Skip to main content

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ

คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

นาย Alexander Hamilton ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาไว้ดังนี้*

รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นเรื่องมีอยู่ว่า มีชาวเปอร์เซียคนหนึ่งนามว่า Collet (เขาคนนี้มีเส้นสายกับบุคคลในกระบวนการยุติธรรมสยาม - ซึ่งจะเป็นโจทก์ฟ้องคดี) พยายามกีดกันการค้าของนาย Hamilton (ชาวอังกฤษ) เนื่องจากนาย Hamilton ไม่ยอมขอหนังสือในคุ้มครองของนาย Collet (Collet's Letters of Protection) - ทำนองมาเฟีย - เนื่องจากสหราชอาณาจักรเคยทำสนธิสัญญาค้าขายกับรัฐบาลสยามไว้อยู่ก่อนแล้ว นาย Hamilton จึงไม่ยอมจะทำตามอำนาจบาดใหญ่ของชาวเปอร์เซียผู้นี้

ประมาณ ๑ สัปดาห์ต่อมา นาย Hamilton ได้รับ "หมายเรียก" ให้ไปให้การต่อศาลในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Indictment of speaking Treason of the King) นาย Hamilton รู้ว่าตนบริสุทธิ์จึงไปศาลตามนัดประมาณ ๘ โมงเช้า แต่ "ตุลาการ" (อายุประมาณ ๕๐ ปี ดูสุภาพเรียบร้อย เคร่งขรึม) พร้อมบริวารประมาณ ๑,๐๐๐ คน เดินทางมาถึงศาลประมาณ ๙ โมงเช้า (มาช้า ๑ ชั่วโมงโดยประมาณ)

ตุลาการเข้านั่งประจำที่และให้พนักงานอ่านคำฟ้องจนเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นตุลาการให้ล่ามแปลให้นาย Hamilton ฟังถึงข้อความซึ่งถูกกล่าวหาว่า นาย Hamilton พูดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วยประโยคว่าที่เขากล่าวว่า "That the King had been imposed upon."

นาย Hamilton ให้การปฏิเสธว่าพูดเช่นนั้น โดยโยนให้เป็นภาระนำสืบของฝ่ายโจทก์ว่าเขากล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่

ตุลาการจึงตั้งทนายความให้ฝ่ายละ ๒ คน โต้เถียงเป็นเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ในประเด็นดังนี้

๑. ชาวต่างชาติไม่รู้กฎหมายสยามต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายสยามหรือไม่ (ในห้องพิจารณาเห็นว่า ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายสยาม)

๒. พยานประเภทใดเบิกความได้ และไม่ได้

๒.๑ ฝ่ายโจทก์จะเบิก "คนรับใช้ของโจทก์" มาให้การในศาล แต่ถูกทนายฝ่ายจำเลยโต้แย้งว่า ตามกฎหมายตราสามดวง ไม่รับฟังคำให้การของ "คนรับใช้" ไม่ว่าจะเป็นคนใช้ของจำเลยเองหรือไม่ก็ตาม

๒.๒ พยานฝ่ายโจทก์ นำนาย Collinson (สมุนของนาย Collet) มาเบิกให้การเป็นพยาน

ตุลาการ ซักถามนาย Collinson (พยาน) ผ่านล่ามว่า พยานอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ จำเลย พูดคุยกับโจทก์ใช่หรือไม่

นาย Collinson (พยาน) ตอบว่า ใช่ โดยพยาน ยืนกรานว่า ตนได้ยินนาย Hamilton กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงเช่นนั้น

ตุลาการ ซักถามนาย Hamilton (จำเลย) ว่า "มีอะไรจะหักล้างคำพูดพยานไหม"

นาย Hamilton (จำเลย) ถามนาย Collinson (พยาน) โดยถามผ่าน ตุลาการว่า "ภาษาที่ใช้ในการสนทนากับโจทก์ในขณะนั้นคือภาษาอะไร" ซึ่งตุลาการก็ถามให้

พยาน ตอบว่า "ผมไม่รู้จักภาษานี้ดีนัก แต่เข้าใจว่ามันคือภาษา Industan"

จำเลยจึงให้ตุลาการถามพยานว่า "พยานเข้าใจภาษา Industan หรือเปล่า"

พยานหยุดนิ่งไปชั่วครู่แล้วตอบว่า "เปล่า"

ตุลาการจึงถามพยานเองว่า "พยานมาเบิกความในคำกล่าวที่พูดในภาษาที่ตนไม่เข้าใจได้อย่างไร"

พยานตอบว่า "ผมคิดว่าจำเลยน่าจะพูดอย่างนั้น"

ตุลาการ จึงพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิด และให้ปล่อยตัวจำเลยไป.

_________________________

*ดู Alexander Hamilton, A new Account of the East Indies, vol. 2, John Mofman, 1727, p. 183-187.
http://books.google.co.th/books/about/A_new_account_of_the_East_Indies.html?id=2YCoCwtJd1gC&redir_esc=y 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"