Skip to main content
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 (ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำจากปรัชญาดั้งเดิม (สมัยกรีก มาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนกระทั่งยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์) ในเรื่องของ ‘ความดี’ ‘ ความงาม’ ‘ความสมบูรณ์’ รวมไปถึงเรื่องของ ‘ศิลปะ’ ตลอดจนวิถีชีวิตประจำวัน ผู้คนส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อมั่นว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี (เช่นเดียวกับศิลปะ) ที่ถูกต้องนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว และเป็น ‘มาตรฐานสากล’ แบบเดียวกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกันกับนักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ (ตัวแทนของกลุ่มอนุรักษ์นิยม) ที่กระบวนการของการเรียนการสอนในชั้นเรียนช่วยตอกย้ำให้พวกเธอเชื่อมั่นว่ามาตรฐานที่สังคมวางไว้ให้ คือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของ ‘หญิงสาว’ ผู้สมบูรณ์แบบ
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น ช่อการะเกดยุคที่ 3 (เล่ม 42) นั้น มีโครงการหรูหราและเรียกร้องเรื่องสั้นชั้นดีจากมือเรื่องสั้นทุกรุ่นทุกแนว ปรากฏมีความตื่นตัวอย่างน่าตระหนก ต้นฉบับเรื่องสั้นต่างหลั่งไหลเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของบรรณาธิการอย่างท่วมท้นเป็นประวัติการณ์ หลังจากเล่มแรก ของยุค 3 (เล่ม 42) ผ่านไป จำนวนต้นฉบับเรื่องสั้นที่ส่งถึงบรรณาธิการก็ลดน้อยถอยลงตามกระแสนิยม เพราะสาเหตุใดกัน  หนึ่งแน่นอนว่าแรงประชาสัมพันธ์นั้นมีส่วนกระตุ้นในด้านปริมาณ สอง คือ ความผิดหวัง ทั้งผิดหวังของนักเขียนที่ไม่มีผลงานผ่านลงพิมพ์ อาจเพราะท้อแท้ ถอดใจเร็วไปหน่อย และที่ร้ายกว่า คือ ผิดหวังในคุณภาพของเรื่องที่ผ่านลงพิมพ์ในช่อการะเกด เพราะเท่าที่ได้อ่านอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังไม่เกิดความรู้สึก “สมหวัง” แต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีเรื่องสั้นชั้นดีบรรจุอยู่ในช่อการะเกดเลย เนื่องจากเรื่องบางเรื่องยังมีความแวววาว น่าจับต้องอยู่พอสมควร ทั้งนี้ มันก็เป็นเพียงความคาดหวังอันรุนแรงแต่กลับว่างเปล่า ในขอบเขตวรรณกรรมไทย โดยเฉพาะเรื่องสั้นนั้น สถานการณ์ค่อนข้างย่ำแย่กว่ากวีนิพนธ์ด้วยซ้ำไป เมื่อการกลับมาของช่อการะเกดจุดประกายขึ้นท่ามกลางทะเลอักษรอันมืดมิด เป็นใครก็ย่อมมีหวัง ไม่น่าเชื่อเลยว่า ช่อการะเกดแต่ละเล่มที่บรรทุกเรื่องสั้นจำนวน 12 เรื่องมาบรรณาการต่อสังคมการอ่าน จะมีสัดส่วนของเรื่องที่ดีเยี่ยมน้อยนิดกว่าเรื่องสั้นคุณภาพปานกลางอยู่มากทีเดียว เอาเถอะ..อย่างน้อยที่สุด เราจะไม่ได้อ่านเรื่องสั้นที่แทบจะหาค่าไม่ได้จากช่อการะเกดก็แล้วกัน
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘ความรุนแรงแบบเด็กช่างกล’ หรือจะเทียบเท่าลีลาการวาดแม่ไม้มวยไทยสไตล์ที่มีผู้หลักผู้ใหญ่เป็นผู้นำทัพ โอ้พระเจ้า! ประชาธิปไตยอยู่ในกำมือของพวกเราแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร 8.วรรณกรรมตกสระ ของ ภาณุ ตรัยเวช 9.หมู่บ้านแอโรบิก ของ ทัศนาวดี
Carousal
  สองหนุ่มเพื่อนซี้ชาวออสเตรเลียน John Rendall กับ Anthony Boruke เกิดได้ข่าวมาว่าที่ห้างสรรพสินค้า Harrods แผนก Exotic Pet มีลูกสิงโตที่เกิดในสวนสัตว์มาขาย ด้วยความอยากรู้อยากเห็น สองหนุ่มจึงชวนกันไปดู และเมื่อพบว่าเจ้าลูกสิงโตตัวนั้นนั่งจ๋องทำท่าซึม ๆ เหงา ๆ อยู่ในกรง เขาทั้งสองก็ตัดสินใจซื้อมันกลับมาในราคา 250 Guineasเจ้าสิงโตน้อยผู้ได้รับการขนานนามว่า Christian ได้พักอาศัยอยู่กับสองหนุ่มผู้เป็นเจ้าของที่แฟลตชั้นใต้ดินของร้านเฟอร์นิเจอร์ที่เชลซี มันกลายเป็นขวัญใจของคนแถบนั้น ใคร ๆ ก็รอคอยที่จะได้เห็น ได้บันทึกภาพของมันตอนที่เจ้าของพาออกมาวิ่งเล่นที่หน้าโบสถ์ St. John'sเวลาผ่านไปเกือบปี สิงโตน้อย Christian ที่ตอนแรกหนักแค่ 35 ปอนด์ ก็เติบโตขึ้นมาก John กับ Anthony เริ่มประสบปัญหาด้านการเงิน เพราะ Christian กินจุขึ้นทุกวัน และในไม่ช้ามันก็จะเติบโตเป็นสิงโตหนุ่มเต็มวัย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาเกี่ยวกับความดุร้ายและความต้องการที่จะสืบเผ่าพันธุ์ ในที่สุด เจ้าของทั้งสองก็ตัดสินใจว่า การส่ง Christianไปสู่แอฟริกา มาตุภูมิแห่งเผ่าพันธุ์ที่บรรพบุรุษของมันเคยครอบครองเป็นเจ้าของ น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดด้วยความช่วยเหลือของ George Adamson เจ้าหน้าที่หน่วยงานช่วยเหลือและอนุรักษ์สัตว์ป่าที่เคนยา ในที่สุด Christian ก็กลับไปถึงแอฟริกา George ได้ส่ง Christian ไปทำความรู้จักกับ Boy สิงโตหนุ่มที่เคยแสดงในภาพยนต์เรื่อง Born Free เพื่อให้ Boy ช่วยเหลือ Christian ในการปรับสภาพเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ทั้งสองกลายเป็นเพื่อนกันอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นาน Christian ก็เริ่มคุ้นเคยกับการอยู่ป่า และในที่สุดก็มีฝูงเป็นของตนเองจากวันสุดท้ายที่ได้กล่าวอำลากันนานนับปี John และ Anthony ก็รวบรวมเงิน และเดินทางไปแอฟริกา เพื่อที่จะไปเยี่ยม Christian เพื่อนรักของพวกเขา แม้จะได้รับคำเตือนว่า Christian กลายเป็นสัตว์ป่าไปแล้ว ระยะเวลาที่ห่างกันอาจทำให้มันลืมพวกเขา และอาจเข้าจู่โจมทำร้ายได้ก็ตามแต่ Christian ไม่ได้ลืมพวกเขา มันไม่เคยลืมเลยแม้แต่วันเดียว
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ ผู้เขียน : องอาจ เดชา ประเภท : สารคดี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา พ.