Skip to main content

สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา


เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’ เป็นคำที่คนลาวใช้เรียกเกาะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง

คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรมอีสาน ไทย อังกฤษโดย ดร. ปรีชา พิณทองตีพิมพ์เมื่อปี พ.. ๒๕๓๒ มีความหมายว่า “น.ร่องน้ำลึกที่น้ำตก แม่น้ำที่มีสันดอนสูง น้ำไหลไปเป็นร่องลึกเรียกว่า คอน ถ้าน้ำไหลไปสองร่องน้ำมีสันดอนอยู่ตรงกลางเรียก ‘สองคอน’ เช่น สองคอนในแม่น้ำโขง ดอนโขงเป็นที่ตั้งของเมืองโขง นอกจากจะเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ยังมีดอนต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญด้วย เช่น ดอนเดช ดอนคอน ดอนสะดำ ดอนสะโฮง

ในแต่ละดอนที่เกิดขึ้น บางดอนก็มีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของเปลือกโลกที่ต่างระดับกัน น้ำตกบางแห่งมีความสูงถึง ๑๕ เมตร น้ำตกที่ขึ้นชื่อที่สุด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือน้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นไนแองการ่าแห่งเอเชีย และน้ำตกสมพะมิด

นอกจากสถานที่ทั้งสองแห่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘หลี่ผี’ ‘หลี่’ หมายถึงเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคใต้ของลาวบริเวณสี่พันดอน ผีหมายถึงคำที่ชาวบ้านทั่วไปใช้เรียก คนตายหรื่อสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ‘หลี่ผี’ ในความหายของคนท้องถิ่นจึงหมายถึงบริเวณหลี่ที่พบศพของคนตาย โดยจะพบมากในช่วงที่ลาวเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วงก่อนปี ๒๕๑๘ หลี่ผีประกอบไปด้วยฮูน้ำฮูเล็กฮูน้อยที่เกิดขึ้นในแต่ละดอน ฮูน้ำ ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญกับคนท้องถิ่นในการใช้เป็นพื้นที่ใส่หลี่หาปลา และนอกจากนั้นฮูน้ำเหล่านี้ยังเป็นเส้นทางผ่านของปลาที่จะว่ายขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ในแม่น้ำโขง

การหาปลาด้วยวิธีการใส่หลี่ของคนท้องถิ่นจึงสัมพันธ์กับการอพยพของปลา โดยในอาณาบริเวณที่เรียกว่าหลี่ผีนั้นมีฮูน้ำทั้งหมด ๒๙ ฮู แต่บางฮูปลาก็ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน้ำที่ไหลเชียว และเป็นน้ำตกที่สูงชันขึ้นไปยังพื้นที่อื่นของสีพันดอนได้ เช่น ฮูน้ำคอนพะเพ็ง ฮูน้ำสมพะมิด แต่บางฮูก็จะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น เช่น ฮูสะดำ ส่วนในบางฮูจะมีน้ำตลอดปี และไม่สูงชันปลาก็จะว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นไปได้ เช่นที่ ฮูสะฮอง เป็นต้น

ด้วยความหลากหลายทางพันธุ์ปลาที่จับได้จากหลี่ รายได้ที่เกิดขึ้นจากปลาจึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดพันธุ์ปลา และความต้องการของตลาด กล่าวได้ว่าราคาปลาคนหาปลาสามารถกำหนดความพอใจในราคาขายได้เอง นอกจากคนหาปลาจะเอาปลาไปขายเองแล้ว พ่อค้า แม่ค้าปลายังลงไปรับซื้อถึงหลี่ การรับซื้อก็เป็นการเหมาซื้อตลอดระยะเวลาของการทำหลี่

จากการเดินเตร็ดเตร่ในตลาดเมืองปากเซ และช่องเม็กพบว่า ปลาจำนวนมากที่เดินทางมาจากบ้านนากะสังถูกส่งไปขายตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งภายในในประเทศลาว และปลาบางชนิดมีปลายทางกระจัดกระจายไปสู่ที่อื่นๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และมีปลาบางชนิด เช่น ปลานาง ปลาเพี้ย ปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ ปลายทางของมันอยู่ไกลถึงกรุงเทพมหานคร

