Skip to main content
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ
            -ภาพของคนกำลังหาปลา
            -ภาพของงานวัฒนธรรม
            -ภาพของเรือจีน
            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร
            -ภาพคนริมฝั่งแม่น้ำในเขมร
            -ภาพปิดเป็นภาพเรือกำลังออกเดินทางจากฝั่ง บรรยากาศโดยรอบให้เห็นความเคลื่อนไหวของทุกสิ่งที่อยู่บริเวณท่าเรือ จากนั้นภาพค่อยๆ สว่างขึ้นเรื่อยๆ  (เหมือนว่าเรอืกำลังพาเราออกสำรวจแม่น้ำโขง) และขึ้นชื่อเรื่องเข้ามา เพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้เสียงเพลงคลอเพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวในตอนจบเรื่อง ตอนขึ้นฉากที่ ๒ ใช้เสียงบรรยายในฉากที่ ๒ เริ่มเดินเรื่องราวทั้งหมด

๒. ภาพรวมของแม่น้ำโขง

-เสียงบรรยาย-
บนเทือกเขาสูงไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนยอดเขา
จี้ฟูอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงธิเบต ในเขตปกครองของมณฑลจิงไห่ บนยอดภูเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัดมาหลายร้อยหลายพันปี แต่เมื่อความร้อนมาเยือน หิมะบางส่วนจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารเล็กๆ ๒ สายคือ แม่น้ำจาคู และแม่น้ำอาคู เมื่อแมน้ำทั้ง ๒ สายไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำใหญ่ที่หลายคนรู้จักในชื่อแตกต่างกันออกไปจึงก่อเกิดขึ้น

จากต้นน้ำ แม่น้ำได้ไหลไปตามโตรกผา บางจุดแม่น้ำไหลเป็นโค้งคล้ายพระจันทร์ บางจุดเชี่ยวกรากด้วยแก่งหิน บางจุดหดแคบลงในช่วงหน้าแล้ง แต่ละพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านผู้คนได้เรียกชื่อแม่น้ำแตกต่างกันออกไป

ชุมชนชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำล้านช้าง ส่วนชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ทั่วไปเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า หลานชางเจียง เมื่อแม่น้ำไหลผ่านเป็นเส้นพรมแดนไทย-ลาว คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคอื่นๆ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง จากนั้นแม่น้ำก็ไหลเป็นเส้นแบ่งพรมแดนลาว-กัมพูชา เมื่อมุ่งหน้าสู่กัมพูชา คนในกัมพูชาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ตนเลของ และจุดสิ้นสุดของแม่น้ำอยู่ที่ทะเลจีนใต้ เมื่อแม่น้ำโขงออกสู่ทะเลที่ปากแม่น้ำ คนเวียตนามเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า เกาลอง ซึ่งแปลว่าเก้ามังกร เพราะตรงปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำได้แตกแขนงออกเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ เก้าสาย

แม่น้ำโขงในตอนบนได้รับน้ำจากการละลายของหิมะ ส่วนแม่น้ำโขงในตอนล่างได้รับน้ำจากแม่น้ำสาขาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเทือกเขาสูง นอกจากนั้นยังได้รับน้ำจากสายฝนอันเป็นอิทธิพลของฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี

จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งสิ้น ๔,๙๐๙ กิโลเมตรเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก จากการสำรวจพบว่า ในแม่น้ำโขงมีพันธุ์ปลาทั้งสิ้น ๑,๒๔๕ ชนิด ในจำนวนพันธุ์ปลานับพันชนิด มีบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ และบางชนิดก็หาได้ยาก

-ภาพ-
เปิดเรื่องด้วยภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้นหรือภาพอื่นๆ เช่น ภาพคนหาปลากำลังออกเรือไปหาปลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าสารคดีเรื่องนี้กำลังเริ่มต้นขึ้น จากนั้นเป็นภาพแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในจีนใช้ภาพที่ถ่ายมาจากหมู่บ้านจาปี เมืองเต้อชิง ในไทยใช้ภาพสามเหลี่ยมทองคำ/และภาพแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ในลาวใช้ภาพตอนล่องเรือสำรวจน้ำโขง และภาพอื่นๆ ในเขมรใช้ภาพที่เมืองสตรึงเตร็ง และปากน้ำเวียตนามใช้เป็นภาพนิ่งจากแผนที่แทน เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของการแยกออกเป็นเก้าสายของแม่น้ำโขงที่บริเวณปากแม่น้ำ

(ในบางช็อตอาจใช้ตัวหนังสือวิ่ง พร้อมกับเสียงบรรยายเรื่อง)

ภาพแผนที่แม่น้ำโขงจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (ภาพนิ่ง) ในตอนใช้ภาพนิ่งอาจสร้างเทคนิคเพิ่มเติม เช่น เมื่อพูดถึงประเทศใดให้ค่อยๆ อินเสริดภาพแผนที่ของประเทศนั้นเข้ามา และจบลงตรงต่อแผนที่เป็นภาพรวมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ภาพปลาทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งภาพของคนกำลังหาปลา

