Skip to main content

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม


เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต นี่อาจเป็นเรื่องราวหนึ่งที่ปรากฏตัวขึ้นมาบนฝั่งแม่น้ำด้านทิศตะวันตก เมื่อหลายปีมาแล้ว และปัจจุบันเรื่องราวเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่


ในปี ๒๕๓๖ ภาพยนตร์เรื่อง ‘มือปืน ๒ สาละวิน’ โดยการกำกับของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน


ซึ่งถือได้ว่าอาจเป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ไทยที่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวินได้ดีที่สุด หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกฉายออกไป เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวิน จึงถูกดึงเข้าไปอยู่ในความสนใจของผู้คนบนฝั่งน้ำด้านตะวันออกอย่างกว้างขวาง


นอกจาก จะมีภาพยนตร์เกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินแล้ว ยังมีหนังสือหลายๆ เล่มที่กล่าวถึงแม่น้ำสาละวิน และความเป็นไปของผู้คนสองฝั่งน้ำ ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ‘เพชรพระอุมา’ บทประพันธ์ของพนมเทียน คือหนึ่งในหนังสือหลายๆ เล่มนั้น หากใครได้อ่านคงจดจำการผจญภัยอันตื่นเต้น และเร้าใจในป่าดงดิบสาละวินของระพินทร์ ไพรวัลย์ และม...ดาริน วราฤทธิ์ รวมทั้งแงทรายได้ดี แม้ว่าจะเป็นหนังสือที่ไม่มีภาพประกอบ แต่ผู้เขียนก็ทำให้คนอ่านจินตนาการได้ถึงภาพของผืนป่า และแม่น้ำสาละวินได้ดีทีเดียว


แน่นอนว่าความทรงจำ และการรับรู้ของผู้คนเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวิน ย่อมแตกต่างกันออกไปตามแต่การสัมผัสรู้ของแต่ละคน เมื่อเอ่ยถึง ‘แม่น้ำสาละวิน’ ผู้คนจำนวนมากจะจินตนาการถึงสิ่งใดบ้าง


หากย้อนหลังไป เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน เมื่อเอ่ยถึง ‘แม่น้ำสาละวิน’ คนส่วนใหญ่ก็คงนึกถึงเรื่องราวของป่าสักทองจำนวนมากที่ถูกนายทุนเข้าไปสัมปทาน ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย


โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ‘แม่น้ำสาละวิน’ ได้ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ไทยแทบทุกฉบับ สาเหตุที่เป็นข่าวครึกโครมขึ้นหน้าหนึ่งในครั้งนั้น เนื่องมาจากมีการจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้ในป่าสาละวินครั้งมโหฬารที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์


โดยการจับกุมมีการยึดไม้ของกลางได้ จำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๒๕๑ ท่อน และมีการจับกุมขบวนการมอดไม้ได้หลายคน ทั้งข้าราชการ และประชาชนธรรมดา ช่วงที่มีการจับกุมใหม่ๆ นั้น แม่น้ำสาละวิน ก็ถูกพูดถึงหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในฐานะเส้นทางการลำเลียงไม้ เส้นทางการค้าไม้ และที่สำคัญคือสาละวินเป็นเส้นทางที่พาผู้คนโลภมากเหล่านั้นไปสู่ความหายนะ


แต่หลังจากคดีสิ้นสุดลง ไม้ส่วนหนึ่งได้มลายหายไป และบางส่วนก็ถูกปล่อยให้โดนแดด โดนฝนเป็นไปตามยถากรรม เรื่องราวเกี่ยวกับไม้สักจากป่าสาละวิน ก็เงียบหายไปจากความทรงจำของผู้คนในประเทศไทยอีกครั้ง