ในการขายปลาจะมีทั้งการขายปลาสด ราคาก็จะแตกต่างกันออกไปไม่ได้มีราคาตายตัวแน่นอน นอกจากจะขายปลาสดแล้วยังมีการแปรรูปปลาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ออกมาขายด้วย เช่น ปลาแดก
-ปล้าร้าอัตราการขายจะอยู่ที่เทละประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๑๕๐,๐๐๐ กีบ ราคาปลาร้าก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นปลาร้าปลาพอนเทละ ๑๕๐,๐๐๐ กีบ ขึ้นไป ราคาปลากะเตา (ปลาหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบขึ้นไป ปลาย่างรมควันแยกขายแล้วแต่ละชนิดของปลา ปลาเกล็ดอยู่ที่กิโลกัรมละ ๒๐,๐๐๐ กีบ ปลาหนังอยู่ที่กิโลกรัมละ ๒๕,๐๐๐ กีบปลาส้มราคากิโลกรัมละ ๑๐,๐๐๐ กีบ ราคาขายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของตลาด เช่นที่บ้านนากระสังขายปลาพรกิโลกรัมละ ๑๕,๐๐๐กีบ ที่ตลาดปากเซจะขายอยู่ที่ ๒๕,๐๐๐ กีบต่อกิโลกรัมหรือมากกว่านั้น ราคาปลาจึงไม่สามารถกำหนดตายตัวได้

คนทำหลี่ผู้มีชีวิตอยู่บนนาน้ำ


เรือหาปลาลำเล็ก ๒ ลำพาเราออกเดินทางจากบ้านนากะสังในตอนบ่าย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คอนซวง ที่นั่นเราจะตามไปดูหลี่ที่เคยไปมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน และที่น่าตื่นเต้นคือวิถีชีวิตของคนทำหลี่ที่คอนซวงถูกถ่ายทอดออกมาผ่านโทนทัศน์ของไทยในรายการคนค้นคน เราจะได้พบคนต้นเรื่องที่คุ้นเคยกันอีกครั้ง

เรือค่อยๆ วิ่งลัดเลาะไปตามแม่น้ำ คนขับเรือกุมหางเสือเรือราวกับคนขับรถผู้ชำนาญทางกุมพวงมาลัยมั่นในมือ หลายคนเมื่อรู้ว่าเส้นทางที่จะไปนั้นน่าหวาดกลัวเพียงใด บางคนก็เริ่มนั่งนิ่งๆ อยู่บนเรือ คงเป็นโชคดีอยู่บ้างที่น้ำเริ่มขึ้นมาบ้าง การบังคับเรือจึงไม่ลำบากนัก ราว ๑ ชั่วโมงเรือก็พาเรามาถึงจุดที่ถือได้ว่าน่ากลัวที่สุด เพราะหากเกิดพลาดแม้แต่นิดเดียว เรือทั้งลำก็จะพุ่งลงเหวที่มีความสูงเท่าตึก ๒ ชั้น

เมื่อความหวาดกลัวเดินทางมาเคาะประตูหัวใจ การยึดกุมเอาแคมเรือด้วยมือทั้งสองข้างไว้มั่นจึงเกิดขึ้น ชั่วยามเช่นนี้แรงเต้นของหัวใจใครบางคนอาจเร็ว และถี่ขึ้น แต่พอเรือเงียบเสียงและจอดสงบนิ่งลง รอยยิ้มจึงปรากฏบนใบหน้าของคนขับเรือ และผู้โดยสาร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเดินทางมายังคอนซวงแห่งนี้ถูกจำกัดโดยความยากในการขับเรือ คอนซวงจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง นอกจากคนที่รู้ใจกันจริงๆ เท่านั้น คนหาปลาที่ทำหลี่อยู่บนคอนซวงจึงจะยอมให้ขึ้นเรือมาด้วย

คอนซวงแห่งนี้เป็นหนึ่งในจำนวนคอนที่มีอยู่มากมายในเขตสี่พันดอน ในแต่ละคอนก็จะมีฮูที่ไม่สูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่วางเครื่องมือหาปลาอันสำคัญของคนท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘ลวงหลี่’ ‘ลวง’ เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกพื้นที่หาปลา มีความสัมพันธ์กับเครื่องมือหาปลาแต่ละชนิด เช่น ลวงมอง ก็ใช้มองอย่างเดียว ลวงเบ็ดก็ใช้เบ็ดอย่างเดียว ลวงปลามีทั้งแบบกรรมสิทธิ์คนเดียว และกรรมสิทธิ์หน้าหมู่
(ส่วนรวม)’

