Skip to main content

รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ไม่ใช่เพราะคนไทยติดใจรักใครรถกระบะเป็นพิเศษหรอก แต่เพราะโครงส้รางราคารถและราคาน้ำมัน รวมทั้งโครงสร้างการขนส่งในประเทศไทยต่างหาก ที่ทำให้รถกระบะเป็นที่นิยม การที่รัฐไม่พัฒนาระบบการขนส่งมวลชน ไม่พัฒนาระบบรถไฟทั่วประเทศ แต่อาศัยหากินกับการผลิตและการขายรถยนตร์นี่แหละ ที่ทำให้การบริโภครถกระบะเติบโตขึ้นมา
หลายคนคงรู้ดีกว่าผมว่า ประเทศไทยผลิตรถกระบะทั้งขายและส่งออกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หากกวาดตาดูประเทศรอบบ้าน หรือมองให้ไกลไปว่าประเทศไทย มีประเทศไหนบ้างที่ใช้รถกระบะมากทั้งจำนวนและประเภทการใช้งานเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอกครับ
เมื่อสักยี่สิบปีที่ผ่านมา รถกระบะจึงเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ไม่เพียงคนซื้อรถกระบะแบบใช้นั่งสองคนแล้วมีกระบะบรรทุกด้านหลัง รถกระบะเองยังพัฒนาการออกแบบให้มี "แคป" นั่งหลังได้ แถมพัฒนาประตูให้เปิดกลับด้าน เพื่อให้ขึ้นนั่งบนแคปได้ รถกระบะจึงกลายเป็นรถอเนกประสงค์ แล้วมีการดัดแปลงใช้โครงสร้างรถกระบะต่อเติมเป็นรถแวน เรียกลูกค้าที่อยากใช้รถแวนราคาประหยัดได้อีกจำนวนมาก
การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถสองแถวก็ไม่ใช่สิ่งที่เก่าแก่อะไรนัก เพิ่งจะมีมาเมื่อไม่เกิน 30 ปีมานี้เอง เดิมทีสมัยผมเด็กๆ ในกรุงเทพฯ หรือรวมทั้งรถโดยสารราคาถูกในต่างจังหวัด รถสองแถวล้วนแต่เป็นรถบรรทุก 6 ล้อที่ดัดแปลงมาเป็นรถโดยสารประจำทาง รถกระบะถูกดัดแปลงเป็นรถสองแถวเมื่อไม่นานมานี้เอง อาจจะด้วยความคุ้มทุนกว่า ขนาดเล็กเหมาะกับถนนเมืองไทยมากกว่า คล่องตัวกว่า และน่าจะประหยัดกว่ารถบรรทุก
เพื่อนๆ ญาติๆ ผมหลายคนเปรยอยู่เสมอๆ ว่า หากจะซื้อรถ เขาไม่อยากซื้อรถเก๋งหรอก ซื้อรถกระบะดีกว่า ได้ประโยชน์กว่า ขนได้ทั้งของและคน เรื่องบรรทุกคนท้ายรถกระบะเป็นเรื่องธรรมดา ผมเองก็ยังเคยนั่งท้ายรถกระบะระยะทางเป็นร้อยกิโลมาแล้ว แถมรถกระบะยังสมบุกสมบัน อายุการใช้งานยาวนาน และประหยัดค่าน้ำมันมากกว่า
ความผูกพันกับรถกระบะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดัดแปลงไปมากมาย คนอยู่บนเขา นอกจากจะเชี่ยวชาญการขับรถบนที่สูงแล้ว รถกระบะแรงดี พอถึงหน้าฝน ถนนเข้าหมู่บ้านมีแต่ดินเบน รถกระบะยังถูกดัดแปลงเอาโซ่พันล้อ ให้วิ่งได้ราวรถตีนตะขาบ ตะกุยดินเลนได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เมื่อสิบกว่าปีมานี้ รถกระบะจึงกลายเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง และยิ่งกว่านั้นคือ รถกระบะกลายเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม รถกระบะถูกใช้เป็นพาหนะบรรทุกคนและถังน้ำเล่นสาดน้ำกันในช่วงสงกรานต์ นั่นเป็นภาพที่เห็นกันทั่วไป
นอกจากนั้น สักสิบปีมานี้ ยังมีการดัดแปลงรถกระบะติดเครื่องเสียง เปิดเสียงดังชนิดจะเรียกเผื่อแผ่หรือยัดเยียดเพื่อนร่วมท้องถนนก็แล้วแต่มุมมอง แต่ชมรมคนรักเครื่องเสียงติดท้ายรถกระบะก็สร้างวัฒนธรรมการใช้รถพ่วงไปกับรสนิยมการฟังเพลงเน้นจังหวะและการเต้นท้ายรถกระบะ งานมอร์เตอร์โชว์ไทยจึงไม่เหมือนที่ไหนในโลก ที่รถกระบะกลายเป็นสื่อทางเพศแบบเน้นผู้ชายมองเรือนร่างผู้หญิงยิ่งกว่ารถเก๋ง ใครจะชอบหรือไม่ชอบวัฒนธรรมแบบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
หากเห็นว่าการใช้รถกระบะอย่างทุกวันนี้เป็นความผิดเพี้ยน มันก็ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวกันมาตั้งแต่โครงสร้างการจัดการการคมนาคม และเหนืออื่นใดคือความด้อยประสิทธิภาพของรัฐในการจัดการนโยบายการขนส่งนั่นแหละ แทนที่จะมาไล่เบี้ยเล่นงานแต่กับคนรายได้จำกัด สู้เอาสมองไปคิดถึงการจัดการเรื่องใหญ่ๆ ไม่ดีกว่าเหรอครับ หรือเพราะไม่เคยถูกฝึกให้คิดเรื่องใหญ่ ถูกฝึกให้ใช้แต่กำลัง ก็เลยเห็นแต่วิธีแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม