Skip to main content

เมื่อนักเรียนไทยแต่งไปรเวท

วันที่ 1 ธันวาคมนี้ นักเรียนจะแต่งไปรเวทไปโรงเรียนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความหลากหลาย ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และขจัดความเท่าเทียมจอมปลอมออกไป เพื่อปูทางไปสู่การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาที่แท้จริง กลุ่มนักเรียนระบุว่าจะมีนักเรียนแต่งไปรเวทไปโรงเรียนประมาณ 23 โรงเรียน
 
 

อารยะขัดขืน

แนวทางการต่อสู้แบบนี้เป็นสันติวิธีที่น่าสนใจ เพราะถือเป็นการอารยขัดขืน (civil disobedience) ตามตำราสันติวิธีโดยแท้ กล่าวคือ (1.) เป็นการฝ่าฝืนระเบียบโดยแจ้งต่อผู้มีอำนาจล่วงหน้า (2.) โดยเห็นว่าระเบียบดังกล่าวไม่ชอบธรรม (3.) พร้อมรับความเจ็บปวดจากการถูกลงโทษเอาไว้เอง (4.) เพื่อปลุกสำนึกความยุติธรรมในกลุ่มประชาชน และเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นธรรมขึ้น
 
นอกจากนี้ การแต่งไปรเวทไปโรงเรียน ยังเป็นการเดินเข้าไปในโรงเรียน (walk-in) เข้าไปนั่งในห้องเรียน (sit-in) เข้าไปยืนต่อแถวเคารพธงชาติ (stand-in) เพื่อขอเข้ารับบริการทางการศึกษาจากรัฐด้วย ทุกครั้งที่เกิดปฏิบัติการแบบนี้ขึ้น ผู้เข้าร่วมจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือจากการโดนข่มขู่คุกคาม และความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากฝ่ายครูที่ไม่เห็นด้วย เพื่อทำให้การต่อสู้เคลื่อนไหวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ปฏิบัติการแบบนี้คล้าย ๆ กับที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เมื่อครั้งที่คนผิวดำต่อสู้เรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1970 ในรอบนั้น คนผิวดำเดินเข้าไปเพื่อนั่งเก้าอี้บนรถเมล์ซึ่งปกติมีไว้ให้คนขาวนั่งเท่านั้น เข้าไปตามร้านอาหารที่มีไว้เพื่อคนขาวเท่านั้น รวมไปถึงเข้าไปเรียนในมหาลัยของคนขาวด้วย กรณีเหล่านี้เป็นการแทรกตัวเข้าไปเพื่อขอรับบริการจากรัฐ โดยแสดงออกตัวตนของเขา แต่พวกเขากลับถูกตะคอก ข่มขู่คุกคาม หรือกระทั่งทำร้ายร่างกาย
 
อย่างไรก็ตาม พวกเขาซ้อมรับมือกับการถูกข่มขู่คุกคามเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การรณรงค์เคลื่อนไหวขยายตัวไปทั่วประเทศ นำไปสู่การยกเลิกนโยบายแบ่งแยกผิวสีในที่สุด
 
ในตอนนั้นคือทศวรรษที่ 1970 ปัจจุบันเราอยู่ในทศวรรษที่ 2020 แล้ว องค์ความรู้ของสันติวิธีพัฒนาไปมาก หากเตรียมพร้อมให้ดี นักเรียนไทยอาจต่อสู้ได้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองของสหรัฐอเมริกาเสียอีก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมตัว ผมนำแนวทางที่ได้จาก "คู่มือการมีปัญหากับครู (เมื่อจำเป็น)" ของ วริศ ลิขิตอนุสรณ์ และ "คู่มือการสะท้อนกลับ: กลยุทธ์ต่อต้านความอยุติธรรม" มาประยุกต์ใช้ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การข่มขู่คุกคามที่เคยเกิดขึ้นในโรงเรียนในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นแนวทาง 10 ข้อตามด้านล่าง
 