เมื่อเราไปถึงคอนซวง อ้ายใหญ่ผู้เป็นเจ้าของหลี่ได้ชื่อว่าได้ปลาเยอะที่สุดก็ยิ้มต้อนรับ ก่อนจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหลี่ให้นักข่าวจากกรุงเทพฟัง อ้ายใหญ่เริ่มเล่าด้วยสำเนียงคนไทใต้ว่า ฮูน้ำในเขตนี้มีมาก หลี่ก็มีมาก บางฮูน้ำมีหลี่มากกว่า ๑๐ ลวงขึ้นไป ลวงหลี่นี่เป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่มาบุกเบิก ก็เหมือนคนทำนาบุกเบิกป่าโคกมาเป็นนา คนสมัยก่อนจะมาแสวงหาพื้นที่ในการทำหลี่โดยเลือกเอาฮูน้ำที่มีสภาพไม่สูงชันเป็นที่ทำหลี่ พอคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เสียชีวิต ลวงหลี่ก็จะตกมาเป็นมรดกของลูกหลานต่อไป บางคนที่ไม่ได้ทำก็ให้คนอื่นเช่าทำ ในการเช่าก็จะตกลงกันว่าจะจ่ายเป็นเงินหรือแบ่งปลา แต่ละคนเอาไปจัดการขายเอาเอง ลวงหลี่จะเป็นของใครของมัน คนอื่นไม่สามารถเข้ามาทำแทนได้ นอกจากเจ้าของจะขายสัมปทานให้เท่านั้น ในกรณีที่มีการขายสัมปทานจะเป็นการขายขาดไปเลย เช่น ตกลงกันว่าจะขาย ๓๐
,๐๐๐ บาท ถ้ามีคนมาซื้อ คนทำหลี่คนเก่าก็จะไม่ได้ทำอีกต่อไป แต่ก่อนทำหลี่ไม่ได้เสียภาษีให้รัฐ แต่จะมีการเก็บภาษีเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา อัตราภาษีก็เก็บอยู่ที่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐กีบต่อลวงหลี่หนึ่งที่

อ้ายใหญ่ยังเล่าเพิ่มเติมถึงการทำหลี่ให้ฟังว่า การทำหลี่จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือน ๓
(มีนาคม)ไปจนถึงหลังช่วงปีใหม่ลาวที่ทำในช่วงนี้ เพราะน้ำน้อยสามารถทำหลี่ได้สะดวก การทำหลี่ก็จะเริ่มขึ้นโดยการไปตัดไม้เนื้อแข็งจากป่ามาทำขาหลี่ จากนั้นก็จะใช้วิธีการตอกไม้ลงไปในน้ำให้ลึกที่สุดเพื่อความแข็งแรง แล้วก็ผูกไม้ที่ได้มาเป็นแนวยาวไปตามน้ำกับขาหลี่ และนำหินมาวางเรียงรายกั้นเป็นกำแพง เพื่อกั้นให้ปลาขึ้นไปตามร่องน้ำที่มีอยู่ร่องเดียวด้านหน้าหลี่ การเรียงหินจะเรียงขึ้นให้สูงที่สุด จากนั้นก็จะเอาแพไม้ไผ่ และแตะที่สานแล้วมาวางทับลงไปบนขา และไม้ระแนงที่มัดเป็นคาน โดยการวางไม้จะให้ด้านหนึ่งลาดเอียงลง ส่วนอีกด้านหนึ่งจะทำให้สูงขึ้น กาทำหลี่ต้องทำให้แข็งแรง เพราะน้ำจะแรง ถ้าทำไม่ดีหลี่จะแตกได้

