Skip to main content

ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา

ชีเชกเสนอวิธีเปรียบเทียบวิธีการจัดการอึของคนอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ว่าแตกต่างกันเพราะมีวิธีเข้าใจชีวิตที่แตกต่างกัน เขาสังเกตจากส้วม 

 

ฝรั่งเศสจัดการอึแบบกำจัดให้เร็วๆ อังกฤษปล่อยให้มันล่องลอยสักพักแล้วกำจัด เยอรมันต้องพิจารณามันก่อน

 

ชีเชกเสนอว่า ที่เป็นอย่างนี้เนื่องจากมันสอดคล้องกับพัฒนาการความคิดในยุโรปตั้งแต่สมัยเฮเกล ซึ่งมีสิ่งที่เรียกว่า European Trinity คือความเป็นชาติ ทัศนคติทางการเมือง และทัศนคติต่อชีวิต 

 

เยอรมัน: การเมืองอนุรักษ์นิยม ทัศนะต่อชีวิต มุ่งที่ความเเป็นกวี การครุ่นคิด พออึแล้ว ส้วมเยอรมันจึงโชว์ออกมาข้างหน้า คนเยอรมันเป็นนักคิด จึงต้องขอพิจารณาอึกันก่อน

 

ฝรั่งเศส: อุดมการณ์การเมืองเป็นซ้าย เป็นนักปฏิวัติ อึแล้วต้องกำจัดทันทีให้สิ้นซาก เหมือนต้องใช้กิโยติน จัดการอย่างรวดเร็ว

 

อังกฤษ: เศรษฐกิจ เสรีนิยม ปฏิบัตินิยม อึแล้วให้อิสระ ล่องลอยสักพัก ไม่กังวล ทุกอย่างจัดการได้ แล้วค่อยกดชักโครกลงไป

 

ดูเหมือนข้อเสนอของชีเชกจะมีวิธีคิดเหมารวมแบบ "ลักษณะประจำชาติ" ไปหน่อย แต่ก็สนุกนึกดีครับ ลองนึกดูว่า เราจัดการกับสิ่งปฏิกูลอย่างไรกันบ้าง จะเข้าใจมันได้อย่างไร

 

 

นอกจากวิดีโอนี้แล้ว ศึกษาวัฒนธรรมส้วมเพิ่มเติมได้ใน http://savageminds.org/2013/02/06/some-notes-on-toilets/

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์