Skip to main content

“เอยาวดี” เป็นชื่อท้องถิ่นของแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของพม่า แต่คนภายนอกทั่วไปรู้จักชื่อของแม่น้ำสายนี้ในนาม “อิรวดี”
แม่น้ำเอยาวดีเป็นแม่น้ำใหญ่สายหลักของประเทศสหภาพพม่าต้นน้ำ และปลายทางของแม่น้ำอยู่ในประเทศพม่า ไม่แตกต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเอยาวดีไหลผ่านกลางประเทศจากเหนือจรดใต้ แบ่งประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน แม่น้ำในตอนบนเกิดจากการละลายของหิมะ นอกจากแม่น้ำเอยาวดีจะเกิดจากการละลายของหิมะแล้ว ยังมีแม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำสายนี้จนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ แม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำเอยาวดีคือ แม่น้ำมาลี และแม่น้ำมายที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ รวมระยะทางจากต้นน้ำถึงปากน้ำ ๒,๑๗๐ กิโลเมตร แม่น้ำเอยาวดีจึงเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงคนพม่ามาหลายชั่วอายุคน

มีเรื่องเล่าสืบต่อมาหลายชั่วอายุคนเช่นกันว่า คนพม่าต่างค้อมคารวะแม่น้ำเอยาวดีในฐานะผู้ให้กำเนิดแผ่นดิน และยังให้ประโยชน์ในด้านต่างๆ กับชาวพม่าเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิด และชุบเลี้ยงดูลูกของตัวเอง

คนพม่าจำนวนไม่น้อยได้อาศัยแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป ในอดีตแม่น้ำสายนี้ก็มิได้ยังประโยชน์ให้กับคนพม่าเพียงอย่างเดียว ครั้งหนึ่งเมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีก่อน แม่น้ำเอยาวดีได้ถูกแปรสภาพให้เป็นเส้นทางลำเลียงกองกำลังทหารของอังกฤษ ผู้หมายมั่นปั้นมือว่าว่าจะครอบครองแผ่นดืนเหนือริมฝั่งเอยาวดี ภายหลังเมื่อแม่น้ำกลายเป็นชนวนอันนำผู้คนไปสู่สงคราม อังกฤษก็ได้กลายเป็นเจ้าอาณานิคมเหนือริมฝั่งเอยาวดีสมใจ แต่ก็นั้นแหละด้วยความเป็นเผด็จการของผู้นำพม่าหลายยุคหลายสมัย เรื่องเล่าริมฝั่งเอยาวดีเรื่องนี้จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนในพม่า และยังมีเรื่องเล่าอันไม่น่าฟังอีกหลายเรื่อง ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม เรื่องที่ต้องป้องปากกระซิบกันก็คือ ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคมทัรพยากรจำนวนดิน-แร่ พลอย ป่า-ไม้สัก จำนวนมากถูกเจ้าอาณานิคมนำกลับไปใช้ประโยชน์

หลังสิ้นยุคของเจ้าอาณานิคมเก่า เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษผู้เป็นเจ้าอาณานิคมเก่า จากนั้นไม่นาน พม่าก็ได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าอาณานิคมใหม่ ผู้ไม่ได้มาพร้อมกับกองกำลังทหารเช่นในอดีต แต่มาพร้อมการร่วมมือทางธุรกิจกับทหารกลุ่มคนที่ได้รับการขนานนามจากนานาประเทศว่า มือเปื้อนเลือดมากที่สุด เจ้าอาณานิคมใหม่มาพร้อมเงินตราอันสามารถทำให้คนไม่กี่กลุ่มในพม่ามีความร่ำรวยขึ้น ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม พม่าก็ไม่ได้แตกต่างเมื่อครั้งที่เจ้าอาณานิคมเก่าเช่นอังกฤษเข้าครอบครองเท่าใดนัก ทรัพยากรของพม่าจำนวนไม่น้อยถูกขนถ่ายออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น สุดท้ายยังไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัดว่า หากคิดเป็นจำนวนเงินที่ถูกดึงออกไปจากสองฝั่งของแม่น้ำเอยาวดีแล้วเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใดต่อปี

แต่ก็นั้นแหละในสิ่งที่เราไม่เคยได้รับรู้ก็มีสิ่งใหม่ให้รับเราได้รับรู้เพิ่มขึ้น ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ แผ่นดินริมฝั่งเอยาวดีทั้งสองฝั่ง ก็เดินทางไปสู่สนามรบอันไม่รู้จบสิ้นมาถึงปัจจุบัน

การปกครองภายใต้คอมแบตบนริมฝั่งเอยาวดี ไม่อนุญาตให้ผู้คนกลุ่มใดตัดเฉือนสหภาพพม่าออกเป็นสหพันธรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้คอมแบตอันทรงพลานุภาพยิ่งใหญ่ ในปี ๒๕๓๑ การลุกฮือครั้งใหญ่ของผู้คนริมฝั่งเอยาวดีจึงเกิดขึ้น การลุกฮือขึ้นในครั้งนั้นล้วนหมายยกคอมแบตออกจากการปกครองอันเป็นอยู่ยาวนาน เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงกลายเป็นความทรงจำอันหลากหลายให้กับผู้คนริมฝั่งเอยาวดี

