Skip to main content

การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’


คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม อีสาน ไทย อังกฤษ โดยดร. ปรีชา พิณทอง ตีพิมพ์เมื่อปี พ.. 2532 มีความหมายว่า “น.ร่องน้ำลึก ที่น้ำตก แม่น้ำที่มีสันดอนสูง น้ำไหลไปเป็นร่องลึก เรียกคอน ถ้าน้ำไหลไป 2 ร่อง มีสันดอนอยู่ตรงกลาง เรียก ‘สองคอน’ เช่น สองคอนในแม่น้ำโขง”


ดังนั้น คอนผีหลวงในที่นี้ จึงมีความหมายว่า เป็นช่องน้ำ หรือร่องน้ำที่ผีหลง

ผีในความนี้คือคนตายหรือศพ ชุมชนไทยริมแม่น้ำโขงบางกลุ่มก็เรียกคอนผีหลงนี้ว่า แสนผี

  


สาเหตุที่เรียกแก่งบริเวณนี้ว่าเป็นคอนผีหลง หรือแสนผีเนื่องมาจากประเพณีของคนลาวบางกลุ่มชาติพันธ์ทางเหนือขึ้นไปตามแม่น้ำโขง เมื่อมีคนตายในหมู่บ้านมีความเชื่อว่า การส่งศพคนตายมากับแพลอยตามลำแม่น้ำโขง คนที่ตายก็จะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ เป็นประเพณีที่คล้ายกันกับประเพณีลอยศพคนตายในแม่น้ำคงคา ประเทศอินเดีย


เมื่อศพลอยพัดหลงเข้ามาถึงบริเวณจุดที่มีแก่งหินสลับซับซ้อน ที่มีมากในบริเวณคอนผีหลง แรงปะทะของน้ำโขงกับแก่งหิน ทำให้แพพลิกคว่ำ ศพคนตายก็ไหลมาติดตรงแก่ง หาด ดอน ตรงวังน้ำวนบ้าง จนเรียกกันติดปากว่าเป็นคอนผีหลง คือ ช่องน้ำที่ผีมาหลงมาวนอยู่ตรงนี้


ชาวบ้านผากุบ ฝั่งไทยเล่าว่า หลายครั้งที่คนหาปลาเห็นแพลอยมากับน้ำ มีเครื่องใช้ไม้สอย ที่นอนหมอนมุ้งครบถ้วน คนหาปลาบางคนไปเก็บมาใช้บางก็มี ไม่ถือเป็นเรื่องการลักขโมยแต่อย่างใด


ดังนั้นที่ถูกต้องตามสำเนียงภาษาแท้จริงแล้ว ต้องเรียกว่าคอนผีหลง ไม่ใช่คอนผีหลวงอย่างที่อ่านเพี้ยนมาจากภาษาอังกฤษ


ขณะเดียวกัน ชุมชนไทยริมฝั่งโขงก็มีชื่อเรียกกลุ่มแก่งหินนี้ต่างออกไป โดยเรียกตามความเชื่อ รูปร่างและลักษณะบางอย่างของหาด ดอน แก่งหิน และผาหิน ไม่ได้เรียกรวมทั้งกลุ่มเป็นชื่อเดียวกันอย่างที่คนลาวเรียก ดังนั้น คอนผีหลงของลาว จึงประกอบไปด้วย แก่ง และผาหินในชื่อไทยดังนี้


ดอนสะเล็ง ดอนทรายกลางลำน้ำโขง มีกลุ่มหินใต้น้ำรายรอบมาก ผิวน้ำจึงไม่ราบเรียบ “เป็นคลื่น เป็นสะเล็ง” เรือที่ผ่านช่วงนี้จะเจอกับคลื่นและกระแสน้ำหลาก


ดอนร้องไก คือบริเวณหนึ่งที่ร่องน้ำผ่านตรงกลางดอน เป็นถิ่นกำเนิดของไก สาหร่ายน้ำจืด ร้องก็คือร่องน้ำ

ผาหลัก แก่งหินที่มีลักษณะคล้ายกับเสาหินปักลงกลางน้ำ

ผาฟอง เป็นบริเวณที่มีแก่งหินใต้น้ำจำนวนมาก เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านจะเกิดฟองอากาศตลอดเวลา เท่ากับการเติมออกซิเจนในน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงมีชีวิตอยู่ได้


ผาฟ้า เป็นแก่งหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณคอนผีหลง ตรงปลายยอดตั้งตระหง่าน น้ำท่วมไม่ถึง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของเหล่านางฟ้า

หาดฮ้าย ฮ้ายแปลว่า ร้ายหรืออันตราย เป็นบริเวณที่น้ำไหลเชี่ยวต้องระมัดระวังในการเดินเรือ

