Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

แสงดาว ศรัทธามั่น
* @ " ปุ๋ ย ... นั น ท โ ช ติ  ชั ย รั ต น์ "เพื่อนแจ่มชัด สู้เพื่อโลก - ประชาชนได้สุขสันต์พริ้มบทเพลงกล่อมเห่เป็นนิรันดร์พลิ้วเพลงฝันกล่อมโลก กล่อมชีวี- - - ชั่วชีวาแห่งเธอแกร่งกล้างามเสมอนั้นเหลือที่คุณค่า คงมั่น หยัดยืน ณ ปฐพีร่วม " ลุ ก ขึ้ น สู้ " เพื่อพี่น้องผู้ถูกกดขี่ ... ประชาชน... เ ธ อ มี จิ ตวิ ญ ญา ณ สะอาดสดใสงา ม ด ว ง ใ จ เ จิ ด จ้าแจ่มเหลือล้นแห่งเพื่อนพี่น้อง " ส มั ช ชา ค น จ น "เพื่อ ผู้ทุกข์ทน ทุกข์ยาก ได้กำ ชั ย !!!... พริ้ มตาหลับลงเถิด เพื่อนแก้วเอ๋ยสายลมโชยพัดรำเพย อวยพรให้ผีเสื้อ แมลงปอ แล ดอกไม้โ ล ก เ อ กภ พ จั ก ร วาล ฉ่ำไล้ โอบกอด เ ธ อ** จิ ต วิ ญญา ณ- เ ธ อ - ฉัน - นั้นคงอยู่นามนักสู้คงมั่นแกร่งเสมอแม้ พรากจากหัวใจ ยังเจอะเจอพบกันเน้อ ชาติใหม่ ... I L O V E Y O U ! ! !คารวะอาลัยแด่ .."ปุ๋ ย + ลูก ลำ น้ำ"* อ้าย "แ ส ง ดา ว  ศ รั ท ธา มั่ น"** อ้าย "ไ พ ฑู ร ย์  พ ร ห ม วิ จิ ต ร"คิมหันตฤดู , "สุดสะแนน" , 2 พ.ค. 51 , ล้านนาอิสระ , เจียงใหม่
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
..........‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อยหลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทางจุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ ล่องไปตามลำน้ำสาละวินซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่เรือขนควาย(เรือขนสินค้าและสัตว์ขนาดใหญ่ไปขายยังหมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย-พม่า) ขนาดบรรทุก 100 คน 3 ลำและเรือเร็วอีก 1 ลำ รออยู่ที่ท่า อากาศต้นฤดูฝนอบอ้าวปนชื้นเล็กน้อย ผู้ร่วมงานเริ่มทยอยกันลงเรือ เฉลี่ยลำละ 50-80 คน รวมเรือเร็ว อีก 30 คน คำนวณจากสายตาไม่น่าจะต่ำกว่า 300 คนนั่นหมายถึง ความสำคัญของพิธีการอันยิ่งใหญ่นี้แม่น้ำสาละวิน ถูกบันทึกเอาไว้ว่าเป็นแม่น้ำสายนานาชาติ ยาวกว่า 2,820 กิโลเมตร เริ่มจากสายธารน้ำแข็งเล็กๆ บนเทือกเขาหิมาลัยในเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ลัดเลาะผ่านหุบเขาน้อยใหญ่ในมณฑลยูนนาน เข้าสู่รัฐฉาน รัฐกะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง กั้นเส้นพรมแดนระหว่างไทย-พม่า ก่อนวกกลับเข้าพม่าอีกครั้งและไหลลงสู่ทะเลอันดามันบริเวณเมืองมะละแหม่ง ทั้งหมดนี้ หมายถึง แม่น้ำสายยาวอันดับที่ 26 ของโลกเฉพาะจุดพรมแดนไทย-พม่า ลุ่มน้ำแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 127 กิโลเมตร ไหลผ่านอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำสาขาสายใหญ่ที่คนไทยคุ้นเคย อย่างเช่น แม่น้ำปาย แม่น้ำเงา แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย แม่น้ำสุริยะและแม่น้ำกษัตริย์ ใน จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่และพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน..........
กวีประชาไท
ที่มาภาพ : Prachatai Burma, http://www.freeburmarangers.org, http://www.siamintelligence.com
ที่ว่างและเวลา
อัจฉริยา  เนตรเชยเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (แต่ใครเลยจะรู้ว่าควายที่เป็นแรงงานสำคัญในการทำนาขั้นบันไดของชาวม้งดำและเย้าแดงตายไปหลายตัวเพราะทนต่อความหนาวเหน็บไม่ไหว ทำให้คนเย้าแดงที่ไม่เคยรู้จักคำว่าหนี้สินต้องเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตร 10 ล้านด่อง หรือประมาณ 21,250 บาท เพื่อซื้อรถไถนาเดินตามขนาดเล็กกว่าคูโบต้าบ้านเราถึง 1 ใน 3 หรือราคาเท่ากับลูกควายน้อย 1 ตัว มาแทน แถมยังต้องฝึกใช้อย่างล้มลุกคลุกคลานในขี้ตมท่ามกลางกำลังใจของเพื่อนบ้านรอบๆคันนานับสิบคน)ในฐานะที่เป็นผู้กระหายในการทำวิจัยเรื่อง “ตลาดๆ” โดยเฉพาะเรื่องผ้าทอพื้นเมือง ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตื่นตาตื่นใจในสีสัน ชีวิตชีวา และการเอ็กเซอร์ไซพาวเวอร์ของผู้คนในตลาดผ้าแห่งซาปานี้ อย่างบอกไม่ถูก หลายครั้งในฐานะ “A Shopping Sociologist” ผู้คลั่งไคล้ในผ้าทอพื้นเมือง (ตามที่นักวิชาการเวียดนามคนหนึ่งให้ฉายาไว้) ก็อดเข้าไป “เอ็กเซอร์ไซด์อำนาจ (และความรัก)” กับผู้คนในตลาดผ้าของที่นี่ไม่ได้ ความประทับใจในตลาดผ้าของผู้เขียนเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ทันที่จะได้ลงจากรถบัสไปยังโรงแรมที่พักเลย (เนื่องจากรถบัสต้องไปส่งฝรั่งหลายคนที่พักอยู่ใกล้เส้นทางก่อน) เมื่อฝรั่งลงจากรถ เสียงม้งดำหลายคนที่หอบผ้าทอเอาไว้ต่าง “สปี๊กอิงลิช” กันเป็นต่อยหอย ตั้งแต่ Hello! What is your name? Where are you from? Do you want to buy (the goods for) me? และถ้าฝรั่งผู้ใดหันไปเชยชมสินค้าแม้แต่มองหรือจับดู ฝรั่งผู้นั้นก็จะถูกรุม(ล้อม)จากม้งดำหลายคน ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากที่ไหน มาอย่างรวดเร็ว จนฝรั่งเกือบดิ้นหลุดไปไม่ได้ (โปรดดูภาพแรก) ต้อง “โชว์ พาวเวอร์” โดยใช้สีหน้าแบบทำหน้าตายๆ หรือแบบหมดแรง หรือทำหน้าเข้มๆ เหี้ยมๆ อย่างไร้ความปรานีว่า “ฉันไม่ต้องการ” จึงจะหลุดออกไปได้
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลินในฐานะผู้ทำลายประชาธิปไตยให้บ่อย)อำนาจจากปากกระบอกปืนภายใต้บรรยากาศรัฐประหาร แม้อาจไม่ขู่เข็ญกันตรง ๆ  แต่ก็ทำให้นักข่าว/คอลัมนิสต์ ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์หรือทำการเซ็นเซอร์ตัวเอง เคยมีสักครั้งไหมเล่าที่สื่อมวลชนอย่างเครือเนชั่น มติชน หรือไทยโพสต์ รวมตัวกันออกแถลงการณ์เพื่อประณามการแทรกแซงและคุกคามสื่อแบบเดียวกับที่ทำรัฐบาลประชาธิปไตยอย่างรัฐบาลทักษิณ หรือรัฐบาลสมัคร (ช่างเป็นสื่อที่คงเส้นคงวาเสียจริงๆ)
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/ความชั่ว เท่านั้น“ธรรม” แห่งพระพุทธองค์ไม่ได้เลือกว่า คนๆ นั้นจะสนใจอะไรในการทำความดี คำว่า “กระแส” สำหรับพี่จึงเท่ากับ “ฮิต” อย่างเช่น กระแสสังคมที่มองว่าวัยรุ่น “เปราะบาง” ป้อนสิ่งใดเข้าไปก็รับง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องไม่ดี  ที่ทำให้ผู้ใหญ่ตกใจและตื่นเต้นมากมาย สิ่งเหล่านี้เห็นอยู่ในหน้าข่าวบ่อยๆข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ข่าวดีของเด็กมักไม่เป็นที่สนใจและกล่าวถึง ทั้งๆ ที่มีข่าวดีๆ อยู่มาก อย่างเช่น การสอบเข้าเรียนต่อ การได้รับทุนการศึกษา เด็กที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน ฯลฯ แต่ข่าวที่ได้รับความสนใจกลับเป็นเรื่องเด็กวัยรุ่นกระทำความรุนแรง หรือตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำความรุนแรง กลับได้รับความสนใจอย่างมากมาย เช่น เด็กติดเกม เด็กตบตีกันแล้วถ่ายเป็นคลิปมือถือ...แล้วคนรุ่นก่อนหน้านี้ ไม่เคยกระทำความรุนแรงต่อกันเลยหรืออย่างไร ทำไมจึงกล่าวร้ายเฉพาะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้เท่านั้น
รวิวาร
สีแดงมาจากไหน  ล่องหนอยู่ในน่านฟ้าหรือ?...  เริ่มละเลงลงบนใบหูกวาง ชมพูแซมแทรกด้วยแดง  ระบายจุดสีคล้ำตามใบ ก่อนเคลือบด้วยน้ำตาล  ฤดูกาลคืบคลานมาช้า ๆ  อากาศอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ  จนกระทั่งถึงขีดสุดกลางเดือนเมษาฯเหยี่ยวดำคู่ผัวเมียแห่งเชิงผาหายไปไม่รู้เนื้อรู้ตัว  ดุเหว่าร่อนร้องทั้งยามเช้าและเวลาเย็น ...กาเว๊า ๆ   เหยี่ยวทุ่งสีขาวเทาเยี่ยมหน้า  โฉบร่อนตามแนวถนน  บนกิ่งไม้และเหนือทุ่ง   ผืนดินเริ่มแห้ง  ต้นหญ้าสลดเฉาดุจเดียวกับพืชผล  มะเขือเทศข้างร่องน้ำผลิลูกเล็ก ๆ สีอ่อน ไม่ทันไรก็สุกแดง แห้งเหี่ยวหมดทั้งต้น   ฟักทองลูกสุดท้ายสุกเหลืองก่อนโตเต็มขนาดไล่เลี่ยกับแคแสดดอกบานเบ้อเริ่มตามขอบทุ่ง  กัลปพฤกษ์ในดวงใจชมพูสะพรั่งที่โน่นที่นี่   ดอกไม้อะไรอย่างนี้  ตลอดปีมีเพียงใบเขียว ๆ กับฝักเก่าๆ แขวนระย้า  เมื่อมีนาคมปรบมือเรียกฤดูร้อนย่างกรายมา  รากและลำต้นก็ไหวตัว กระซิบบอกเนื้อเยื่อ  สั่ง ‘ชีวิต’ ที่อยู่ภายใน...ได้เวลาผลิดอกแล้ว  สีชมพูถูกส่งมาแล้ว  แล้วเมื่อดอกสีชมพูบานพราวออกมาพร้อมกัน คุณเคยเห็นไหม?  ภาพพีชบล็อสซัมในชุดสวนผลไม้เบ่งบานของแวนโกะห์   ต้นไม้สีชมพูที่ส่องสว่างไปทั่วบริเวณ   สีสันของมันส่งความรู้สึกมายังเรา เลยไปถึงฟากฟ้า  พื้นถนน และแมกไม้ใกล้ ๆ  บนภูเขามีดอกเสี้ยวขาว  ขณะใบไม้มากมายถูกบ่มด้วยแสงแดดและความร้อน จนกระทั่งผืนป่าเขียวสดเปลี่ยนเป็นสีแดงอ่อนแก่ และน้ำตาล  ไม้ป่าที่ออกดอกหน้าร้อนทยอยผลิช่อ  เป็นดอกไม้ขาวหรือเหลืองละออ  รวมทั้งเถาช่อชมพูฝาดเลื้อยพัน
วาดวลี
ฝนยังโปรยลงมาไม่ขาดสาย แม้จะเพิ่งผ่านเดือนเมษายนมาได้ไม่เท่าไหร่  ท้องทุ่งฉ่ำไปด้วยฝนและดูจะมากไปจนน่าวิตก ลานกว้างหน้าบ้านของยายปลีวันนี้จึงไม่มีเด็กๆ มาวิ่งเล่น แต่หลบฝนกันไปวาดรูปเล่นอยู่ตรงชานเรือน หลานอีกคนทำหน้าตาเบื่อเพราะอยากออกไปเที่ยวเล่นบ้านเพื่อน นี่เป็นวันธรรมดาที่อาจมีทั้งความหมายหรือไม่มี สำหรับยายปลี เพราะหลังจากแกเก็บผ้าเข้าไปตากใต้ยุ้งข้าวเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมานั่งอยู่ประจำที่ อยู่กับเครื่องทอด้ายแบบสมัยโบราณ มันทำจากไม้ และไม่รู้ว่ามันมีอายุมาแล้วเท่าไหร่
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” เป็นบันทึกของนักจิตวิทยาที่ทำการบำบัดเด็กที่ถูกคุณครูและใครต่อใครมองว่า  ”มีปัญหา” แม้แต่พ่อแม่ของเขาเองพฤติกรรมที่ไม่คงที่ของดิบส์ทำให้เขาดูคล้ายจะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาไม่สมบูรณ์ แต่บางครั้งก็ดูเป็นเด็กเฉลียวฉลาดกว่าใครอื่น เมื่อไหร่ที่ดิบส์คิดว่ามีคนกำลังจ้องมองเขาอยู่ เขาก็จะก้มหน้า ม้วนตัวหลบทันที และมักจะคลานไปรอบ ๆ ห้อง แล้วก็หลบอยู่ใต้โต๊ะ โยกตัวไปมา เคี้ยวมือหรือดูดนิ้วหัวแม่มือ ถ้ามีคุณครูหรือเด็กคนอื่น ๆ เข้าไปยุ่งด้วย เขาจะทิ้งตัวลงกับพื้นและนอนคว่ำหน้าแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น ไม่สนใจใครหรือสิ่งรอบตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ราวกับว่าโลกนี้ช่างโหดร้ายและไม่เป็นมิตรเอาเสียเลยคณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่ดิบส์เรียนอยู่มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับดิบส์ เมื่อผู้ปกครองของนักเรียนคนอื่น ๆ แสดงความไม่พอใจที่มีดิบส์เข้ามาอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เด็ก ๆ คนอื่นถูกดิบส์ข่วนและกัดเอา ๆ
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน วัฒนธรรมของทั้งสองชาติพันธุ์ต่างดำรงอยู่ และได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย วันตรุษจีนได้กลายเป็น “เทศกาลตรุษจีน” ที่มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เป็นการเฉลิมฉลองที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุน เพราะเทศกาลดังกล่าวนำมาซึ่งรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชม และถึงแม้จะไม่มีเทศกาลตรุษจีนที่ยิ่งใหญ่เยี่ยงนั้น สังคมไทยก็คุ้นเคยกับอัตลักษณ์จีนมาเป็นเวลายาวนาน ดังเช่นการที่แทบจะไม่มีคนใดในกรุงเทพที่ไม่รู้จักเยาวราชอันเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์จีน และเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยร้านค้าที่มีป้ายทั้งภาษาไทยและภาษาจีนกำกับ ในกรุงเทพและอีกหลายๆ จังหวัดก็มีโรงเรียนจีนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่สอนหนังสือจีนให้กับลูกหลานจีนในเมืองไทย ดังนี้แล้ว อาจกล่าวได้ว่าคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์จีนยังคงดำรงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์แห่งตน และอัตลักษณ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ คนมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คนมอญเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทในการรับใช้ราชสำนักในฐานะกองกำลัง ศิลปวัฒนธรรมมอญก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมไทย ดังเช่นการที่ปี่พาทย์มอญก็ได้กลายเป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าดนตรีไทย ข้าวแช่ ซึ่งเป็นการหุงข้าวเพื่อบูชาเทวดาในช่วงสงกรานต์ของมอญ ก็ได้กลายมาเป็นอาหารไทย เป็นต้น และที่สำคัญยิ่ง สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีเชื้อสายมอญ ราชสกุล และตระกูลต่างๆ ในสังคมไทยจำนวนไม่น้อย อาทิ ราชสกุลกฤดากร ราชสกุลกุญชร ราชสกุลทินกร ราชสกุลฉัตรชัย ตระกูลคชเสนี ตระกูล ณ บางช้าง ฯลฯ ต่างมีเชื้อสายมอญจะเห็นได้ว่าคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญดำรงอยู่ในสังคมไทยมานับหลายร้อยปี อัตลักษณ์มอญก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทยในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์จีน อย่างไรก็ดี “วันตรุษจีน” และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ในปีนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดคำถามในเรื่อง “ท่าที” ของ “รัฐไทย” ที่มีต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายที่ดำรงอยู่ในสังคม
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
เด็กสาวทำงานแต่งกายในชุดส่าหรีสีสดเทินกิ่งไม้ไว้บนศีรษะกำลังเดินกลับบ้าน ลูกลิงแสนซนที่ปีนป่ายลูกกรง หญิงชราผู้ค่อยๆ ต่อยก้อนหินให้แตกออกจนเป็นกรวดด้วยมือเปล่า รถสามล้อเก่าผุพังในสีขาวดำ สวามีผู้เร้นกายขึ้นไปปลีกวิเวกอยู่ในถ้ำเล็กๆ เหนือบันไดเจ็ดร้อยขั้น หนุ่มช้ำรักผู้ทำท่าเบื่อโลกนั่งอยู่หน้าโรงหนัง...
ชนกลุ่มน้อย
แม่บอกว่า  ล้างข้าวสารหลายน้ำหน่อย  ผมรับหม้อข้าวจากมือแม่  ด้วยอยากช่วยแม่หุงข้าว  แม่กรอกหม้อมาเรียบร้อยแล้ว  เหลือเพียงนำไปใส่น้ำ   ผมพูดกับแม่ทันที  ไม่ล้างจะดีกว่ามั้ย  เพราะข้าวขาวเหลือแต่แกน  เมล็ดผอม  ขัดสีผิวจนเมล็ดขาวนวล   ตามความเข้าใจที่ว่า  วิตามินในข้าวจะหายไป   แต่แม่ตอบกลับมาว่า  ข้าวสารสมัยนี้ ไม่ใช่ข้าวสารสมัยก่อน    แม่ชี้ให้ดูกระสอบข้าวสาร  หนึ่งกระสอบปุ๋ยราคาหลายร้อยบาท  ผมดูตัวหนังสือข้างถุง  บอกวันเดือนปีที่ผลิต  ชื่อพันธุ์ข้าว จังหวัดที่ผลิต  เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนล่าง   เรากำลังกินข้าวสารจากภาคกลางจริงๆ   มันเดินทางมาไกลเหลือเกิน   กว่าจะถึงเรือนชานบ้านแม่ผมจะดม  แม่ไม่ให้ดมนานๆผมแปลกใจ  เราวางใจเมล็ดข้าวได้น้อยถึงเพียงนี้เชียวหรือ เราเคยแต่กรอกข้าวสารเข้าปากเคี้ยวหมับๆ ดิบๆ จนเป็นแป้งหวานๆ มันๆ ก็บ่อย   แต่ต้องไม่ใช่ข้าวที่มากับกระสอบ

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม