Skip to main content

นักเขียนการ์ตูนคนแรกที่คุณจำชื่อได้ คือใครคะ?

สมัยที่ฉันยังเด็ก เพิ่งอ่านหนังสือออก และเริ่มต้นอ่านการ์ตูนเป็นครั้งแรก ๆ นั้น เป็นยุคที่การ์ตูนไม่มีลิขสิทธิ์กำลังเฟื่องฟู มีสำนักพิมพ์มากมายที่นำการ์ตูนญี่ปุ่นมาแปลเป็นภาษาไทยขาย โดยไม่ใส่ใจว่าใครเป็นคนเขียนหรือคนวาดการ์ตูนเรื่องนั้น มีนักเขียนการ์ตูนหลายคนที่ฉันตามอ่านงานของเขาที่วางตลาดแทบทุกเล่ม แต่ไม่เคยได้รู้เลยว่าเขาชื่ออะไร จนกระทั่งโตและตลาดการ์ตูนบ้านเราเปลี่ยนไปเป็นตลาดลิขสิทธิ์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

แต่ทั้ง ๆ ที่ตลาดการ์ตูนช่วงนั้นเป็นอย่างนั้น และทั้ง ๆ ที่ยังเด็ก แต่ฉันก็ยังอุตส่าห์รู้จักชื่อนักเขียนการ์ตูนเข้าคนหนึ่งจนได้

เขาคือ Fujiko Fujio คนเขียนโดราเอมอน การ์ตูนเรื่องโปรดโดนใจตลอดกาลของฉันนั่นเอง

คุณชอบอ่านผลงานของอาจารย์ Fujiko Fujio ไหมคะ? ฉันเชื่อว่าคงมีหลายคนเลยละที่โตมากับการ์ตูนของเขา ไม่ว่าจะในรูปแบบหนังสือหรืออนิเมชั่นที่ฉายทางโทรทัศน์ ผลงานของอาจารย์ Fujiko Fujio ที่มีชื่อเสียงในบ้านเราก็ยกตัวอย่างเช่นโดราเอมอน, ผีน้อย Q ทาโร่, นินจาฮาโตริ หรือปาร์แมน

ด้วยความที่ผลงานสร้างชื่อของอาจารย์ Fujiko Fujio ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก มีลายเส้นง่าย ๆ สบายตา กับเนื้อหาที่ส่งเสริมจินตนาการ การมองโลกอย่างสดใสในแง่ดี เน้นมิตรภาพระหว่างเพื่อน ความผูกพัน ความอ่อนโยน ความคิดสร้างสรรค์ และปลอดพิษภัยอย่างเห็นได้ชัด จึงกลายเป็นภาพพจน์ติดตัวไปว่า อาจารย์ Fujiko Fujio เป็นนักเขียนการ์ตูนเด็ก ผู้ปกครองหลายท่าน (รวมทั้งแม่ของฉันในสมัยนั้นด้วย) อาศัยลายเส้นคุ้นตาของอาจารย์เป็นมาตรฐาน ซื้อมาให้ลูกอ่านได้เลยโดยไม่ต้องสกรีนอีกรอบ เพราะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่มีการสอดใส้อย่างแน่นอน

แต่จริง ๆ แล้ว ผลงานของอาจารย์ Fujiko Fujio ก็ใช่ว่าจะมีแต่ที่เป็นการ์ตูนเด็กเสียเมื่อไร

Path of Fujiko Fujio การ์ตูนหน้าปกสีทองเล่มเบ้งที่ Nation Edutainment ภาคภูมิใจจัดทำขึ้นมาเล่มนี้แหละค่ะ คือผลงานจากอีกด้านหนึ่งของนักเขียนการ์ตูนอารมณ์ดีที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ท่านนั้น