การทำหลี่เราต้องเลือกพื้นที่ตรงมันเป็นแก่งหินหรือไม่ก็มีหินเรียงเป็นแนวขวางลำน้ำ บางแห่งที่เป็นตาดก็ใช้ได้ ตามตาดจะมีวงัน้ำที่ปลามันจะว่ายขึ้นไปพักพาอาศัยก่อนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ปลามันจะเข้าหลี่ เพราะเราทำร่องน้ำให้เหลือร่องเดียว พอน้ำเหลือร่องเดียวน้ำก็จะแรงปลาว่ายขึ้นไปลำบาก พอว่ายขึ้นไปไม่ได้น้ำก็จะตีกลับให้ปลามาค้างบนแตะเป็นแพที่เรามัดไว้กับระแนงอีกที่หนึ่ง

ในช่วงที่ทำหลี่จะเป็นช่วงที่ต้องเกณฑ์ญาติพี่น้องมาช่วยทำ บางครั้งก็จะมีการจ้างแรงงานในหมู่บ้าน แต่การจ้างจะไม่ได้จ้างเฉพาะมาทำหลี่อย่างเดียวจะจ้างมาเฝ้าหลี่และช่วยกันเก็บปลา รวมทั้งแปรรูปลา เช่น ทำปลาร้า ปลากะเต้า
(ปลาขนาดเล็กหลายชนิดตากแห้งรวมกัน) ถ้าแรงงานน้อยจะทำไม่ทัน เพราะในบางช่วงปลาจะขึ้นหลี่มาก ถ้าทำไม่ทันหลี่จะแตกได้ เพราะปลามันเยอะ มันหนัก การจ้างแรงงานนี่เราจะแบ่งเงินให้ตอนที่น้ำท่วมหลี่ และไม่ได้หาปลาอีก

ส่วนการหาปลาก็จะเริ่มลงไปเฝ้าหลี่ในปลายเดือน ๕
(เมษายน) จนถึงเดือน ๘ (สิงหาคม) หรือบางทีอันนี้แล้วแต่น้ำ ถ้าน้ำท่วมหลี่ก็พอดีน้ำในแม่น้ำโขงเป็นน้ำใหญ่ หลี่ก็จะใช้การไม่ได้ คนทำหลี่ก็จะกลับบ้านไปทำไร่ไถนา พอเราไม่ได้ใช้หลี่แล้ว คนอื่นก็จะมาหาปลาตรงหลี่เราได้ รายได้จากการขายปลานี่ก็ต้องพูดกันเป็นหลัก ๑๐-๒๐ ล้านกีบ หลี่นี่คนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นนาน้ำ เพราะเรามีข้าวกินจากการทำหลี่

ก่อนสิ้นแสงแห่งชีวิตที่ดอนสะฮอง


รถโดยสารพาเราออกเดินทางจากดอนเดชในตอนเช้าโดยมีเป้าหมายอยู่ที่หัวดอนหรือบริเวณที่สิ้นสุดลงของทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ร
.. ๑๑๒ (ช่วง พ..๒๔๒๙) สมัยฝรั่งเศสนักล่าอาณานิคมได้เดินทางมาสำรวจลุ่มแม่น้ำโขง การสำรวจในครั้งนั้นพบอุสรรคที่หนักหนาสำหรับการเดินเรือขนสินค้า เพราะตรงที่คอนพะเพ็งกับสมพะมิดมีน้ำตกขนาดใหญ่ที่เรือไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านไปได้ เมื่อเห็นว่าแก่งหินเหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นจึงตัดสินใจการสร้างท่าเรือ และทางรถไฟขึ้น เมื่อเรือแล่นผ่านมาถึงบริเวณสี่พันดอนก็จะนำเรือไปจอดที่หัวดอนคอนขนถ่ายสินค้าจากเรือมาขึ้นรถไฟที่มีเส้นทางตัดจากหัวดอนเดชไปท้ายคอนคอน ในการสำรวจครั้งนั้นฝรั่งเศสก็สามารถเอาชนะความท้าทายของธรรมชาติได้ ในยาวนี้ผ่านมาหลายปี สะพานอันเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างดอนเดชกับดอนคอนโดยมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางจึงกลายเป็นอารยธรรมที่ผู้รุกรานทิ้งเอาไว้ให้ดูต่างหน้าเวลาคิดถึง