คำเตือน: ผมทำได้แค่แนะนำ ถึงเคยผ่านประสบการณ์แย่ ๆ มาคล้าย ๆ คุณ ไม่ได้หมายความ​ว่า​ผมเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังเจอ และไม่สามารถรับผิดชอบชีวิตคุณได้ โปรดอ่านแล้วพิจารณา​พลิกแพลงตามความเหมาะสม และคำนึงถึงความเสี่ยงต่ออนาคตของคุณด้วย
 
 

10 ขั้นตอน สู้ครูไดโนเสาร์

1. เตรียมใจให้พร้อม พูดคุยกับพ่อแม่ให้เข้าใจ หากพ่อแม่ไม่เข้าใจ ให้ติดต่อพ่อแม่ของเพื่อนที่เข้าใจ หรือหน่วยงานหรือบุคคลที่ช่วยคุณได้ หากมีการคุกคาม ให้เขาสแตนบายอยู่บริเวณใกล้เคียงถ้าเป็นไปได้
 
2. เมื่อไปโรงเรียน เราหรือเพื่อนก็ได้ เตรียมพร้อมถ่ายวิดิโออยู่เสมอ ถ่ายหน้าผู้กระทำผิดให้ชัด ปกป้องรักษามือถือไว้ อย่าให้ถูกยึดได้ หากจำเป็นในกรณีมือถือโดนยึด ต้องมีเพื่อนพร้อมรับช่วงถ่ายวิดิโอต่อทันที
 
3. แคปหลักฐานทุกอย่างไว้ หากมีการคุกคามทางไลน์ หรือแอพส่งข้อความ​อื่น ๆ เช่น เฟสบุ๊ค​ ทวิตเตอร์​ SMS ฯลฯ ถ้าให้ดีเก็บหลักฐานไว้บน cloud ด้วย
 
4. เพื่อนเดินตามไปด้วยและถ่ายวิดิโอ ถ้าครูเรียกไปห้องปกครอง ยืนกรานจนกว่าครูจะยอมให้เพื่อนไปถ่ายวิดิโอด้วย หรือยอมถอดใจไปเอง
 
5. หาก ผอ. หรือครูคนอื่นอยู่ใกล้ ๆ แล้วเข้ามาผสมโรง ให้เปิดโปงคนเหล่านั้นที่สนับสนุนครูที่ละเมิดคุกคามนักเรียนด้วยถ้าเป็นไปได้ ทั้งวิดิโอ ภาพ เสียง และหลักฐาน
 
6. หากครูสั่งให้วิดพื้น ซิทอัพ หรือเรียกไปตี อาจนั่งอยู่เฉย ๆ แล้วหายใจลึก ๆ ถ้าคุณมีความกล้ามากพอ เขาอาจจะเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มขว้างข้าวของ เหมือนจะดิ้นตายเพราะกระหายอำนาจ จงนั่งต่อไป หรือแจ้งระเบียบ​ศึกษาธิการ​ให้เขาทราบ (ถ้ามี)​
 
7. หากสถานการณ์​เริ่มไม่ดี ให้เดินออกจากห้องเรียน เดินไปหาครูที่ไว้ใจได้ (ที่ไม่สลิ่ม) หรือสถานที่ปลอดภัยในโรงเรียน พยายามไปเป็นกลุ่มเสมอ โทรเรียกพ่อแม่ตัวเอง หรือพ่อแม่เพื่อน (ที่ไม่สลิ่ม)​ หรือหน่วยงานหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้มารับกลับบ้านหรือพาไปยังที่ปลอดภัย
 
8. ถ่ายภาพบาดแผลแยกไว้ หากครูทำร้ายร่างกาย
 
9. เก็บหลักฐานที่เกี่ยวกับ​บริบทของเหตุการณ์​ อย่าให้เขาบิดเบือนได้ว่า
 
- เราไม่ตั้งใจเรียน จึงโดนลงโทษ
- เราไม่ยอมทำการบ้าน จึงโดนลงโทษ
- เราเป็นเด็กไม่มีวินัย จึงโดนลงโทษ
- "เป็นแค่การเข้าใจผิด"
 
เตรียมหลักฐานเอาไว้ชี้แจงต่อสื่อและโซเชียลว่า:
 
