยย้ำอยู่ในช่วงเวลา~) ช้ำให้สุด ตั้งแต่มาสาย หลง ยันไม่รู้เรื่องต้องกลับบ้านไปละกลับมาใหม่ในวันรุ่งขึ้น

ตามโครงการเที่ยวนี้ เราก็ต้องวางแผน ดูงบประมาณ คุยกับพื้นที่ ทำทุกอย่างเอง ส่วนตัวอยากไปใต้เกิดมาไม่เคยไปเลย อีกอย่างอยากไป3จังหวัดชายแดน  แต่ในโครงการยังมีข้อจำกัดนิดหน่อย ด้วยความเป็นห่วงความรู้สึกของพ่อแม่ ก็ต้องขอให้ไปได้แค่ในพื้นที่ที่มีในแผนที่ในแอพพลิเคชั่น C-site Reporter กล่าวถึงแอพหน่อยนึง แอพนี่เป็นแอพที่เราสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ของพื้นที่ต่างๆ ชาวบ้านเองก็สามารถทำได้
ถ้าอ่านข่าวทั่วไปเบื่อๆมาอ่านตามชาวบ้านก็สนุกดี  และในวันรุ่งขึ้นฉันก็จะเป็นผู้รายงานผ่านแอพนี้ 

ถึงเวลาอำลาจากเพื่อนๆโครงการพี่ๆทีมงาน กลับบ้านในเวลา4ทุ่ม และกลับมาในวันรุ่งขึ้น 9โมงเช้า พร้อมมีการบ้านคือการคิดว่าจะไปที่ไหน เขียนงบประมาณมา ที่สำคัญคือคุยกับตัวเองว่าต้องการอะไร?

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน