Skip to main content

การงานของชีวิตที่ตกค้าง 

ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...

เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่

\\/--break--\>
ผมเปิดสมุดจดงานขึ้นมาดู เผื่อว่าจะพบงานนัดหมายสำคัญหรือมีงานที่ต้องส่งไปที่ไหนบ้าง หรือเขียนสรุปรายงานการประชุมที่ยังไม่ได้ทำ แต่พบว่าทุกอย่างผ่านพ้นไปแล้ว โล่งอกไปอีกอีกวัน

ชีวิตเป็นอย่างนี้มานานเท่าไหร่กันแล้ว อย่างน้อยก็ร่วมสิบปีเข้าไปแล้ว สิบปีที่ผ่านมา เราผ่านจุดไหนมาบ้าง จะมีสักครั้งไหมที่เรานั่งลงทบทวนกับตัวเองด้วยการผ่อนลมหายใจลงช้าๆ แล้วหลับตาย้อนนึกถึงเรื่องราวในวันวาน พร้อมย้อนกลับมาพิจารณาถึงวันนี้ ยิ่งนึก ยิ่งพบว่า ชีวิตยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ และจะต้องรีบทำก่อนจะไม่ได้ทำ

การงานของชีวิตที่ตกค้างก็เหมือนคนหาปลาวางเบ็ดโดยไม่ได้เก็บกู้ในวันเดียว แต่มันคือภาระที่ต้องกลับมาทำให้เสร็จในวันหลัง งานที่ตกค้างอยู่จึงไม่ได้ต่างจากสนิมที่เกาะกุมเสาเหล็กกลางสายฝน

ไต่สายตาขึ้นสู่ภูสูงที่นั่นข้าวโพดเพิ่งถูกปลูกลง ต้นยางก็เพิ่งแตกใบ ผลไม้บางชนิดเริ่มต้นในฤดูฝน รวมทั้งข้าวในนา เรื่องราวล้วนแต่เป็นการงานที่ตกค้างแทบทั้งสิ้น ข้าวโพดเป็นการงานอันตกค้างของชาวไร่ ผู้มีลมหายใจส่วนหนึ่งเพื่อการอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว แน่ละอีกส่วนหนึ่งก็หมายถึงการอยู่รอดของเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วยเช่นกัน

ต้นยางพาราที่เพิ่งถูกปลูกลงสู่พื้นดินแทนที่ไร่ข้าวโพด ล้วนเป็นการงานของชีวิตที่ตกค้างทั้งสิ้น สิ่งใหม่ที่ถูกแทนที่สิ่งเก่า การงานของชีวิตอันตกค้างนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี เมื่อลองถามคนปลูกยางพาราว่า สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นี้เป็นการงานอันตกค้างที่เป็นภาระหรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะเมื่อยางพาราพร้อมกรีด ชีวิตที่เคยเป็นอยู่คงดีขึ้น และดีขึ้นเป็นลำดับ แต่นี่ก็เป็นเพียงการงานอันตกค้างของความคิดเท่านั้น เพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอีก ๑๐ ปีข้างหน้าราคายางจะอยู่ที่เท่าไหร่

กลุ่มคนที่มีการงานของชีวิตที่ตกค้างมากที่สุดคือ ชาวนา เพราะแม้ชาวนาจะเป็นกลุ่มคนที่ทำงานตามแบบแผนที่วางไว้ทุกประการ แต่การวางแผนก็ล้วนแต่อยู่บนการรอ รอน้ำจากฟ้า รอกล้าเติบโต รอข้าวออกรวง รอเก็บเกี่ยว รอขายข้าวในช่วงราคาดี เพื่อนำไปใช้หนี้อันจะนำไปสู่การปลดปล่อยการงานอันตกค้างของชีวิตบ้างด้าน

ถ้าไม่เรียกการงานอันตกค้างของคนทำไร่ ทำนา ทำสวนว่า การงานอันตกค้างด้วยความหวังของชีวิตจะมีคำอื่นมาแทนที่หรือไม่...

ในขณะที่เราเฝ้ามองการงานอันตกค้างของชีวิตคนอื่น เราเคยนึกถึงการงานที่ตกค้างของชีวิตเราบ้างไหม ในห้วงนึกนั้น เราจะเริ่มทำสิ่งใดก่อน และจะทำสิ่งใดหลัง เราได้ออกแบบการใช้ชีวิตอย่างนี้กันหรือไม่

คำตอบสำหรับผมคือไม่...ถ้าไม่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ชีวิตเราจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน แปลกแต่จริงว่า เราเห็นการงานของชีวิตที่ตกค้างของคนอื่นมากกว่าของตนเอง

ฝนหยุดแล้ว เวลาผ่านไปเกือบสามทุ่ม ความหิวเริ่มครอบงำจิตใจ ความหิวก็คงเป็นการงานที่ตกค้างของชีวิตเช่นกัน เพราะเราหิวทุกวัน กินทุกวัน ถ้าเราไม่หิว ไม่กิน เราจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร หรือกระทั่งแม้ว่าเมื่อเราหิว เราล้วนแต่ตามใจความรู้สึกว่าเราอยากกินอาหารรสชาติแบบไหน หากว่าในวันที่เราหิว เราไม่เลือกกินอาหารที่เราชอบในรสชาติ ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร เราจะอยู่ได้ไหม ยิ่งคิดก็ยิ่งชวนให้มึนงง การงานของชีวิตที่ตกค้างตกลงเป็นงานชนิดไหนกันแน่...

บันทึกชิ้นนี้แปลกๆ ไม่ได้กล่าวถึงคนอื่นมากนัก แต่มันก็คงพอทำให้เราได้ระลึกนึกถึงอยู่บ้างว่า เราล้วนมีการงานของชีวิตที่ตกค้างมากจากวันเวลาหลายอย่างๆ หลายๆ เหตุผล เอาละถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาเริ่มจัดการงานของชีวิตที่ตกค้างกันได้แล้ว...ลุกขึ้นมาทำเสียเถอะก่อนพรุ่งนี้จะมาเยือน และเราจะได้ไม่ต้องบอกตัวเองว่า ไม่น่าปล่อยมาถึงวันนี้เลย น่าจะทำตั้งแต่เมื่อวาน...

โรงเรียนบ้านคกเว้า,ปากชม,
ฤดูหนาว, ๕๒

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…