Skip to main content

 

 

 

 

 

 

 




แถลงการณ์ฉบับที่ 2 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ

กรณีสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบัน

 

เรียน  นายกรัฐมนตรี ,ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, แกนนำมวลชนทุกฝ่าย, สถาบันที่เกี่ยวข้อง และประชาชนชาวไทย

 

จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันนับเป็นวิกฤตของประเทศไทยอีกครั้ง เกิดการเรียกร้องทางการเมืองจากประชาชนจำนวนมาก โดยมีหลากฝ่าย หลายความคิด และไม่มีท่าทีของการเจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดข้อยุติของความขัดแย้ง ในภาวะที่มืดดำเช่นนี้ มองเห็นเพียงฝุ่นควันของภาวการณ์การใช้อานาจนอกระบบ และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งน่ากังวลว่าจะนำไปสู่การละเมิดทางร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติใหญ่หลวงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย

 

นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ เชื่อมั่นในระบบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย และเชื่อมั่นว่าหนทางที่ยึดในหลักสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ไม่ถูกครอบงำหรือปลุกปั่น รวมถึงการคำนึงถึงความเป็นปกติสุขของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเสียงข้างน้อยนั้น จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนและมั่นคงของสังคมไทย เราจึงขอเรียกร้องให้

 

1.      “รัฐบาล” ไม่ใช้ความรุนแรงในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ประชาชนมีสิทธิในการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองตามหลักของสิทธิพลเมือง และรัฐบาลพึงใช้วิธีการตามกฏหมาย หลักสิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาอย่างเข้มงวดที่สุด

 

2.      “กองทัพและฝ่ายความมั่นคง” ควรเปิดพื้นที่ให้การแก้ไขปัญหาดำเนินไปตามกระบวนการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ ไม่พึงใช้อำนาจแทรกแซงและ/หรือทำการรัฐประหาร ประเทศไทยได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดจากการรัฐประหารมามากพอแล้ว

 

3.      “แกนนำของผู้ชุมนุมทุกฝ่าย” ยึดแนวทางการชุมนุมเรียกร้องด้วยความสงบ ภายใต้กรอบกฏหมาย ไม่ใช้การปลุกระดมจนนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างประชาชนกับประชาชน ไม่สร้างบรรยากาศความเกลียดชังระหว่างกันจนอาจก่อวิกฤติสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศได้ในที่สุด

 

4. “เจ้าหน้าที่ภาคส่วนต่างๆ” ทั้งในส่วนราชการ ตำรวจ ทหาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกวุฒิสภา พึงปฎิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบของกฏหมายอย่างเคร่งครัด ไม่สนับสนุนความรุนแรงในทุกกรณี

 

5.      “สถาบันหลักของชาติ” ที่มีบทบาทต่อสังคมไทยรวมถึงสถาบันการศึกษาและนักวิชาการ ควรสนับสนุนการหาทางออกให้แก่สังคมด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ชี้นำไปในทางที่จะบั่นทอนความเป็นประชาธิปไตยของไทย รวมทั้งไม่รับข้อเสนอของฝ่ายใดๆในการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี หรือสภา ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง เช่น การใช้มาตรา 7 หรือการตั้งสภาประชาชนเป็นต้น

 

6.      สุดท้าย ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันโดยเร็วที่สุด

 

ความรุนแรงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ไม่ว่าในกรณีใด ความพยายามเจรจาและแก้ปัญหาอย่างจริงใจเท่านั้นที่จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถหาทางออกร่วมกันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประชาชนอย่างแท้จริง กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ และผู้มีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล สถาบันที่เกี่ยวข้อง และแกนนำมวลชนทุกฝ่ายที่กล่าวมาในข้างต้น ดำเนินการตามข้อเรียกร้องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน


Statement on the Current Political Crisis in Thailand
Coalition on Democracy and Sexual Diversity Rights, 28 November, 2013

Dear Prime Minister, protest leaders from all sides, all affiliated institutions, and the Thai people,

The current political situation has once again thrown Thailand into another tumultuous period. A multitude of Thai voices have risen to convey their political demands. These come from various factions and perspectives, yet there seems to be no possibility for negotiations to end such civil conflict. In such dark times, we can only catch glimpses of the situation through the smoke of undemocratic authority and violence which may subsist between the State and her people, as well as between the people themselves. Fear of the inevitable violations against lives and properties prevail as the country is again under imminent threat against its stability; one that has yet to be witnessed in Thai society.