-เสียงดนตรีประกอบ-
ค่อยๆ คลอเบาๆ และเร่งจังหวะขึ้น จนเลือนหายไป แล้วใช้เสียงคนอ่านบนขึ้นมาสลับแทน เมื่อเปลี่ยนไปสู่ฉากที่ ๒ ให้ใช้เสียงเพลงเป็นตัวนำ เพื่อไปสู่ฉากที่ ๒

๓.ระบบนิเวศแม่น้ำโขง วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

-เสียงบรรยาย-
ในตอนบนแม่น้ำสีเขียวมรกตสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น จากต้นน้ำแม่น้ำได้ไหลลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำได้ใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป ในแถบชายแดนธิเบต-จีนอันเป็นต้นธารของแม่น้ำ ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำถือเอาแม่น้ำเป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนจึงใช้แม่น้ำอันเนื่องด้วยการดำเนินวิถีชีวิตทางจิตวิญญาณ แต่หากว่าเมื่อแม่น้ำไหลลงมาจนถึงเขตที่ราบลุ่มในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา ผู้คนกลับได้พึ่งพาประโชยน์จากแม่น้ำในด้านของการดำรงอยู่ของชีวิต แม่น้ำจึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร เส้นทางคมนาคม

นอกจากแม่น้ำได้หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตอันหลากหลายแล้ว แม่น้ำยังได้ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎเกณฑ์ความเป็นไปของธรรมชาติ ขณะเดียวกันนอกจากแม่น้ำจะให้ประโยชน์กับผู้คนแล้ว แม่น้ำยังสอนให้เรารู้จักการอยู่กับธรรมชาติอย่างนอบน้อม ในฤดูฝนกลางสายน้ำเชี่ยวกราก แม่น้ำได้สอนให้เราคารวะความยิ่งใหญ่ของสายน้ำด้วยความหวาดกลัวอันเดินทางสู่เบื้องลึกของหัวใจ

ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมีบางช่วงที่แฝงไว้ด้วยอันตรายจนผู้คนไม่อยากกลายใกล้ แต่ในความอันตรายนั้นก็มีความงาม แม่น้ำโขงจึงเป็นทั้งแม่น้ำที่น่ากลัวดุร้าย และมีความงามอยู่พร้อม

ขณะเดียวกันใช่ว่าแม่น้ำโขงจะให้ความน่ากลัวกับผู้คนเพียงอย่างเดียว แม่น้ำโขงยังได้ให้ประโยชน์กับผู้คนจำนวนมากด้วยเช่นกัน

ว่ากันว่ามีผู้คนกว่า ๑๐๐ ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป

ในจำนวนคนหลาย ๑๐๐ ล้านคนนั้น คนเหล่านั้นล้วนมิวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป คนที่อยู่ใกล้ริมน้ำ บ้างปลูกผักตามหาดทราย และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ การปลูกผักริมน้ำจะมีให้เห็นตลอดสองฝั่งน้ำในช่วงฤดูน้ำลด แม้ว่าการปลูกผักริมแม่น้ำจะได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะลงทุนไม่สูง

นอกจากจะปลูกผักแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยตรง คนกลุ่มนี้คือคนหาปลา บ้างคนหาปลาเป็นอาชีพ บางคนก็หาปลาในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำเกษตร

พื้นที่หาปลาของคนหาปลาจะอยู่ตามแก่งหิน คก หลง ดอนทราย หาดหิน ลำห้วย และลำน้ำสาขา ซึ่งชื่อกล่าวมาทั้งหมดคือระบบนิเวศย่อยของแม่น้ำโขง ในระบบนิเวศย่อยเหล่านี้ คนหาปลาก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิความรู้ของท้องถิ่นนั้นๆ

ในช่วงก่อนออกหาปลาคนหาปลาจะมีพิธีกรรมหลายอย่างทั้งเลี้ยงผีเรือ เลี้ยงผีเจ้าที่ โดยเฉพาะกับคนที่จับปลาบึก คนหาปลาต้องบอกกล่าวกับผีฟ้าผีแถน เพื่อขอปลาจากผีฟ้าผีแถน เพราะคนหาปลามีความเชื่อตกทอดสืบต่อกันมาว่า ปลาบึกเป็นปลาที่มีผีฟ้าผีแถนคุ้มครอง เมื่อจะจับปลาบึกต้องขออนุญาตจากผีฟ้าผีแถนเสียก่อน

นอกจากคนริมฝั่งน้ำจะใช้แม่น้ำเป็นฐานทัรพยากรในการดำรงชีวิตแล้ว แม่น้ำยังเข้ามาอยู่ในสวนหนึ่งของพิธีกรรมด้วย เช่น ในช่วงปีใหม่ลาว ชาวบ้านจะลงมาก่อเจดีย์ทราย และแข่งเรือ เพื่อเฉลิมฉลองในการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