ผาช้าง เมื่อมองจากกลางลำน้ำมายังฝั่งไทยจะมองเห็นแก่งหินรูปร่างคล้ายช้างหันหน้าเข้าหาฝั่ง บรรทุกสัมภาระไว้บนหลัง


ผาเสือ มีลักษณะคล้ายเสืออยู่ริมฝั่งตรงข้ามกับผาช้าง(ปัจจุบันหัวเสือได้หักลงเนื่องจากการระเบิดหินเพื่อสร้างถนนในฝั่งลาว) ผาช้างและผาเสือเป็นสัญลักษณ์ทางธรรมชาติที่ช่วยคาดการณ์ว่าเมื่อใดที่ระดับน้ำขึ้นสูงถึงปากช้างคางเสือ ไม่ควรเดินเรือเพราะระดับน้ำที่สูงและเชี่ยว จะเกิดอันตรายถึงชีวิต


ผาพระ ตำนานเล่าว่า สมัยโบราณ เจ้าลาวองค์หนึ่งจากหลวงพระบางล่องเรือผ่านผานี้ เกิดอุบัติเหตุเรือล่มทำให้ลูกชายเสียชีวิต จึงได้สลักรูปพระไว้บนหน้าผาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ปัจจุบันชุมชนสองฝั่งให้ความเคารพ เป็นสถานที่ทำพิธีทางศาสนาร่วมกันช่วงเทศกาลสงกรานต์

ผากันตุงมีลักษณะคล้ายแท่นปักธงชัย กันตุงคือคันธง


โดยธรรมชาติของแม่น้ำโขง เกาะ แก่ง หาดดอน เป็นแหล่งกำเนิดพรรณพืชที่เป็นอาหารและที่อยู่อาศัยของปลา เป็นฝายทดน้ำโดยธรรมชาติ ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ช่วยเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้ง เป็นแหล่งอาหารของชุมชน และทัศนียภาพที่สวยงาม


ความเชื่อที่ชุมชนริมฝั่งโขงมีต่อเกาะแก่งหินแม่น้ำโขง ปรากฏออกมาเป็นชื่อเรียกที่ต่างๆกัน ชุมชนสองฝั่งโขงมีความเชื่อว่า บริเวณเกาะแก่งบางแห่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ มนุษย์มิอาจลบหลู่ดูหมิ่น หรือทำลาย เพราะจะทำให้เกิดภัยพิบัติ


ความเชื่อและองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่สืบทอดต่อกันมา เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของระบบนิเวศน์ย่อยในลุ่มน้ำโขงที่มีความสลับซับซ้อนและยิ่งใหญ่เท่านั้น


กระนั้นก็ตาม แม่น้ำโขง เส้นเลือดหลักของชุมชนสองฝั่งโขงก็ถูกรุกเร้า เร่งเปลี่ยนแปลงไป สู่หายนะอยู่ตลอดมา หายนะที่เดินทางมาพร้อมกับวาทะกรรมในนามการพัฒนา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.. 2545 ด้วยความที่คอนผีหลงเป็นแก่งหิน และกลุ่มหินที่ชาวบ้านเรียกว่า ผา แก่ง อยู่ในแม่น้ำ คอนผีหลงจึงเป็นเป้าหมายในการระเบิดทิ้งนัยว่า เพื่อให้เรือขนสินค้าจากประเทศจีนล่องผ่านไปได้ นอกจากคอนผีหลงจะเป็นที่ศพมาหลงวน แล้ว คอนผีหลงยังเป็นบ้านของปลา และบ้านของคนหาปลา ในวันที่เขื่อนจำนวนมากถูกสร้างปิดกั้นแม่น้ำโขง ระดับน้ำได้เริ่มเปลี่ยนแปลง ปลาเกิดอาการหลงน้ำ และลดจำนวนลง ในที่สุดคนหาปลาหลายคนก็เลยผ่านคอนผีหลงไป ไม่หลงมาหาปลาที่คอนผีหลงอีก เพราะบริเวณคอนผีหลงปลาที่หาได้มีน้อยเต็มที บางวันปักเบ็ดไว้ข้ามคืนปลายังไม่ยอมกินเหยื่อ


วันที่คนหาปลาเก่าแก่แห่งคนผีหลง เช่น อุ้ยเสาร์ ระวังศรี ได้พายเรือเดินทางออกจากคอนผีหลง เพื่อแสวงหาที่หาปลาแห่งใหม่ คงไม่มีคำพูดใดๆ ที่เหมาะสมเท่ากับคำนี้ ‘คอนผีหลงผีบ่เคยหลง แต่คนหลงทางการพัฒนาอันบ้าคลั่ง’


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…