We, the Coalition for Democracy and Sexual Diversity Rights are an independent body of advocates. We strongly adhere to Democratic Principles, and firmly believe that only through the Human Rights approach, respect for freedom of expression and speech, the absence of propaganda and incitement; along with the acknowledgement of minority voices would we see an end to this civil strife. Only then can we ensure the sustainability and stability of Thailand. Thus we present our demands that:

1. “The Government” withholds any form of violence in its measures to alleviate the situation at all cause. The people have the right to mobilize and voice out their political demands according to their civilian’s rights. It is the State’s utmost responsibility to her people to ease the situation by means of Rule of Law, Human Rights Principles and Democratic process.

2. “The Army and Security Forces” must provide the space for Democracy to play its hand in solving the political crisis, void of external intrusions and/or Coup d’ Etats as Thailand has suffered enough from its recurring history of Coups.

3. “Leaders from all sides” adhere to peaceful political assembly void of any violence, with respect for law and order. There should be no form of incitement which would lead to further acts of violence between the Thai people. All forces must cease encouragement for hateful situations that may lead to unavoidable civil discord among the people.

4. “Government Officials” within the Government offices, law enforcement, the military, members of the Parliament and Senate must execute their duties duly under the Rule of Law and denounce support for violence in all form.

5. “National Institutions” who play a significant role in Thai society including the educational and academic institutions, must endorse democratic methods of resolving the crisis. The people must be free from diversions which would disrupt the Thai democratic process, and come together to deny the acquisition of an unelected Prime Minister or Parliament such as the anti-government demands for Article 7 of the Thai constitution or a people’s council.

6. Lastly, we call for immediate peaceful negotiations and resolve from all sides.

Violence must be frowned upon regardless of any underlying notions. Sincere negotiations and solutions are the only means to come about a common end to this turmoil. The Coalition for Democracy and Sexual Diversity Rights together with the listed names below thus call upon the State, affiliated institutions, and the leaders of the masses from all sides mentioned above to abide by these demands without delay.

Please leave your name in support of this Statement and its principles by posting a comment below.


 

ลงนามแนบท้ายแถลงการณ์ได้ที่กล่องข้อความด้างล่าง หรือ "คลิกที่นี่"

 

รายชื่อผู้ร่วมลงนามแนบท้ายแถลงการณ์:
1. การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ นักเขียน
2. ดาราณี ทองศิริ นักกิจกรรมอิสระ
3. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
4. ศรัทธารา หัตถีรัตน์ นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ กลุ่มวงน้ำชา
5. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ
6. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง มูลนิธิศักยภาพชุมชน, นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ กลุ่มวงน้ำชา
7. ก้าวหน้า เสาวกุล ประชาชน
8. ณฐกมล ศิวะศิลป ประชาชน
9. สุพีชา เบาทิพย์ นักกิจกรรมสิทธิทางเพศ
10. ชุติเดช ยารังษี นักเขียน
 
11. อัญชลี แก้วแหวน นักกิจกรรมอิสระ กลุ่มวงน้ำชา
12. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักกิจกรรม
13. นายธรรศ อับดุลเลาะห์ ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิเดอะพอส โฮมเซ็นเตอร์
14. อัญชนา สุวรรณานนท์ กลุ่มอัญจารี
15. ฤดี จุลกะเศียน ประชาชน
16. ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
17. ปริญญา เพชรสังฆาต
18. กฤตธีพัฒน์ โชติฐานิตสกุล นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ
19. อังกุศ รุ่งแสงจันทร์ วิศวกร
20. รชฎ บุญประเสริฐ
 
21. ทวิช พุดดี
22. กาญจนา แถลงกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
23. ชยุตม์ ศิรินันทไพบูลย์ นักกิจกรรมสิทธิทางเพศ
24. อภิเชษฐ์ ตรงจิตอุทัย
25. วัลลภ บุญทานัง ประชาชน
26. อโนพร เครือแตง บรรณาธิการ สื่ออิสระ www.LovePattaya.com
27. อรรถวุฒิ บุญยวง
28. วรพล มาสแสงสว่าง
29. กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์
30. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
31. พัชรี แซ่เอี้ยว
32. กิตติกา บุญมาไชย
33. ภีรนัฎฐ์ แก้วคำป
34. ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
35. จิรพงศ์ พลบูรณ์
36. เอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์
37. คำนวร เขื่อนทา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
38. วัฒนา มั่นเจริญ
39. เอนก จันทร์เครือ
40. ณัฎฐณิชา เหล็กกล้า นักศึกษา
 
41. นวภู แซ่ตั้ง
42. ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์
43. กิตติพล เอี่ยมกมล
44. คมลักษณ์ ไชยยะ
45. ณัฐพงษ์ บุญธรรม
46. นายศรเชียร สาราจารย์
47. กชกมล อนันตกฤตยาธร
48. นายสาริสา ธรรมลังกา นักศึกษาปริญญาโท สาขาทัศนศิลป์ มช.
49. จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์
50. Pricha Kwunyeun M.D.
 