‘นิทาน 1001 ราตรีแนวนิยายวิทยาศาสตร์’ คือคำจำกัดความของ SF Collection หรือ Path of Fujiko Fujio หนังสือเล่มนี้รวบรวมการ์ตูนสั้นแนววิทยาศาสตร์และปรัชญามากมายหลายเรื่อง ที่นักอ่านการ์ตูนซึ่งเป็นแฟนผลงานของอาจารย์ Fujiko Fujio กว่าครึ่งไม่เคยได้ผ่านตามาก่อน จากบทความท้ายเล่มที่เขียนโดยคุณฟูจิโมโตะ มาซามิ บุตรสาวของอาจารย์ เธอเล่าว่าคุณพ่อของเธอเป็นคนที่ใฝ่ใจในเรื่องแปลกประหลาด โดยมีพื้นฐานอยู่บนวิทยาศาสตร์และปรัชญามานานแล้ว ผลงานของเขาสะท้อนสิ่งที่เขาคิดและมองเห็น การ์ตูนเด็กที่เต็มไปด้วยความสดใสและมองโลกในแง่ดีอาจเป็นด้านหนึ่งของคุณพ่อเธอที่นักอ่านทั่วไปรู้จักกันแพร่หลาย แต่ SF Collection นี้ก็เป็นผลงานที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดจากอีกส่วนหนึ่งของคุณพ่อเธอ ซึ่งก็เป็นความจริงไม่แพ้ประเภทแรกด้วยเช่นกัน

จะทำอย่างไร หากคุณเป็นนักบินอวกาศที่บังเอิญยานเกิดประสบอุบัติเหตุ ต้องลงจอดฉุกเฉินบนดาวดวงหนึ่งซึ่งมีอารยธรรมสูงไม่แพ้มนุษย์โลก ต่างกันเพียงแต่บนดาวดวงนั้น สิ่งมีชีวิตที่ครอบครองเป็นเจ้าของอารยธรรมคือสเต๊กเนื้อสัน...เอ้อ...วัว สัตว์ที่เอาไว้บริโภคบนโลกของเรา ในขณะที่มนุษย์กลับเปลี่ยนฐานะลงไปเป็นปศุสัตว์ และในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า เด็กสาวคนหนึ่งซึ่งช่วยคุณไว้จากอุบัติเหตุยานอวกาศจะต้องถูกเลือกให้ไปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงในงานฉลองประจำปี ?

จะเป็นอย่างไร หากอยู่ดี ๆ คุณก็กลายเป็นยอดมนุษย์ที่มีพลังพิเศษเหมือนในภาพยนต์ที่เคยดู ร่างกายของคุณแข็งแรง ประสิทธิภาพของประสาทสัมผัสของคุณล้ำเลิศ คุณสามารถมองเห็นทะลุผนัง สามารถเหาะเหินเดินอากาศ มีอำนาจในการสั่งการชีวิตมนุษย์ได้ตามใจ คุณกำลังกลายเป็นพระเจ้าของโลกใหม่ คุณจะทำอย่างไรกับอำนาจที่มีอยู่ในตัวคุณ ?

ความจริงแล้ว เนื้อหาและประเด็นที่อาจารย์ Fujiko Fujio นำมานำเสนอใน SF Collection ไม่ใช่ของใหม่ มันเป็นสิ่งที่ฉัน คุณ ใครอีกหลายคน หรืออาจจะทุกคนเลยก็ได้ เคยคิดมาก่อน เพียงแต่ส่วนใหญ่พวกเราจะคิดแล้วจบไปในเวลานั้น เพราะมันเป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นเพราะความอยากสะดวก เป็นต้นว่า คงจะดีนะ ถ้าเราสามารถมองเห็นอนาคตได้ คงจะดีนะ ถ้าเราสามารถย้อนเวลากลับไปบอกตัวเองไม่ให้ทำผิดพลาด ฯลฯ เพียงแต่ความคิดของอาจารย์ Fujiko Fujio ไปไกลกว่านั้น เขาจินตนาการถึงตอนต่อที่หลายคนขี้เกียจจะคิดไปถึง จริงหรือที่ว่าถ้าเรามองเห็นอนาคตแล้วจะดี แน่ใจหรือว่าถ้าเราย้อนเวลากลับมาเล่าความผิดพลาดของตัวเองให้ตัวเองในอดีตฟังแล้ว ความผิดพลาดครั้งใหม่จะไม่เกิดขึ้น? จากความคิดเล่น ๆ ที่ไม่จริงไม่จังอะไรนัก กลายเป็นการ์ตูนสั้นจบในตอน ที่เมื่ออ่านแล้ว คุณอาจจะไม่แน่ใจก็ได้ว่า ยังอยากจะได้สิ่งที่เคยอยากได้ในตอนแรกอยู่อีกหรือเปล่า

