Skip to main content
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ
            -ภาพของคนกำลังหาปลา
            -ภาพของงานวัฒนธรรม
            -ภาพของเรือจีน
            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร
            -ภาพคนริมฝั่งแม่น้ำในเขมร
            -ภาพปิดเป็นภาพเรือกำลังออกเดินทางจากฝั่ง บรรยากาศโดยรอบให้เห็นความเคลื่อนไหวของทุกสิ่งที่อยู่บริเวณท่าเรือ จากนั้นภาพค่อยๆ สว่างขึ้นเรื่อยๆ  (เหมือนว่าเรอืกำลังพาเราออกสำรวจแม่น้ำโขง) และขึ้นชื่อเรื่องเข้ามา เพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้เสียงเพลงคลอเพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวในตอนจบเรื่อง ตอนขึ้นฉากที่ ๒ ใช้เสียงบรรยายในฉากที่ ๒ เริ่มเดินเรื่องราวทั้งหมด

๒. ภาพรวมของแม่น้ำโขง

-เสียงบรรยาย-
บนเทือกเขาสูงไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนยอดเขา
จี้ฟูอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงธิเบต ในเขตปกครองของมณฑลจิงไห่ บนยอดภูเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัดมาหลายร้อยหลายพันปี แต่เมื่อความร้อนมาเยือน หิมะบางส่วนจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารเล็กๆ ๒ สายคือ แม่น้ำจาคู และแม่น้ำอาคู เมื่อแมน้ำทั้ง ๒ สายไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำใหญ่ที่หลายคนรู้จักในชื่อแตกต่างกันออกไปจึงก่อเกิดขึ้น

จากต้นน้ำ แม่น้ำได้ไหลไปตามโตรกผา บางจุดแม่น้ำไหลเป็นโค้งคล้ายพระจันทร์ บางจุดเชี่ยวกรากด้วยแก่งหิน บางจุดหดแคบลงในช่วงหน้าแล้ง แต่ละพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านผู้คนได้เรียกชื่อแม่น้ำแตกต่างกันออกไป

ชุมชนชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำล้านช้าง ส่วนชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ทั่วไปเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า หลานชางเจียง เมื่อแม่น้ำไหลผ่านเป็นเส้นพรมแดนไทย-ลาว คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคอื่นๆ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง จากนั้นแม่น้ำก็ไหลเป็นเส้นแบ่งพรมแดนลาว-กัมพูชา เมื่อมุ่งหน้าสู่กัมพูชา คนในกัมพูชาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ตนเลของ และจุดสิ้นสุดของแม่น้ำอยู่ที่ทะเลจีนใต้ เมื่อแม่น้ำโขงออกสู่ทะเลที่ปากแม่น้ำ คนเวียตนามเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า เกาลอง ซึ่งแปลว่าเก้ามังกร เพราะตรงปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำได้แตกแขนงออกเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ เก้าสาย

แม่น้ำโขงในตอนบนได้รับน้ำจากการละลายของหิมะ ส่วนแม่น้ำโขงในตอนล่างได้รับน้ำจากแม่น้ำสาขาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเทือกเขาสูง นอกจากนั้นยังได้รับน้ำจากสายฝนอันเป็นอิทธิพลของฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี

จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งสิ้น ๔,๙๐๙ กิโลเมตรเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก จากการสำรวจพบว่า ในแม่น้ำโขงมีพันธุ์ปลาทั้งสิ้น ๑,๒๔๕ ชนิด ในจำนวนพันธุ์ปลานับพันชนิด มีบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ และบางชนิดก็หาได้ยาก

-ภาพ-
เปิดเรื่องด้วยภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้นหรือภาพอื่นๆ เช่น ภาพคนหาปลากำลังออกเรือไปหาปลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าสารคดีเรื่องนี้กำลังเริ่มต้นขึ้น จากนั้นเป็นภาพแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในจีนใช้ภาพที่ถ่ายมาจากหมู่บ้านจาปี เมืองเต้อชิง ในไทยใช้ภาพสามเหลี่ยมทองคำ/และภาพแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ในลาวใช้ภาพตอนล่องเรือสำรวจน้ำโขง และภาพอื่นๆ ในเขมรใช้ภาพที่เมืองสตรึงเตร็ง และปากน้ำเวียตนามใช้เป็นภาพนิ่งจากแผนที่แทน เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของการแยกออกเป็นเก้าสายของแม่น้ำโขงที่บริเวณปากแม่น้ำ

(ในบางช็อตอาจใช้ตัวหนังสือวิ่ง พร้อมกับเสียงบรรยายเรื่อง)

ภาพแผนที่แม่น้ำโขงจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (ภาพนิ่ง) ในตอนใช้ภาพนิ่งอาจสร้างเทคนิคเพิ่มเติม เช่น เมื่อพูดถึงประเทศใดให้ค่อยๆ อินเสริดภาพแผนที่ของประเทศนั้นเข้ามา และจบลงตรงต่อแผนที่เป็นภาพรวมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ภาพปลาทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งภาพของคนกำลังหาปลา