51. สุวรี เกตุไทย ตัดต่อรายการโทรทัศน์
52. เกตุวสุ เกตุไทย นักศึกษา
53. สุจินต์ เกตุไทย
54. ยุทธพันธุ์ เกตุไทย รับจ้าง
55. อุษณีย์ ตาปิน ผู้ใช้แรงงาน
56. ชมนาท ประสิทธิมนต์
57. สุมาลี โตกทอง
58. รัชนีชล ไชยลังการ์
59. คมธิวัฒน์ เกตุไทย ตัดต่อรายการโทรทัศน์
 
60. อนุชา วรรณาสุนทรไชย
61. ปราณี ศรีกำเหนิด
62. ชญานนท์ หนูหีต
63. นิพนธ์ อินทฤทธิ์
64. ลือชา กิจบำรุง
65. ภานุพงศ์ ธนะโคตร
66. ธันย์ ฤทธิพันธ์
67. จิฬาชัย พิทยานนท์
68. วรุฒ จักรวรรดิ์
69. ศักดิ์ดา ถวัลย์วรกิจ
70. เขียน ตะวัน
 
71. ชีวิน จั่นแก้ว
72. ปภังกร ศิริกาญจนภัย
73. พักตร์วิไล สหุนาฬุ
74. ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร
75. นายศักดิ์ชัย บุญมี ข้าราชการบำนาญ
76. สมชาย อดุลเจริญทอง
77. วัชรัสม์ บัวชุ่ม 
78. เมธาวี เอกวิภพ ประชาชน
79. เสฎฐวุฒิ ทองมี, นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
80. จตุรงค์ หิรัญกาญจน์
 
81. ณญา แซะหมูด
82. ศักดิ์ชัย บุญมี ข้าราชการบำนาญ
83. พริษฐ์ ชมชื่น
84. มิ่ง ปัญหา
85. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง
86. วริษฐา นาครทรรพ
87. สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ นักศึกษา
88. อนุศักดิ์ แซะหมูด
89. อภิเชษฐ์ ตรงจิตอุทัย
90. อุษณีย์ ตาปิน (ผู้ใช้แรงงาน)
 
91. ภารดี จิตรโองการ แม่บ้าน
92. วชิราภรณ์ พุทธันบุตร
93. ธนัชชมน์ ธนาธิป-ปริพัฒน์
94. จิตร โพธิ์แก้ว
95. ชัยวัฒน์ ทองรัตน์
96. ชานันท์ ยอดหงษ์
97. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
98. สัณห์ชัย โชติรสเศรณี
99. พาฝัน รื่นฤทธิ์
100. อธิสิน ชิตรัตน์
 
101. เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
102. ชลิดา เอื้อบำรุงจิต
103. ณิชยา วัฒนกำธรกุล
104. อนาวินทร์ เศวตกีรติภิรมย์
105. (ขอถอนการลงชื่อ 17 ธันวาคม 2558)
106. โชคชัย สุริยะโชติ
107. สุทธิมน ทักษิณวัฒนานนท์
108. อนุราต ซิงห์ ดินด์ซา
109. สุจินต์ อยู่ปรางค์ทอง
110. ธเรศวร์ ธนอังกูรกุล
 
111. วัฒนา เกี๋ยงพา
112. แสนดี ม่วงศรีสันต์
113. น.ส จรีรัตน์ เคลือบกำเนิด
114. น.ส จิราวรณ ลัดดากุล
115. ณิชาพัชร์ คงวรรณรัตน์, นักศึกษา
116. ณัฐธยา เดชดี ประชาชน
117. ณัฐกานต์ วิภาคาร
118. โชคชัย สุริยะโชติ
119. ไพศาล ลิขิตปรีชากุล
120. พรหมภัสสร จันทร์ฐปนัท
 
121. วันพรรษา แสงพลอย ประชาชน
122. สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข
123. นริณีย์ รุทธนานุรักษ์ พนง.บริษัท
124. พรพิศ ผักไหม
125. กฤดากร ศรีวัลลภ
126. ธิติพงศ์ พีรภัคพงศ์
127. ปริญญา ชีวินกุลปฐม
128. พิชญ อนันตรเศรษฐ์
129. สมชาย แซ่จิว ประชาชน
130. ประกิต กอบกิจวัฒนา
 
