Skip to main content

 

แถลงการณ์ฉบับที่ 7

กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ

 

เรื่อง จุดยืนในการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศบนหลักการในระบอบประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนสากล

 

ปัจจุบันสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยตกอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง  เนื่องจากพบว่ามีการละเมิดสิทธิในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีแนวโน้มที่สถานการณ์ดังกล่าวจะรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศควรเติบโตได้ในบรรยากาศประชาธิปไตยด้วยความเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนในมิติอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิทางการเมือง สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน สิทธิในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมามีการจับกุม คุมขังโดยขัดกับหลักการดำเนินคดีที่เป็นธรรม ตลอดจนห้ามแสดงออกทางความคิดอันเป็นเสรีภาพขึ้นพื้นฐานของมนุษย์อย่างเด็ดขาดจากผู้ทรงอำนาจรัฐอย่างต่อเนื่อง

ด้วยตระหนักว่านักเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศต้องให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งทบทวนท่าที ฐานคิดในการทำงาน รวมถึงกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนที่ยึดมั่นในหลักสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของระบอบประชาธิปไตย กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ นักวิชาการ และประชาชน ดังรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฯ ขอแสดงจุดยืนในการเคลื่อนไหวประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ ดังต่อไปนี้

 

(1) เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศโดยไม่ยึดมั่นหลักการสำคัญในระบอบประชาธิปไตยคือ สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในมิติอื่น และขอแสดงความกังวลต่อการทำงานเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศที่ยังสนับสนุนอำนาจที่ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เนื่องจากมิได้เกิดจากเจตจำนงเสรีของประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย

 

(2) เราไม่เชื่อมั่นในการผลักดันสิทธิความหลากหลายทางเพศที่ไม่คำนึงถึงความชอบธรรม เช่น กรณีนักกิจกรรมฯส่วนหนึ่งที่ร่วมสนับสนุนการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.  2550 ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่ากระบวนการตรากฎหมายและความสำเร็จจากอำนาจที่ไม่ชอบธรรมไม่อาจนำมาซึ่งความสำเร็จที่แท้จริงและยั่งยืน แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้บันทึกเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ว่าด้วยการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ซึ่งขยายความถึงการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุแห่งเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ และความหลากหลายทางเพศ แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับถูกทำลายอย่างง่ายดาย  การได้มาซึ่งคำว่า “เพศสภาพ” ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งแต่งตั้งขึ้นจากอำนาจรัฐประหารก็อาจเป็นเช่นนั้น จึงขอตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของอำนาจในการตรากฎหมายและอำนาจในการรับรองสิทธิดังกล่าว อนึ่ง ปรากฏการณ์นี้ยังแสดงถึงความล้มเหลวของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศที่กลับไปสู่สถานะไร้สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก่อนการมีบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ถือเป็นความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย  ท้ายที่สุดการยอมรับความสำเร็จจอมปลอมย่อมไม่ต่างอะไรกับการทำลายขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศด้วยตนเอง

 

(3) เราเชื่อมันอย่างยิ่งว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองประการหนึ่ง มิอาจจะประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนได้ด้วยการเลือกหนทางที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของพลเมือง การทำลายระบอบประชาธิปไตยซึ่งเคารพสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นหลักการสูงสุด และโดยการเพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราจึงขอยืนยันว่าจะต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในทุกมิติไม่เพียงลำพังเฉพาะการเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิความหลากหลายทางเพศเท่านั้น

 

(4) เราขอยืนยันว่าการทำงานเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นรากฐานแห่งความเป็นธรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงกับความเป็นธรรมในมิติอื่น แม้ปัญหาร่วมหรือข้อเรียกร้องเพื่อความเสมอภาคของบุคคลเพศหลากหลาย มักถูกละเลยจากขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในสังคมไทย แต่การสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศและสิทธิความหลากหลายทางเพศจะต้องไม่เกิดขึ้นจากการยอมรับการละเมิดสิทธิของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือการทำลายหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย สิทธิทางการเมือง และสิทธิพลเมืองของผู้อื่น

 

(5) ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ไร้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในการตั้งคำถาม ปฏิเสธการวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด คนหลากหลายทางเพศมิอาจเรียกร้องให้สังคมยอมรับข้อเรียกร้องใดๆ ของตนเองได้โดยย่ำยีกระบวนการที่จะเปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเเละการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของสังคมในภาพรวมได้

 

เราจึงมีข้อเสนอแนะว่าการเคลื่อนไหวสิทธิความหลากหลายทางเพศ จำเป็นต้องทบทวนถึงหลักการและยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวอย่างเร่งด่วน โดยสนับสนุนการวิพากษ์จากภายใน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมไทยอย่างเป็นเอกภาพ

 

(ร่วมลงชื่อได้ที่ http://goo.gl/forms/0oqOo1gNTT )

 

อ่านแถลงการณ์นี้ในฉบับภาษาอังกฤษได้ที่: http://blogazine.in.th/blogs/lgbtdemocracy/post/5217

 

 

ลงชื่อแนบท้าย

  1. พงศ์ธร จันทร์เลื่อน

  2. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่

  3. สุพีชา เบาทิพย์

  4. อันธิฌา แสงชัย

  5. ดาราณี ทองศิริ

  6. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

  7. มัจฉา พรอินทร์

  8. ศรัทธารา หัตถีรัตน์

  9. จุฑิมาศ สุกใส

  10. สุไลพร ชลวิไล

  11. อนุสรณ์ สร้อยสงิม

  12. ก้าวหน้า เสาวกุล

  13. สรวิชญ์ โตวิวิชญ์

  14. ชนาง อำภารักษ์

  15. ธนากร การเที่ยง

  16. ศาสตราจารย์ ดร. วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

  17. ทยิดา เปรมสละ

  18. ณัฐวรนัชย์ เลอกีรติกุล

  19. ฤทธิพงษ์ มหาเพชร

  20. Tatsanajorn Pengkrud

  21. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง

  22. พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง

  23. ณัฐฐินี บุญญวงศ์

  24. สิริโสภา กุณฑลรัตน์

  25. ประภาภูมิ เอี่ยมสม

  26. วีรวรรณ  วรรณะ

  27. อัญชลี แก้วแหวน

  28. ชานันท์ ยอดหงษ์

  29. พรพิศ ผักไหม

  30. วีรยุทธ ธรรมมา 

  31. จักรพล ผลละออ

  32. พีระศักดิ์ รินสาร

  33. วรารัตน์ กระแสร์

  34. สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์

  35. ทวารัตน์ หงษ์นคร

  36. yaki niku

  37. วีรวรรณ วรรณะ

  38. วรุฒ จักรวรรดิ์

  39. รชต ทีส

  40. นายบุญญบุตร สมบูรณ์พันธ์

  41. Ice Nambenchapon

  42. นพวิทย์ ศรีโรจน์รัชตะ

  43. สุวัจน์ อึ๊งอำนวยผล

  44. Nedine Kachorn

  45. อาทิตย์ มีไมตรี

  46. สมชาย จิว

  47. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

  48. จุฑิมาศ สุกใส 

  49. Paisarn Likhitpreechakul

  50. Chommanart Prasitthimon

  51. Ryan V. Silverio

  52. Thilaga Sulathireh

  53. Hla Myat Tun

  54. Ging Cristobal

  55. Pichayapak Koedsiri

  56. Pinrat Thanapop

  57. Srun Sron

  58. Anna Arifin

  59. Jean Chong

  60. Arus Pelangi, Indonesian Federation of LGBTIs

  61. Thanachchon Thanathip-parripatt

  62. Kallayavadee Visaroj 

  63. พัชรี แซ่เอี้ยว

บล็อกของ LGBT&Democracy (CDSR)

LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเรื่อง ยุติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศและการจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ประท้วงจากกรณีที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันโอชา ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติการสร้า
LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศฉบับที่  6
LGBT&Democracy (CDSR)
แถลงการณ์ฉบับที่ 3 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
LGBT&Democracy (CDSR)
 แถลงการณ์ฉบับที่ 1 กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