Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยการกระทำของพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ที่พยายามแบ่งแยกประชาชนอย่างแท้จริงปีนี้ลุงอายุเจ็ดสิบแปด ลุงสนใจร่วมกิจกรรมด้านสังคมอยู่ตลอดเวลาว่า  ฉันถามลุงว่าต่อจากนี้ไป ลุงจะทำอะไรต่อไป ลุงคิดอย่างไรลุงส่ายหน้า ก่อนจะตอบว่า อยู่เฉย ๆ มีหลายคนตอบว่าจะอยู่เฉย ๆ บางคนถึงขั้นว่า ไม่ทำกิจกรรมใด ๆ อีกแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเมือง ลุงคิดเช่นนั้นเหมือนกันหรือวันนี้ลุงไม่พูด แต่เอารูปตัวเองเมื่อครั้งยังอยู่ในวัยใกล้สี่สิบขึ้นมาให้ดู และบอกว่า เป็นช่วงที่ลุงได้เล่นละครเป็นพระเอก ฉันไม่เคยเห็นรูปของลุงเลย  และไม่เคยรู้เรื่องราวแต่หนหลังของลุง เพราะมัวแต่ชวนคุยเรื่องที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา
แพ็ท โรเจ้อร์
เป็นที่รู้กันว่ามีการสูญเสียของพระบรมวงศ์ระดับสูงในช่วงหลังปีใหม่ที่ผ่านมา เล่นเอาหลายคนต้องขุดชุดดำขึ้นมาใส่แทบไม่ทัน เพราะผู้เขียนไม่เคยมีชุดดำกับเค้ามาก่อน เสื้อเชิ้ตขาวก็ไม่เคยมีมากว่า 10 ปีแล้ว เพราะอยู่เมืองนอกก็ไม่ได้ไปงานศพใคร ทั้งเป็นคนชอบเสื้อสีๆ นอกจากนี้ก็มองว่าสีดำทำให้ร้อนเนื่องจากดูดความร้อนง่าย การเป็นคนขี้ร้อนจึงเลี่ยงชุดทางการที่มีสีดำ ส่วนสีขาวนั้นไม่ชอบมาแต่ไหน เพราะเป็นคนไม่ค่อยระวังตัว เปรอะเปื้อนง่าย การใส่เสื้อขาวตอนเป็นนักเรียนนี่ทำให้ทางบ้านปวดหัวมาตลอดเพราะขาวเป็นดำปี๋ทุกครั้งที่ถึงบ้าน โชคดีที่มีเสื้อทับข้างนอกแบบลำลองเป็นสีดำ จึงสวมทับแก้ขัดไปก่อน และใส่เชิ้ตสีเบาๆ (ปกติชอบสีแบบชมพู ฟ้า เขียว แบบเข้มๆ) ดังนั้น จึงสั่งตัดชุดขาว-ดำ ในการนี้ไป 3 ชุด จะเสร็จในสองอาทิตย์ข้างหน้า และกะว่าจะใส่ให้ติดเป็นนิสัยด้วย ใส่ให้คุ้ม ถ้าหากถามว่าทำไมไม่วิ่งซื้อ ก็ต้องบอกว่า ไม่มีขนาดของตนเองวางขายในเมืองไทย เนื่องจากคนไทยตัวเล็กมาก พูดถึงขนาดเสื้อผ้าและรองเท้า ขนาดของผู้เขียนหาได้ไม่ยากในสหรัฐฯ เดินไปไหนก็เจอ แต่ในเมืองไทยนั้นถือเป็นเรื่องยุ่งยาก แม้ว่าป่านนี้แล้วจะมีคนต่างชาติขนาดตัวเบ้งๆ มาในประเทศไทยมากขึ้น แต่ก็ไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก อย่างเสื้อผ้านี้ถึงจะมีบ้าง ก็แพงเกินไป และไม่คุ้มค่า การตัดเสื้อผ้าใส่แบบที่เรียกว่า เทย์เล่อร์-เมด นั้น ถูกกว่าและช่วยสร้างงานในระดับชาวบ้านมากกว่า ช่างตัดเสื้อที่เป็นเจ้าประจำก็มีมากว่า 26 ปีแล้ว ตัดกันตั้งแต่ช่างไม่มีลูก จนลูกจบ ป.ตรีไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในประเทศนี้ก็มีอะไรที่เป็นปัญหากับคนที่ “ต่าง” กับกระแสหลัก นับตั้งแต่เรื่องเสื้อผ้า อาหาร ไปจนถึงเรื่อง “ระบบการคิด” “ความเชื่อ” ว่าไปแล้วพาลให้นึกถึงเมืองบ้านนอกในสหรัฐฯ ที่ด้อยพัฒนาเรื่อง “ระบบความคิด” เพราะมีแต่คนในกระแสหลักที่ต่ำช้าทางปัญญา ขาดเหตุผลในการตริตรอง นักวิชาการในเมืองถึงกับระอากับความคิดที่ไม่เคยเปลี่ยนของกระแสหลักตรงนั้น ในวันนี้สังคมตรงนั้นก็ไม่ได้เปลี่ยน ตามที่เพื่อนๆที่ยังอยู่ที่นั่นเล่ามา ผู้เขียนเชื่อว่าวันหนึ่งเมืองนี้ก็คงเน่าตายเพราะขาดแนวคิดที่เป็นพลวัตร และมหาวิทยาลัยเล็กๆ ตรงนั้นก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเพราะคนไม่มาเรียน  ฉันใดก็ฉันนั้น  การเปลี่ยนแปลงถือเป็นเรื่องปกติและเลี่ยงไม่ได้ จะมาช้าหรือเร็ว จะมาแบบรู้ตัวก่อนหรือแบบจู่โจม และเป็นแบบที่เราพอใจหรือไม่พอใจ วันหนึ่งมันก็ต้องมา เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าผลที่จะเกิดตามมาเป็นอย่างไร  สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงแบบตะบี้ตะบัน ไม่ฟังเหตุผล ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่ากลัวว่าตนจะสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นระดับล่างหรือระดับบนก็เป็นเช่นนี้ได้ สังคมไทยในช่วงระยะไม่เกิน 2 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง จะเปลี่ยนแบบถอยหน้าหรือ ถอยหลังก็ตาม ถือว่าเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น หลายคนไม่พอใจและมองว่าสังคมไทยกำลังถอยหลัง ลดความเป็นประชาธิปไตย หลายคนบอกว่านี่แหละคือการตั้งหลักใหม่ เพื่อที่จะพร้อมในการก้าวเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงหนักแน่น และมีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต  เอาเป็นว่าตอบไม่ได้เอาเสียเลย  