-รู้จักแม่น้ำสาละวิน-


สาละวินเป็นสายเลือด สายน้ำเอยไม่เคยเหือดหาย ขุนเขาสลับซับซ้อนเรียงราย เรื่องราวมากมายมาหลายชั่วคน มีเสียงดนตรี-มีเสียงสงคราม มีความสวยงาม-มีความเข้มข้น สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวน ไหลเชี่ยวเกลียวน้ำหมุนตัว อำนาจเมามัวเหมือนน้ำหมุนวน แสนคนตาย-แสนปืนกล-แสนความจน ข้าวยากหมากแพง สันติธรรมค้ำสาละวิน พิราบเจ้าบินเห็นมาแต่ไกล ขอลูกปืนแปรเป็นดอกไม้ ความเลือดความตายขอให้หลุดพ้น ยิ้มของเด็ก-ยิ้มของแม่ ซึ้งใจเมื่อแล-ซึ้งใจเมื่อยล สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน สาละวิน... เนื้อนัยเพลง,สุรชัย จันทิมาธร,๑๗๓’


บทเพลงของสุรชัย จันทิมาธร ได้กล่าวถึงแม่น้ำสายนี้เอาไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว และบทเพลงนี้ก็เป็นเพลงที่บอกเล่ากับเรื่องราวความเป็นจริงของแม่น้ำสายนี้ได้ดีอีกเพลงหนึ่ง


แม่น้ำสาละวิน มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป บ้างก็เรียกว่า ‘แม่น้ำสายเลือด’ บ้างก็เรียกว่า ’แม่น้ำมรณะ’ หากพูดถึงต้นธารแห่งแม้น้ำสายนี้แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าแม่น้ำสาละวิน มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะในบริเวณที่ราบสูงธิเบต เหนือเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูงมากกว่า ๔,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนพื้นถิ่นในราบสูงธิเบต เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘นู่เจียง-หรือแม่น้ำนู แปลว่า ‘แม่น้ำที่โกรธเกรี้ยว’ เนื่องจากลักษณะของแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกรากผ่าโตรกผา และโขดหิน’


เมื่อแม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านตอนกลางในเขตรัฐฉาน ซึ่งเป็นเขตที่มีชาวไตหรือไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด ชาวไตเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘แม่น้ำคง’ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในรัฐคะยา รัฐกระเหรี่ยง เวลาเรียกชื่อแม่น้ำสาละวิน มักจะออกเสียงคล้ายกับชาวไตในรัฐฉานคือออกเสียงว่า ‘คง’ ส่วนชาวปกากะญอ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โคโหล่โกล’


สำหรับชื่อ ‘สาละวิน‘ นั้นเป็นชื่อที่ชาวอังกฤษเรียกเพี้ยนมาจากเสียงเรียกของชาวพม่า ซึ่งออกเสียงว่า ‘ตาลวิน’


แม่น้ำสาละวิน มีความพิเศษแตกต่างกับแม่น้ำอื่นทั่วไป กล่าวคือ แม่น้ำสาละวิน จะมีอุณหภูมิที่เย็นตลอดปี ในฤดูฝนน้ำจะมีสีเหลืองขุ่น และมีแก่งหินตลอดทั้งสาย ร่องน้ำมีลักษณะคล้ายมีดปักลึกลงไปในแผ่นดิน นอกจากนั้นแม่น้ำสาละวิน ยังแตกต่างจากแม่น้ำหลายๆ สายบนพรมแดนตะวันตกของประเทศ เช่น แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม เพราะในหน้าแล้งเราไม่สามารถเดินข้ามแม่น้ำสาละวินได้ แต่สำหรับแม่น้ำเมยแล้ว ในหน้าแล้งเราสามารถเดินข้ามได้


ในอดีตหลายปีที่ผ่านมา แม่น้ำสาละวิน ได้ถูกเรียกขานว่า ‘แม่น้ำสีเลือด’ ซึ่งความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่คงไม่มีใครกล้าบอกได้ แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่สังคมโลกได้รับรู้เสมอมาคือ ในช่วงที่การสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกับพม่าทวีความรุนแรง ศพของเหล่านักรบนิรนามก็จะลอยมาตามน้ำอยู่เป็นระยะ ฤดูฝนแม่น้ำสายใหญ่สายนี้จะกลายเป็นแม่น้ำที่โกรธเกรี้ยวไหลเชี่ยวกรากส่งเสียงดัง เนื่องจากการไหลกระทบกันของน้ำกับแก่งหินที่จมอยู่ใต้น้ำตลอดทั้งสาย ในหน้าฝนช่วงที่น้ำเป็นน้ำใหญ่ จึงมีอันตรายกว่าช่วงอื่นๆ


ทีเซ คนขับเรือรับจ้างที่บ้านแม่สามแลบเล่าว่า

ในแม่น้ำสาละวิน จะมีน้ำวนอยู่หลายแห่ง บางแห่งก็จะมีอันตรายช่วงหน้าฝน บางแห่งก็จะมีอันตรายช่วงหน้าแล้ง ในหน้าฝนก็จะไม่ค่อยอันตราย แต่บางแห่งก็จะอันตรายทั้งหน้าฝน และหน้าแล้ง อย่างถ้าขับเรือทวนน้ำขึ้นเหนือจุดที่อันตรายที่สุด ก็จะเป็นตรงเว่ยจี แถวปากห้วยแม่แต๊ะหลวง


เว่ยจี-เป็นภาษาพม่าแปลว่าน้ำวนใหญ่ ชาวปกากะญอ เรียกว่า กุยเว่ยจี กุยพะโด หรือ “แม่แตะกุย’ เพราะตรงนั้นเป็นช่วงที่สองฝั่งน้ำแคบ แม่น้ำทั้งสายไหลมาเป็นน้ำใหญ่แล้วเหลือเล็กลงและตรงนั้นก็จะเป็นหน้าผาทั้งสองฝั่งน้ำ ถ้าขับเรือไม่ระวังเรือก็จะชนหินแล้วเรือก็จะจมส่วนด้านล่าง จุดที่อันตรายก็มีหลายจุด แต่จุดที่สำคัญคงเป็น แจแปนทีลอซู ห่างจากบ้านสบเมยไปประมาณ ๗๐ กิโล ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังต่อๆ กันมาว่า ในช่วงสงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) มีทหารญี่ปุ่นหลายร้อยคนล่องเรือตามน้ำลงไปพอไปถึงตรงจุดที่เป็นน้ำตก ซึ่งสูงประมาณตึก ๒ ชั้น เรือก็ไปต่อไม่ได้ เพราะน้ำมันแรง พอไปถึงตรงจุดนั้น ไม่มีใครรู้ว่ามันมีแก่งที่เป็นน้ำตก หลังจากเรือไปถึง เรือก็ตกลงไป พอตกลงไปเรือก็แตก คนก็ตาย ชาวบ้านในแถบนั้นก็เรียกจุดนั้นว่า ‘แจแปนทีลอซู’ คือ หมายถึงน้ำตกของคนญี่ปุ่นหรือน้ำตกที่คนญี่ปุ่นตาย ถ้าคนไม่เคยลงเรือในน้ำสาละวินนี่ เวลานั่งเรือต้องฟังคนขับเรือ อย่างคนขับเรือบอกไม่ให้นั่งขอบเรือ และให้นั่งนิ่งๆ ถ้าไม่นั่งนิ่งๆ เรือจะเสียการทรงตัวได้ ถ้าตกน้ำแล้วไม่ตายก็รอดยาก น้ำสาละวินมันเชี่ยว


จากต้นน้ำบนภูเขาสูงแม่น้ำสาละวิน ได้ไหลลงสู่พื้นที่ลาดชันอันเต็มไปด้วยภูเขาทางด้านทิศใต้ ผ่านยูนนาน ประเทศจีน และไหลเข้าสู่รัฐฉาน รัฐคะยา และรัฐกะเหรี่ยงจากนั้นแม่น้ำสาละวิน ก็จะลดระดับลงมาเหลือต่ำกว่า ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ก่อนที่จะไหลเป็นเส้นพรมแดนไทย-พม่าประมาณ ๑๑๘ กิโลเมตร จากนั้นก็จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเมย ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตระนาวศรีที่บ้านสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อันเป็นจุดสุดท้ายของแม่น้ำสาละวิน ในประเทศไทย


หลังจากนั้นก็จะไหลวกกลับเข้าเขตประเทศพม่า ค่อยๆ ลดระดับลงจนกระทั่งไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ บริเวณเมืองเมาะลำเลิง หรือเมืองมะละแหม่ง ในรัฐมอญ รวมระยะการเดินทางของแม่น้ำสายนี้ทั้งหมด ๑,๗๕๐ไมล์หรือ ๒,๘๐๐ กิโลเมตร มีความยาวเป็นอันดับ ๒๖ ของโลก ถือเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ใหญ่ และมีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากแม่น้ำโขง


จากรายงานการสำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐระบุว่า แม่น้ำสาละวิน มีปริมาณน้ำมากเป็นอันดับ ๔๐ ของโลก และมีน้ำที่ไหลลงมหาสมุทรมากถึง ๕๓ ลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที


ในทางภูมิศาสตร์แม่น้ำสาละวิน เป็นส่วนหนึ่งของเขตป่าที่ยาวลงไปตามลำน้ำเมย จนไปถึงเทือกเขาตะนาวศรี ครอบคลุมผืนป่าขนาดใหญ่ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยทั้งหมด ผืนป่าที่เชื่อมต่อกันเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้นี้มีเขตอนุรักษ์ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นต้น


ด้านพันธุ์สัตว์ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ๒๐ ชนิด มีสัตว์ป่าหายาก ๒๐ ชนิด เช่น กระทิง เสือโคร่ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบนกและสัตว์ปีกอื่นๆ อีก ๑๒๒ ชนิด โดยแบ่งเป็นนกประจำถิ่น ๑๐๘ ชนิด นกอพยพเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ๑๔ ชนิด และพบสัตว์สะเทินบกอีกประมาณ ๓๘ ชนิด (ศูนย์วิจัยป่าไม้, ๒๕๓๔; ๔๓-๖๑)


สำหรับพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน จากการสำรวจพบ โดยนักคณะวิจัยปกากะญอสาละวิน มีปลาที่ชาวบ้านำมาเป็นอาหารทั้งสิ้น ๗๐ ชนิด แยกเป็นปลาหนัง ๒๒ ชนิด ปลาเกร็ด ๔๘ ชนิด ทั้งนี้ นักวิจัยเชื่อว่า ปลาในแม่น้ำสาละวิน น่าจะมีมากถึง ๒๐๐ ชนิด


นอกจากปลาที่กล่าวมาแล้ว ในแม่น้ำสาละวินยังมีปลาหายาก คือ ปลาไหลหูดำหรือปลาตูหนา ซึ่งเป็นปลาที่อาศัยหากินตามแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในฤดูวางไข่จะออกไปวางไข่ในทะเลลึก นอกจากจะพบปลาขนิดนี้ ในแม่น้ำสาละวินแล้ว ยังพบในแม่น้ำสาขาสายอื่นๆ ด้วย เช่น แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม แม่น้ำเงา รวมไปถึงแม่น้ำปาย คนหาปลาที่บ้านสบเมย บอกตรงกันว่า

ปลาสะเงะจะจับได้ช่วงหน้าหนาวกับช่วงน้ำหลาก คือจับได้ ๒ ช่วงคือ ช่วงน้ำหลากกับช่วงน้ำลด’


ในทางชีววิทยาเชื่อกันว่า เหตุที่ปลาตูหนาเดินทางกลับสู่ทะเลนั้น สาเหตุน่าจะมาจากเกลือในร่างกายหมดทำให้เกิดแรงกระตุ้น เพื่อให้เดินทางกลับไปสู่ทะเล ซึ่งการเดินทางกลับสู่ทะเล ก็คงเป็นช่วงที่ปลาตูหนาเดินทางกลับไปวางไข่ในทะเล


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
  ผมได้รู้ข่าวว่าไฟฟ้าที่บ้านดับก็ตอนอยู่บนดอยบ้านห้วยคุ ข่าวสารที่ส่งมาบอกเพียงว่า หลังจากผมและเธอออกจากบ้านมาได้ ๒ วันหลอดไฟที่อยู่ข้างนอกก็ดับลง ทั้งที่มันเพิ่งได้รับการติดตั้ง คนส่งสารยังบอกอีกว่า เขาได้ไปดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านแล้วปรากฏว่า สายไฟที่ต่อกับมิเตอร์ถูกดึงออกด้วยมือนิรนาม เมื่อสนทนากันอยู่นานสองนาน คนส่งสารผู้ใจดีก็บอกหมายเลขโทรศัพท์ของการไฟฟ้า หลังผู้แจ้งสารหมดสิ้นหน้าที่ ต่อไปจากนี้คงเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องดำเนินการต่อ ผมและเธอเรามองหน้ากัน ต่างคนต่างตั้งคำถามในใจ เกิดอะไรขึ้นกับบ้านที่เราเช่าอยู่มาเกือบครึ่งปี? ผมถามเธอก่อนหลังความเงียบมาเยือนเราสองคนได้ไม่นาน"นั่นสิ…
สุมาตร ภูลายยาว
บนเทือกเขาสูงอันไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนเทือกเขาสูงกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเลถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัด หลังการปกคลุมของหิมะ หลายร้อยหลายพันปี เมื่อความร้อนชื้นของอากาศมาเยือน หิมะจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารของแม่น้ำอันยิ่งใหญ่สายหนึ่งของโลก ในตอนบน แม่น้ำสีเขียวมรกตอันเกิดจากการละลายของหิมะสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น แม่น้ำได้ไหลจากต้นกำเนิดบนที่สูงลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน…
สุมาตร ภูลายยาว
[๑]เมษายน ๒๕๔๗...แสงแดดใกล้ลับขอบฟ้า คนหาปลาบางกลุ่มกำลังเตรียมตัวเอาเรือเข้าฝั่ง เพื่อกลับคืนสู่บ้านผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการหาปลามาตลอดทั้งวัน การหาปลาเป็นกิจวัตรปกติของคนริมฝั่งแม่น้ำโขงมาเนิ่นนาน แต่ในยามเย็นวันนี้ไม่เป็นเหมือนยามเย็นของวันอื่นๆ ที่ผ่านมา ช่วงนี้ริมฝั่งแม่น้ำโขงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะข่าวการเดินทางมาของปลาบึก ปลาใหญ่ที่คนหาปลาขนานนามให้ว่า ‘ปลาเทพเจ้าแห่งลำน้ำโขง’ พี่รงค์ จินะราช คนหาปลาบ้านหาดไคร้ได้เอาเรือออกไปไหลมองในแม่น้ำโขงบริเวณดอนแวงตามปกติ มองที่ไหลไปตามกระแสน้ำเป็นมองขนาดเล็ก พอมองไหลไปปะทะกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ชั่วพริบตานั้นฟองอากาศขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นบนผิวน้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงผู้คนส่งเสียงเชียร์เรือยาวในแม่น้ำดังไปทั่วริมฝั่ง งานแข่งเรือเริ่มขึ้นในวันสาขารล่อง--ประมาณวันที่ ๑๔ เมษายน เบื้องล่างเหนือสายน้ำ เรือ ๒ ลำกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ไม่นานนักเรือที่มีฝีพายใส่เสื้อสีแดงก็ทะยานเข้าเส้นชัยหลังเรือลำนั้นเข้าเส้นชัยแล้ว การแข่งเรือรอบคัดเลือกจึงสิ้นสุดลง พรุ่งนี้จะเป็นวันตัดสินว่า เรือของคุ้มบ้านไหน จะได้ลอยลำเฉิดฉายเข้าเส้นชัย เสียงเพลงเฉลิมฉลองทั้งปราชัย และมีชัยดังมาเป็นระยะ เมื่อผู้คนเริ่มทยอยกลับบ้าน ชายชราก็ลุกจากเสื่อที่ปูนั่ง และเดินออกมาจากริมน้ำคืนสู่บ้าน ก่อนจะเดินมาถึงบันไดทางขึ้นวัด ชายชราก็ก็หยุดคุยกับใครบางคนตรงเชิงบันได“เด็กบ้านเรามันไม่สู้…