ในเล่มหนึ่ง ตอนที่ฉันชอบมากที่สุดตอนหนึ่ง นอกจากจานมิโนทาวรอสซึ่งเป็นตอนหลักของเล่ม ก็คือตอน ‘เชือดนิ่ม ๆ’ ซึ่งเปรียบเทียบความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต และการยอมรับของสังคมไว้ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง เรื่องเริ่มต้นขึ้นเมื่อชายคนหนึ่งไปพบจิตแพทย์ แล้วเล่าว่าอยู่ ๆ โลกนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปจากที่เขาเคยรู้จัก ในโลกของเขา การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องส่วนตัวที่สมควรปกปิด แต่ในโลกนี้ การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติธรรมดาถึงขนาดมีภาพตีพิมพ์ในนิทานสำหรับเด็ก ความน่าอับอายกลับกลายเป็นการกินอาหาร ในขณะที่คนมีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่อายุยังน้อยได้ในที่สาธารณะ แต่กลับไม่มีร้านอาหารให้เห็นเลยแม้แต่แห่งเดียว เวลาจะกินข้าวที่บ้านยังต้องปิดม่าน ล็อกประตู และพูดเสียงเบาไม่ให้ข้างบ้านได้ยิน

น่าแปลกใช่ไหม หากเราจะลองมองด้วยสายตาที่กลับด้าน คิดโดยใช้เหตุผลล้วน ๆ และไม่เอาความเคยชินหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มนุษย์เองเป็นคนกำหนดกฎเกณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าความอยากอาหาร หรือความต้องการทางเพศ ล้วนเป็นความต้องการพื้นฐานของร่างกาย ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่ช่วยค้ำจุนสิ่งมีชีวิตให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ แล้วทำไมความต้องการหนึ่งจึงเป็นที่ยอมรับให้กระทำได้โดยเปิดเผย ในขณะที่อีกความต้องการหนึ่งกลายเป็นเรื่องน่าอายไปเล่า ? ยิ่งเมื่อเทียบความสำคัญกันแล้ว ความอยากอาหารเป็นเพียงกิเลสส่วนบุคคล ในขณะที่ความต้องการทางเพศ เป็นความต้องการเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ ดังนั้น ความต้องการทางเพศ จึงน่าจะเป็นความต้องการที่มีความสำคัญยิ่งเสียกว่าความอยากอาหารเสียด้วยซ้ำ ไม่ใช่หรือ?

(ถ้าคุณอ่านสิ่งที่ฉันสรุปมาแล้วคิดว่ามันตะแบง ฉันอยากให้คุณลองไปอ่านตัวการ์ตูนจริง ๆ ดูก่อนค่ะ เหตุผลที่ตัวละครในเรื่องยกมาประกอบ ทำเอาฉันอึ้งไปหลายหน เพราะหาข้อมาแย้งได้ไม่เต็มปาก จนในที่สุดก็เริ่มคล้อยตามไปเรียบร้อยแล้วละค่ะ)

ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเมื่ออ่านจบแล้วคุณจะชอบการ์ตูนเล่มนี้ เพราะมันให้ข้อคิดและทำให้เราต้องย้อนกลับไปมองอะไรหลาย ๆ อย่างที่สังคมมนุษย์ยึดถือกันราวกับประกาศิต เพื่อที่จะพบคำถามและความไม่สมเหตุสมผลมากมาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกถ้าคุณจะไม่ชอบ เพราะมันเต็มไปด้วยแนวความคิดที่สุดโต่งไปด้านในด้านหนึ่ง และชี้ให้เห็นว่าโลกที่เราอยู่ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เราเป็นไม่ใช่อะไรที่โสภา คนแต่ละคนมีความคิดแตกต่างกัน และในคนเดียวกันแต่ละวัยก็ใช่จะคิดเหมือนเดิมตลอดไป

อีกสิ่งหนึ่งที่ฉันสงสัย เมื่อปิดหน้าสุดท้ายของหนังสือการ์ตูนเล่มนี้ลง คือ เนื้อหาของการ์ตูนเล่มนี้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้ามันไม่ได้ถูกขายภายใต้ชื่อผลงานจากอีกด้านของนักเขียนดัง แต่เป็นของนักเขียนโนเนมสักคน ในสภาพสังคมปัจจุบัน (ที่แตกต่างไปบ้างแล้ว จากเมื่อสมัยที่ SF Collection ตีพิมพ์วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักอ่านเท่าใดนัก) จะมีใครให้ความสนใจ และมองเห็นเนื้อในของสิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อหรือเปล่านะ ?

