#‎ทุกเสียงแสดงสิทธิ เพื่อรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หรือ UPR report

 

 

เราเคยถูกกีดกัน เลือกปฎิบัติ และละเมิดสิทธิ เพราะเหตุที่คุณเป็น หญิงรักหญิง ชายรักชาย เป็นคนรักสองเพศ เป็นคนข้ามเพศ เป็นทอม เป็นดี้ เป็นเกย์ เป็นกะเทย เป็นคนสองเพศ เป็นตุ๊ดหรือไม่

ถ้าคุณเคย.... มาร่วมกันเขียนรายงานกับพวกเราโดยการแจ้งเรื่องราวที่เคยโดนเลือกปฎิบัติตามแบบฟอร์มด้านล่าง
เรื่องของคุณจะไม่เงียบหายอีกต่อไปและยังช่วยเพื่อนๆที่ถูกเลือกกระทำในเรื่องเดียวกันได้ด้วย

เพื่อส่งรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือ UPR report ( Universal Periodic Review report) ให้กับ UN โดยจะมีการนำเสนอจากภาคประชาสังคมในปลายเดือนนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการทบทวนสิทธิมนุษยนชน จากคณะกรรมการ UPR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไลของสหประชาชาติ (UN)

#ทุกเสียงแสดงสิทธิ

 

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือ UPR report ( Universal Periodic Review report) เป็นกลไกสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติใช้รายงานเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ

ในรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งที่ 1 ประเทศไทยถูกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนทบทวนรายงาน เมื่อ ปี พศ 2554 มีข้อเสนอแนะจากคณะมนตรี 172 ข้อ แต่ประเทศไทยรับข้อเสนอแนะมาปฎิบัติเพียง 134 ข้อเท่านั้น

เป็นประเด็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (เสรีภาพในการแสดงความคดิเห็นและการแสดงออก, เสรีภาพในการชุมนุม และการอำนวย ความยุติธรรม)

สิทธิทางเศรฐกิจและสังคม (สิทธิในการพัฒนา การขจัดความยากจน สิทธิในการทำงาน สิทธิด้านสุขภาพ และสิทธิด้านการศึกษา)

สิทธิของกลุ่มเฉพาะ (สิทธิเด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มคนชายขอบ ชาติพันธ์ แรงงานโยกย้ายถิ่น ผู้ลี้ภัย และการค้ามนุษย์) จากรายงานที่ผ่านมามีความพยายามร่วมกันกับองค์กรภาคประชาสังคมในเครือข่ายสิทธิมนุษยชน เพื่อนำเสนอประเด็นสิทธิความหลากหลายและความเป็นธรรมทางเพศแต่กลับไม่ได้รับการเสนอในการทบทวนรายงานดังกล่าว

ในเดือนมีนาคม 2559 ประเทศไทยจะต้องเข้ารับการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเป็นรอบที่สอง ในการนี้ ภาคประชาสังคมไทยจึงมีการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนฉบับประชาชน เสนอต่อสหประชาชาติ ภายในเดือน กันยายน 2558

ทั้งนี้จากการทำงานเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิความความหลากหลายและความเป็นธรรมทางเพศ ได้เห็นว่า การเสนอรายงานภาคประชาชนเพื่อเข้าร่วมทบทวนฯ ครั้งนี้มีความสำคัญในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของ LGBTI ในประเทศ เราจึงจัดกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจในการเขียนรายงานและการระดมความคิดเห็นเพื่อ เก็บสถาณการนำไปพัฒนาการเสนอรายงานจากภาคประชาสังคม เสนอกับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเพื่อพิจารณา ในการทบทวนสถาณการสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลไทยตามวาระในปี 2559

นอกจากนั้นคณะทำงานยังเปิดรับ เรื่องราว ข้อมูลการละเมิดสิทธิ และการเลือกปฏิบัติ ในกลุ่ม LGBTI หรือ คนรักเพศเดียวกัน คนรักมากกว่าสองเพศ เกย์ เลสเบียน กะเทย ทอม ดี้ อินเตอร์เซกซ์ หญิงและชายทุกเพศเพื่อร่วมกัน โดยบันทึกง่าย ๆ ตามลิงค์ goo.gl/GSl03b #‎ทุกเสียงแสดงสิทธ

คณะทำงาน