Skip to main content

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว

มหาวิทยาลัยมาลายาเป็นมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยไทยหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแห่งที่ผมทำงานอยู่ ควรจะแวะเวียนกันมาดูแล้วดูเล่า ดูให้เข้าใจแล้วลอกเลียนแบบเขาไปบ้างว่า ทำไมเขาจึงทำมหาวิทยาลัยแบบนี้ขึ้นมาได้ แล้วอย่าได้อ้างเด็ดขาดว่า "ก็เพราะฝรั่งตั้งขึ้นไง ก็เพราะมาเลเซียเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษไง" เพราะพูดแบบนั้นนอกจากจะไม่รู้เรื่องอาณานิคมแล้ว ยังดูถูกตนเองว่า ขนาดไม่ได้ถูกครอบครองโดยใคร แถมส่งคนไปเรียนจากเจ้าอาณานิคมมากมาย แต่เมื่อกลับมาบ้าน แต่ละคนกลายเป็นบิดานั่นบิดานี่ ก็เป็นโดยไม่ได้ทิ้งอะไร สร้างอะไรดีๆ เอาไว้บ้างเลย 

อาจารย์สุมิต แมนเดล คนมาเลย์เชื้อสายอินเดียที่มหาวิทยาลัยมาลายาเล่าว่า ความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยนี้ กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติคือ มหาวิทยาลัยมาลายาตั้งโดยอังกฤษตั้งแต่ปี 1905 เดิมอยู่ในสิงคโปร์ แล้วมาตั้งที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อแยกประเทศกันหลังทศวรรษ 1940 นอกจากนั้น ความเป็นมรดกอาณานิคมคือการคงชื่อ Malaya ไว้ 

ส่วนมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ตั้งขึ้นหลังเกิดประเทศมาเลเซีย คือหลังยุคอาณานิคมแล้วหลายปี มหาวิทยาลัยแห่งชาติทำในสิ่งที่มหาวิทยาลัยมาลายาคิดว่าทำไม่ได้ คือเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษามาเลย์เป็นแห่งแรก แต่มหาวิทยาลัยมาลายาประกาศว่า หากมีคนในชั้นเรียนแม้แต่คนเดียวที่พูดภาษามาเลย์ไม่ได้ ก็ต้องจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 

ที่น่าสนใจคือ มหาวิทยาลัยมาลายามีพิพิธภัณฑ์ถึง 7 แห่งด้วยกัน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หลังจบการสัมมนาวิชาการที่โรงแรมแห่งหนึ่ง มหาวิทยาลัยมาลายาซึ่งเป็นผู้จัด ก็ได้จัดให้ไปชมมหาวิทยาลัยด้วยการนำชมพิพิธภัณฑ์ 2 จาก 7 แห่งนั้น เพียงแค่นี้ผมก็นึกไม่ออกว่า หากพาใครมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันเป็นนที่รักของผม จะพาเขาไปดูพิพิธภัณฑ์อะไร ก็พอมีนั่นแหละ แต่ก็ยังมีไม่น่าสนใจพอ 

แห่งแรกที่เขาพาไปคือ Museum of Asian Arts มี 3 ชั้น ชั้นแรกแสดงผลงานชั่วคราวของศิลปินอาชีพ ที่นี่เป็นแกลอรี่ด้วย ขายงานศิลปะที่จัดแสดงที่นี่ด้วย ผลงานที่นำมาแสดงไม่มากชิ้น เพราะสถานที่เล็ก แต่ก็เป็นผลงานของศิลปินระดับชาติ มีชื่อเสียง ขายผลงานได้เป็นล้านริงกิต (1 ริงกิตเท่ากับราวๆ 10 บาท) 