131. จามีกร จรเสมอ
132. ภัทรพล มหาดำรงค์กุล
133. นัจญมา มะแอเคียน, อาจารย์พิเศษ
134. บดินทร์ เจษฎาจินต์, พนักงานบริษัทเอกชน
135. ชาย แสงอากาศ
136. บัณฑิกา จารุมา, อาจารย์
137. พงษ์ธร จันเลิศ
138. เจนจิรา พึ่งสุข
139. วรัญญากรณ์ ฟักทอง
140. วนารี คุ้มพ่วงดี , นักศึกษา
 
141. นุสรา ต่ายแสง 
142. วรัญญากรณ์ ฟักทอง
143. ปิยพัฒน์ จันทพันธ์
144. นิรมล สงวนวงศ์
145. ยุทธพลต์ โสภณชื่นสุวรรณ
146. นารีรัตน์ ชีววงศ์วิศิษฎ์
147. ปวุธ บำรุงพืช
148. เวียง-วชิระ บัวสนธ์
149. จิตติมา ทรรศนกุลพันธ์
150. สุดไผท เมืองไทย
 
151. กานต์ หงษ์ทอง
152. กวิน รุ่งเรืองยศ, พนักงานเอกชน
153. อาทิตย์ วงษ์เมตตา 
154. นางสาวปัทมา คุ้มพ่วงดี
155. นางสาวปัทมา คุ้มพ่วงดี
156. นิภาพร แหล่พั่ว
157. นิติกร ค้ำชู สามัญชน คนธรรมดา
158. พลอยสยาม ยอดเมือง
159. วรชัย เพชรคุ้ม ประชาชน
160. วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล
 
161. ธีรวุฒิ ผิวดำ ,นักศึกษา
162. มัจฉา พรอินทร์ NGOs 
163. วีรวรรณ  วรรณะ NGOs 
164. ระพี ส่งคุณธรรม
165. เกรียงไกร และมัด นักศึกษา
166. ชลธี ตะพัง
167. ปวุธ บำรุงพืช
168. การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์
169. ศศิณัฏฐ์ สุขประเสริฐ
170. ฉัตรพร แสวงการ
 
171. ณัฐรดา สุทธาธาร
172. จิตติมา ทรรศนกุลพันธ์ MD
173. อมรศักดิ์ ศรีสุขกลาง
174. วรรณกวี อยู่วัฒนา
175. ศักดิ์รพี รินสาร
176. คุณวุฒิ บุญฤกษ์
177. สุมนทิพย์ บุญเกิด
178. อนุวัฒน์ พรหมมา พรรคสามัญชน
179. เดชาธร บำรุงเมือง
180. กิตตา วิจิตรสกุล
 
181. ธราดล ทองปิก
182. ธนิต แย้มยาง
183. สารัช สุจริตชัย
184. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
185. เถกิง พัฒโนภาษ
186. ดลวรรฒ สุนสุข
187. กุลเชษฐ วุฒิมานานนท์ ประชาชน
188. Frank McMullan
189. อมรเทพ กมลศักดิ์กำจร ชาวบ้าน
190. ธันย์ ฤทธิพันธ์ นักศึกษา
 
191. ดำนาย ประทานัง
192. วลงค์กร เทียนเพิ่มพูล
193. อาภรณ์ จันทราภิรมย์
194. ปวิตา ทิพย์สมบัติบุญ
195. จุฑามาศ ตั้งสันติกุล
196. รวิวาร โฉมเฉลา
197. พรเทพ เพชรสัมฤทธิ์
198. เจนจิรา บัวขาว แม่บ้าน , อดีตอาจารย์สาขาการตลาด
199. นฤมล เนาวลักษณ์
200. กานต์รวี ดาวเรือง
 

201. นายไพรวัลย์ ทองอ่น
202. นางวชิรญาณ์ เลิศหงิม
203. ญาณภร บุรัสการ (พนักงานบริษัท)
204. อัญชลี ศรีบุญเรือง
205. อรพรรณ สาโจน์
206. นิติพงศ์ สำราญคง

207. นางสาวอัจฉราภรณ์ โยเหลา
208. นายเฉลิมพล สุขเรืองรอง
209. หัทยา วรรณสร้อย
210. ภานิณี วิบูลย์วิริยะสกุล

211. กมลทิพย์ ปฏิรูปานนท์

บล็อกของ LGBT&Democracy (CDSR)

LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเรื่อง ยุติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศและการจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ประท้วงจากกรณีที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันโอชา ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติการสร้า
LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศฉบับที่  6
LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์ฉบับที่ 3 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
LGBT&Democracy (CDSR)
 แถลงการณ์ฉบับที่ 1 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