ในส่วนตัวผู้เขียนแล้วดูตุ้มๆต่อมๆ ลุ้นระทึกอยู่ทุกวัน ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้น เค้าพูดเรื่องประชาธิปไตยเดียวกันรึไม่ และต่างคนต่างมีอะไรในใจขนาดไหน  คนที่จะเดือดร้อนที่สุดก็คือคนไม่รู้เรื่องอะไรเลยนั่นแหละ หนำซ้ำยิ่งเรื่องมากๆเข้า คนพวกนี้พาลจะบอกต่อไปอีกว่าไม่อยากรู้เรื่องเข้าไปเสียอีก ในองค์การต่างๆในเมืองไทยก็ไม่ได้ต่างกับสังคมไทยกรอบใหญ่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรออยู่เบื้องหน้าทุกวัน แต่ที่น่าโศกสลดคือ พนักงานในองค์การไม่ได้มองอะไรมากไปกว่าการเอาใจหัวหน้างาน ยิ่งใหญ่โตมากเท่าไร ไม่มีใครกล้างัดข้อ ไม่ต้องเอาแบบเงียบๆหรอก แค่จะคิดยังไม่ค่อยกล้าเลย เพราะกลัวว่าจะโดนเด้ง โดนย้าย ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะระบบ “อำนาจนิยม” แบบไพร่-นายในระบบดึกดำบรรพ์ของไทยที่แฝงไปทุกอณูขององค์การ การรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหางจึงเป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ (บางครั้งผู้เขียนเองก็ต้องเรียนรู้ระบบแบบนี้ด้วย) ในขณะเดียวกันหัวหน้างานก็ต้องสนองความจงรักภักดีเหล่านี้ด้วยการบำเหน็จรางวัล หัวหน้างานหลายคนทนที่จะมีคนไม่เก่ง ไม่เอาไหนอยู่รอบข้างตนเอง เพราะว่าดีกว่าเอาคนเก่งแต่ไม่ก้มหัวให้หัวหน้างานเพราะไม่ชอบโดนท้าทาย ทางสายกลางไม่มี คือไม่มีคนที่รู้บทบาทว่าการเป็นหัวหน้างานที่ดี และลูกน้องที่ดีควรเป็นเช่นไร มีแต่กระบวนการอำนาจนิยม ความเป็นไพร่-นาย และ “ระบบอุปถัมภ์” ที่ฝังแน่นจนทำอย่างไรก็แงะไม่ออกสังคมองค์การไทยจึงเต็มไปด้วยการนิ่งอยู่กับที่ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่หัวหน้างานนำเข้ามาหลายครั้งจึงไม่ได้เรื่อง ไม่สำเร็จ เพราะมีการต่อต้านเองในระดับหัวหน้างานและลูกน้อง นอกเหนือจากหัวหน้างานเองที่หลงมัวเมาในอำนาจแล้ว ก็มีบรรดาขุนพลอยพยักคอยเสริมเจ้านายไปเรื่อยๆ เพื่อให้ตนเองดำรงอยู่ได้ในการเปลี่ยนแปลงเพราะเป็นคนสนิท เหมือนสุนัขที่เดินเลียแข้งเลียขาเจ้านาย เพื่อให้มีข้าวกินไปวันๆในเมื่อสังคมขาดการ “ตรวจสอบ” และนโยบายการปฏิบัติงานที่ “โปร่งใส” ในการทำงาน ไม่ว่าสังคมระดับชาติหรือระดับองค์การจึงไปไหนไม่ได้ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ การตรวจสอบเองก็ยังมีการ “ฮั้ว” กันอีก ระบบทั้งหลายทั้งมวลจึงยิ่งตกต่ำไปอีกจนไม่รู้จะทำอย่างไรกันแล้วตอนนี้ได้แต่สงสารคนรุ่นต่อไปในสังคมไทยที่ว่าจะเหลืออะไรให้กินให้ใช้ เพราะคนรุ่นก่อนทำลายไว้จนไม่เหลือซาก ได้แต่มองอย่างเสียดายและถอนหายใจด้วยความรันทดอย่างที่สุด  
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,วิถีแห่งเต๋า พจนา จันทรสันติแปลและเรียบเรียง,สำนักพิมพ์เคล็ดไทย 2535)
ภู เชียงดาว
เย็นลมเหนือพัดโชยผ่านกิ่งไม้ เย็นเยียบเย็นตะวันโผล่พ้นฉายแสงเช้าละมุนอุ่นอ่อนหากชีวิตหลายชีวิตโหยหา หวนหาความงามครั้งเก่าก่อนแม้ผ่านนานหลายนาน กี่เดือนปี ความหลังยังคงกรุ่นกลิ่นหอมนิ่งฟังสิ- -คล้ายยินเสียงนางฟ้าครวญเพลงแว่วมาแต่ไกลยังจดจำภาพเธอติดตาอยู่เสมอนะนางฟ้าเธอผู้มีดวงตาสุกใสในวัยเยาว์ฝันแก้มเธอเปล่งปลั่งดั่งดอกไม้สีชมพูแย้มผลิหวานงามแสนงามในนามของความรักที่เธอโปรยปรายแจกจ่ายให้ทุกคนคราพบเห็นยัง เป็น อยู่ เช่นนั้นใช่ไหม...นางฟ้าจากเช้า สู่บ่าย ล่วงลับเย็นยามตะวันอำลาลับขอบเขาตะวันตก...ในเงียบนั้นเรามองเห็นแสงงามอยู่กลางทุ่งเมฆฝันยังระบำร่ายรำฝันอยู่อย่างนั้นเช่นเดิมอยู่ใช่ไหม...นางฟ้าเหมือนมืออันอ่อนนุ่มของเธอกำลังถือพู่กันระบัดปาดป่ายแต้มแต่งสีระบายทุ่งเมฆพราวหลากสีสันอา...นางฟ้าตัวน้อย... ฉันยังมองเห็นเธอ...นางฟ้าสีขาวผู้ระบายสีแห่งทุ่งเมฆฝัน. หมายเหตุ : ผมอ่านบทกวีชิ้นนี้ในเช้าวันที่ 29 ธ.ค.ที่ผ่านมา ณ สุสานหลิ่งกอก ซ.วัดอุโมงค์ เมืองเชียงใหม่เนื่องในวันครบ 7 ปีรำลึกการจากไปของ น้องพอวา รัตนภิมลสนใจ ทดลองฟังบทกวีในเสียงเพลง ชุด ‘นางฟ้าสีขาวกับรอยเท้าพระจันทร์’ของ ‘สุวิชานนท์ รันตภิมล’ สดๆ ร้อนๆ ได้ที่... http://non.banleng.com  
วาดวลี
