เรื่องที่คิดไว้ในใจอยู่นาน หลังจากที่กระแสทีวีดิจิทัลในประเทศไทยตื่นจับและนำเข้าละครเกาหลีใต้มาออกอากาศในเวลาที่ไล่เลี่ยกันกับการออกอากาศสดที่เกาหลีใต้นั้น จะนำมาซึ่งการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างจริงจังกับเวปไซต์ที่เผยแพร่ละครเกาหลีใต้ซับไทย จนสุดท้ายอาจจะนำมาสู่เงื่อนไขของการยุติการเผยแพร่ของเวปไซต์เหล่านั้นในที่สุด
และแล้ววันนี้ก็มาถึง เมื่อเวปไซต์โคตรฮิต หรือkodhit ที่มีฐานผู้ชมออนไลน์จำนวนมากเวปหนึ่งได้ประกาศในวันนี้ (๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) ว่า สถานีSBS และสถานีMBC มีการแจ้งเตือนที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากยังคงเผยแพร่ละครของทางสถานีซึ่งเผยแพร่พร้อมซับไทยอย่างไม่เป็นทางการต่อไป
นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่จะมีการดำเนินคดีหรือบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ กับสิทธิในการนำเนื้อหามาเผยแพร่หรือออกอากาศของละครเกาหลีใต้ในประเทศไทยอย่างจริงจัง
ปัญหาของแฟนละครเกาหลีใต้ในประเทศไทยกับการเข้าไม่ถึงละครเกาหลีใต้ที่ "อยากดู" ไม่ว่าจะด้วยอยากดูนักแสดงนำหรืออยากดูเพราะเนื้อหาก็ตาม ก็คือการต้องรอคอยให้สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาเพื่อฉายสู่จอแก้ว
เมื่อย้อนกลับไปดู ละครเกาหลีใต้ที่มีการซื้อลิขสิทธิ์มาฉายจริงจัง น่าจะเป็นเรื่อง All about eve ที่สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง๕ นำมาฉาย ซึ่งออกอากาศในช่วงดึกมาก และไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร จนกระทั่งกระแสละครเกาหลีใต้เริ่มมีพื้นที่ยืนอีกครั้ง เมื่อสถานีโทรทัศน์ไอทีวี นำ "รักนี้ชั่วนิรันดร์" มาออกอากาศ ซึ่งทำให้ละครเกาหลีใต้เป็นที่นิยมและมีกระแสขึ้นมาบ้างระยะหนึ่ง และตอกย้ำกระแสละครเกาหลีใต้อย่างหนักหน่วงอีกครั้งด้วยการที่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง๓ นำ "จอมนางแห่งวังหลวง" หรือแดจังกึม มาออกอากาศ ตามด้วยกระแสของเรนจากการเป็นพระเอกละครเรื่อง "Full House" และละครเรื่อง "เจ้าหญิงวุ่นวายและเจ้าชายเย็นชา" ที่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง๗ เป็นผู้นำเข้า
เมื่อกระแสละครเกาหลีใต้มา แต่ตอบสนองแฟนละครไม่ได้ทั้งหมด ช่องทางออนไลน์ที่เข้ามาใหม่และด้วยความรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบลงแรงร่วมแปลซับและอัพขึ้นเวปให้แฟนละครเกาหลีใต้จึงมีขึ้นและขยายวง จนมาถึงวันที่สามารถจะเลือกดูละครเกาหลีใต้ทุกช่องด้วยซับไทยผ่านเวปต่างๆ ได้แทบจะไม่พ้นสองวันจากการออกอากาศที่เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นภาวะของแฟนละครเกาหลีใต้ที่อยู่ในบรรยากาศที่สนุกกับการเลือกเข้าถึงเนื้อหาที่ตัวเองต้องการได้อยู่หลายปี
ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่รับชมผ่านเวปไซต์ และดูละครเกาหลีใต้เกือบทุกเรื่องและเกือบทุกวันจนเป็นปกติ
จนวันมาถึงของการแข่งขันนำเสนอเนื้อหาของช่องทีวีดิจิทัลนี่เอง รวมทั้งช่องหลักๆ เดิม ที่แย่งกันนำเข้าละครมาฉายในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมาแบบที่ทิ้งช่วงห่างอากาศจริงที่เกาหลีใต้เพียงวันหรือสองวันนั้น ผู้เขียนเองก็เคยทำนายเอาไว้ว่า เมื่อมีการตั้งตัวแทนทางกฎหมายเพื่อเป็นผู้ทรงสิทธิในเนื้อหาขึ้นในประเทศไทยของสถานีโทรทัศน์เจ้าของลิขสิทธิ์ละครเกาหลีใต้เมื่อใด การดำเนินคดีลิขสิทธิ์คงจริงจังและเข้มงวดขึ้น
สิ่งที่ต้องยอมรับกันคือ ช่องทางในการเข้าถึงละครเกาหลีในประเทศไทย ถ้าว่ากันให้ถูกต้องตามกฎหมายที่มีบังคับอยู่นั้น เราต้องดูละครเกาหลีจากการคัดสรรของสถานีโทรทัศน์นำประเทศไทยมานำเสนออีกที ซึ่งการซื้อลิขสิทธิ์มานั้น ก็อยู่บนพื้นฐานของการตลาดนั่นคือ ฐานความนิยมของผู้ชม
แต่สำหรับแฟนละครเกาหลีใต้หลายคนที่ดูจริงจังเช่นผู้เขียน ทางเลือกที่มีผ่านสถานีโทรทัศน์ของไทยนั้น ไม่พอกับความต้องการเข้าถึงความหลากหลายของเนื้อหาของละครที่อาจจะกว้างกว่านั้น ซึ่งการดูออนไลน์ผ่านเวปตอบโจทย์มากกว่า
หลังจากนี้ การเข้าถึงเนื้อหาละครเกาหลีใต้อาจจะมีน้อยลง ด้วยการทีสองสถานีหลักที่ถือสิทธิในละครเกาหลีใต้เปิดเกมลิขสิทธิ์ขึ้นมา
ระหว่างนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือการ "ต่อ" กัน ระหว่างสถานีโทรทัศน์เจ้าของลิขสิทธิ์กับสถานีโทรทัศน์ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ว่าจะเล่นเกมเปิดตลาดเล่นกันแบบใด จึงเลือกเปิดเกมแรกด้วยการริเริ่มบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์อย่างจริงจังกับเวปโคตรฮิตเป็นเวปแรก
เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน กระแสความเคลื่อนไหว #metoo ในเกาหลีใต้ ได้มาถึงจุด "พีค" ของการชุมนุมและรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงและการคุมคามทางเพศในเกาหลีใต้ เพราะนักการเมืองดาวรุ่งในฝั่งพรรคประชาธิปไตย, อัน ฮี-จุง ถูกเปิดเผยพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงและล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้ใต้บังคับบัญชา คือ คิม จิ-อั