ขณะรถวิ่งไปบนทางรถไฟเก่าเมื่อผ่านจุดแวะเข้าไปชมสมพะมิดกลิ่นผักปู่ย่า
(ผักที่มีลักษณะคล้ายต้นไมยราบยักษ์ แต่มีสีแดง) ก็โชยเข้ามาปะทะจมูก อารมณ์นั้นหลายคนก็คิดถึงแกงหน่อไม้ขึ้นมาทันใด จนต้องตกลงกับคนขับรถว่าขากลับให้จอดรถเก็บผักนี้กลับบ้านพักด้วย บางคนว่าจะเอาผักนี้ไปกินกับก้อยปลา

เมื่อมาถึงท่าเทียบเรือ เพื่อนคนท้องถิ่นผู้เป็นคนนำทางก็ไปติดต่อเรือ เพื่อข้ามไปยังดอนสะฮอง ที่นั้นมีน้องสาวของเพื่อนคนท้องถิ่นรออยู่ การเดินทางในครั้งนี้ ถือว่าไม่ได้ออกนอกเส้นทางเสียทีเดียว เพราะดอนที่เราจะไปอาจไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว แต่ดอนนี้มีความสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของเขตสี่พันดอนในเรื่องปลา เพราะจากการสำรวจของ
Worldfish Centerit ระบุว่า ฮูสะฮองที่มีความยาว ๗ กิโลเมตร กว้าง ๒๐๐ เมตรเป็นฮูเดียวที่ปลาจากทางกัมพูชาจะสามารถขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ ของสี่พันดอนได้ง่ายที่สุด เพราะฮูสะฮองไม่มีหน้าผา และไม่มีแก่งหินขนาดใหญ่

แต่เมื่อเราไปถึง และได้พูดคุยกันกับชาวบ้าน เราก็ได้พบความจริงบางอย่างว่า ในตอนนี้ปลาที่ว่ายทวนน้ำเข้ามาในฮูสะฮองนั้นมีน้อยเต็มที เพราะในช่วงที่ทำหลี่เสร็จก็พอดีเป็นช่วงที่บริษัทจากเวียดนามเข้ามาขุดเจาะพื้นที่เพื่อสำรวจในการก่อสร้างเขื่อน พอปลากำลังจะว่ายเข้ามาในฮูสะฮองแล้วมาเจอเสียงเครื่องขุดเจาะ และกลิ่นน้ำมัน ปลาก็ไม่เข้าหลี่ เมื่อปลาไม่เข้าหลี่นาน้ำที่เคยทำเงินให้หลักแสนปลาต่อปีรายได้ก็หายวับไปในอากาศ


ในตอนนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าเขื่อนกั้นฮูสะฮองจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่จากข้อมูลของ Worldfish Centerit ก็ได้ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ยังไม่เคยมีโครงการเขื่อนใดในโลกที่สามารถใช้มาตรการการลดผลกระทบด้านการประมงได้เป็นผลสำเร็จ


ก่อนจากลากันและกัน ใครบางคนในคณะเดินทางเลือกซื้อปลาเนื้ออ่อนย่างควันไฟหอมกรุ่นกลับมาทำต้มโคลงปลาเนื้ออ่อนยอดมะขามเป็นเมนูในตอนเย็น เมื่อได้รับรู้เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเดินทางมาสู่ดินแดนแห่งบ้านปลาเมืองปลา ความทรงจำเกี่ยวกับลาวใต้ในครั้งนี้จึงเป็นความทรงจำที่เต็มไปด้วยความหม่นเหงาเศร้าซึม พอๆ กับความหม่นเศร้าของท้องฟ้าเวลาค่ำที่ดูอึมครึมด้วยความมืดดำ...