- ครูสั่งการบ้านจริงหรือไม่ การบ้านอะไร เราทำการบ้านหรือไม่
- ถ้าผลการเรียนดี ให้เตรียมใบเกรดไว้แสดงต่อสาธารณะ
- ถ้าผลการเรียนไม่ดี ให้ยืนยันว่าเราตั้งใจเรียนเสมอ
- ไม่มีใครควรโดนแบบนี้ ไม่ว่าจะผลการเรียนเป็นอย่างไร ครูสั่งการบ้านหรือไม่ก็ตาม
- ครูจงใจทำร้าย​ เพราะเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่มีการเข้าใจผิดใด ๆ ทั้งสิ้น
- ให้เพื่อนและผู้ปกครองช่วยยืนยันข้อเท็จจริงข้างต้น
 
10. แชร์ข้อมูลนี้ออกไป เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อม และป้องปราม ให้ครูไดโนเสาร์​หลงยุคเห็น​ว่าจะต้องเจออะไร ถ้าจะคุกคามอนาคตของชาติ YOU FUCK WITH THE WRONG GENERATION
 
ไม่​มี​เด็กคนไหนควรต้องมาอ่านไกด์ไลน์นี้ หรือฝึกเอาตัวรอดหฤโหดแบบนี้เลย #ถ้าการเมืองดี

ขอให้พลังจงสถิตย์แก่ท่าน.

บล็อกของ Thammachart Kri-aksorn

Thammachart Kri-aksorn
หมายเหตุผู้เขียนวันที่ 7 เมษายน ผมได้โพสต์ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับการอดอาหารประท้วงของเพนกวิน รุ้ง และฟ้าลงบนเฟสบุ๊ค และได้รับความสนใจกว่าโพสต์ปกติทั่วไปของผม พี่กุ้ย ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ ผู้สื่อข่าวอาวุโสของประชาไทอยากให้ผมนำโพสต์ดังกล่าวมาเผยแพร่บนบล๊อกกาซี
Thammachart Kri-aksorn
รวมเว็บไซต์ข่าวเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของไทย เอาไว้ประกอบการทำงานมอนิเตอร์ข่าวของตัวเอง และอาจเป็นประโยชน์กับคนในแวดวงหรือผู้ที่สนใจ
Thammachart Kri-aksorn
แนวทาง 10 ขั้นตอนเพื่อรับมือการข่มขู่คุกคามจากครู เมื่อตัดสินใจจะใส่ไปรเวทเพื่อต่อสู้แบบอารยะขัดขืน
Thammachart Kri-aksorn
ซาอิด จีลานี เขียนลงวารสาร Jacobin วันที่ 8 มกราคม​ 2562 แปลโดย ธรรมชาติ​ กรีอักษร​อลิซาเบธ วอร์เรน​ใช่ว่าจะเป็นนักการเมืองสายกลาง​ แต่​เบอร์​นีย์​จะ​เ
Thammachart Kri-aksorn
(แปล) ความซับซ้อนของอุตสาหกรรมการกุศล ปีเตอร์ บัฟเฟต เขียนธรรมชาติ กรีอักษร แปล 
Thammachart Kri-aksorn
(แปล) คิดใหม่เกี่ยวกับปฏิบัติการสันติวิธีในยุคประชานิยมปีกขวาจันจิรา สมบัติพูนศิริ เขียนธรรมชาติ กรีอักษร แปล
Thammachart Kri-aksorn
 บทที่ 4 เผด็จการมีจุดอ่อนภาคิน นิมมานนรวงศ์ แปล
Thammachart Kri-aksorn
บทที่ 3 เมื่อใดจึงมีอำนาจ ?
Thammachart Kri-aksorn
 บทที่ 2 อันตรายของการเจรจา
Thammachart Kri-aksorn
 บทที่ 1 เผชิญหน้ากับเผด็จการอย่างเป็นจริง
Thammachart Kri-aksorn
 บทนำ - จากเผด็จการสู่ประชาธิปไตย : กรอบมโนทัศน์เพื่อการปลดแอก