Skip to main content

“เอยาวดี” เป็นชื่อท้องถิ่นของแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของพม่า แต่คนภายนอกทั่วไปรู้จักชื่อของแม่น้ำสายนี้ในนาม “อิรวดี”
แม่น้ำเอยาวดีเป็นแม่น้ำใหญ่สายหลักของประเทศสหภาพพม่าต้นน้ำ และปลายทางของแม่น้ำอยู่ในประเทศพม่า ไม่แตกต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเอยาวดีไหลผ่านกลางประเทศจากเหนือจรดใต้ แบ่งประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน แม่น้ำในตอนบนเกิดจากการละลายของหิมะ นอกจากแม่น้ำเอยาวดีจะเกิดจากการละลายของหิมะแล้ว ยังมีแม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำสายนี้จนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ แม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำเอยาวดีคือ แม่น้ำมาลี และแม่น้ำมายที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ รวมระยะทางจากต้นน้ำถึงปากน้ำ ๒,๑๗๐ กิโลเมตร แม่น้ำเอยาวดีจึงเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงคนพม่ามาหลายชั่วอายุคน

มีเรื่องเล่าสืบต่อมาหลายชั่วอายุคนเช่นกันว่า คนพม่าต่างค้อมคารวะแม่น้ำเอยาวดีในฐานะผู้ให้กำเนิดแผ่นดิน และยังให้ประโยชน์ในด้านต่างๆ กับชาวพม่าเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิด และชุบเลี้ยงดูลูกของตัวเอง

คนพม่าจำนวนไม่น้อยได้อาศัยแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป ในอดีตแม่น้ำสายนี้ก็มิได้ยังประโยชน์ให้กับคนพม่าเพียงอย่างเดียว ครั้งหนึ่งเมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีก่อน แม่น้ำเอยาวดีได้ถูกแปรสภาพให้เป็นเส้นทางลำเลียงกองกำลังทหารของอังกฤษ ผู้หมายมั่นปั้นมือว่าว่าจะครอบครองแผ่นดืนเหนือริมฝั่งเอยาวดี ภายหลังเมื่อแม่น้ำกลายเป็นชนวนอันนำผู้คนไปสู่สงคราม อังกฤษก็ได้กลายเป็นเจ้าอาณานิคมเหนือริมฝั่งเอยาวดีสมใจ แต่ก็นั้นแหละด้วยความเป็นเผด็จการของผู้นำพม่าหลายยุคหลายสมัย เรื่องเล่าริมฝั่งเอยาวดีเรื่องนี้จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนในพม่า และยังมีเรื่องเล่าอันไม่น่าฟังอีกหลายเรื่อง ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม เรื่องที่ต้องป้องปากกระซิบกันก็คือ ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคมทัรพยากรจำนวนดิน-แร่ พลอย ป่า-ไม้สัก จำนวนมากถูกเจ้าอาณานิคมนำกลับไปใช้ประโยชน์

หลังสิ้นยุคของเจ้าอาณานิคมเก่า เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษผู้เป็นเจ้าอาณานิคมเก่า จากนั้นไม่นาน พม่าก็ได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าอาณานิคมใหม่ ผู้ไม่ได้มาพร้อมกับกองกำลังทหารเช่นในอดีต แต่มาพร้อมการร่วมมือทางธุรกิจกับทหารกลุ่มคนที่ได้รับการขนานนามจากนานาประเทศว่า มือเปื้อนเลือดมากที่สุด เจ้าอาณานิคมใหม่มาพร้อมเงินตราอันสามารถทำให้คนไม่กี่กลุ่มในพม่ามีความร่ำรวยขึ้น ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม พม่าก็ไม่ได้แตกต่างเมื่อครั้งที่เจ้าอาณานิคมเก่าเช่นอังกฤษเข้าครอบครองเท่าใดนัก ทรัพยากรของพม่าจำนวนไม่น้อยถูกขนถ่ายออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น สุดท้ายยังไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัดว่า หากคิดเป็นจำนวนเงินที่ถูกดึงออกไปจากสองฝั่งของแม่น้ำเอยาวดีแล้วเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใดต่อปี

แต่ก็นั้นแหละในสิ่งที่เราไม่เคยได้รับรู้ก็มีสิ่งใหม่ให้รับเราได้รับรู้เพิ่มขึ้น ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ แผ่นดินริมฝั่งเอยาวดีทั้งสองฝั่ง ก็เดินทางไปสู่สนามรบอันไม่รู้จบสิ้นมาถึงปัจจุบัน

การปกครองภายใต้คอมแบตบนริมฝั่งเอยาวดี ไม่อนุญาตให้ผู้คนกลุ่มใดตัดเฉือนสหภาพพม่าออกเป็นสหพันธรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้คอมแบตอันทรงพลานุภาพยิ่งใหญ่ ในปี ๒๕๓๑ การลุกฮือครั้งใหญ่ของผู้คนริมฝั่งเอยาวดีจึงเกิดขึ้น การลุกฮือขึ้นในครั้งนั้นล้วนหมายยกคอมแบตออกจากการปกครองอันเป็นอยู่ยาวนาน เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงกลายเป็นความทรงจำอันหลากหลายให้กับผู้คนริมฝั่งเอยาวดี

เรื่องเล่าจากริมฝั่งเอยาวดีในปี ๒๕๓๑ จึงเป็นเรื่องเล่าอันเต็มไปด้วยความเจ็บปวด คราบน้ำตา ภายใต้การปกครองของคอมแบต ผู้คนจำนวนมากริมฝั่งเอยาวดีที่ลุกฮือขึ้นต่อต้าน บางคนถูกจองจำ บางคนกลายเป็นศพลอยอืดในเอยาวดี บางคนสูญหายไม่เหลือร่องรอยใดไว้ให้ผู้คนได้เห็นอีก

ภายหลังการลุกฮือ และมีผู้คนล้มตายในครั้งนั้นทำให้บางคนนึกถึงคำพูดของคนเฒ่าคนแก่ที่คอยย้ำเตือนลูกหลานแห่งริมฝั่งน้ำอยู่เสมอ ผู้เฒ่ารุ่นเก่าก่อนใช้แม่น้ำเอยาวดีเป็นเครื่องเตือนใจลูกหลานให้สามัคคีกันประดุจสายน้ำ เพราะแม่น้ำเอยาวดีกำเนิดเป็นแม่น้ำสายใหญ่ด้วยแม่น้ำสาขาหลายสายเช่นกันสหภาพพม่ากว้างใหญ่ได้ก็เพราะคนหลายเผ่าพันธุ์เช่นกัน แต่เรื่องเล่านี้หาได้ทะลุไปสู่หูข้างใดข้างหนึ่งของเผด็จการทหารพม่าไม่ ท้ายสุดการบุกเข้ายึดครองเพื่อกลืนความหลากหลายจึงเกิดขึ้น

เมื่อเผด็จการภายใต้การปกครองของคอมแบตยึดพื้นที่หลายส่วนไว้เด็ดขาด การกอบโกยเพื่อตัวเองของเหล่านักรบสวมคอมแบตจึงเกิดขึ้น นักรบสวมคอมแบตหลายคนกลายเป็นผู้ร่ำรวย แต่ประชาชนพลเรือนริมฝั่งเอยาวดีผู้อยู่ใต้การปกครอง บางคนยังจนไม่มีแม้กระทั่งข้าวกินครบ ๓ มื้อ บางคนกลายเป็นคนพลัดถิ่นในแผ่นดินเกิดของตัวเอง

ลุมาถึงปี ๒๕๕๐ ที่ริมฝั่งเอยาวดีมีเรื่องเล่าอันน่าสะพรึงกลัวเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ในสายฝนพรำของเดือนกันยายน หลังแถวของพระสงฆ์นับหมื่นเดินลงสู่ถนน เพื่อประท้วงการขึ้นค่าน้ำมัน และค่าก๊าช อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ของมันเพื่อสนองความสะดวกสบายของตัวเอง เสียงปืนที่ริมฝั่งเอยาวดีก็ดังขึ้นอีกครั้ง

ในสายฝน เลือดจำนวนไม่น้อยจึงไหลรวมกับสายฝนสู่เอยาวดี ความเศร้าริมฝั่งเอยาวดีได้ถูกนำกลับมาเล่าอีกครั้ง การเล่าถึงความเศร้าในครั้งนี้คงไม่ใช่การเล่าครั้งสุดท้าย ตราบใดที่เหล่านักรบสวมคอมแบตยังคงเชิดหน้าชูคอล้อลมเหนือริมฝั่งเอยาวดี ตราบนั้นเรื่องเล่าถึงความเศร้าในการสูญเสียจากการลุกฮือขึ้นต่อต้านจะยังคงมีอยู่ไปตราบนานเท่านาน...

บนโลกใบเดียวกัน
แผ่นดินระอุเดือดด้วยเปลวไฟในใจคน
ยอดดอยจึงหม่นเศร้า
หลังลมหนาวแห่งสายฝนพัดเยี่ยมเยือน
เสียงปืนสงบเงียบลงแล้วเหนือริมฝั่งเอยาวดีที่ล่องไหล
ในความงามของแผ่นดิน
ล้วนหมุดหมายการเติบโตของมวลเมล็ดพันธุ์
ในความงดงาม-เท่าเทียมของผู้คน
ล้วนหมุดหมายคือร้างไร้การทุบตี-เข่นฆ่า
สายน้ำ และผืนดินไม่เคยแบ่งแยกผู้ใด
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อแบ่งแยก
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อทำลายล้าง
ทิ้งอาวุธในมือแล้วปลอดปล่อยการลุกฮือของความงามในหัวใจให้ลุกโชน
กลบฝังความทรงจำอันโหดร้ายด้วยดอกไม้สีขาว
-จดจำเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในใจ
เพื่อปลอดปล่อยให้นกพิราบเดินทางสู่สันติ..

***คารวาลัยให้กับเสรีภาพเหนือริมฝั่งเอยาวดีอันดับลงภายใต้การปกครองของนักรบสวมคอมแบต

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…