สุมาตร ภูลายยาว
ตะวันสายแดดส่องฟ้า เรือหาปลากับชายชรากำลังเดินทางออกจากท่า เพื่อหาปลาอีกครั้ง ในแสงแดดยามสาย ชายชรากำลังสลัดคราบไคร้ที่เกาะติดเบ็ดออก เพื่อทำความสะอาดให้มันกลับมาพร้อมใช้งานอีกครั้งสายน้ำลดระดับลงอีกครั้งหลังโถมถั่งในหน้าฝน สายน้ำเชี่ยวกรากกลับกลายเป็นแผ่วเบา และลดความเกรี้ยวกราดลง วันนี้ไม่แตกต่างจากหลายวันในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว ชายชรายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติในครรลองของคนกับเรือเหนือสายน้ำอันกล่าวได้ว่าคือสายชีวิตของชายชราด้วยสายลมแห่งเดือนมกราคมพัดมาเยือกเย็น ริมฝั่งน้ำตรงกระท่อมหาปลา ชายชรานั่งเงียบงันอยู่ข้างกองไฟ ๒ วันมาแล้วยังหาปลาไม่ได้ ช่วงนี้จึงมีเพียงกุ้งติดฟดริมฝั่งน้ำเท่านั้น…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังจากวันแรกจนถึงวันนี้ ผมลองนับเดือน นับปีดูแล้ว ผมมาอยู่เมืองชายแดนริมแม่น้ำแห่งนี้ ล่วงเข้าไป ๕ ปีแล้ว ใน ๕ ปีของการใช้ชีวิต แน่ล่ะย่อมแตกต่างจาก ๗๖ ปีของชายชราอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ผมได้เห็นไม่ต่างกับชายชราเลยแม้แต่น้อยแม้จะนานกี่ชั่วอายุคน ผู้คนริมฝั่งน้ำยังคงพึ่งพาแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ อยู่เช่นเดิม คนหาปลายังคงหาปลา แม้ว่าจะได้ปลาน้อยลงก็ตามที คนขับเรือรับจ้างก็ยังคงขับเรืออยู่เช่นเดิม แม้ว่าจะมีข่าวการเกิดขึ้นของสะพานข้ามแม่น้ำก็ตามที คนแบกของตรงท่าเรือก็ยังคงทำหน้าที่แข็งขันกว่าเดิม แม้จะแบกของได้น้อยลง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในยามเย็น หลังแสงตะเกียงสว่างขึ้น ความสว่างของแสงไฟตะเกียงก็ตัดกับท้องฟ้ามืดครึ้มไร้ดวงดาวแต้มขอบฟ้า ดูเหมือนว่ายามนี้สายฝนต้นฤดูมาถึงแล้ว ในที่ไกลออกไปฟ้าแลบแปลบปลาบ ทุกครั้งที่ฟ้าแลบ ความสว่างที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ทำให้ฟ้าสีดำดูน่ากลัว ไม่นานนักหลังฟ้าร้องเข้ามาใกล้ สายฝนปานฟ้ารั่วก็โถมถั่งลงมายามนี้ปลาหลายชนิดอพยพขึ้นเหนือ เพื่อวางไข่ จะเหลือเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นอพยพขึ้นมาช่วงน้ำลด ในช่วงนี้ คนหาปลาไหลมองก็จะเริ่มยุติการหาปลาลง เพราะน้ำในแม่น้ำเป็นน้ำใหญ่หาปลาลำบาก ช่วงน้ำใหญ่นี่เองถือว่าธรรมชาติได้จัดการมนุษย์…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาถึงบ้าน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่แกเล่าให้ฟัง ห้วงอารมณ์นั้น ผมคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงการรอนแรมออกทะเล เพื่อตกปลาของชายแก่คนหนึ่ง การเดินทางออกทะเลของชายชราในหนังสืออาจแตกต่างกับการเดินทางออกสู่แม่น้ำของชายชราแห่งโลกของความจริงอยู่บ้าง แต่ในวิถีของชายเฒ่าทั้งสองคน มีเรื่องราวทั้งเหมือน ทั้งแตกต่างรวมอยู่ด้วยกัน การเดินทางไปสู่วิถีของการเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจจะไม่ต่างกันมากนักในการกระทำ แต่เป้าหมายในการออกเรือ เพื่อเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจแตกต่างกัน คนหนึ่งออกเรือไปล่าเพื่อความสุขตามคิดความเชื่อของตัวเอง แต่อีกคนหนึ่ง…
