Skip to main content
LGBT&Democracy (CDSR)
 แถลงการณ์ฉบับที่ 1 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
LGBT&Democracy (CDSR)
ก่อนที่พวกเราจะเปิดตัวกลุ่ม “เพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ” มีคำถามสองข้อที่ดิฉันอยากจะตอบให้ได้และมั่นใจว่าตัวเองรู้คำตอบ คำถามข้อแรก ทำไมสังคมประชาธิปไตยจะต้องรับรองความหลากหลายทางเพศ? คำถามข้อที่สอง ทำไมคนหลากหลายทางเพศจึงควรยืนเคียงข้างหลักการประชาธิปไตย?
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้  
ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี บ้างแค่ผ่านมาแล้วผ่านไป   เส้นทางของหนังหลายเมืองใหญ่ดัง ๆ ระดับโลก ฉันเคยไปเหยียบมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน ปารีส โรม อิตาลี่ ฟลอเรนซ์ แต่การเดินทางของฉัน เคลื่อนไปกับเรือสำราญลำใหญ่ที่จุคนมากกว่าสี่พันชีวิตต่อครั้ง ทั้งผู้โดยสารสามพันกว่า และลูกเรืออีกพันสองร้อยชีวิต จากนานาประเทศ
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
นายหมูแดงอวกาศ
เกริ่นนำ  (อะไร และ ทำไม)           บทความดังกล่าวเขียนในช่วง 2551 คงยังจำได้ที่ประเด็นเรื่องการรับบริจาคเลือดจากกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ถูกนิยามว่าเป็นเลือดที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเด็นดังกล่าวจึงต้องหยิบยกมาเล่ากันอีกครั้งหนึ่ง เหมือนเหล้าเก่าเล่าใหม่ ประเด็นคือ ในสังคมคงยังเข้าใจว่าคนรักเพศเดียวกันนั้นยังเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ รักแล้วเลิก เลิกแล้วฆ่า หรืออื่นๆ และประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนี้ที่สังคมปิตาไลย (ชื่อฟังยากผู้ชายยิ่งใหญ่)  เพราะทุกคนในโลกนี้ต่างมีสิทธิของตัวเองทั้งสิ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอยู่เสมอ สิทธิที่เขาเหล่านั้นเป็นคนเลือกให้เกิด (บทความนี้เคยเผยแพร่มาครั้งหนึ่งแล้วที่ ประปาไท และไทยเอ็นจีโอ) แต่ลองเอากลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนหรือความเป็นคนที่ตัวเป็นๆที่ท่านเห็นอยู่ในสังคม หรือ กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว หรือ ปี 51 จวบจน 53 การมองคนเป็นกลุ่มๆอยู่หรือไม่ในสังคม หากยังมองอยู่คนทำงานที่ทำงานด้านดังกล่าวต้องมาทบทวนการทำงานเรื่องสุขภาพทางเพศและเอดส์ หรือ คนทำงานเรื่องเพศ สิทธิ ความเท่าเทียม ร่วมกันที่ผ่านมาว่า การทำงานที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนอย่างไร หรือทำที่ปลายเหตุลืมนึกไปว่าที่แท้แล้วแก้ไขปัญหาที่รากดีกว่าหรือไม่ "แต่คงต้องค้นหาว่าที่รากเป็นแบบไหนและแก้อย่างไร" เพราะแก้อะไรทั้งหมดแก้ไขได้แต่ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน เป็นต้น เขาเล่าให้ฟังว่า "รักเพศเดียวกันแล้วเป็นกลุ่มเสี่ยง" ไม่รับเลือด "ตุ๊ตเกย์" เสียเวลาคัดแยกเชื้อเอชไอวี (หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ 31 มีนาคม 2551) พบเลือดกลุ่มเกย์ติดเอดส์ ยันไม่รับบริจาคเลือดจากกลุ่มรักร่วมเพศ เผยทุกวันนี้ยังต้องคัดทิ้งเลือดบริจาคที่ติดเชื้อเอชไอวี (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันจันทร์ 31 มีนาคม 2551)      กระแสข่าวที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในหลายกรณีที่เกี่ยวข้องกับ คนรักเพศเดียวกัน หรือ รวมๆว่าอะไรก็ตามแต่นั้น ท้ายสุดข่าวที่ออกมาเป็นกระแสข่าวที่ออกมาในหลายแง่หลายมุม ทั้งในเรื่องของกรณี "การตัดอัณฑะ" หรือ "เรื่องการรับบริจาคเลือดของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM)" แล้วตัวเราหรือสังคมนั้นจะเลือกการรับรู้อะไร กับกรณีสังคมดังกล่าวที่เป็นสิ่งที่ต้องมองร่วมกันอย่างมีเหตุและผล ในบทความนี้ก็เช่นกันจะเปิดประเด็นขึ้นอาจเป็นประเด็นที่แตกต่างจากสื่อกระแสหลัก เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ โดยจะยกกรณีศึกษา "เรื่องการไม่รับบริจาคโลหิตของคนรักเพศเดียวกัน" ประกอบการเขียน กลุ่มเสี่ยง หรือ พฤติกรรมเสี่ยง กันแน่ ? เอดส์ ณ ขณะนี้ไม่ได้เป็นปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ว่าสิ่งนั้นคือปัญหาของทุกคน โดยมิติที่ว่านั้นก็มิได้มีเฉพาะในเรื่องของการเยียวยาเพียงอย่างเดียว แต่มีมิติของเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมาเป็นตัวกำหนดด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันคิดและสร้างความเข้าใจในประเด็นที่ถูกต้องไปพร้อมๆ กัน สิ่งที่ถกเถียงกันมากควรรีบสร้างความเข้าใจคำว่า "กลุ่มเสี่ยง" หรือ คำว่า "พฤติกรรมเสี่ยง" สองคำนี้ดูเผินๆนั้นเหมือนคล้ายแต่ความจริงต่างกันโดยสิ้นเชิง กลุ่มเสี่ยง เป็นนิยามหรือความหมายที่ให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งว่าเป็นกลุ่มที่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวี หรือ ตรวจแล้วมีความชุกของอัตราการระบาดมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงนั้น เป็นพฤติกรรมที่มีเพศสัมพันธ์โดยการไม่ป้องกัน การใช้เข็มที่ไม่สะอาด เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยง ดังนั้นหากมองในประเด็นดังกล่าว คงมิได้มองกลุ่มใดเป็นกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น เพราะทุกคนสามารถได้รับเชื้อเอชไอวี เข้าสู่ร่างกายได้หากไม่ป้องกัน ด้วยเพราะบุคคลไหนก็ตาม ไม่ว่าจะอาชีพไหน กลุ่มไหน หรือเป็นใคร ต่างก็มีพฤติกรรมเสี่ยงได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เรื่องกลุ่มเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่น่าต้องทำความเข้าใจใหม่ และไม่สร้างตราบาปให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ว่าเป็นผู้แพร่เชื้อเอชไอวี หากแต่ว่าเป็นความรับผิดชอบของทุกคน จากกรณีสภากาชาดไม่รับเลือดของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เราและทุกคนในสังคมต้องสร้างความเข้าใจใหม่และหาทางออกร่วมกัน แบบสอบถามที่ยังคาใจ ? สภากาชาดในการบริจาคโลหิตมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการบริการเลือดจาก ขอชื่อชมในการดำเนินงานที่ผ่านมาในการรักษาคุณภาพ และเรื่องระบบการคัดกรองโลหิตที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของพวกเราผู้รับบริการ ทั้งนี้ในการบริจาคต้องมีการกรอกใบสมัครในการบริจาคโลหิตกรณีบริจาคครั้งแรก ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก เพราะทำให้ผู้บริจาคนั้นได้ตระหนักถึงตนเอง แต่ทั้งนี้เมื่ออ่านดูยังมีข้อหนึ่งที่ยังเป็นประเด็นที่น่าคิดและหาทางร่วมกันคือ "ท่านหรือคู่ของท่านเคยมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน" เป็นคำถามข้อที่ 12 ในแบบสอบถาม (แต่คำถามข้อนั้น ก็มิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง เพราะประเด็นคือ เรื่อง การตอบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือไม่ หรือจะกลายเป็นเรื่องดังที่บางท่านกล่าวฟังดูอาจรุนแรง เลือดที่ดีต้องเป็นเลือดที่มาจาก ชายและหญิง น่าคิดมากว่าคืออะไร) ทั้งนี้จากภาคประชาสังคม เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ที่เข้าร่วมพูดคุยกับทางสภากาชาดนั้น (วันที่ 4 เมษายน 2550) ได้หารือแนวทางร่วมกัน โดยสภากาชาดได้ตัดข้อ 12 ออกไปและหาแนวทางในการให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมเสี่ยงในข้อ 11 โดยจะมีการแตกหัวข้อและรายละเอียดมากขึ้น ทั้งนี้การให้ข้อมูลควรเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นเรื่องการให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และเรื่องพฤติกรรม หากยังเป็นเรื่องในประเด็นการแบ่งแยกกลุ่มอีก คงเป็นเหมือนเดิมแบบสอบถามที่วัดค่าออกมาเป็นเพียงเลือดบริสุทธ์นั้นมาจากกลุ่มใด เปิดพรมแดนใหม่ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์เชิงระบบ แนวทางที่เกิดขึ้นคงเป็นประเด็นที่เราต้องสร้างความเข้าใจเรื่อง พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันให้มากขึ้น โดยตั้งประเด็นหรือธงเพื่อให้เห็นภาพร่วมกันในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคม ในการมองการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว ผ่านกรณีที่เกิดเรื่องการรับบริจาคเลือดว่าเรื่องดังกล่าวว่าเป็นเพียง "กลุ่มเสี่ยงสูงสุด" (Most at risk population) คือ - การส่งเสริมความเข้าใจประเด็นที่อ่อนไหว ผ่านการรณรงค์ สื่อสาร ในระดับต่างๆ ว่า "ควรมองเรื่องเอดส์นั้นเป็นปัญหาทุกคนและมีหลายมิติ ดังนั้นเรื่องเอดส์จึงมิใช่ของกลุ่มใด หรือมองใครเป็นผู้แพร่เชื้อทำให้เกิดกระบวนการตีตรา(stigma) สร้างความเข้าใจผิดกับสังคม เกิดการกีดกันและการละเมิดสิทธิขึ้น ควรมองเชิงระบบเป็นเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง และศึกษาดูว่ารากของพฤติกรรมเสี่ยงนั้นเป็นแบบไหนและสร้างความเข้าใจผ่านกลไกต่างๆ ทั้งคณะกรรมการเอดส์ชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ภาคประชาสังคม และอื่นๆ ที่ร่วมดำเนินการเพื่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวและเข้าใจร่วมกัน" - การให้ความรู้เรื่องอุปกรณ์ป้องกัน และการจัดบริการทั้งการดูแล รักษา ที่เกี่ยวเนื่องอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพราะสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นกระบวนการให้คนได้ตระหนักรวมถึงพฤติกรรมตนเอง และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประเด็นเหล่านี้เองควรส่งเสริมสร้างกระบวนการเรื่องความเข้าใจใหม่ หรือการหันเข้ามาใส่ใจประเด็นการทำงานเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นเป็นระบบมากขึ้น ความเหมือนที่แตกต่าง ของ เลือด ? ประเด็นสุดท้ายที่จะนำเสนอ ซึ่งตรงหัวข้อก็คือ ความเหมือนที่แตกต่างของเลือด อาจเป็นการมองไม่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์มากนัก แต่มองบนฐานกระบวนการมนุษย์กรณีเรื่องการบริจาคเลือด "ในโลกนี้เรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทุกคนสามารถประสบพบเจอได้ เพราะพฤติกรรมเสี่ยงนั้นมันไม่ได้จำกัดว่าคุณเองเป็นเพศอะไร เป็นเพศหญิง เป็นเพศชาย เป็นชายรักชาย หญิงรักหญิง หรืออื่นๆ มันขึ้นอยู่ที่กระบวนการเรื่องการป้องกันว่าคุณป้องกันหรือไม่ เพราะเลือดที่คุณจะบริจาคนั้นผู้รับบริจาคเลือดจากคุณก็หวังว่าจะช่วยเหลือเขาได้" ท้ายสุดในการสรุปประเด็นคงไม่นำเอาความคิดของผู้เขียนไปตัดสินเรื่องความผิดหรือถูก หากแต่อยากเพิ่มประเด็นการมองผ่านกรณีดังกล่าวมากขึ้น คงต้องมาตอบประเด็นนี้ต่อไปว่าสังคมได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง สำหรับผู้เขียนเห็นประเด็นดังเสนอไปข้างต้น และแนวนโยบายที่เกาะกุมการทำงานด้านเอดส์อยู่ 2 ตัว คือ ABC อีกตัวคงเป็น CNN แต่จะอยู่ฐานแนวคิดนโยบายอะไรก็ตามแต่ คงต้องมองว่าเอดส์เป็นเรื่องของทุกคนไม่ใช่ของใคร   "ในโลกนี้ใครก็ตามคงไม่ได้สร้างมาแค่ 2 เพศ แต่คงสร้างมาอย่างหลากหลาย เปรียบเสมือน ที่คนเราอยู่เฉยๆ เกิดมาคงไม่สามารถร้องเพลงได้ หรือฟังเพลงแล้วเพราะ แต่เราถูกสอนให้ร้องเพลง หรือฟังแบบนี้แล้วเพราะ แล้วคุณหละคิดว่าเพศคืออะไร"