ศ.2548 ได้อ่านงานเขียนสารคดีที่เป็นบทบันทึกช่วงชีวิตของอ้ายแสงดาว ศรัทธามั่น ที่กลั่นร้อยจากความมุ่งมั่นขององอาจ เดชา นักเขียนสารคดีหนุ่มมือเอกแล้ว มีหลายความรู้สึกที่อยากเล่าสู่กันฟัง อีกทั้งทำให้อยากลุกมาเขียนจดหมายถึงคนต้นเรื่องคนนั้นด้วย กล่าวถึงงานเขียนสารคดีสักครู่หนึ่งเถอะ... สารคดีเป็นงานเขียนที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อมูลทุกรายละเอียดล้วนเคารพต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนสารคดีเล่ม ผู้คนใกล้สูญพันธุ์ นี้ เป็นลักษณะกึ่งอัตชีวประวัติ เนื่องจากตัวคนต้นเรื่องไม่ได้ลงมือเขียนเอง หากแต่มีนักเขียนเข้ามาสำรวจ พินิจพิเคราะห์แง่มุมชีวิต เก็บเนื้อหารายละเอียดแล้วสังเคราะห์อย่างพิถีพิถัน เพื่อถ่ายทอดในมุมมองของนักเขียน เหมือนเป็นการส่งผ่านแง่มุมชีวิตของคนคนหนึ่ง ไปถึงผู้อ่านให้ร่วมรู้สึกกับไปสายธารชีวิต
เด็กใหม่ในเมือง
ตั้งแต่เขียนคอลัมน์ “บ้านบรรทัดห้าเส้น” แบบขาดๆ หายๆ มาได้หลายปีนั้น มีบทความแบบหนึ่งที่ผมพยายามเขียนมามากครั้ง...แล้วก็เขียนไม่ค่อยได้สักที บทความประเภทที่ว่าก็คือรายงานคอนเสิร์ตนั่นเอง ด้วยความที่ผมมักหาเรื่องไปดูคอนเสิร์ตทั้งฟรี และไม่ฟรีอยู่เสมอๆ นัยว่าเพื่อเป็นการหาประสบการณ์ทางดนตรี เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องดนตรีไปด้วย (...ข้ออ้างดังกล่าวฟังดูสวยหรูนะครับ แต่มันเป็นเหตุผลที่ผมจะเก็บเอาไว้อธิบายให้แฟนตัวเองเข้าใจ เวลาที่เธอบ่นถึงราคาบัตรคอนเสิร์ตที่ผมจ่ายไปในแต่ละเดือน) พอได้ดูคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง แล้วได้เจออะไรดีๆ ก็อยากจะเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง แต่พอจะเริ่มต้นเขียน อาการขี้เกียจผสมกับการไม่รู้จะเริ่มเล่าจากตรงไหนดี... ซึ่งกว่าจะแก้ปัญหาพรรค์นี้ไปได้ คอนเสิร์ตนั้นก็ผ่านไปเนิ่นนานจนมันไม่น่าสนใจแล้ว นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งของความพยายาม ที่ถ้าคุณได้อ่านบทความชิ้นนี้ ก็หมายความว่าผมประสบความสำเร็จในการเขียนรายงานคอนเสิร์ตเสียที คอนเสิร์ตที่ผมจะมาเล่าให้คุณฟังก็คือคอนเสิร์ต “เพลงแบบประภาส” นั่นเองครับ  
Carousal
ไปดูสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือกันมาหรือยังคะ? ในความรู้สึกของฉัน สามก๊กเป็นพี่น้องกับหวัด กล่าวคือ ในขณะที่บ้านเมืองปกติสุข ทั้งสามก๊กและหวัด ต่างก็มีฐานลูกค้าสนับสนุนของตนเองเรื่อย ๆ ไม่มีว่างเว้น คนเราติดหวัดกันได้โดยไม่เลือกเวล่ำเวลาหากอดหลับอดนอนหรือทำงานหนักตากแดดตากฝนฉันใด สามก๊กก็เป็นวรรณกรรมที่ไม่ว่าใครก็ใคร ต้องหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน หยิบหนังขึ้นมาดู เพื่อดื่มด่ำกำซาบทั้งรสของภาษาและเนื้อหาที่ใครต่อใครเขาก็ว่าเป็นหนึ่งในแผ่นดินโดยไม่เลือกเวล่ำเวลาฉันนั้น หากนาน ๆ ครั้ง โรคที่เป็นในระดับนอนพักสามวันหายอย่างหวัดจะระบาดใหญ่ ทำให้คนล้มเจ็บล้มตายกันหลายพันหลายหมื่น ก็เช่นเดียวกับสามก๊ก ที่เมื่อครบรอบการฮิตเมื่อใด วรรณกรรมเรื่องนี้ก็จะถูกเฮโลสร้างออกมาเป็นการ์ตูนบ้าง หนังบ้าง เกมบ้าง หรือพิมพ์หนังสือใหม่บ้างโดยไม่มีการนัดหมาย ให้คนเฒ่าที่อยู่ทันการฮิตรอบที่แล้วปัดฝุ่นหยิบหนังสือมาอ่านใหม่ และให้เด็กรุ่นต่อไปที่ยังโตไม่ทันการฮิตรอบที่แล้วได้ทำความรู้จัก และหากแฟนรุ่นใหม่คนไหนเกิดติดอกติดใจเป็นพิเศษ ก็อาจพัฒนาการเป็นแฟนพันธุ์แท้สามก๊กรุ่นต่อไปในภายภาคหน้า และเนื่องจากนี่คือ ‘สุดสัปดาห์กับการ์ตูน’ เพราะฉะนั้น เราก็มาคุยกันเรื่องการ์ตูนสามก๊กกันดีกว่า
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois Lyotard อ้างถึงใน ไชยันต์ ไชยพร.POSTMODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ.กทม.: หจก.ภาพพิมพ์, 2550 หน้า 41)  หากรถไฟ คือ ตัวแทนของความทันสมัย (modern) ที่จะนำพาผู้คนจากอดีตไปสู่อนาคต การที่คนกลุ่มหนึ่งมัววิ่งตามขบวนรถไฟ ก็อาจจะทำให้พวกเขาไม่สามารถไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่ขณะเดียวกันการที่จะมัวหมกหมุ่นอยู่บนรถไฟ (modern) ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าคนกลุ่มนั้นจะสามารถหาคำตอบให้กับชีวิตของพวกเขาเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณโดยสามพี่น้องตระกูลวิตแมน ในภาพยนตร์ The Darjeeling Limited  The Darjeeling Limited เป็นเรื่องราวของสามพี่น้องแห่งตระกูลวิตแมน ซึ่งปรารถนาที่จะใช้โปรแกรมการเดินทางไปยังอินเดีย เพื่อผสานรอยร้าวแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ม่านดอกไม้ ผู้เขียน : ร. จันทพิมพะ ประเภท : รวมเรื่องสั้น จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2541 ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน ทำให้เรือนไม้ยกใต้ถุนสูงที่ปลูกเรียงอยู่ในรั้วบ้านรู้สึกเหมือนเป็นบ้านในป่าได้เลยทีเดียว บรรดาต้นไม้ไทยหายาก ชื่อเรียกยากอย่างพิลังกังสา ลำดวน ประดู่เหลือง พวงคราม ต้นสาทรไม้ประจำเมืองโคราช สารพัดสารพันพืชแท้จริงเลย ไหนจะต้นชะมวงนั่นอีก ยามเช้าที่นี่จึงเป็นความหอมชื่นชวนเบิกบานใจ
Carousal
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 6 กรกฏาคม 2551) ฉันไปงาน Comic Party ครั้งที่ 11 ที่ Central World มาค่ะ บรรยากาศบนเวที ที่มี Yamaha เป็น Sponsor ใหญ่   คุณเคยไปงานการ์ตูนบ้างไหมคะ? ต่อให้ไม่เคยตั้งอกตั้งใจไป ฉันก็คิดว่าคุณต้องเคยผ่าน หรือเคยสะดุดตาสะดุดใจกับพลพรรคคนรักการ์ตูนที่รวมกลุ่มกันเดินทางไปร่วมงานมาบ้างแน่ ๆ เพราะงานการ์ตูนเป็นงานที่เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนานเข้มข้นจนแผ่ออร่าออกมาให้สัมผัสได้ ขอแค่มีการ์ตูนเรื่องที่ชอบเป็นศูนย์กลาง เหล่าชมรมคนรักการ์ตูนก็สังสรรค์ สรวลเสเฮฮากันได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อนแล้วละค่ะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง      ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ.ศ.2508 ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ ต้องเดินเข้าบ้านเปิดทีวีของตัวเองดูจะได้มีเสียงส่วนตัว เพราะทุกบ้านเล่นยุทธวิธีเร่งวอลุ่มกันขนาดหนักจนฟังเอะอะไปหมด ที่สำคัญบ้านที่มีเอเอสทีวียังคอยกวักมือเรียกให้ไปดูด้วยกันอยู่นั่น ไอ้เราก็อยากอยู่นะ ไม่ใช่ไม่อยากดู แต่อย่างว่านั่นแหละ เราอยากมีเสียงส่วนตัวบ้าง อีกอย่างหนึ่งก็เพราะชอบอ่านหนังสือพิมพ์มากกว่าก็มัน “มัน” ดีนั่นเอง อยากพักตาตอนไหนก็พับเก็บไว้ก่อน ไม่ต้องขืนตัวเองนั่งจ้องหน้าจอ