ฉันกับเพื่อนหย่อนก้นบนเก้าอี้ไม้ริมถนนของเมืองเชียงของ เราสั่งชานม ชามะนาว และกาแฟมากินให้สดชื่นหลังจากนั่งรถมาเป็นชั่วโมง มองดูผู้คนมาเยือนสวนทางกับเจ้าของท้องถิ่นไปมาในวันหยุด"เรากำลังจะไปที่ไหนต่อ"เพื่อนร่วมทางถามฉัน ฉันเหลือบมองเขา ไม่ตอบ แล้วคว้าหนังสืออ่านเล่นในร้านกาแฟมาเปิดอ่าน เราเพิ่งมาถึง แล้วจะไปไหน เธอถามแปลกจัง ฉันอยากตอบเล่นๆ ว่า เดี๋ยวจะพาเธอไปลงว่ายน้ำโขงเล่นก็แล้วกัน"เราต้องไปกินปลาบึกไหม?"เพื่อนถาม ฉันเกือบสำลักชามะนาว “เธออยากกินเหรอ”ฉันถามกลับ เขาทำหน้าไม่ถูก แต่แววตาลังเล “ก็มีคนบอกว่ามาเชียงของต้องกินปลาบึก”ฉันอมยิ้ม ฉันก็ได้ยินแบบนั้นเหมือนกัน แต่เท่าที่รู้ ปลาบึกไม่มีในฤดูนี้หรอก น่าจะราวๆ เดือนเมษา พฤษภา แต่ถึงเวลานั้นจริงๆ เราก็อาจจะไม่มีปลาบึกกินหรอก มันหาง่ายที่ไหนล่ะ ฉันคิดของฉันแบบนี้ ปลาบึกที่เคยเห็นในรูปตัวโตมากๆ โตเท่าตัวเรา แล้วต้องใช้เวลาแค่ไหนกว่ามันจะโตขนาดนี้ ถ้าจับมันกินทุกปี มันจะแพร่พันธุ์ได้ทันหรือ
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์คดีจะจบอย่างไรไม่ทราบชัด เพราะไม่ค่อยได้สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับคดีเชยๆ หลงยุคเช่นนั้น ก็ตรองดูเถิด...ยุคนี้ พ.ศ.นี้ในบ้านในเมืองของเรา ยังจะปล่อยให้มีเรื่องอย่างนี้กันอยู่อีกหรือ? ยิ่งทราบจากบางคน ว่าเอาเข้าจริง คดีก็กลายเป็นเรื่องกลั่นแกล้งหรือเป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้ามกับตน(ทางความคิด?)ก็ยิ่งสลดสังเวชดีหน่อยที่ทั้ง 2 ท่าน เป็นคนมีชื่อเสียงและความสามารถสุดท้ายอำนาจรัฐก็ทำอะไรไม่ได้มาก ได้แต่กดดัน หรือข่มขู่ให้หวาดเกรงซึ่งพอเจอคนไม่กลัว ไม่แหยเข้า ก็ไปไม่เป็น ไม่ได้อะไรจากเรื่องที่ทำ สุดท้าย มาทราบว่าเว็บไซต์และเว็บบอร์ด "ฟ้าเดียวกัน"ก็มาโดนบีบให้เซิร์ฟเวอร์ปิด ไม่ยอมให้โฮสต์ข้อมูลโดยอ้างว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อย่างเดิม เพียงแต่คราวนี้รัฐไม่ได้ออกหน้าออกตาโดยตรง เหมือนที่ควรจะเป็นแต่กลับไปกดดันผ่านเอกชน ซึ่งก็ต้องห่วงใยหม้อข้าวของตนเป็นธรรมดา"ฟ้าเดียวกัน" เลยต้องยุ่งยาก มาหาเว็บบอร์ดใหม่ เพื่อรองรับสมาชิกที่ล้วนเป็นเสรีชน และประสงค์จะใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตน ในการแสดงทัศนะทั้งต่อกลุ่ม และต่อสาธารณะ ฟังดูก็ไม่น่าจะมีอะไรมากนอกไปจากความยุ่งยาก หรือลำบาก ที่ต้องเริ่มทำอะไรกันใหม่ๆแทนที่จะมีเวลาได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เรื่องปิดเว็บฯ ปิดเซิร์ฟเวอร์ หรือปิดโฮสต์ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก สำหรับผู้คนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต แต่ดูในรายละเอียด ที่ผู้ดูแลระบบ บอกว่า...ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เซิร์ฟเวอร์ จะหายไปกับการปิดโฮสต์นั้นฟังแล้วขัดๆ ชอบกล... ก็... ลองว่าตัว หรือกลุ่ม-พวกของตัว ทำกิจกรรมประเภทนี้ทำเว็บไซต์ เว็บบอร์ด ประเด็นร้อน-ประเด็นใหญ่ ทำนองนี้แล้วยังไม่ยอมแบคอัพข้อมูล หรือไม่มีฮาร์ดดิสก์สำรอง เพื่อรักษา "ข้อมูลสำคัญ"นี่สิ เป็นเรื่องแปลกแน่ๆ มิหนำซ้ำยังทำให้ดูอ่อนหัด-หน่อมแน้ม ชอบกลอยู่ ริจะเล่นกับไฟ ไม่เตรียมการ หรือเตรียมกายเตรียมใจไว้ให้พอควรจะรบชนะเขาได้ล่ะหรือ... แต่เอาเถอะนั่นมันเรื่องปลีกย่อย เรื่องเทคนิคเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ รู้ตัวว่าด้อย ว่าพลาด ก็แก้ไขเอา... เรื่องคน เรื่องหัวจิตหัวใจที่พร้อมจะสู้ ดูจะสำคัญกว่า ก็...อยากจะให้กำลังใจกับคนทำงาน "ฟ้าเดียวกัน"ว่า...ถ้าตนเชื่อ และศรัทธาในสิ่งที่ทำมีความตั้งใจจริง กับประเด็นใหญ่ๆ เกี่ยวกับเจ้า เกี่ยวกับบ้านกับเมืองก็คงต้องขอให้เข้มแข็ง และระมัดระวังทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต-ความคิด-สติปัญญา ตลอดจนฟูมฟักศรัทธาของตน ให้เพียงพอต่อการทำงานระดับนี้ หาไม่แล้ว งานก็จะไม่สำเร็จเป้าหมายสูงสุดก็ไปไม่ถึง แถมคนทำก็ทุกข์ยากลำบากยิ่งทำให้เสียเวลาขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนกับว่าการวิพากษ์วิจารณ์เช่นที่ "ฟ้าเดียวกัน" กระทำ จะยังได้รับความสนใจหรือได้รับการใส่ใจอยู่ไม่ใช่น้อย ก็ถือได้ว่ายังมีพวก ยังมีแฟนๆ คอยติดตามซึ่งหากผ่านร้อนผ่านหนาวไประดับหนึ่ง แล้วมีการสรุปบทเรียนกันอย่างจริงๆ จังๆ เสียบ้างก็น่าจะมีประโยชน์ และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางออกไป เรื่องการปิดหนังสือ ปิดเว็บไซต์ ปิดเว็บบอร์ด ว่าไปก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากใจอันเสรี ยังพร้อมจะแสวงหายังพร้อมจะโบยบินสู่ความจริง หรือทำสัจจะให้ปรากฏ คนบิดเบือนสัจจะคนทำลายช่องทางเข้าถึงสัจจะของมหาชนสิที่จะถูกปิดอย่างถาวรในที่สุด...