บล็อกของ Carousal

Carousal
  สองหนุ่มเพื่อนซี้ชาวออสเตรเลียน John Rendall กับ Anthony Boruke เกิดได้ข่าวมาว่าที่ห้างสรรพสินค้า Harrods แผนก Exotic Pet มีลูกสิงโตที่เกิดในสวนสัตว์มาขาย ด้วยความอยากรู้อยากเห็น สองหนุ่มจึงชวนกันไปดู และเมื่อพบว่าเจ้าลูกสิงโตตัวนั้นนั่งจ๋องทำท่าซึม ๆ เหงา ๆ อยู่ในกรง เขาทั้งสองก็ตัดสินใจซื้อมันกลับมาในราคา 250 Guineasเจ้าสิงโตน้อยผู้ได้รับการขนานนามว่า Christian ได้พักอาศัยอยู่กับสองหนุ่มผู้เป็นเจ้าของที่แฟลตชั้นใต้ดินของร้านเฟอร์นิเจอร์ที่เชลซี มันกลายเป็นขวัญใจของคนแถบนั้น ใคร ๆ ก็รอคอยที่จะได้เห็น ได้บันทึกภาพของมันตอนที่เจ้าของพาออกมาวิ่งเล่นที่หน้าโบสถ์ St. John'…
Carousal
ไปดูสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือกันมาหรือยังคะ? ในความรู้สึกของฉัน สามก๊กเป็นพี่น้องกับหวัด กล่าวคือ ในขณะที่บ้านเมืองปกติสุข ทั้งสามก๊กและหวัด ต่างก็มีฐานลูกค้าสนับสนุนของตนเองเรื่อย ๆ ไม่มีว่างเว้น คนเราติดหวัดกันได้โดยไม่เลือกเวล่ำเวลาหากอดหลับอดนอนหรือทำงานหนักตากแดดตากฝนฉันใด สามก๊กก็เป็นวรรณกรรมที่ไม่ว่าใครก็ใคร ต้องหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน หยิบหนังขึ้นมาดู เพื่อดื่มด่ำกำซาบทั้งรสของภาษาและเนื้อหาที่ใครต่อใครเขาก็ว่าเป็นหนึ่งในแผ่นดินโดยไม่เลือกเวล่ำเวลาฉันนั้น หากนาน ๆ ครั้ง โรคที่เป็นในระดับนอนพักสามวันหายอย่างหวัดจะระบาดใหญ่ ทำให้คนล้มเจ็บล้มตายกันหลายพันหลายหมื่น…
Carousal
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 6 กรกฏาคม 2551) ฉันไปงาน Comic Party ครั้งที่ 11 ที่ Central World มาค่ะ บรรยากาศบนเวที ที่มี Yamaha เป็น Sponsor ใหญ่   คุณเคยไปงานการ์ตูนบ้างไหมคะ? ต่อให้ไม่เคยตั้งอกตั้งใจไป ฉันก็คิดว่าคุณต้องเคยผ่าน หรือเคยสะดุดตาสะดุดใจกับพลพรรคคนรักการ์ตูนที่รวมกลุ่มกันเดินทางไปร่วมงานมาบ้างแน่ ๆ เพราะงานการ์ตูนเป็นงานที่เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนานเข้มข้นจนแผ่ออร่าออกมาให้สัมผัสได้ ขอแค่มีการ์ตูนเรื่องที่ชอบเป็นศูนย์กลาง เหล่าชมรมคนรักการ์ตูนก็สังสรรค์ สรวลเสเฮฮากันได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อนแล้วละค่ะ
Carousal
เมื่อสัปดาห์ก่อน เราไปทัวร์เอโดะ ยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มเปิดประตูบ้านต้อนรับนานาอารยประเทศ กับจินหมอทะลุศตวรรษกันไปแล้ว สัปดาห์นี้ เรามาย้อนไปไกลยิ่งกว่านั้น สู่ญี่ปุ่นยุคที่ทั้งรุ่งเรืองด้วยศิลปะ และวรรณกรรม รวมทั้งยังเข้มข้นด้วยเรื่องราวการแก่งแย่งชิงดีทางการเมืองกับการ์ตูนเรื่องนี้กันเถอะค่ะ Ryo – the Miracle girl’s adventure
Carousal
พร้อมที่จะเจาะเวลาหาอดีตไปกับการ์ตูนเรื่องต่อไปกันหรือยังคะ? ในจำนวนการ์ตูนแนวเจาะเวลาหาอดีตที่ยังคงวางแผงต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่ฉันสนใจและชอบมากที่สุดก็คือเรื่องนี้ละค่ะ Jin หมอทะลุศตวรรษ ผลงานของ Motoka Myrakami ซึ่งจัดจำหน่ายในรูปแบบภาษาไทยโดย Nation Edutainment Jin หมอทะลุศตวรรษ เป็นเรื่องราวของหัวหน้าศัลยแพทย์ แผนกศัลยกรรมสมองของโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยโทโตะ มินาคาตะ จิน ในคืนที่เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้น จินกำลังทำหน้าที่แพทย์เวรดึกอยู่ในโรงพยาบาล เขาได้รับคนไข้นิรนามรายหนึ่งซึ่งตำรวจไปพบขณะนอนหมดสติอยู่ในสวนสาธารณะเข้าแผนกฉุกเฉิน จากบาดแผลที่หน้าผาก คณะแพทย์ได้ทำ CT…
Carousal
หมู่นี้เดินผ่านร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือแนวเจาะเวลาหาอดีตบ่อย ๆคุณชอบอ่านหนังสือ หรือดูหนังที่ตัวละครในเรื่องต้องพลัดมิติเวลาไปสู่โลกในอดีตหรืออนาคตบ้างไหมคะ? ฉันชอบมากเลยละค่ะ เพราะถึงแม้ว่า พลอตนี้จะเป็นพลอตเก่าที่นักจินตนาการทั้งหลายใช้สร้างสรรค์ผลงานกันมากลายสิบปีแล้ว แต่มันก็ยังคงความน่าสนใจอยู่เสมอ เพราะแม้จะเป็นพลอตเรื่องแนวเดียวกัน แต่ความแตกต่างของสถานที่ ยุคสมัย และลักษณะความคิด รวมถึงความสามารถเฉพาะตัวของตัวละคร ก็ทำให้พลอตเรื่องที่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันนี้ สามารถดำเนินไปตามทิศทางของมันเองได้เป็นร้อยเป็นพันแบบด้วยแนวความคิดที่ว่า มนุษย์ควรเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต…
Carousal
คุณเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกเรียกว่าชีวิต มนุษย์ และความเป็นนิรันดร์บ้างไหมคะ? เป็นเวลากว่าพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์เฝ้าขบคิดค้นหาตัวตน คำนิยาม ความหมาย และขอบเขตของสิ่งที่ตนเองมีและเป็น แต่ยิ่งคิด ยิ่งพิจารณามากขึ้นเท่าไร คำถามก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และซับซ้อนขึ้นเป็นเงาตามตัว...แม้จะเฝ้าค้นหากันมาเนิ่นนาน ส่งผ่านกระบวนการคิดคนแล้วคนเล่า ยุคสมัยแล้วยุคสมัยเล่า แต่ก็ดูเหมือนว่า เราจะยังไม่เคยเข้าใกล้ผลลัพธ์มากพอที่จะทำให้รู้สึกพอใจได้เลย  
Carousal
เวลาที่คุณนั่งลงตรงหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตแล้ว คุณทำอะไรกันบ้างคะ?เมื่อปี 2004 ตำนานแห่งโลกอินเตอร์เน็ตบทหนึ่งได้เริ่มต้นขึ้นบนกระดานหนุ่มโสดแห่ง 2 channel (กระดานข่าวที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คงทำนองเดียวกันกับ pantip.com ของบ้านเรา) เมื่อชายหนุ่มคนหนึ่งได้โพสต์กระทู้เล่าเรื่องราวที่เขาเพิ่งประสบมาบนรถไฟระหว่างทางกลับจากอาคิฮาบาระ เรื่องราวน่าตื่นเต้น ที่เขาคิดว่ามันคงจะมีชีวิตอยู่เพียงชั่ววัน และมีอายุอยู่ในใจเขานานกว่านั้นอีกเพียงนิดหน่อย กลับกลายเป็นเพียงจุดเริ่มต้นจุดเล็ก ๆ ของตำนานที่น่าประทับใจซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดเป็นหนังสือ หนังสือการ์ตูน…