-ภาพ-
ภาพของระบบนิเวศต่างๆ ในแม่น้ำโขง คอนพะเพ็ง หลี่ผี ลาวใต้ ตอนบนในประเทศจีน ตอนกลางในลาว-ไทย ภาพเน้นภาพที่สามารถทำให้เห็นความหลายหลากของระบบนิเวศ รวมทั้งภาพของแม่น้ำสาขา

ภาพคนหาปลา การใช้ชีวิตอยู่บนแม่น้ำโขงในพื้นที่ต่างๆ
ภาพงานวัฒนธรรม
ภาพสัมภาษณ์ชาวบ้านเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่อยู่กับแม่น้ำ (ใส่อย่างน้อย ๒ คน คนละประเทศได้ยิ่งดี)
ภาพคนขับเรือรับจ้าง เพื่อให้เห็นการใช้ชีวิตบนแม่น้ำอีกมุมหนึ่ง (หากภาพมีมากพอ จะใช้มุมกล้องเล่าเรื่องระบบนิเวศแม่น้ำโขงผ่านคนขับเรือรับจ้างลำใหญ่ก็ได้)

-เสียงดนตรีประกอบ-
ในช่วงที่ภาพฉายให้เห็นระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำโขง เสียงเพลงคลอเบาๆ ในช่วงที่มีภาพคนหาปลา เสียงเพลงประกอบจังหวะปลุกเร้าดูมีชีวิตชีวาตื่นเต้น ในส่วนเสียงเพลงประกอบในงานวัฒนธรรมให้ใช้เพลงประกอบตามความเหมาะสมในพิธีการนั้นๆ

๔.แม่น้ำโขงในคืนวันที่ผันเปลี่ยน

-เสียงบรรยาย-
ใน ๕-๖ ปีที่ผ่านมา แม่น้ำโขงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะมีโครงการพัฒนาหลายอย่างเกิดขึ้นบนแม่น้ำ โครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อแม่น้ำโขง ทั้งระบบนิเวศของแม่น้ำแปรเปลี่ยน จำนวนปลาที่ลดงลง แม่น้ำโขงบางแห่งมีสารพิษจากภาคเกษตรปนเปื้อนหลังจากขึ้นมาจากน้ำประมาณ ๒ วันจะเกิดอาการคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง ในกระแสอันเชี่ยวการกของการพัฒนาที่ถาโถมลงมาสู่แม่น้ำหากว่าการพัฒนาเป็นไปในทิศทาง เพื่อการรักษาสมดุลย์ทางธรรมชาติของแม่น้ำการพัฒนานั้นถือว่าย่อมยังประโยชน์ให้ผู้คนได้อย่างแท้จริง แต่หากว่าวันใดก็ตาม การพัฒนาได้สร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งหนึ่ง การพัฒนานั้นย่อมถือว่าไม่ได้ตอบสนองความสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างแท้จริง และบัดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทั้งหลายผู้เห็นความสำคัญของแม่น้ำโขงที่เป็นมากกว่าแม่น้ำกั้นพรมแดนประเทศจะได้มาร่วมกันคิด และหาทางออกร่วมกันว่า เราจะบรรเทาความเปลี่ยนแปลงให้กับแม่น้ำโขงอย่างไร เพื่อให้แม่น้ำเป็นที่มีการพัฒนาอันสอดคล้องและสมดุลย์กับวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำเพื่อชีวิต มิใช่แม่น้ำเพื่อความตาย

-ภาพ-
ภาพท่าเรือเชียงแสน ภาพเขื่อน แผนที่ในการสร้างเขื่อน ภาพเรือจีนที่วิ่งอยู่บนแม่น้ำตัดสลับกับภาพของคนหาปลาที่หาปลาไม่ได้ ภาพแม่น้ำโขงแห้ง ปิดด้วยภาพวิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ำ ใส่ภาพให้ได้มากที่สุด ภาพสุดท้ายเป็นภาพของคนหาปลากำลังหิ้วปลาหรือกำลังจับปลา ภาพตลาดปลา และจบด้วยภาพวิถีชีวิตทั่วไป

ในส่วนของภาพเขื่อน และแผนที่เขื่อนใช้เป็นภาพนิ่ง ภาพตลาดปลา และคนหาปลาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหว

สัมภาษณ์คนขับเรือ คนหาปลา และคนกลุ่มอื่นถึงวิถีชีวิตที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือให้เล่าถึงภาพความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำที่เขาพบเห็น

สุดท้ายจบที่บทสัมภาษณ์ว่า ในอนาคตอยากเห็นทิศทางของการพัฒนาบนแม่น้ำโขงเป็นอย่างไร (สัมภาษณ์ใครก็ได้ที่ชัดเจนในเรื่องนี้)

ตัวหนังสือเคลื่อนไหวในตอนท้ายขึ้นจากด้านล่างไปด้านบน

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้ดนตรีเพลงเดียวกันกับตอนเริ่มต้น

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’