ส่วนชั้นสองกับชั้นสามเป็นคอลเล็คชั่นเครื่องเคลือบดินเผาหรือเซรามิก ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมยืนตะลึกงันอยู่หน้าชุดเซรามิกจากสมัยสุโขทัย ที่เป็นรูปช้าง ทั้งเศียรเดียวและสามเศียร มีคนนั่งบนช้าง แต่งตัวเป็นช้างศึก มีกองทหารคุ้มกันช้างทั้งสี่ขาด้วย ในของสะสมชุดเดียวกันนี้ยังมีช่อฟ้าหัวนาคเซรามิกจากสมัยเดียวกันด้วย เขาลงศักราชไว้ว่าคศ.ที่ 14 

ผมถามเจ้าหน้าที่ว่าได้ของพวกนี้มาอย่างไร เขาตอบว่า เคยมีอาจารย์จากประเทศไทยมาประจำที่นี่ แล้วบริจาคของสะสมส่วนตัวของท่านไว้ที่นี่ ด้วยความรู้และประสบการณ์อันจำกัดเกี่ยวกับเครื่องเคลือบของผม บอกได้เลยว่าผมไม่เคยเห็นของพวกนี้ในสภาพสมบูรณ์มากเท่านี้มาก่อน และดูเหมือนที่นี่จะรู้ดีถึงค่าของมัน จึงนำเอาของชุดนี้มาอวดเป็นของชุดพิเศษเลยทีเดียว นอกจากนั้นสำหรับของไทยเอง ที่นี่ยังมีเครื่องเคลือบที่เป็นจาน ชาม ถ้วยจากไทยสมัยสุโขทัยที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกเป็นสิบๆ ชิ้น 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มักไม่เปิดให้เข้าชม เพราะเขาใช้สำหรับการเรียนการสอนเป็นหลักถัดไป ผู้จัดพาขึ้นรถวนไปชมนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับป่าดิบชื้น สถานที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของ "สวนป่า" ของมหาวิทยาลัย อาจารย์เฟอร์นานโด รอสซา นักวิจัยจากโปรตุเกสที่มาสอนมานุษยวิทยาประจำอยู่ที่นี่เล่าว่า เดิมมหาวิทยาลัยเป็นสวนปาร์มขนาดใหญ่ของพวกอังกฤษ สวนปาล์มเหล่านั้นเคยมีป่าอยู่แทรกอยู่ด้วย 

เมื่อตั้งมหาวิทยาลัย ส่วนหนึ่งของสวนปาล์มยังอยู่ ส่วนที่เป็นป่าก็ยังคงเป็นป่า มหาวิทยาลัยได้เก็บพื้นที่เหล่านั้นไว้เป็นตัวอย่างสำหรับการศึกษา ที่จัดแสดงแห่งนี้ก็จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับป่าร้อนชื่ออย่างละเอียด เสียดายที่วันนี้มืดแล้ว ก็เลยไม่ได้มีโอกาสเดินเข้าไปในป่าของมหาวิทยาลัย ที่ว่ากันว่ายังมีสัตว์ผ่าที่สืบเผ่าพันธ์ุมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม 

โดยรวมแล้ว มหาวิทยาลัยมาลายาน่าอยู่ มีเนินมากมายยิ่งทำให้สวยงามร่มรื่น คนหนึ่งในแขกซึ่งมาจากเยอรมนีเปรยว่า "นักเรียนที่นี่น่าอิจฉามาก" อีกคนหนึ่งซึ่งมาจากแอฟริกาพูดขึ้นบ้างว่า "พวกนักศึกษาเขาจะรู้หรือเปล่าว่า สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ตอนนี้มันดีมาก" 

มหาวิทยาลัยไทย ไม่ต้องมีสวนป่าที่มีลิง มีสัตว์ป่าให้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ขอเพียงแต่ผู้บริหารทำในสิ่งที่ควรทำ มากกว่าไปเที่ยวเป็นที่ปรึกษาอย่างเลือกข้างตรงข้ามกับประชาธิปไตย ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยยกระดับคนเองขึ้นมาบ้างได้มากแล้ว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน