Skip to main content

แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง

ใช่ว่าอากาศจะร้อนเพียงอย่างเดียว ทิศทางการเมืองก็กำลังเริ่มร้อนขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อเดือนมีนาคมมาถึง วันหยุดยาวของเด็กๆ ก็ใกล้เข้ามา


ผมจำได้ลางๆ ว่าเมื่อวันนี้ของปีก่อนตัวเองอยู่ที่ไหนสักแห่งริมฝั่งแม่น้ำสายหนึ่ง เพื่อร่วมรำลึกถึงวันหยุดเขื่อนโลก ทำไมต้องมีวันนี้ คำตอบที่แสนง่ายคือ ใน ๓๖๕ วันน่าจะมี ๑ วันที่เราจะได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเขื่อน และผลกระทบจากเขื่อน วันหยุดเขื่อนโลกถูกก่อตั้งขึ้นมาจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน จึงสมควรอย่างยิ่งว่า เราน่าจะได้ระลึกถึงผู้คนเหล่านั้น ที่เสียสละให้เราได้มีไฟฟ้าใช้ แม้บางครั้ง พวกเขาเองต้องพลัดที่นา คาที่อยู่ก็ตามที


ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ร้อนระอุ สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก็ร้อนขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน การเมืองที่กำลังกล่าวถึง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม


การเมืองเรื่องแม่น้ำโขงแห้ง
!!...

หลังจากจีนเริ่มสร้างเขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขง ประเทศท้ายน้ำก็เริ่มประสบปัญหาต่างๆ ทั้งปลาหาได้น้อยลง อันเนื่องมาแต่ความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ไม่คงที่ เพราะแม่น้ำโขงขึ้นลงราวกับน้ำทะเล เมื่อ ๔ ปีที่ผ่านมา องค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรได้เฝ้าติดตามสถานการณ์เรื่องผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง และมีการรณรงค์กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง แต่การรณรงค์บางครั้งก็มีเสียงตอบรับจากสังคม แต่บางครั้งราวกับเป่าปุยนุ่นในลมแรง


มีนาคมปีนี้ ผู้คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก แม่น้ำแห้งลงมากกว่าปกติในรอบหลายสิบปี ผู้คนจึงเห็นว่าเป็นปัญหาร่วมกันที่ต้องช่วยแก้ไข ดูเหมือนว่ารัฐบาลก็เริ่มจะเอาจริงในเรื่องของการแก้ไขปัญหานี้ แต่สุดท้ายการพูดคุยหรือแม้แต่เชิญประเทศต้นน้ำคือ จีน เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตัวแทนจากจีนยังแบ่งรับแบ่งสู้ในเรื่อง


จีนยังไม่เคยยอมรับว่า เขื่อนบนแม่น้ำโขงในประเทศจีนสร้างผลกระทบกับแม่น้ำโขง และประเทศท้ายน้ำ (หรือว่าทางการจีนยอมรับ แต่แอบเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะไม่ยอมตกเป็นจำเลยในเรื่องนี้) แต่จีนแอบป้องปากบอกว่าจะปล่อยน้ำจากเขื่อน ๒-๓ วัน เพื่อให้เรือสินค้าสัญชาติจีนที่ตกค้างอยู่ท่าเรือเชียงแสนเดินทางกับประเทศได้ หลังจากนั้นแม่น้ำโขงก็จะเป็นเช่นเดิมคือ น้ำแห้งลง และแห้งลง ไม่แน่ว่าในปีนี้ เราอาจได้เห็นชาวบ้านริมฝั่งโขงเดินข้ามแม่น้ำไปเยี่ยมยามมิตรสหายอีกฟากฝั่งของแม่น้ำก็เป็นได้


ในวันที่แม่น้ำโขงแห้งลงใช่ว่าผลกระทบต่างๆ จะเกิดกับแม่น้ำเพียงอย่างเดียว ผลกระทบยังได้ส่งมายังผู้คนริมฝั่งน้ำด้วย การทำมาหากินของผู้คนที่ขึ้นอยู่กับแม่น้ำก็ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยเฉพาะคนวิ่งเรือโดยสาร เรือบรรทุก ตลอดจนคนทำการเกษตรริมฝั่งโขง


แม่น้ำแห้งลงไม่ใช่ความเป็นไปตามธรรมชาติ แต่เป็นความแห้งของใจคนล้วนๆ คนผู้มองเห็นผลประโยชน์ของตนเองแต่ฝ่ายเดียว....

วันหยุดเขื่อนโลกเวียนมาอีกปีหนึ่งแล้ว ถึงเวลาหรือยังที่เราจะร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนอย่างจริงจัง และเป็นระบบ ไม่ใช่แก้เป็นครั้งคราว และเราในฐานะประเทศท้ายน้ำต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อจะบอกกับประเทศต้นน้ำว่า หยุดสร้างเขื่อนบนแม่น้ำอีกต่อไป ปล่อยให้แม่น้ำได้ไหลอย่างอิสระ เพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ...เราเตือนคุณแล้ว
!!!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’