สุมาตร ภูลายยาว
แสงแดดยามบ่ายคลี่ม่านกระจายโอบไล้ยอดไม้ แรงลมพัดยอดไม้เอนไหว ดอกไม้ป่าสีขาวของฤดูฝนกำลังร่วงหล่นลงพื้นดิน แม้ว่าดอกไม้จะจากไป แต่ธรรมชาติก็ได้มอบความเขียวชะอุ่มของผืนป่ามาทดแทนเช่นกันยามบ่ายขณะหลายคนยังวุ่นอยู่กับงาน ผมเดินเตร็ดเตร่ตามถนนมาถึงหน้าบ้านหลังหนึ่ง หลังอ่านป้ายก็รู้ว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของชายชรา ผมมองหาเจ้าของบ้านอยู่นอกรั้วในใจยังหวั่นอยู่ว่าจะได้พบเจ้าของบ้านหรือเปล่า เมื่อมองดูอยู่ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นชายชราผู้เป็นเจ้าของบ้านกำลังก้มๆ เงยๆ อยู่กับกองไม้ไผ่ข้างห้องครัวผมร้องเรียกชายชราอยู่นอกรั้ว เมื่อได้ยินเสียงเรียก แกก็เงยหน้าขึ้นมาดู และเรียกผมเข้ามาในบ้าน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาจากเมืองริมแม่น้ำในครั้งนั้น ไม่นานผมก็เดินทางมาเมืองริมแม่น้ำอีกครั้งพร้อมกับความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อน...ความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อนเกิดขึ้นบนแม่น้ำสายนี้ ผมจำได้ว่าช่วงนั้นเป็นฤดูฝน น้ำปริ่มฝั่งหมุนวนน่ากลัว ผมได้พบชายชราอีกครั้งหลังจากไม่ได้พบกันนาน ชายชรานั่งอยู่บนเรืออีกลำหนึ่ง ซึ่งวิ่งสวนทางกับเรือที่ผมโดยสารมา เมือเรือวิ่งสวนทางก็ได้ยินเสียงทักทายของคนขับเรือทั้งสอง แม้ว่าจะฟังสำเนียงการสนทนาไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่ก็พอจับใจความได้ว่าคนขับเรือทั้งสองคุยกันเรื่องอะไร บนนาวาชีวิตกลางสายน้ำของชะตากรรม…
สุมาตร ภูลายยาว
สายโขงยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไรตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตาค่อยอิง ค่อยอาศัยกัน เอาไว้รักกันในวันข้างหน้ามาเถิด มาเถิดแก้วตา รำวงดีกว่าร่าเริงหัวใจ รำวงดีว่าร่าเริงหัวใจ....เสียงเพลงแหบพร่าลอยตามสายลมไกลออกไป จนเงียบหายไปกับโค้งขอบฟ้ากลางคืน นานครั้งชายชราจะร้องเพลง แต่บทเพลงที่ชอบร้องสม่ำเสมอคือเพลงนี้ ค่ำคืนนี้อากาศหนาวเย็นลง ชายชราจึงก่อกองไฟ เพื่อผ่อนเบาความหนาว เนิ่นนานที่กองไฟสว่างไสว แต่เมื่อฟืนที่กองสุมไว้ในตอนเย็นใกล้หมด แสงไฟก็สลัวลง เปลวไฟมีอยู่น้อยนิดเหมือนจะมอดดับลงทุกครั้งยามสายลมพัดเข้ามา พอสายลมพัดผ่านไป แสงไฟก็สว่างขึ้นมา หลังแสงไฟสว่าง…
สุมาตร ภูลายยาว
ภาพของชายชราวัย ๗๕ ปี กำลังก้มๆ เงยๆ อยู่บริเวณระเบียงกระท่อมแจ่มชัดขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้ กุ้งสีชมพูขนาดนิ้วก้อยหลายสิบตัวนอนนิ่งอยู่ในจานเบื้องหน้าของชายชรา ถัดจากจานกุ้งไปเป็นถ้วยน้ำพริกปลาร้าที่กินเหลือจากเมื่อวานรายการอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดคืออาหารมื้อเย็นสำหรับชายชรา     ลูกแมวสองตัว ตัวหนึ่งสีน้ำตาล ตัวหนึ่งสีขาว หมอบคลอเคลียอยู่ด้านข้าง นานครั้งมันจะเดินมาหยอกล้อเล่นกัน พอหยอกล้อกันจนหนำใจมันก็กลับไปนอนนิ่งอยู่ที่เดิม บนท้องฟ้าอาทิตย์อัสดงลงไปไม่นานนัก ท้องฟ้าที่เคยกระจ่างเป็นสีฟ้าเริ่มกลายเป็นสีดำหลังจากอิ่มหนำสำราญ…