Skip to main content

ชีวิตที่ต้องเกี่ยวข้องของคนหลากเพศชายจริง หญิงแท้ หรือแม้แต่เกย์ กะเทย นั้นย่อมมีปะปนกับชนและคนทุกชนชั้นวงการไม่เว้นแม้แต่ชีวิตของนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตแห่งชาติ เป็นลูกเป็นหลานเราๆ ท่านๆ เนี่ยล่ะฮะ

วันนี้ชาน่าอ่านข่าวคราวจาก นสพ.คงชักเล็ก พิมพ์ผิดฮ่า คมชัดลึก เกี่ยวกับชีวิตของกะเทยหรือสาวประเภทสองที่ต้องแต่งตัวเป็นนักศึกษาหญิงไปมหาวิทยาลัย จึงหยิบมาฝากผู้อ่านประจำคอลัมน์ “พาเม้าท์ชีวิตชาวเกย์” ณ ประชาไทกันบ้าง

เชื่อหรือไม่ว่า ชีวิตของคนเป็นเกย์ อีแอบ นั้นไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในการแต่งกายเลย เพราะพวกเค้าก็คือเพศชายดีๆ ที่คุณเห็นนั่นแหล่ะ บางครั้งมองแทบไม่ออกดูยากเหลือเกินว่าคนไหนเป็นหรือไม่เป็น ตราบใดที่ไม่มีเครื่องมือดักจับตุ๊ด เกย์ ปรากฎขึ้นบนโลกใบนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นง่ายเสมอคือ ส่วนมากเกย์จะเนี๊ยบ เรียบร้อย ดูดีกว่าผู้ชายทั้งแท่งว่างั้นเหอะ

20080224 ภาพประกอบ (1)

หลายคนคงคิดว่าทำไมกะเทยเด็กๆ เดี๋ยวนี้อินเทรนด์ แห่กันไปแปลงเพศ  ส่วนหนึ่งที่เธอให้เหตุผลด้วยเพราะความเข้าใจว่า การผ่าตัดเจื๋อนเพศนั้นจะได้ผลดีหากทำการผ่ายังเยาว์วัย เพราะพวกเค้าต้องฉีดฮอร์โมนเพศหญิงและกินยาคุมกำเนิดตั้งแต่วัยเอ๊าะๆ  แน่นอนว่า  ความขัดแย้งภายในจิตใจกับร่างกายมักจะอยู่ด้วยกันไม่ได้  สุดท้ายบางรายตัดสินใจทำทุกอย่างเพื่อจะปรับเปลี่ยนให้ได้ตามใจปรารถนา   เหมือนกับไม่อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก พวกเธอไม่อยากเป็นสาวประเภทสองที่ร่างกายเหมือนชายกำยำ กล้ามแขนเป็นมัดๆ อกผายไหล่ผึ่ง เพราะค่อนข้างจะเอียงไปทางสยองมากกว่าสวย

มองประเด็นเรื่องรายจ่ายในการผ่าตัดแปลงเพศ อะไร ๆ ก็ต้องเป็นเงินเป็นทองกันทั้งนั้นหละค่ะ  ยิ่งของใช้ ของขายทุกวัน สินค้าทุกอย่างรวมตัวกันเพิ่มราคาเป็นว่าเล่น ส่วนราคาในการผ่าตัดสมใจนึกนั้น เริ่มต้นที่หลักแสน ถึงแสนต้น ๆ แล้วแต่ความมีชื่อเสียงของแพทย์และสถานพยาบาลผู้ทำศัลยกรรม  บางรายต้องเริ่มฉีดฮอร์โมนและกินยาคุมกำเนิดตั้งแต่วัยรุ่น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละประมาณสองพันบาท    ยังไม่รวมกับค่าผ่าตัดทำนม เสริมเต้า ราคาเริ่มต้นที่สี่หมื่นอัพค่ะ  ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนมากของเด็กนักศึกษาก็มาจากพ่อและแม่ มีส่วนน้อยที่จะเก็บเงินได้เองจากการหาลำไพ่พิเศษ ทำงานนอกเวลา

“ทำงานพิเศษรอบนี้ได้เงินแล้วช้านจะไปผ่าตัดเสริมนมเต้าเดียวก่อน กลับมาทำงานซัมเมอร์หน้าค่อยกลับไปผ่าอีกข้าง” ขำ ขำ คั่นอารมณ์เจ้า...

