เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน กระแสความเคลื่อนไหว #metoo ในเกาหลีใต้ ได้มาถึงจุด "พีค" ของการชุมนุมและรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงและการคุมคามทางเพศในเกาหลีใต้ เพราะนักการเมืองดาวรุ่งในฝั่งพรรคประชาธิปไตย, อัน ฮี-จุง ถูกเปิดเผยพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงและล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้ใต้บังคับบัญชา คือ คิม จิ-อัน ซึ่งได้เปิดเผยเรื่องราวดังกล่าวผ่านการให้สัมภาษณ์สดในรายการข่าว Newsroom ของโทรทัศน์ JTBC เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา
https://youtu.be/o7TO1Pv_t2s
นอกจากกรณีระหว่างคิม จิ-อัน และ อัน ฮี-จุง ที่ถูกเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณะชนล่าสุด ก่อนหน้านั้น มีการเปิดเผยเรื่องราวการตกเป็นเหยื่อจากการล่วงละเมิดทางเพศ ของพนักงานอัยการสตรีประจำสำนักงานเขตกังนัม,โซ จิ-ฮยุน ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรมทางเพศมายาวนานกว่า ๖ ปี โดยคู่กรณีของเธอ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
https://youtu.be/624oPQujuLs
ระหว่างกระแสเคลื่อนไหว #metoo ในเกาหลีใต้ ละครโทรทัศน์ชุด Witch’s Court เริ่มต้นออกอากาศตอนแรก ณ สถานีโทรทัศน์ KBS2 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ถึง วันที่ 28 พฤศจิกายนปีที่แล้ว และแม้เป็นละครแนว Legal Drama ที่มีพนักงานอัยการเป็นตัวละครหลักในการดำเนินเรื่องที่เน้นการต่อสู้คดีกันในศาล แต่ด้วยเนื้อหาของละครเรื่องนี้ มีความชัดเจนแตกต่างกว่าละครในแนวเดียวกัน ซึ่งเน้นอยู่บนกรอบประเด็นเรื่องการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมทางเพศโดยเฉพาะโดยมีศูนย์กลางของเรื่องอยู่ที่สำนักงานอัยการคดีอาญาพิเศษว่าด้วยเรื่องเพศ โดยเฉพาะ
ความอลหม่านของอัยการสำนักนี้ เริ่มต้นมาจากเรื่องทัศนคติทางเพศ ความไม่เป็นหญิงไม่เป็นชายตามมาตรฐานของสังคม (?) ของอัยการมาอีดึม อัยการสตรีที่ความเป็นชายเด่นนำในเวลาทำงาน กลานเป็นผู้หญิงที่ใครๆ ก็รังเกียจไม่อยากข้องแวะด้วยเพราะมารยาทไม่งาม กลายเป็นนังมารร้ายหรือนางแม่มดประจำสำนักงานไป ส่วยอัยการน้องใหม่ เยว จิน-อุค ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นมาเป็นอัยการ เพื่อต้องการไถ่บาปที่ติดคาในใจของตัวเอง และอัยการน้องใหม่ดูเป็นผู้ชายที่ไม่แมนไม่มาโชใดๆ ทั้งสิ้น
การประทะกันของอัยการและนักสืบในสำนักงานนี้ ที่ต้องรับจัดการคดีที่ซับซ้อน ต่างคนต่างใช้ประสบการณ์ความเป็นแม่ เมีย ผัว ผู้หญิง ผู้ชาย จิตแพทย์เด็ก อดีตเนตติเซนเจ้าของคลังคลิปแบบถ่าย ฯลฯ ต่างถกเถียงและมุ่งหาความจริงจากการล่วงละเมิดทางเพศในลักษณะต่างๆ ที่เกิดมีผู้เสียหายขึ้น เพื่อให้นำความจริงนั้น มาต่อยอดเยียวยาและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวละครที่เป็นอัยการและนักสืบที่ทำงานรับผิดชอบคดีกลุ่มนี้
และด้วยต่างก็มีชุดความคิดและอคติในเรื่องเพศ จากประสบการณ์และความเชื่อที่ถูกรับการปฏิบัติมาก่อน และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากต่อการแยกขาดจากอคติทั้งหลายที่เกิดในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น ได้ทำให้เห็นความเติบโตของตัวละครแต่ละตัว ที่ผลของงานคดีกลายเป็นบทเรียนกลางสำหรับทุกคน เช่น การคำนึงเรื่องการเคารพอัตลักษณ์ของคู่รักชายรักชาย ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้านว่าจะเปิดเผยเพศสภาพได้แค่ไหนอย่างไร ในบรรยากาศสังคมที่ปฏิเสธการมีอยู่ของบุคคลรักเพศเดียวกันอย่างเข้มข้น เป็นต้น
การเปิดเผยเรื่องราวการถูกละเมิดสิทธิหรือถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ในระดับต่างๆ ตั้งแต่การทำอันตรายต่อจิตใจและร่างกาย เช่น การข่มขืน การคุกคามทางเพศ จนถึงการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศในความก้าวหน้าของหน้าที่การงานและชีวิต เป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับผู้ถูกกระทำ สำหรับการเปืดเผยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมถึงการยืนยันในข้อเท็จจริง ที่ต้องร่วมกันพิสูจน์ค้นหาความจริงร่วมกันบนเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ซึ่งต้องพิจารณารายละเอียดในสถานการณ์ที่ยังมีบุคคลต้องเผชิญหน้ากับการได้รับผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศนั้นอยู่ ซึ่งต้องจินตนาการไปถึง วิธีการเยียวยาเพื่อยุติแก้ไขความรุนแรงที่ไม่ว่าจะคงอยู่เป็นประเด็นในใจของผู้ถูกกระทำ หรือการแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิด
นอกจากอัยการแม่มด จะถูกกัดกันในการดำรงตำแหน่งในสำนักงานอัยการด้วยความเป็นผู้หญิง "ที่ไม่น่ารัก" ในสายตาของผู้บริหารชายชายทั้งหลาย มา อี-ดึม ยัง "ราดิคัล จนเสียจริต" ในการเปิดเปิงเรื่อง "เพศ" ที่ต้องเซนเซอร์ตัวเองไม่ให้ล้ำเส้นออกไปยืนอยู่ในสื่งที่ถูกต้องอย่างที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายพึงทำกันอีกด้วย
และละครเรื่องนี้ ยังบีบคั้นให้ผู้ชมอย่างเราๆ ต้องถูกผลักไปเป็นอัยการคดีอาญาทางเพศ ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างร้ายแรงเสียเอง โดยที่อาวุธคู่กาย คือองค์ความรู้ทางกฎหมายที่มีและอำนาจของความเป็นอัยการ อย่างอัยการอี ซึ่งถูกผลักให้ไปอยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน ของนักกฎหมายที่ถูกล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศนั้น
การล่วงละเมิดทางเพศ การคุกคามทางเพศ การข่มขืนใจ หรือการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศแตกต่าง หรือความไม่เป็นธรรมทางเพศ สำหรับในสังคมเกาหลียังคงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายเหล่านี้ไปอีกนาน ทั้งความรุนแรงในทางตรง กับความรุนแรงแฝงที่สะท้อนจากความคิดหรือสำนึกไปสู่การปฏิบัติ ที่เกิดกับผู้หญิงและบุคคลเพศหลากหลาย ที่ต้อเฝ้าระวังความรุนแรงกันอยู่ประจำ
เมื่อละครเรื่องนี้จบลง สิ่งที่เป็นจินตนาการด้านบวกที่เสริมพลังให้กับสังคมที่กำลังขับเคลื่อนประเด็นความเป็นธรรมสังคมในเรื่องเพศ ในชั้นของการดำเนินคดีในศาลหรือการติดตามมาตรการที่เป็นนิตินโยบายต่อไปในอนาคต และด้วยพลังของ soft power
แม้การใช้ประเด็นรณรงค์ #metoo จะเป็นการนำเข้ารูปแบบและแนวคิดสำคัญเข้ามาใช้ในเกาหลีใต้นั้น พลวัตรของสังคมเกาหลีใต้ ได้ปรับการนำเสนอให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของประเด็นการเรียกร้อง ที่แม้จะเริ่มต้นมาจากการเปิดเผยการแสวงหาประโยชน์จากเรื่องเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศในอุตสาหกรรมการบันเทิงของชาติ ได้ขยายมาถึงพื้นที่ทางการเมืองและพื้นที่บริหารรัฐการ ที่นำมาสู่การเปิดเผยข้อเท็จจริงจากเสียงของผู้ถูกกระทำ ซึ่งต้องเผชิญหน้าอย่างยากลำบาก และแทบจะเป็นเรื่องสิ้นหวัง หากการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางเพศถูกลดระดับด้วยวาทกรรมว่าเป็นเรื่องของสองคนเท่านั้น
การสร้างสังคมที่ปลอดภัย เคารพสิทธิในชีวิต เนื้อตัว ร่างกาย และมีทัศนคติอันโน้มเอียงไปสู่สำนึก "คนเท่ากัน" จะไม่มีวันเกิดขึ้นในฐานะเครื่องมือการยุติปัญหาความรุนแรงในเรื่องเพศได้ต่อไป
#metoo กำลังก้าวต่อให้คณะกรรมการอิสระระดับรัฐ มีการสืบสวนสอบสวนแสวงหาข้อความจริงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทั้งหมดในทุกกรณีที่มีการเปิดเผยในช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้
ถ้าเป็นข้อเรียนร้องที่ไกลสุดในสังคมไทยในเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้น การสอนหญิงวางตัวให้เหมาะสม การเรียกร้องโทษประหารชีวิตสถานเดียวในความฐานข่มขืน และก็ลืมมันไปเสีย อย่าพูดเรื่องผัวๆเมียๆ ของใครเขาเลย
น่าสนใจว่า ทั้งชีวิตของคิม จิ-อัน อดีตเลขานุการของอัน ฮี-จุง และชีวิตของอัยการโซ รวมทั้งอัน ฮี-จุง นักการเมืองดาวร่วงรายล่าสุดของวงการ ก็มีสถานการณ์และบริบท คล้ายกับตัวละครสำคัญของละครเรื่อง Witch’s Court ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนและยากลำบากอย่างเดียวกัน
#metoo แบบโคเรียสไตล์ จะยกระดับไปสู่การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมในเรื่องเพศได้ไกลแต่ไหน เป็นเรื่องผู้เขียนสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่รู้เป็นข้อมูล ณ ตอนนี้ ไม่มีข้อเรียกร้องให้ใช้โทษประหารชีวิต หรือใช้ยาฉีดทำลายความสามารถของอวัยวะเพศชายแต่อย่างใด.