Carousal
คุณชอบฟังดนตรีคลาสสิคหรือเปล่าคะ?ถ้าพูดถึงการ์ตูนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิค คงมีหลายคนนึกถึงการ์ตูนที่กลายมาเป็นซีรีส์เรื่องดัง อย่าง Nodame Cantabile (วุ่นรักนักดนตรี) แต่วันนี้ ฉันจะมาชวนคุณคุยถึงการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถึงแม้จะไม่ดังเท่า แต่ก็เป็นหนึ่งเดียวในดวงใจของนักอ่านหลายคนเลยละค่ะ Piano-no Mori (ป่าแห่งเปียโน)
Carousal
คุณคะ คุณเคยมีประสบการณ์แปลก ๆ ที่อธิบายไม่ได้ เช่นเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น ได้ยินสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ยิน หรือได้กลิ่นที่คนอื่นไม่ได้กลิ่นบ้างไหมคะ?เปล่าค่ะ ฉันไม่ได้กำลังจะมาชวนคุณเล่าเรื่องผี (ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วฉันจะชอบฟังมากก็ตาม) แต่กำลังจะชวนคุณคุยเรื่องสมองและการทำงานของมันค่ะเกริ่นอย่างคร่าว ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์ สมองเป็นอวัยวะศูนย์กลางของระบบประสาท ทำหน้าที่รับกระแสประสาทที่ส่งมาจากเซลล์รับสัมผัสที่ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย นำมาแปลผลเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ว่าเจ็บ ร้อน รสชาติ เสียง หรือภาพที่มองเห็นยกตัวอย่างการมองเห็น เมื่อเราลืมตาขึ้น…
Carousal
ท่ามกลางทะเลดาวที่พร่างพราวอยู่บนฟากฟ้าสีนิล ดวงจันทร์ทอแสงอยู่เหนือยอดโดมบนทะเลทรายที่กว้างไกลสุดสายตา เสียงขับลำนำระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนอันอยู่ไกลแสนไกล คุณเคยได้ยินเรื่องราวของกษัตริย์ผู้สูญสิ้นความเชื่อมั่นในรัก และหญิงสาวผู้ต่อกรกับความเกรี้ยวกราดด้วยปัญญาตลอดเวลาหนึ่งพันกับอีกหนึ่งราตรีบ้างหรือเปล่าคะ?พันหนึ่งราตรี หรืออาหรับราตรี (One Thousand and One Nights, Arabian Night) เป็นนิทานโบราณที่เล่าขานกันในหลายประเทศมาตั้งแต่ราวคริสศตวรรษที่สี่ กล่าวกันว่ามีผู้แต่งหลายคน ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นตำนานหรือนิทานของแต่ละท้องถิ่น…
Carousal
นักเขียนการ์ตูนคนแรกที่คุณจำชื่อได้ คือใครคะ?สมัยที่ฉันยังเด็ก เพิ่งอ่านหนังสือออก และเริ่มต้นอ่านการ์ตูนเป็นครั้งแรก ๆ นั้น เป็นยุคที่การ์ตูนไม่มีลิขสิทธิ์กำลังเฟื่องฟู มีสำนักพิมพ์มากมายที่นำการ์ตูนญี่ปุ่นมาแปลเป็นภาษาไทยขาย โดยไม่ใส่ใจว่าใครเป็นคนเขียนหรือคนวาดการ์ตูนเรื่องนั้น มีนักเขียนการ์ตูนหลายคนที่ฉันตามอ่านงานของเขาที่วางตลาดแทบทุกเล่ม แต่ไม่เคยได้รู้เลยว่าเขาชื่ออะไร จนกระทั่งโตและตลาดการ์ตูนบ้านเราเปลี่ยนไปเป็นตลาดลิขสิทธิ์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแต่ทั้ง ๆ ที่ตลาดการ์ตูนช่วงนั้นเป็นอย่างนั้น และทั้ง ๆ ที่ยังเด็ก แต่ฉันก็ยังอุตส่าห์รู้จักชื่อนักเขียนการ์ตูนเข้าคนหนึ่งจนได้เขาคือ…