ด้าน นพ.กมล วัฒนไกร ประธานฝ่ายวิชาการ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การกินฮอร์โมนเพศหญิงเพื่อช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลตั้งแต่อายุยังน้อยและกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกลุ่มของผู้หญิงนั้นจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทรวงอก แต่หากเป็นกลุ่มชายที่กินฮอร์โมนเพศหญิงเป็นระยะเวลานาน ยังไม่มีผลวิจัยยืนยันว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเหมือนผู้หญิงหรือไม่ แต่คาดว่าการกินฮอร์โมนเพศหญิงไม่ได้มีความปลอดภัย 100% ส่วนกรณีผู้ชายที่ผ่าตัดแปลงเพศอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อน และต้องผ่านการทดสอบจากจิตแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ทั้งนี้ผู้ชายที่เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศมักจะอยู่ในวัยที่ร่างกายเจริญเต็มที่หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด” *
 
เราจะเห็นน้องๆ สาวประเภทสอง หลายคนจากสถาบันการศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชน  บางคนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นกะเทย  ถ้าไม่เปล่งวาจาออกมา พวกเค้าและเธอแต่งตัวเป็นนักศึกษาหญิงไปมหาวิทยาลัยอย่างเสรี 

20080224 ภาพประกอบ (2)

ชาน่า หยิบข้อความจากรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ ท่านพูดว่า "นักศึกษาเพศที่สามมีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ และทำอะไรดีๆให้แก่สังคมอย่างมากมายแต่การแปลงเพศตั้งแต่อายุยังน้อยหรือขณะเรียนมหาวิทยาลัยนั้นอยากให้แพทย์มีมาตรฐานการตรวจสภาพจิตใจ ก่อนอนุญาตให้ผ่าตัด เพราะที่รู้มายังไม่มีกฎ หรือข้อบังคับชัดเจน ต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลหรือคลินิกก็มีรายได ้ส่วนใหญ่มาจากการ ศัลยกรรมแปลงเพศ ผมอยากให้คำนึงถึงความปลอดภัยให้มาก เพราะการผ่าตัดเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างต่างประเทศ เขามีการพบจิตแพทย์หลายครั้ง มีการทดสอบอื่นๆ อีกมาก กว่าจะผ่าตัดแปลงเพศ ส่วนเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้าในบัตรประชาชน จากนายเป็นนางสาวนั้น ถ้าคุณแปลงเพศให้เขาแล้ว คุณก็ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าจากนายเป็นนางสาวให้เขาด้วย เพราะร่างกายได้เปลี่ยนเป็นผู้หญิงไปแล้ว" *  ดร.ปริญญา กล่าว

เท่าที่ท่านพูดมานั้นแสดงว่าทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีนโยบาย ผ่อนปรนเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา  เพราะเค้าเน้นให้สาระสำคัญทางด้านสติปัญญาและ ความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเรื่องการแต่งกายเพียงแต่ตอนรับปริญญาบัตรต้องแต่งชุดเป็นผู้ชายเท่านั้น

ส่วน  ผศ.ดร.มนัส นามวงศ์ คณะวิทยาการจัดการหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่า “เมื่อโลกกำหนดให้มีแค่สองเพศ เพศที่สามจึงต้องพยายามเข้าทางเพศใดเพศหนึ่งให้ได้ เพื่อให้สังคมยอมรับในสิ่งที่พวกเขาเป็นอยู่ ส่วนเรื่องการที่นักศึกษาชายแต่งชุดนักศึกษาผู้หญิงนั้น ขึ้นอยู่กับอาจารย์ผู้สอน ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าการที่เขาแต่งชุดนักศึกษาหญิงก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไร บางคนทำตัวเรียบร้อยกว่าผู้หญิงแท้เสียอีก ส่วนปัญหาที่พบอาจเป็นเรื่องการใช้ห้อง น้ำ เพราะนักศึกษาหญิงบางรายก็ไม่พอใจ” *   

อิชั้นเชื่อแน่ว่าผลกระทบต่อการแต่งตัวของน้องๆ สาวประเภทสองย่อมมีทั้งทางตรงและทางอ้อม และก็เกี่ยวข้องกับคนทุกเพศอย่างหลีกเสียไม่ได้  หากคนทุกคนจะมองพวกเธอเหล่านั้นที่ความเป็นคนไม่ได้มองที่พวกเธอเป็นตัวประหลาด หรือคนแปลกพิศดารพันลึก  ซึ่งก็เหมือนกับการเคารพสิทธิส่วนบุคคล  และแน่นอนว่าพวกเธอก็คงจะเคารพคุณ คนทุกคนเช่นกัน

หรือใครจะเห็นด้วยหรือไม่ คิดเห็นเช่นไรย่อมมีสิทธิ์คิดและเห็นได้อย่างเสรีบนโลกใบนี้...

จาก ชาน่า (อยากกลับไปเป็นนักศึกษา(สาว)... )
เขียนจากเมือง St.Lucia เกาะที่มีฝนตกมากที่สุดในทะเลแคริบเบี้ยนค่า...

หมายเหตุ
ข้อมูลการสัมภาษณ์จาก นสพ คง-จะ-เล็ก (ผิดประจำ) พิมพ์ใหม่ค่ะ... นสพ . คม –ชัด – ลึก
ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ www.missladyboys.com

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า