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
  ผมได้รู้ข่าวว่าไฟฟ้าที่บ้านดับก็ตอนอยู่บนดอยบ้านห้วยคุ ข่าวสารที่ส่งมาบอกเพียงว่า หลังจากผมและเธอออกจากบ้านมาได้ ๒ วันหลอดไฟที่อยู่ข้างนอกก็ดับลง ทั้งที่มันเพิ่งได้รับการติดตั้ง คนส่งสารยังบอกอีกว่า เขาได้ไปดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านแล้วปรากฏว่า สายไฟที่ต่อกับมิเตอร์ถูกดึงออกด้วยมือนิรนาม เมื่อสนทนากันอยู่นานสองนาน คนส่งสารผู้ใจดีก็บอกหมายเลขโทรศัพท์ของการไฟฟ้า หลังผู้แจ้งสารหมดสิ้นหน้าที่ ต่อไปจากนี้คงเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องดำเนินการต่อ ผมและเธอเรามองหน้ากัน ต่างคนต่างตั้งคำถามในใจ เกิดอะไรขึ้นกับบ้านที่เราเช่าอยู่มาเกือบครึ่งปี? ผมถามเธอก่อนหลังความเงียบมาเยือนเราสองคนได้ไม่นาน"นั่นสิ…
สุมาตร ภูลายยาว
บนเทือกเขาสูงอันไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนเทือกเขาสูงกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเลถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัด หลังการปกคลุมของหิมะ หลายร้อยหลายพันปี เมื่อความร้อนชื้นของอากาศมาเยือน หิมะจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารของแม่น้ำอันยิ่งใหญ่สายหนึ่งของโลก ในตอนบน แม่น้ำสีเขียวมรกตอันเกิดจากการละลายของหิมะสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น แม่น้ำได้ไหลจากต้นกำเนิดบนที่สูงลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน…
สุมาตร ภูลายยาว
[๑]เมษายน ๒๕๔๗...แสงแดดใกล้ลับขอบฟ้า คนหาปลาบางกลุ่มกำลังเตรียมตัวเอาเรือเข้าฝั่ง เพื่อกลับคืนสู่บ้านผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการหาปลามาตลอดทั้งวัน การหาปลาเป็นกิจวัตรปกติของคนริมฝั่งแม่น้ำโขงมาเนิ่นนาน แต่ในยามเย็นวันนี้ไม่เป็นเหมือนยามเย็นของวันอื่นๆ ที่ผ่านมา ช่วงนี้ริมฝั่งแม่น้ำโขงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะข่าวการเดินทางมาของปลาบึก ปลาใหญ่ที่คนหาปลาขนานนามให้ว่า ‘ปลาเทพเจ้าแห่งลำน้ำโขง’ พี่รงค์ จินะราช คนหาปลาบ้านหาดไคร้ได้เอาเรือออกไปไหลมองในแม่น้ำโขงบริเวณดอนแวงตามปกติ มองที่ไหลไปตามกระแสน้ำเป็นมองขนาดเล็ก พอมองไหลไปปะทะกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ชั่วพริบตานั้นฟองอากาศขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นบนผิวน้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงผู้คนส่งเสียงเชียร์เรือยาวในแม่น้ำดังไปทั่วริมฝั่ง งานแข่งเรือเริ่มขึ้นในวันสาขารล่อง--ประมาณวันที่ ๑๔ เมษายน เบื้องล่างเหนือสายน้ำ เรือ ๒ ลำกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ไม่นานนักเรือที่มีฝีพายใส่เสื้อสีแดงก็ทะยานเข้าเส้นชัยหลังเรือลำนั้นเข้าเส้นชัยแล้ว การแข่งเรือรอบคัดเลือกจึงสิ้นสุดลง พรุ่งนี้จะเป็นวันตัดสินว่า เรือของคุ้มบ้านไหน จะได้ลอยลำเฉิดฉายเข้าเส้นชัย เสียงเพลงเฉลิมฉลองทั้งปราชัย และมีชัยดังมาเป็นระยะ เมื่อผู้คนเริ่มทยอยกลับบ้าน ชายชราก็ลุกจากเสื่อที่ปูนั่ง และเดินออกมาจากริมน้ำคืนสู่บ้าน ก่อนจะเดินมาถึงบันไดทางขึ้นวัด ชายชราก็ก็หยุดคุยกับใครบางคนตรงเชิงบันได“เด็กบ้านเรามันไม่สู้…
สุมาตร ภูลายยาว
ตะวันสายแดดส่องฟ้า เรือหาปลากับชายชรากำลังเดินทางออกจากท่า เพื่อหาปลาอีกครั้ง ในแสงแดดยามสาย ชายชรากำลังสลัดคราบไคร้ที่เกาะติดเบ็ดออก เพื่อทำความสะอาดให้มันกลับมาพร้อมใช้งานอีกครั้งสายน้ำลดระดับลงอีกครั้งหลังโถมถั่งในหน้าฝน สายน้ำเชี่ยวกรากกลับกลายเป็นแผ่วเบา และลดความเกรี้ยวกราดลง วันนี้ไม่แตกต่างจากหลายวันในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว ชายชรายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติในครรลองของคนกับเรือเหนือสายน้ำอันกล่าวได้ว่าคือสายชีวิตของชายชราด้วยสายลมแห่งเดือนมกราคมพัดมาเยือกเย็น ริมฝั่งน้ำตรงกระท่อมหาปลา ชายชรานั่งเงียบงันอยู่ข้างกองไฟ ๒ วันมาแล้วยังหาปลาไม่ได้ ช่วงนี้จึงมีเพียงกุ้งติดฟดริมฝั่งน้ำเท่านั้น…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังจากวันแรกจนถึงวันนี้ ผมลองนับเดือน นับปีดูแล้ว ผมมาอยู่เมืองชายแดนริมแม่น้ำแห่งนี้ ล่วงเข้าไป ๕ ปีแล้ว ใน ๕ ปีของการใช้ชีวิต แน่ล่ะย่อมแตกต่างจาก ๗๖ ปีของชายชราอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ผมได้เห็นไม่ต่างกับชายชราเลยแม้แต่น้อยแม้จะนานกี่ชั่วอายุคน ผู้คนริมฝั่งน้ำยังคงพึ่งพาแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ อยู่เช่นเดิม คนหาปลายังคงหาปลา แม้ว่าจะได้ปลาน้อยลงก็ตามที คนขับเรือรับจ้างก็ยังคงขับเรืออยู่เช่นเดิม แม้ว่าจะมีข่าวการเกิดขึ้นของสะพานข้ามแม่น้ำก็ตามที คนแบกของตรงท่าเรือก็ยังคงทำหน้าที่แข็งขันกว่าเดิม แม้จะแบกของได้น้อยลง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในยามเย็น หลังแสงตะเกียงสว่างขึ้น ความสว่างของแสงไฟตะเกียงก็ตัดกับท้องฟ้ามืดครึ้มไร้ดวงดาวแต้มขอบฟ้า ดูเหมือนว่ายามนี้สายฝนต้นฤดูมาถึงแล้ว ในที่ไกลออกไปฟ้าแลบแปลบปลาบ ทุกครั้งที่ฟ้าแลบ ความสว่างที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ทำให้ฟ้าสีดำดูน่ากลัว ไม่นานนักหลังฟ้าร้องเข้ามาใกล้ สายฝนปานฟ้ารั่วก็โถมถั่งลงมายามนี้ปลาหลายชนิดอพยพขึ้นเหนือ เพื่อวางไข่ จะเหลือเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นอพยพขึ้นมาช่วงน้ำลด ในช่วงนี้ คนหาปลาไหลมองก็จะเริ่มยุติการหาปลาลง เพราะน้ำในแม่น้ำเป็นน้ำใหญ่หาปลาลำบาก ช่วงน้ำใหญ่นี่เองถือว่าธรรมชาติได้จัดการมนุษย์…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาถึงบ้าน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่แกเล่าให้ฟัง ห้วงอารมณ์นั้น ผมคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงการรอนแรมออกทะเล เพื่อตกปลาของชายแก่คนหนึ่ง การเดินทางออกทะเลของชายชราในหนังสืออาจแตกต่างกับการเดินทางออกสู่แม่น้ำของชายชราแห่งโลกของความจริงอยู่บ้าง แต่ในวิถีของชายเฒ่าทั้งสองคน มีเรื่องราวทั้งเหมือน ทั้งแตกต่างรวมอยู่ด้วยกัน การเดินทางไปสู่วิถีของการเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจจะไม่ต่างกันมากนักในการกระทำ แต่เป้าหมายในการออกเรือ เพื่อเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจแตกต่างกัน คนหนึ่งออกเรือไปล่าเพื่อความสุขตามคิดความเชื่อของตัวเอง แต่อีกคนหนึ่ง…