-เสียงดนตรีประกอบ-
ค่อยๆ คลอเบาๆ และเร่งจังหวะขึ้น จนเลือนหายไป แล้วใช้เสียงคนอ่านบนขึ้นมาสลับแทน เมื่อเปลี่ยนไปสู่ฉากที่ ๒ ให้ใช้เสียงเพลงเป็นตัวนำ เพื่อไปสู่ฉากที่ ๒

๓.ระบบนิเวศแม่น้ำโขง วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

-เสียงบรรยาย-
ในตอนบนแม่น้ำสีเขียวมรกตสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น จากต้นน้ำแม่น้ำได้ไหลลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำได้ใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป ในแถบชายแดนธิเบต-จีนอันเป็นต้นธารของแม่น้ำ ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำถือเอาแม่น้ำเป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนจึงใช้แม่น้ำอันเนื่องด้วยการดำเนินวิถีชีวิตทางจิตวิญญาณ แต่หากว่าเมื่อแม่น้ำไหลลงมาจนถึงเขตที่ราบลุ่มในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา ผู้คนกลับได้พึ่งพาประโชยน์จากแม่น้ำในด้านของการดำรงอยู่ของชีวิต แม่น้ำจึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร เส้นทางคมนาคม

นอกจากแม่น้ำได้หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตอันหลากหลายแล้ว แม่น้ำยังได้ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎเกณฑ์ความเป็นไปของธรรมชาติ ขณะเดียวกันนอกจากแม่น้ำจะให้ประโยชน์กับผู้คนแล้ว แม่น้ำยังสอนให้เรารู้จักการอยู่กับธรรมชาติอย่างนอบน้อม ในฤดูฝนกลางสายน้ำเชี่ยวกราก แม่น้ำได้สอนให้เราคารวะความยิ่งใหญ่ของสายน้ำด้วยความหวาดกลัวอันเดินทางสู่เบื้องลึกของหัวใจ

ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมีบางช่วงที่แฝงไว้ด้วยอันตรายจนผู้คนไม่อยากกลายใกล้ แต่ในความอันตรายนั้นก็มีความงาม แม่น้ำโขงจึงเป็นทั้งแม่น้ำที่น่ากลัวดุร้าย และมีความงามอยู่พร้อม

ขณะเดียวกันใช่ว่าแม่น้ำโขงจะให้ความน่ากลัวกับผู้คนเพียงอย่างเดียว แม่น้ำโขงยังได้ให้ประโยชน์กับผู้คนจำนวนมากด้วยเช่นกัน

ว่ากันว่ามีผู้คนกว่า ๑๐๐ ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป

ในจำนวนคนหลาย ๑๐๐ ล้านคนนั้น คนเหล่านั้นล้วนมิวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป คนที่อยู่ใกล้ริมน้ำ บ้างปลูกผักตามหาดทราย และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ การปลูกผักริมน้ำจะมีให้เห็นตลอดสองฝั่งน้ำในช่วงฤดูน้ำลด แม้ว่าการปลูกผักริมแม่น้ำจะได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะลงทุนไม่สูง

นอกจากจะปลูกผักแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยตรง คนกลุ่มนี้คือคนหาปลา บ้างคนหาปลาเป็นอาชีพ บางคนก็หาปลาในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำเกษตร

พื้นที่หาปลาของคนหาปลาจะอยู่ตามแก่งหิน คก หลง ดอนทราย หาดหิน ลำห้วย และลำน้ำสาขา ซึ่งชื่อกล่าวมาทั้งหมดคือระบบนิเวศย่อยของแม่น้ำโขง ในระบบนิเวศย่อยเหล่านี้ คนหาปลาก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิความรู้ของท้องถิ่นนั้นๆ

ในช่วงก่อนออกหาปลาคนหาปลาจะมีพิธีกรรมหลายอย่างทั้งเลี้ยงผีเรือ เลี้ยงผีเจ้าที่ โดยเฉพาะกับคนที่จับปลาบึก คนหาปลาต้องบอกกล่าวกับผีฟ้าผีแถน เพื่อขอปลาจากผีฟ้าผีแถน เพราะคนหาปลามีความเชื่อตกทอดสืบต่อกันมาว่า ปลาบึกเป็นปลาที่มีผีฟ้าผีแถนคุ้มครอง เมื่อจะจับปลาบึกต้องขออนุญาตจากผีฟ้าผีแถนเสียก่อน

นอกจากคนริมฝั่งน้ำจะใช้แม่น้ำเป็นฐานทัรพยากรในการดำรงชีวิตแล้ว แม่น้ำยังเข้ามาอยู่ในสวนหนึ่งของพิธีกรรมด้วย เช่น ในช่วงปีใหม่ลาว ชาวบ้านจะลงมาก่อเจดีย์ทราย และแข่งเรือ เพื่อเฉลิมฉลองในการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