เรื่องเล่าจากริมฝั่งเอยาวดีในปี ๒๕๓๑ จึงเป็นเรื่องเล่าอันเต็มไปด้วยความเจ็บปวด คราบน้ำตา ภายใต้การปกครองของคอมแบต ผู้คนจำนวนมากริมฝั่งเอยาวดีที่ลุกฮือขึ้นต่อต้าน บางคนถูกจองจำ บางคนกลายเป็นศพลอยอืดในเอยาวดี บางคนสูญหายไม่เหลือร่องรอยใดไว้ให้ผู้คนได้เห็นอีก

ภายหลังการลุกฮือ และมีผู้คนล้มตายในครั้งนั้นทำให้บางคนนึกถึงคำพูดของคนเฒ่าคนแก่ที่คอยย้ำเตือนลูกหลานแห่งริมฝั่งน้ำอยู่เสมอ ผู้เฒ่ารุ่นเก่าก่อนใช้แม่น้ำเอยาวดีเป็นเครื่องเตือนใจลูกหลานให้สามัคคีกันประดุจสายน้ำ เพราะแม่น้ำเอยาวดีกำเนิดเป็นแม่น้ำสายใหญ่ด้วยแม่น้ำสาขาหลายสายเช่นกันสหภาพพม่ากว้างใหญ่ได้ก็เพราะคนหลายเผ่าพันธุ์เช่นกัน แต่เรื่องเล่านี้หาได้ทะลุไปสู่หูข้างใดข้างหนึ่งของเผด็จการทหารพม่าไม่ ท้ายสุดการบุกเข้ายึดครองเพื่อกลืนความหลากหลายจึงเกิดขึ้น

เมื่อเผด็จการภายใต้การปกครองของคอมแบตยึดพื้นที่หลายส่วนไว้เด็ดขาด การกอบโกยเพื่อตัวเองของเหล่านักรบสวมคอมแบตจึงเกิดขึ้น นักรบสวมคอมแบตหลายคนกลายเป็นผู้ร่ำรวย แต่ประชาชนพลเรือนริมฝั่งเอยาวดีผู้อยู่ใต้การปกครอง บางคนยังจนไม่มีแม้กระทั่งข้าวกินครบ ๓ มื้อ บางคนกลายเป็นคนพลัดถิ่นในแผ่นดินเกิดของตัวเอง

ลุมาถึงปี ๒๕๕๐ ที่ริมฝั่งเอยาวดีมีเรื่องเล่าอันน่าสะพรึงกลัวเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ในสายฝนพรำของเดือนกันยายน หลังแถวของพระสงฆ์นับหมื่นเดินลงสู่ถนน เพื่อประท้วงการขึ้นค่าน้ำมัน และค่าก๊าช อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ของมันเพื่อสนองความสะดวกสบายของตัวเอง เสียงปืนที่ริมฝั่งเอยาวดีก็ดังขึ้นอีกครั้ง

ในสายฝน เลือดจำนวนไม่น้อยจึงไหลรวมกับสายฝนสู่เอยาวดี ความเศร้าริมฝั่งเอยาวดีได้ถูกนำกลับมาเล่าอีกครั้ง การเล่าถึงความเศร้าในครั้งนี้คงไม่ใช่การเล่าครั้งสุดท้าย ตราบใดที่เหล่านักรบสวมคอมแบตยังคงเชิดหน้าชูคอล้อลมเหนือริมฝั่งเอยาวดี ตราบนั้นเรื่องเล่าถึงความเศร้าในการสูญเสียจากการลุกฮือขึ้นต่อต้านจะยังคงมีอยู่ไปตราบนานเท่านาน...

บนโลกใบเดียวกัน
แผ่นดินระอุเดือดด้วยเปลวไฟในใจคน
ยอดดอยจึงหม่นเศร้า
หลังลมหนาวแห่งสายฝนพัดเยี่ยมเยือน
เสียงปืนสงบเงียบลงแล้วเหนือริมฝั่งเอยาวดีที่ล่องไหล
ในความงามของแผ่นดิน
ล้วนหมุดหมายการเติบโตของมวลเมล็ดพันธุ์
ในความงดงาม-เท่าเทียมของผู้คน
ล้วนหมุดหมายคือร้างไร้การทุบตี-เข่นฆ่า
สายน้ำ และผืนดินไม่เคยแบ่งแยกผู้ใด
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อแบ่งแยก
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อทำลายล้าง
ทิ้งอาวุธในมือแล้วปลอดปล่อยการลุกฮือของความงามในหัวใจให้ลุกโชน
กลบฝังความทรงจำอันโหดร้ายด้วยดอกไม้สีขาว
-จดจำเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในใจ
เพื่อปลอดปล่อยให้นกพิราบเดินทางสู่สันติ..

***คารวาลัยให้กับเสรีภาพเหนือริมฝั่งเอยาวดีอันดับลงภายใต้การปกครองของนักรบสวมคอมแบต

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’