สุมาตร ภูลายยาว
แสงแดดยามบ่ายคลี่ม่านกระจายโอบไล้ยอดไม้ แรงลมพัดยอดไม้เอนไหว ดอกไม้ป่าสีขาวของฤดูฝนกำลังร่วงหล่นลงพื้นดิน แม้ว่าดอกไม้จะจากไป แต่ธรรมชาติก็ได้มอบความเขียวชะอุ่มของผืนป่ามาทดแทนเช่นกันยามบ่ายขณะหลายคนยังวุ่นอยู่กับงาน ผมเดินเตร็ดเตร่ตามถนนมาถึงหน้าบ้านหลังหนึ่ง หลังอ่านป้ายก็รู้ว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของชายชรา ผมมองหาเจ้าของบ้านอยู่นอกรั้วในใจยังหวั่นอยู่ว่าจะได้พบเจ้าของบ้านหรือเปล่า เมื่อมองดูอยู่ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นชายชราผู้เป็นเจ้าของบ้านกำลังก้มๆ เงยๆ อยู่กับกองไม้ไผ่ข้างห้องครัวผมร้องเรียกชายชราอยู่นอกรั้ว เมื่อได้ยินเสียงเรียก แกก็เงยหน้าขึ้นมาดู และเรียกผมเข้ามาในบ้าน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาจากเมืองริมแม่น้ำในครั้งนั้น ไม่นานผมก็เดินทางมาเมืองริมแม่น้ำอีกครั้งพร้อมกับความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อน...ความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อนเกิดขึ้นบนแม่น้ำสายนี้ ผมจำได้ว่าช่วงนั้นเป็นฤดูฝน น้ำปริ่มฝั่งหมุนวนน่ากลัว ผมได้พบชายชราอีกครั้งหลังจากไม่ได้พบกันนาน ชายชรานั่งอยู่บนเรืออีกลำหนึ่ง ซึ่งวิ่งสวนทางกับเรือที่ผมโดยสารมา เมือเรือวิ่งสวนทางก็ได้ยินเสียงทักทายของคนขับเรือทั้งสอง แม้ว่าจะฟังสำเนียงการสนทนาไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่ก็พอจับใจความได้ว่าคนขับเรือทั้งสองคุยกันเรื่องอะไร บนนาวาชีวิตกลางสายน้ำของชะตากรรม…
สุมาตร ภูลายยาว
สายโขงยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไรตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตาค่อยอิง ค่อยอาศัยกัน เอาไว้รักกันในวันข้างหน้ามาเถิด มาเถิดแก้วตา รำวงดีกว่าร่าเริงหัวใจ รำวงดีว่าร่าเริงหัวใจ....เสียงเพลงแหบพร่าลอยตามสายลมไกลออกไป จนเงียบหายไปกับโค้งขอบฟ้ากลางคืน นานครั้งชายชราจะร้องเพลง แต่บทเพลงที่ชอบร้องสม่ำเสมอคือเพลงนี้ ค่ำคืนนี้อากาศหนาวเย็นลง ชายชราจึงก่อกองไฟ เพื่อผ่อนเบาความหนาว เนิ่นนานที่กองไฟสว่างไสว แต่เมื่อฟืนที่กองสุมไว้ในตอนเย็นใกล้หมด แสงไฟก็สลัวลง เปลวไฟมีอยู่น้อยนิดเหมือนจะมอดดับลงทุกครั้งยามสายลมพัดเข้ามา พอสายลมพัดผ่านไป แสงไฟก็สว่างขึ้นมา หลังแสงไฟสว่าง…
สุมาตร ภูลายยาว
ภาพของชายชราวัย ๗๕ ปี กำลังก้มๆ เงยๆ อยู่บริเวณระเบียงกระท่อมแจ่มชัดขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้ กุ้งสีชมพูขนาดนิ้วก้อยหลายสิบตัวนอนนิ่งอยู่ในจานเบื้องหน้าของชายชรา ถัดจากจานกุ้งไปเป็นถ้วยน้ำพริกปลาร้าที่กินเหลือจากเมื่อวานรายการอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดคืออาหารมื้อเย็นสำหรับชายชรา     ลูกแมวสองตัว ตัวหนึ่งสีน้ำตาล ตัวหนึ่งสีขาว หมอบคลอเคลียอยู่ด้านข้าง นานครั้งมันจะเดินมาหยอกล้อเล่นกัน พอหยอกล้อกันจนหนำใจมันก็กลับไปนอนนิ่งอยู่ที่เดิม บนท้องฟ้าอาทิตย์อัสดงลงไปไม่นานนัก ท้องฟ้าที่เคยกระจ่างเป็นสีฟ้าเริ่มกลายเป็นสีดำหลังจากอิ่มหนำสำราญ…