-ภาพ-
ภาพของระบบนิเวศต่างๆ ในแม่น้ำโขง คอนพะเพ็ง หลี่ผี ลาวใต้ ตอนบนในประเทศจีน ตอนกลางในลาว-ไทย ภาพเน้นภาพที่สามารถทำให้เห็นความหลายหลากของระบบนิเวศ รวมทั้งภาพของแม่น้ำสาขา

ภาพคนหาปลา การใช้ชีวิตอยู่บนแม่น้ำโขงในพื้นที่ต่างๆ
ภาพงานวัฒนธรรม
ภาพสัมภาษณ์ชาวบ้านเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่อยู่กับแม่น้ำ (ใส่อย่างน้อย ๒ คน คนละประเทศได้ยิ่งดี)
ภาพคนขับเรือรับจ้าง เพื่อให้เห็นการใช้ชีวิตบนแม่น้ำอีกมุมหนึ่ง (หากภาพมีมากพอ จะใช้มุมกล้องเล่าเรื่องระบบนิเวศแม่น้ำโขงผ่านคนขับเรือรับจ้างลำใหญ่ก็ได้)

-เสียงดนตรีประกอบ-
ในช่วงที่ภาพฉายให้เห็นระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำโขง เสียงเพลงคลอเบาๆ ในช่วงที่มีภาพคนหาปลา เสียงเพลงประกอบจังหวะปลุกเร้าดูมีชีวิตชีวาตื่นเต้น ในส่วนเสียงเพลงประกอบในงานวัฒนธรรมให้ใช้เพลงประกอบตามความเหมาะสมในพิธีการนั้นๆ

๔.แม่น้ำโขงในคืนวันที่ผันเปลี่ยน

-เสียงบรรยาย-
ใน ๕-๖ ปีที่ผ่านมา แม่น้ำโขงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะมีโครงการพัฒนาหลายอย่างเกิดขึ้นบนแม่น้ำ โครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อแม่น้ำโขง ทั้งระบบนิเวศของแม่น้ำแปรเปลี่ยน จำนวนปลาที่ลดงลง แม่น้ำโขงบางแห่งมีสารพิษจากภาคเกษตรปนเปื้อนหลังจากขึ้นมาจากน้ำประมาณ ๒ วันจะเกิดอาการคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง ในกระแสอันเชี่ยวการกของการพัฒนาที่ถาโถมลงมาสู่แม่น้ำหากว่าการพัฒนาเป็นไปในทิศทาง เพื่อการรักษาสมดุลย์ทางธรรมชาติของแม่น้ำการพัฒนานั้นถือว่าย่อมยังประโยชน์ให้ผู้คนได้อย่างแท้จริง แต่หากว่าวันใดก็ตาม การพัฒนาได้สร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งหนึ่ง การพัฒนานั้นย่อมถือว่าไม่ได้ตอบสนองความสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างแท้จริง และบัดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทั้งหลายผู้เห็นความสำคัญของแม่น้ำโขงที่เป็นมากกว่าแม่น้ำกั้นพรมแดนประเทศจะได้มาร่วมกันคิด และหาทางออกร่วมกันว่า เราจะบรรเทาความเปลี่ยนแปลงให้กับแม่น้ำโขงอย่างไร เพื่อให้แม่น้ำเป็นที่มีการพัฒนาอันสอดคล้องและสมดุลย์กับวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำเพื่อชีวิต มิใช่แม่น้ำเพื่อความตาย

-ภาพ-
ภาพท่าเรือเชียงแสน ภาพเขื่อน แผนที่ในการสร้างเขื่อน ภาพเรือจีนที่วิ่งอยู่บนแม่น้ำตัดสลับกับภาพของคนหาปลาที่หาปลาไม่ได้ ภาพแม่น้ำโขงแห้ง ปิดด้วยภาพวิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ำ ใส่ภาพให้ได้มากที่สุด ภาพสุดท้ายเป็นภาพของคนหาปลากำลังหิ้วปลาหรือกำลังจับปลา ภาพตลาดปลา และจบด้วยภาพวิถีชีวิตทั่วไป

ในส่วนของภาพเขื่อน และแผนที่เขื่อนใช้เป็นภาพนิ่ง ภาพตลาดปลา และคนหาปลาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหว

สัมภาษณ์คนขับเรือ คนหาปลา และคนกลุ่มอื่นถึงวิถีชีวิตที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือให้เล่าถึงภาพความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำที่เขาพบเห็น

สุดท้ายจบที่บทสัมภาษณ์ว่า ในอนาคตอยากเห็นทิศทางของการพัฒนาบนแม่น้ำโขงเป็นอย่างไร (สัมภาษณ์ใครก็ได้ที่ชัดเจนในเรื่องนี้)

ตัวหนังสือเคลื่อนไหวในตอนท้ายขึ้นจากด้านล่างไปด้านบน

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้ดนตรีเพลงเดียวกันกับตอนเริ่มต้น

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…