เงาศิลป์
“เจ้าสองตัวนี่ เป็นนักล่าที่เก่งกาจ ดูที่อุ้งตีนมันสิ ใหญ่กว่าหมาทั่วไป” ลุงเจนบอก เมื่อเราเดินเล่นไปจนถึงนาของแก เสียงลิ้นตวัดน้ำในสระดังขวับ ๆ ๆ เพราะความหิวกระหาย มันคงเหนื่อยอ่อนทีเดียวเพราะต้องเดินดั้นด้นมุดกอหญ้าที่ท่วมตัว ดีว่ามีกันสองตัวพี่น้องจึงพอสนุกสานหยอกล้อไล่กัดกันไปพลาง ชวนขุดหามดหาแมลงกินกันไปพลาง ระยะทางเกือบกิโลเมตรจึงพอเดินสบายๆ ในยามแดดร่มลมตกเช่นนี้ฉันมีเจ้าสองตัวเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขมาได้สิบกว่าวัน อายุของมันทั้งสองราวๆ 2 เดือนกว่า กำลังกินกำลังซนและมันทั้งคู่ต่างประกาศนิสัยส่วนตัวออกมาอย่างชัดเจน  เจ้าเสือตัวโตกว่าเพราะกินเก่งกว่า ขี้เล่น ห้าวหาญ ช่างประจบเจ้าเก๋า ตัวเล็ก ขี้ขลาด หวาดระแวง ไม่ชอบสุงสิง ไม่ชอบการถูกอุ้ม ไม่ชอบให้ใครมาตอแย ไม่ชอบคำสั่งใดๆทั้งหมด นอกจากคำว่า “มากินข้าว”เย็นวันหนึ่ง  ฉันเตรียมตัวจะกลับบ้านที่ใต้ จึงต้องหาของไปฝากคนที่บ้าน"ไปเก็บสมุนไพรกันเถอะ" ฉันเรียกเจ้าเพื่อนยาก ที่วิ่งไล่งับหลังกันอยู่ที่ลานบ้าน ส่วนใหญ่เจ้าเก๋าจะถูกเจ้าเสืองับ นานๆทีที่เจ้าเก๋าฮึดสู้กัดตอบ ...ก็มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิดแล้วนี่เราทั้งสามมุ่งหน้าไปทางท้ายไร่ แม้ว่าอากาศหนาวจะกระหน่ำสายมาเป็นระลอก ด้วยแสงอาทิตย์เริ่มโรยรา ฉันหมายตาเครือเถาว์"หนอนตายอยาก" เอาไว้นานแล้ว ฤดูหนาวเครือมันเริ่มเหี่ยวเฉาน่าขุดนัก หัวคงสมบูรณ์เต็มที่ มีใครบางคนเป็นมะเร็งในช่องปาก ได้รับการฉายแสงและกลับมาบ้านรักษาตัวเองด้วยยาสมุนไพร บอกว่าอยากได้พืชชนิดนี้ โชคดีที่ไร่ฉันมีอยู่ทั่วไป และโชคดีกว่านั้นคือเป็นชนิดตัวผู้ ที่หัวใหญ่กว่าตัวเมีย สรรพคุณทางยามีมากกว่า เดิมฉันขุดมาเพื่อทำน้ำสกัดชีวภาพฉีดไล่แมลงที่มากินพืชผัก ตอนนี้มีคนบอกว่ารักษาโรคมะเร็งได้จึงยินดีที่จะหาไปฝาก อ้อ...วันก่อน เมียตาเก้ เดินเล่นมาที่ไร่ บอกว่าแกเองก็กินยาตัวนี้รักษาโรคเบาหวานด้วย ..ฉันก็จดจำบันทึกไว้ในสมองนั่นแหละ เผื่อโอกาสต่อๆไปจะได้นำมาวิเคราะห์วิจัย เก็บเอาไว้เป็นสมบัติของโลกตะวันลับตีนฟ้าไปแล้ว แต่ฉันยังคงขุด ขุด และขุด เพราะเจอเข้ากับหัวสมบูรณ์มากมาย ยิ่งขุดยิ่งเจอ เจ้าสองตัว(ดี)วิ่งไปวิ่งมา ประเดี๋ยวหาย ประเดี๋ยวโผล่ ฉันต้องคอยเรียก เพราะเห็นมันทั้งคู่วิ่งไล่กันไปทางโคกป่าทำเล "หินแม่ช้าง" ป่าใหญ่ที่มีสัตว์ป่าอันตรายบางชนิดอาศัยอยู่เริ่มมองไม่เห็นหัวสมุนไพร ต้องใช้มือคลำ กวาดเก็บลงถุงพลาสติก เจ้าเสือนอนหอบแหง่กๆ อยู่ข้างหลุม แต่เจ้าเก๋าหายไป ฉันเริ่มกังวลใจเพราะรุ้ว่าพี่น้องร่วมท้องของพวกมันอีก 5 ตัว ถูกลากไปกินตั้งแต่นอนตัวแดงๆ ในดงอ้อยข้างเถียงนาตาลี  เพราะแม่มันไปออกลูกไว้ที่นั่นอะฮ้า ตายแน่ฉัน..."ตาลี" คงเล่นงานเอาแน่ ของรักของหวงของแกเสียด้วย เพราะว่าพ่อของเหล่าลูกหมา ก็เพิ่งเป็นไข้ตาย ที่แกยอมให้เอามาเลี้ยงเพราะสงสารที่ฉันต้องอยู่อย่างวิเวกวังเวงในยามค่ำคืน คนหรือสัตว์ร้ายเข้ามาในไร่ก็คงไม่รู้เรื่องถ้าไม่มีหมาเฝ้ายาม แต่ตอนนี้เจ้าเก๋าหายไป !!!"เก๋าเอ๊ยเก๋า เก๋าเอ๊ย" ฉันตะโกนเรียกเสียงดัง เจ้าเสือทำเสียงงี๊ดๆ อยู่ข้างเท้า ค่อยๆเบียดตัวเข้ามาชิดเอ...หรือว่ามันได้กลิ่นอันตราย ฉันได้ยินเสียงแปลกๆ เป็นเสียงที่แหลมๆเล็กๆ คล้ายเสียงแมวร้อง แว่วมาจากทางในป่า แต่ชาวบ้านบอกว่าถ้าเป็นหมาจิ้งจอก มันต้องร้อง จ๊อก ๆ ๆ ๆ นี่นา และมักจะออกมาหากินตอนดึกๆ เอาล่ะซี เจ้าเก๋า ซวยแล้วไหมล่ะฉันตะโกนเรียกซ้ำๆ อยู่หลายครั้งสักพักฉันได้ยินเสียงแกรกๆ ลากเท้าเบาๆเข้ามาใกล้ แต่เป็นคนทิศทางกับป่า...โธ่..เจ้าเก๋านะเจ้าเก๋า หายไปไหนมา ฉันโล่งอก เจ้าเสือดีใจจนกระโดดงับหลังเจ้าเก๋า ส่วนเจ้าเก๋ากระดิกหางกุดๆ ดุ๊กดิ๊ก ๆ ในความสลัว อย่างไม่รู้ประสา น่าตีนัก"กลับบ้านเหอะมืดแล้ว"  มืดค่ำจนแทบไม่เห็นทางเดิน เจ้าสองตัววิ่งสลับนำหน้าบ้าง ตามหลังฉันบ้างจนมาถึงบ้าน รู้สึกโล่งใจที่ไม่ต้องเสียหมาไปเพราะความโลภในยาสมุนไพรถ้ามันหายไปในตอนที่โตแล้ว ฉันอาจจะคิดว่า มันกลับเข้าไปสู่สังคมดั้งเดิมในรุ่นทวดของมัน  เพราะยังมีญาติเลือดนักล่าอยู่ในป่าหินแม่ช้างนั่นเองความเป็นนักล่าในตัวมันจึงไม่จางหาย แม้ตอนนี้ฉันจะเห็นแค่ว่า มันล่าได้เฉพาะมดตัวเล็กๆก็ตามอย่างหนึ่งที่ฉันรู้สึก เหมือนที่คนละแวกนี้เขารู้กัน คือ หมาชนิดนี้มีสัญญาณพิเศษที่ไม่ต้องใช้คำสั่งใดๆในการล่า เพราะมันจะสังเกตสิ่งแวดล้อม และจัดการทุกอย่างตามวิสัยล่าโดยตัวมันเองเช้าวันที่ฉันเตรียมตัวจะออกมาจากไร่ โดยไม่ได้บอกกล่าวอะไรมันเลย ทั้งสองตัวต่างนอนซึมนิ่งเงียบที่ลานบ้าน อย่างผิดปกติ และเมื่อลุงลีขับรถมอเตอร์ไซด์มาดูว่าฉันออกจากไร่หรือยังเจ้าเสือกระโดดกอดขาของแกแน่น เหมือนขอร้องให้พามันกลับไปด้วย ทันทีที่แกเลี้ยวรถออกไปจากไร่ มันทั้งคู่วิ่งไล่กวดรถลุงลีอย่างไม่ยอมเหลียวหลัง ฉันทั้งขำทั้งใจหายด้วยความสงสาร หมาเอ๊ยหมา นั่นคือครั้งแรกที่มันตั้งใจทิ้งฉันไปจริงๆ 
องค์ บรรจุน
ภาสกร  อินทุมาร เหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงบทความเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติที่มหาชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มาจากประเทศพม่า กล่าวว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้ามายึดครองพื้นที่ รวมทั้งคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ที่ห้ามมิให้แรงงานเหล่านี้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติสิ่งที่สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ซึ่งอ้างว่า “รักชาติ” แต่เป็นการรักชาติแบบ “มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์” และได้ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางต่อความรู้สึกนึกคิดของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัย ที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับแรงงานมอญย้ายถิ่นที่มาจากพม่าความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายมอญในมหาชัยกับคนมอญย้ายถิ่นที่มาจากประเทศพม่าได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน ดังคำพูดของ “พระครูปลัดโนรา อภิวโร” เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล แห่งตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญในพื้นที่ ที่ว่า“...วัดศิริมงคลนั้นห่างไกลจากตลาด ห่างไกลจากโรง งานไม่เท่าไหร่นัก คนมอญก็มาหลบลี้ ก็มาหลบก่อนที่จะเข้าโรง งาน หลบอยู่ที่วัดนี้ ประกอบกับหลวงพ่อเก่าท่านเมตตาต่อคน มอญ เพราะท่านรู้เรื่องคนมอญดี เพราะว่าหลวงพ่อก็เป็นคน มอญ แต่เป็นคนมอญไทยรามัญ ทีนี้พอคนมอญพม่าเข้ามาอยู่ แล้ว หลวงพ่อก็ให้ความอุปการะ หุงข้าวให้กินบ้าง พาไปหลบ ตำรวจบ้าง สมัยก่อนทางด้านหน้าวัดที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน ส่วน ทางด้านหลังเป็นสวนพุทรา หลวงพ่อก็ให้คนขับรถไปหลบ... เขา ไม่ลืมบุญคุณที่ได้กินข้าว ได้ที่อยู่อาศัย เขาก็เลยมาต่อๆ กันเรื่อย หมู่ทางบ้านเขาก็รู้กันแล้วบอกต่อๆ กันไป แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่นี่ ก็มีพระมอญพม่าด้วย...” *พระอาจารย์โนรา เจ้าอาวาสวัดศิริมงคลทุกวันนี้ พระครูปลัดโนราและวัดศิริมงคล ก็ยังมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคนมอญย้ายถิ่น ดังเช่นการที่คนมอญย้ายถิ่นจะเข้ามาทำบุญที่วัดทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา และการที่มีพระมอญจากเมืองมอญจำพรรษาอยู่นั้น ก็ได้ทำให้คนมอญย้ายถิ่นได้เข้ามาขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ อาทิ การรักษาโรคตามแบบโบราณ การสะเดาะเคราะห์ ฯลฯ นอกจากนี้ ด้วยความช่วยเหลือของพระครูปลัดโนรา วัดศิริมงคลจึงถูกใช้เป็นสถานที่ที่คนมอญย้ายถิ่นจัดงาน “วันชาติมอญ” หรือ “วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ” มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยที่งานดังกล่าว ก็คือพื้นที่ของการธำรงความเป็นชาติพันธุ์มอญ ผ่านการสดุดีวีรชนมอญและการแสดงทางวัฒนธรรมพระอาจารย์มาลัย เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรกนอกจากพระครูปลัดโนราแล้วนั้น ยังมี “หลวงพ่อมาลัย” เจ้าอาวาส “วัดบางหญ้าแพรก” ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร อีกท่านหนึ่ง ที่ช่วยเกื้อหนุนให้คนมอญย้ายถิ่นได้ธำรงความเป็นชาติพันธุ์ของตน หลวงพ่อมาลัยเป็นคนไทยเชื้อสายมอญบ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรกเมื่อหลายสิบปีก่อน ดังนั้นท่านจึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจความเป็นไปของคนมอญย้ายถิ่นที่มหาชัย บทบาทสำคัญของท่านที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่นก็คือ การอนุญาตให้ใช้สถานที่วัดเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ” โดยที่แนวคิดของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวก็คือ“...เพื่อรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและรักษาภาษามอญให้มีอยู่ และเพื่อให้ชาวมอญไม่หมดไปในโลกนี้ เมื่อเราเกิดมาเป็นคนมอญ เราก็อยากให้เด็กมอญได้ภูมิใจในความเป็นชนชาติของเขา เพราะว่าคนเราเกิดเป็นมอญนี้มันก็มีความน้อยใจ ในเมื่อเขาไม่มีการศึกษา เขาก็จะไม่รู้ประวัติศาสตร์ของมอญ ไม่รู้ว่าเผ่าพันธุ์เป็นอย่างไร เขาจะน้อยใจ... คนไทยทำไมถึงไม่หมดไป ก็เพราะภาษาไทย ภาษานั้นสำคัญมาก... จะรักษาประเทศให้อยู่ได้ ภาษาและวัฒนธรรมต้องคงอยู่...” **นอกจากจะสอนภาษา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมอญแล้ว ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ ยังสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้ลูกหลานมอญสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อีกด้วย และด้วยบทบาทของหลวงพ่อมาลัยในการเป็นผู้อุปถัมภ์ศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญเช่นนี้เอง ที่ทำให้คนมอญย้ายถิ่นมีความเคารพศรัทธาต่อท่าน ดังจะเห็นได้ จากการที่ในห้องเช่าของคนมอญย้ายถิ่นจำนวนมาก มีรูปภาพของท่านอยู่บนหิ้งบูชาร่วมกับภาพของสถานที่และบุคคลที่คนมอญเคารพ ดังเช่น ภาพพระธาตุต่างๆ ภาพพระพุทธรูปที่สำคัญ ภาพกษัตริย์มอญในอดีต ภาพพระยาเจ่ง รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นต้นเด็กๆ ลูกหลานแรงงานมอญ ภายในศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้าแพรกหากมองจากสายตาคนนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสายตาของรัฐไทย บทบาทของหลวงพ่อมาลัยและพระครูปลัดโนราที่มีต่อคนมอญย้ายถิ่น ก็อาจทำให้เกิดคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดพระทั้งสองรูปจึงให้ความช่วยเหลือและดูแลคนที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย แต่หากมองด้วยสายตาของมนุษย์ด้วยกันก็จะพบว่าแรงงานมอญที่เข้ามานั้น ล้วนถูกผลักจากชุมชนดั้งเดิมของตนด้วยความเดือดร้อนทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง การให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่เดือดร้อนเช่นนี้ ก็คือหน้าที่หนึ่งที่มนุษย์พึงมีต่อกันมิใช่หรือ  และเมื่อมองด้วยสายตาของความเป็นชาติพันธุ์ สิ่งที่พระครูปลัดโนรา และหลวงพ่อมาลัยกระทำต่อคนมอญย้ายถิ่นนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากสายใยของความเป็นชาติพันธุ์ “มอญ” ที่ยึดโยงกันอยู่ ซึ่งสายใยของชาติพันธุ์และความเป็นมนุษย์นั้น ล้วนอยู่เหนือเส้นแดนที่ถูกขีดขึ้นโดยรัฐเด็กก็คือเด็ก ไม่บอกใครจะรู้ว่าชาติพันธุ์ไหน ขาวหรือดำ ดีหรือชั่ว เชิงอรรถ* สัมภาษณ์ พระครูปลัดโนรา อภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ของคน มอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์มานุษย วิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙.** สัมภาษณ์ นายจอมอญ ครูประจำศูนย์พัฒนาภูมิปัญญามอญ วัดบางหญ้า แพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, อ้างใน สุกัญญา เบาเนิด. การสร้างอัตลักษณ์ ของคนมอญย้ายถิ่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙. 
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม ได้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, โครงการ Youth Venture โครงการที่ทางมูลนิธิอโชก้า ประเทศไทย ดำเนินการขึ้นเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในการทำกิจกรรมตามที่ตนถนัด, โครงการของภาคธุรกิจ เช่น โครงการที่มูนนิธิซีเมนต์ไทยสนับสนุน โครงการชั่วโมงนี้เพื่อเด็ก ที่ทางสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ ดำเนินการ หรือแม้แต่โครงการแบ่งปันฯ ที่ทางเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับภาคีดำเนินการ ฯลฯลักษณะโครงการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็น “มือใหม่” หรือ “มือปานกลาง” หรือ “มือเก่า” ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางให้เยาวชน ในการเข้ามาขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ได้ทั้งสิ้นกล่าวสำหรับเยาวชนมือใหม่ ที่ออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ตามที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ ชื่อสั้นๆ ว่า “เยาวชนพันทาง” นั้น ก็ได้ดำเนินการสนับสนุนเยาวชนมือใหม่มากกว่า 300 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่เยาวชนได้คิดเองและดำเนินการเองภายใต้งบประมาณสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 8,000 บาท ทั่วประเทศจากที่ได้รับฟังความรู้สึกของเยาวชนมือใหม่ที่เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น สอนหนังสือให้ น้อง อาสาสมัครตรวจสอบการเลือกตั้ง ค่ายพัฒนาทักษะ ละครสัญจร ปลูกป่า อนุรักษ์น้ำ เป็นต้น เยาวชนหลายคนต่างมองว่าการทำกิจกรรมทางสังคมนี้ เป็นการทำให้ตัวเองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของตัวเองในการทำเพื่อผู้อื่น และยังช่วยทำให้เกิดความรัก ความหวงแหนต่อชุมชนหมู่บ้านของตนมากขึ้นคือได้ฝึกคิด ฝึกทำ ไปด้วยพร้อมๆ กันเมื่อย้อนกลับมามองที่ตัวเอง, ผมจำได้ว่า ตอนเมื่อก่อนที่แรกเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมเยาวชนนี้ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าใดนัก จะมีเพียงแต่องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนการทำกิจกรรม และอีกอย่างที่พบก็คือลักษณะกิจกรรมที่บางองค์กรที่สนับสนุนให้เยาวชนทำก็เป็นกิจกรรมประเภทการประชุม เอาเด็ก มานั่งฟังผู้ใหญ่บรรยาย แต่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้มากเท่าที่ควรช่วงเมื่อก่อนจำได้ว่ากว่าจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็นเด็กกิจกรรมนั้นต้องผ่านการอบรม เคี้ยว เค้น ฝึกทักษะ ลงสนามต่างๆ นานา กว่าจะได้มานำกระบวนการ ชวนคุยในวงใหญ่ ได้แสดงละครตามที่ต่างๆ ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหลายปี แต่สมัยนี้เยาวชนนักกิจกรรมรุ่นใหม่ๆ มักเข้ามาโดยผ่านการจัดเวทีประชุม เพื่อนำเสนอความคิดเห็นมากกว่า ดังนั้นในช่วงหลังๆ จึงมักได้ยินคำพูดของรุ่นพี่หลายๆ คนว่า “เด็กกิจกรรมสมัยนี้พูดเป็น แต่คิดไม่เป็น” เมื่อฟังคำพูดและมองสิ่งที่กำลังเป็นไปอยู่ในทุกวันนี้ ผมเห็นว่ามีเวทีต่างๆ มากมายที่ผู้ใหญ่ให้เยาวชนเข้าร่วม ให้เยาวชนออกมามีส่วนสำคัญในการแสดงพลัง แต่มักเป็น ลักษณะเวทีพูดมากกว่าเวทีคิด หลายครั้งเราจะพบว่าเยาวชนพูด นำเสนอเก่ง แต่คิดหรือวิเคราะห์ไม่ค่อยได้(เรื่อง) ซึ่งทำให้ขาดมุมมอง เนื้อหา ประเด็นจากประสบการณ์จริงๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน คือถ้าพูดตรงๆ คือ พูดลอยไปลอยมา มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ เทือกนั้นๆ(เยาวชนหลายคนที่เข้าร่วม “สภาเด็กและเยาวชน” ระดับจังหวัด ของที่ต่างๆ น่าจะทราบดีว่า กิจกรรมแบบที่ให้เยาวชนเข้ามาร่วมแบบผ่านๆ นั้น เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนอย่างไรบ้าง หรือ เยาวชนที่ไม่ทำกิจกรรมกับสภาเยาวชนจังหวัด แต่เป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมในพื้นที่ ก็จะพบและรู้ว่าการทำงานในพื้นที่แบบจริงๆ จังๆ นั้น ช่วยให้ตัวเองคิด วิเคราะห์เป็นมากน้อยเพียงใด) นอกจากนี้อีกมุมที่เห็นคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักกิจกรรมที่เกิดขึ้นช่วงหลังๆ มักเป็นกิจกรรมที่เอื้อเฉพาะเยาวชนที่ผู้ใหญ่มองว่าดี และเป็นเวทีพูดมากกว่าคิดนี้ ผมเข้าใจดีว่า ผู้ใหญ่เองมีความมุ่งหวังที่อยากจะทำกิจกรรมกับเยาวชนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คือ ไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมอะไรกับเยาวชน และไม่รู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเยาวชนต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่างไร โดยเฉพาะผู้ใหญ่ระดับ “องค์การบริหารส่วนตำบล” ที่ต่อไปจะต้องทำงานกับเยาวชนมากขึ้น ยิ่งปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ก็กำลังจะมีการประกาศใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกตำบลต้องมีศูนย์เยาวชน, ทุกอำเภอ ต้องมีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ, ทุกจังหวัดต้องมีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด, และรวมทั้งประเทศก็จะมีสภาเด็กและเยาวชนระดับประเทศไทยด้วยทีนี้กลับมาว่า เมื่อนโยบายพร้อมสนับสนุน แต่คนทำงานยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็เป็นบทบาทจำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและเยาวชนว่านอกจากจะคิดหรือกำหนดนโยบายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนแล้ว ต้องพัฒนาแนวทางในการพัฒนาคนทำงาน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลและโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนอย่างมากในท้องถิ่นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในห้วงต่อไป คือความท้าทายของคนทำงานกับเยาวชนและเยาวชนนักกิจกรรมทั้งหลายที่จะดำเนินงานร่วมกัน, ท้าทายเช่นว่าจะสร้างเยาวชนให้มีความคิด วิเคราะห์ พูดเป็น ทำเป็น ได้พร้อมๆ กันอย่างไร โจทย์ใหญ่นั้นน่าจะอยู่ตรงจุดนี้ การที่ผู้ใหญ่จะทำอะไรเพื่อเยาวชนแบบที่ผู้ใหญ่ต้องการตอนนี้คงจะใช้ไม่ค่อยได้ เพราะแนวทางที่ดีระดับหนึ่งคือ ถ้าจำอะไรเพื่อเยาวชน ต้องถามที่เยาวชน และใช้โอกาสนั้นๆ สร้างการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เยาวชนพูดเป็น คิดเป็น ทำเป็น พร้อมๆ กัน ...ให้เยาวชนทำได้มากกว่า “พูด”  
นาโก๊ะลี
ติช นัท ฮันห์  เล่าไว้ในหนังสือยองท่านตอนหนึ่งว่า  มีคนถามว่า เวลาใดเป็นเวลาที่คนเราจะมาความสุขมากที่สุด  ท่านตอบว่า เวลานี้ไง  เพราะว่าเมื่อเวลาผ่านไปสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า  เราจะรฤกถึงวันนี้อย่างมีความสุข   นี่เองมันจึงหมายความว่า ทุกวันล้วนเป็นวันแห่งความสุข สิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ความจริงมันก็คงเป็นวันเหมือนกับวันอื่นๆ  ผ่านมาและผ่านไป  คงมีผู้คนส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตื่นเต้น กับเทศกาลปีใหม่  ปีนี้  คราวนี้   ขณะที่ผู้คนต่างหา และเฉลิมฉลองตามแบบตนช่วงเทศกาล  พวกเราหลายคน นัดกันที่กลางทุ่งนา หนองจ๊อม แม่โจ้  เชียงใหม่  ทุ่งนาผืนสุดท้ายที่อยู่ใกล้เมืองที่สุด อ้ายไพทูรย์ พรหมวิจิตรว่าไว้อย่างนั้น  เมื่อสองปีก่อน  ปีนี้ เราเห็นป้ายประกาศขายที่ดิน  และข่าวคราวที่มีการขายที่นามากขึ้น  ต่อไปผืนนาก็อาจจะไม่มีอีกแล้ว แล้วยังมีตึกรามใหม่ๆ ผิดโผล่ขึ้นมาในละแวกนี้มากขึ้น  เมืองรุกถึงกลางทุ่งแล้ว  แต่....อย่างไรก็ตาม วันนี้ ทุ่งนายังอยู่ .....  ค่ำนี้....ฝูงนกกระยางยังบินตัดผ่านฟ้าแม้เราจะเห็นเพียงฝูงเดียวไม่เหมือนเมื่อสองปีก่อน ที่มากันเต็มฟ้า หลายฝูง  หรือบางตัวก็ผ่านมาเพียงลำพัง ไม่มีฝูง  แต่เรายังเห็นนก  แม้ว่าเราจะรู่ว่า อีกไม่นานมันอาจหายไป    สองปีก่อนผู้คนมากมายแวะเวียนมา  ตลอดช่วงเวลาสี่สิบวัน รอยต่อของปีเช่นกันที่พวกเราปักหลักอยู่ที่นี่  ศิลปินน้อยใหญ่ มิตรสหายผู้ใกล้ชิดกับเจ้าของสถานที่  แสงดาว  ศรัทธามั่น  ถึงปีนี้เราอยู่กันไม่กี่คน กับภารกิจ ซ่อมสะพาน  แต่ก็ไม่ได้รู้สึกเงียบเหงานัก  เสียงกบ เขียด แมลงกลางคืนยังอยู่  คืนที่กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนศักราช  เสียงเพลง แสงเสียงพลุ แสงโคม กึกก้องกระจายอยู่รอบตัวเอา ยังเหมือนเมือสองปีก่อนสองปีมานี้  สถานที่นี้ต้อนรับผู้คนมากมาย  บนชั้นมีภาพใหม่ๆ ทั้งภาพถ่าย ภาพเขียน และบทกวี อันเป็นผลงานของผู้มาเยือน  ลานหน้าบ้านที่เมื่อสองปีก่อนเราใช้เป็นที่กางเต้นท์ หรือก่อไฟ ตอนนี้มีต้นไม้และหญ้ารก  จากที่เคยกางเตนท์นอน คราวนี้ต้นไม้บางต้นสามารถผูกเปลได้แล้ว    เนื่องด้วยการได้ตอนรับผู้คนมาหมายนี่เองมันจึงมีเรื่องราวมากมายที่ปราศจากการบันทึกมีบ้างก็คงเป็นภาพถ่าย  และบทกวี  แต่เรื่องเล่า และการสนทนาส่วนใหญ่ก็หายไปในทุ่งนี้    คราวนี้ก็ดั่งเดียวกัน  เรื่องราวการสนทนาก็ดำเนินไป หลายครั้งหลายหนเรามักจะวกเข้ามาถึงเรื่อง บรรยากาศ ของที่นี่ เมื่อสองปีก่อน  แน่นอน...เราพูดถึงมันด้วยความสุขมีคำหนึ่งที่ผุดโผล่ขึ้นมาในใจ  “ซากปรักหักพังของกาลเวลา”  วูบแรกรู้สึกอยู่ว่ามันมีความหมายเป็นลบ  ก็เลยพยายามหาความหมายของ คำ ซากปรักหักพัง  ดั่งโบราณสถานทิ้งซากปรักหักพังเอาไว้  บอกเล่าความงาม และเรื่องราว  เช่นนั้นซากปรักหักพังของกาลเวลาก็คงเช่นกัน  มันหักพังเพื่อบอกเรื่องราว และความงาม  ด้วยว่า เมื่อมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น  สิ่งเก่าก็ต้องผุพังไป แล้วมันก็คงไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร  เพราะความงามมันก็ปรากฏอยู่เสมอ ทั้งในความใหม่ และในความเก่า  หรือความงามในความทรงจำในซากปรักหักพังนั้นบ้านดินรักดาว....ณ เวลานี้ ก็ไม่พ้นไปจากความธรรมดาสามัญนั้น  ขณะที่ต้นไม้โตขึ้น ลานก็หายไป  บ่อที่เคยขุดดินย่ำสร้างบ้านก็เก่าแก่ไม่มีใครก้าวลงไปสัมผัสมันอีก  มันจึงเพียงทิ้งรอยเท้ามากมายในทรงจำ  ฝนที่สาดซัดมาแล้วสองฤดูฝนทำให้บางมุมบ้านสีผุกร่อน  ผนังดินที่สร้างไว้นอกบ้าน เปื่อยสลายไปบ้าง  สะพานพังไปเป็นแถบ ต้องค่อยๆ ปะ เพื่อพอใช้งานได้ ..ชั่วคราว  นี่ยังไม่รวมถึงวัยของผู้คนที่มากขึ้น  แล้วที่สุด ก็มีเด็กเล็ก เกิดใหม่เพิ่มขึ้นที่จะแวะมาเยือนมีหลายคนที่เขียนถึง  สถานที่และเจ้าของสถานที่นี้  ในหลายที่หลายโอกาส   เมื่อคราวที่ครบวาระหนึ่งปีผมก็อยู่ที่นี่  โดยไม่คาดหมาย วาระสองปีก็ได้กลับมาอีก คิดอยู่ว่า ปีหน้าจะมาอยู่ที่นี่อีกหรือเปล่าหนอ  นอกจากเยี่ยมคารวะเจ้าของสถานที่แล้ว  ก็ยังได้กลับมาเสพทรงจำที่ดีงามเนื่องด้วยการสร้างสถานที่นี้นั้นมีผู้คนเกี่ยวข้องด้วยมากมาย และนั่นคือเวลาที่เราต่างมีความสุข  ......คารวะเจ้าของสถานที่ ผู้ที่ผมเรียกจนติดปากว่า ท่านผู้เฒ่า แสงดาว  ศรัทธามั่น 
Carousal
คุณคิดอย่างไรกับการใช้เครื่องสำอางเสริมความงาม และการแต่งหน้าบ้างคะ?อันที่จริง ฉันเป็นคนไม่แต่งหน้าเลยค่ะ นอกจากผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาด เช่น ยาสีฟัน สบู่ แชมพูที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ฉันไม่แตะต้องเครื่องสำอางประเภทอื่นอีกเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสีสันที่เอามาป้ายหน้า ไม่มีทาง! ในชีวิตนี้ฉันแต่งหน้านับครั้งได้ (นอกจากงานโรงเรียนสมัยประถมที่ให้เด็ก ๆ ออกไปร้องรำทำเพลงแล้ว ก็มีแค่รับปริญญาอีกงานเดียวเท่านั้น ซึ่งก็ถูกอาจารย์บังคับจับแต่ง) มาสคาร่าใช้ทำอะไร แตกต่างอย่างไรกับอายแชโดว์ฉันก็ไม่รู้ ถ้าเอาเครื่องสำอางมาวางเรียงตรงหน้า ฉันก็เรียกชื่อมันไม่ถูก ในความรู้สึกของฉัน หน้าที่แต่งแล้วมันหนัก ให้ความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก สิ้นเปลือง แล้วเวลาเทรนด์ไหนเกิดฮิตขึ้นมา เด็กสาว ๆ ก็จะแต่งตาม ๆ กันไปตั้งแต่หัวถนนจนท้ายถนน เหมือนกันเปี๊ยบอย่างกับโขกออกมาจากพิมพ์เดียวกัน มันน่าสะพรึงออกจะตาย!แต่นั่นเป็นความคิดที่มาจากมุมมองของคนที่ไม่เคยได้เข้าไปสัมผัสกับข้อดีของการใช้เครื่องสำอางด้วยตัวเองเท่านั้นค่ะ
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
สวัสดีปีใหม่ค่ะ ไม่ได้เขียนคำทักทายคุยกันเสียนาน เป็นไงกันบ้างคะ :-) ปีใหม่ มีอะไรใหม่ๆ ไหมคะ สำหรับเราชีวิตก็ปกติดีค่ะ ไม่มีปาร์ตี้ ไม่มีงานเลี้ยงฉลองอะไรเป็นพิเศษ เรื่องใหม่ๆ ที่สุดในชีวิตเห็นจะเป็นการพัฒนาของแมวค่ะจากปกติ ที่มานั่งข้างหน้าต่างรอให้เปิด ตอนนี้สามารถผลักมุ้งลวดเลื่อนเองได้แล้ว และด้วยเหตุนั้นจึงเป็นอิสระในตัวเองอย่างยิ่ง จะเข้าออกหน้าต่างบานไหนก็ได้ในบ้าน วันๆ จึงเห็นแมวตัวนึงแว้บไป แว้บมาอยู่ตามหน้าต่างรอบๆ บ้านค่ะ ดูจิตๆ อย่างไรไม่ทราบ ปัญหาคือ เปิดได้แต่ไม่ปิดกลับไงคะ ยุง ยุง ยุง บินว่อนเต็มไปหมด กลุ้มค่ะ จะด่าแมวรับปีใหม่ก็นะ...เกรงใจอืม...ชวนคุณเล่นๆ ไรหน่อยดีกว่า ฮา สมัยก่อน (เอ๊ะ หรือสมัยนี้ก็มี) นิตยสารสีสันน่ะค่ะ จะชอบชวนคนดังมาเขียน 5 ข้อชอบ ไม่ชอบ ในรอบปี (บอกเรื่องและเหตุผล) เรานะช้อบชอบอ่าน สนุกดีออก ว่าแล้วมาเล่นกันหน่อยเถอะ เดี๋ยวโพสต์ต่อแล้วกันนะคะ น่า...สังสรรค์กันทางความคิดและความรู้สึก อิอิอ้อ อมาวสีครั้งใหม่ วันที่ 8 มกราคม 2551 ค่ะ

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม