Skip to main content
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น

\\/--break--\>

 

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ที่ไม่มีในบันทึกที่เป็นตัวอักษร แต่บันทึกไว้เป็นเสียง คือคำสอนของหลวงพ่อ ที่ลูกแอบบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือของลูก จนหลวงพ่อแซวว่า ความลับแตก เสียงคำสอนที่ลูกเปิดฟังซ้ำๆ ในวันก่อนๆ แม่ไม่ได้ตั้งใจฟัง เมื่อแม่ได้ฟังอีกครั้งอย่างตั้งใจ ในเวลาที่ไม่มีลูกอยู่ข้างๆแล้ว ทำให้แม่กระจ่างชัดถึงคำว่าการรักษาของหลวงพ่อนั้น คือสิ่งใด

 

ทุกวัน เวลาสายๆ ลูกจะนอนหลับตานิ่งเงียบยาวนาน บอกว่ากำลังภาวนาเปิดร่างกายให้หมอเทวดามารักษาตามวิธีการของหลวงพ่อ

 

"วิธีการที่จะรักษาตัวเองอย่างธรรมชาติที่แท้จริง เราจะต้องทำร่างกายของเราให้เป็นธรรมชาติ ต้องไม่มีเรา เราต้องวางจิตลงไปให้ได้ ร่างกายนี่ เราวางได้ง่าย เพราะเราเห็นคนตายเรารู้แล้วว่าคนตายต้องเผาทิ้ง แต่จิตนี่เรายังเห็นเป็นเราอยู่ เพราะถ้าไม่ใช่เราแล้วใครนึกใครคิด ทำไมมันคิดได้ ทำไมหงุดหงิดได้ ทำไมรำคาญได้ อันนี้ นี่ เพราะจิตเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านรู้ความลับอันนี้ ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ได้ ท่านรู้ว่าจิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง นึกคิดปรุงแต่งได้จริง แต่มันเป็นกระบวนทางจิต เป็นกระบวนการทางนามธรรม เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง มันนึกคิดได้ตามธรรมชาติของมันเอง เราต่างหากที่ไปขี้ตู่ว่ามันเป็นเรา เหมือนที่เราตู่ว่า ร่างกายเป็นของเรา ตู่ว่าปากกาเป็นของเรา เอานู่น เอานี่มาเป็นของเรา จริงๆแล้วเป็นธรรมชาติที่เอามาสำหรับใช้สอย สมมุติเอาว่าเป็นของเรา สิทธิ์ของเรา โดยทางโลกยอมรับกัน ว่าอันนั้นเป็นของคนนั้น อันนี้เป็นของคนนี้ เพื่อไม่ให้ก้าวก่ายยุ่งเหยิงวุ่นวาย แต่ความเป็นจริงแล้ว ทุกอย่างเป็นของธรรมชาติหมดเลย ต้นไม้ก็อยู่ตามธรรมชาติ ที่เอามาทำบ้านทำเรือนก็เอามาจากธรรมชาติโน่น แต่เราก็ไปตู่ว่าเป็นของเรา บ้านเป็นของเราก็จริง แต่เป็นจริงโดยสมมุติ มีข้อตกลงกันว่า ใครสร้างมันขึ้นมาคนนั้นมีสิทธิ์อยู่อาศัย สมมุติเรียกว่าบ้านของคนนั้น แต่มันไม่ได้เป็นของคนนั้นตลอดไป พอถึงเวลามันก็ผุพังไป สลายไป ยึดมันเอาไว้ไม่ได้ ร่างกายก็เหมือนกัน มันมาตามธรรมชาติ ถึงเราจะเกิดมาจากพ่อแม่ อาศัยธาตุพ่อธาตุแม่ มีจิตวิญญาณมาอาศัยอยู่ อาศัยอาหารตามธรรมชาติมาหล่อเลี้ยง แล้วมันก็เจริญเติบโตมาเพราะมันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เรียกว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟจากข้างนอกมาหล่อเลี้ยงที่สมมุติว่าเป็นร่างของเรา สมมุติเรียกว่า หนัง ขน เล็บ กระดูก


สมมุติที่เรียกว่าเป็นร่างกายของเราแค่ไหน ถ้าจิตมันแจ้งชัด มันจะไม่หลงยึดว่าเป็นกายเรา เป็นของเรา ส่วนจิตใจอันนี้ ต้องอาศัยสมาธิ คอยสังเกตดูใจบ่อยๆ ว่ามันเกิดขึ้นเอง แล้วก็ดับไปเองตลอดเวลา เราอย่าไปตู่ว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา ความโกรธมันไม่ใช่เรา ไม่ได้เป็นของเรา เป็นเพียงแค่อารมณ์ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ห้ามไม่ให้โกรธ ไม่ได้ มันเกิดเอง เมื่อกระทบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ มันก็กระทบกระเทือนทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิดสังขารประเภทหนึ่ง คืออาการไม่ได้ดั่งใจ ไม่ตรงกับความรู้สึก ถ้าเราควบคุมได้จริงจะทัน ทันที ว่า อ้อ คือธรรมชาติ ทุกอย่างจะเข้าไปสู่ธรรมชาติทั้งหมด


ถ้าเรารู้ทันกระบวนการทางธรรมชาติฝ่ายนามธรรม เราจะไม่เป็นทุกข์ พอไม่เป็นทุกข์ ร่างกายจะอยู่ตามธรรมชาติของมัน ใจก็อยู่ตามธรรมชาติ ทีนี้มันจะปรับสมดุลภายในกายในจิตเรา มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน เพราะเราไม่ได้เอาตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้อง

 

ความไม่สบาย ถ้าอยากจะหาย ก็ไม่ถูกอีก เพราะใจไม่อยู่ในอำนาจของเราแล้ว เหมือนกับว่ายังมีเรา เพราะเราอยากหาย ไม่อยากเจ็บป่วย แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนอย่างนั้น ท่านบอกว่า เรามีหน้าที่เข้ามารักษาจิตของเราเอาไว้ ให้มันรู้ความจริงเสีย ส่วนความป่วยมันจะหายหรือไม่ อันนั้นเป็นธรรมชาติ


ดูสิ พระพุทธเจ้าท่านละเอียดกว่าเรานะ เรานี่ยังหยาบ ยังอยากจะหาย ไม่อยากจะป่วย แต่ต้องรักษาไหม ก็ต้องรักษา เพราะว่าเราอาศัยร่างกายนี้อยู่ เราก็ต้องรับผิดชอบร่างกายของเรา เหมือนเรามีบ้านนี่ ถ้ามันรั่วเราก็ต้องซ่อม ถ้าใครไม่ซ่อมบ้านก็โง่น่ะซี ปล่อยให้มันผุพัง ฝนตกลงมาแล้วก็รั่ว กลายเป็นคนขี้เกียจ กลายเป็นคนไม่เอาถ่าน ไม่มีสติปัญญาไป มันต้องมีความรับผิดชอบที่จะซ่อม ซ่อมเองไม่ได้ก็ต้องให้ช่างมาซ่อม เหมือนเราเป็นไข้ รักษาเองไม่ได้ก็ต้องให้หมอรักษา


ควรกินยา ก็ต้องกิน ควรกินอาหารก็ต้องกิน เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องดูแลร่างกาย แต่เวลารักษานี่ เราก็อยากจะหาย ทุกคนอยากจะหาย แต่ให้รู้ว่า ถ้าเราอยากจะหายเราต้องไม่กระวนกระวาน เราทำเหตุให้ถูกต้อง ส่วนจะหายหรือไม่นั้น ให้เป็นเรื่องของธรรมชาติ อันนี้ เราจะไม่ทุกข์อีกแบบหนึ่ง เพราะเราน่ะอยากจะหายล่ะ แต่เรามาดูเหตุว่า ทำอย่างไรจึงน่าจะดีขึ้น ทำอย่างไรนะ จึงจะดีได้ เราเอาหลักของพระพุทธเจ้าเข้ามา มารักษาจิตเอาไว้ ไม่ให้มันยินดียินร้าย นี่ล่ะ เข้ามาหาจิตตรงนี้ไว้


ที่นี้ พอเรารู้หลักของจิตแล้ว รักษาจิตเอาไว้ให้สมดุล ถ้าจิตมันสมดุล ร่างกายก็สมดุลด้วย ธาตุต่างๆก็จะอยู่ไปตามหน้าที่ของมัน หน้าที่ของเราคือ ปรับสมดุลในจิต รักษาสมดุลที่แท้ภายในจิต นี่แหละที่ท่านเรียกว่า "มัฌชิมาปฏิปทา" ทางสายกลาง สายกลางตรงไหน กลางที่จิตของเรา ที่มีความสมดุล มันพอดีก็พอดีที่จิตเรา ถ้าหากจิตมันปรับไม่ได้ มันก็พอดีไม่ได้ เดี๋ยวมันจะเอานั่นเอานี่ กลัวไม่หาย กลัวเป็นมาก กังวลว่าวันนี้ดี พรุ่งนี้อาจจะไม่ดี


เราต้องพร้อมที่จะยอมรับสภาพ แต่ทีนี้ การที่จะทำให้ได้ดีขึ้นมา ยา เราก็รับประทานแล้ว อาหารเราก็รับประทานแล้ว บริหารร่างกายแล้ว ทำให้ถูกต้องทุกอย่างแล้ว ทีนี้ ในนามธรรม ในสิ่งแวดล้อมที่เรามองไม่เห็น ต้องอาศัยจิตของเราเป็นกุศลที่สูงที่สุด คือการปฏิบัติธรรม


นี่... การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการที่เรามีสติสัมปชัญญะ รู้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ จิตสามารถรักษาสมดุล ปล่อยวาง ให้กายกับจิตเป็นธรรมชาติ อยู่ตามธรรมชาติ ถ้าเราทำได้จริง

นี่แหละ สภาวะทางจิตใจ เราจะลึกซึ้ง เราจะแน่ใจว่า เป็นอันเดียวกับธรรมชาติ นี่..มันจะเข้าหาธรรมชาติแล้วนะนี่ ธรรมชาติที่มองไม่เห็น แต่จะรู้ จะเข้าใจ รับได้ สัมผัสได้ เขาก็จะมาช่วยเรา เพราะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นธรรมชาติอันเดียวกัน จึงจะเข้ามาหากันได้

 

นี่ล่ะ...มันมีความลึกซึ้งอย่างนี้ เพราะฉะนั้น วิธีการของเรานี่ เรารักษาโดยวิธีการธรรมชาติ แต่เป็นธรรมชาติทางร่างกาย ก็รักษาด้วยยา อาหาร บริหาร ทีนี้ด้านจิตใจเราเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า เอาความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้มาก่อน ท่านประทานคำสอนเอาไว้ ถ่ายทอดมาถึงเรา ทีนี้เราก็ตั้งใจปฏิบัติปรับสมดุลภายในจิตยอมรับความจริงตามธรมชาติ ปล่อยวางทุกอย่างตามธรรมชาติ แม้กระทั่งจิตก็ปล่อยวางอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อวางจิตแล้ว ทุกอย่างก็อยู่ของมันตามธรรมชาติของมันเอง

 

ที่นี้ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายนี่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ต้องอาศัยบุญ มีอำนาจของบุญเป็นพลัง คนเราจะเกิดได้ก็เพราะบุญ มีบุญกับบาปเป็นสิ่งกำหนด เวลาบุญให้ผลก็เป็นอย่างหนึ่ง เวลาฝ่ายบาปให้ผลก็เป็นอย่างหนึ่ง ทีนี้...พระพุทธเจ้าท่านก็เปรียบเทียบให้ฟัง เรื่อง ทาน ศีล ภาวนา ที่เป็นฝ่ายกุศล ฝ่ายดีที่สูงที่สุด เพราะทำให้จิตของเรานี่สะอาดบริสุทธิ์ได้ เมื่อใครปฏิบัติธรรม สำรวมกาย วาจา ใจ ได้ดี กุศลก็แรงขึ้น บุญก็มาก เมื่อมีกุศลแล้วเราก็แผ่บุญไปถึงธรรมชาติที่มาช่วยรักษาเรา ด้วยจิตที่เป็นกลางนะ ไม่ใช่ด้วยความอยากที่จะหาย จิตต้องปล่อยวางเป็นกลางๆ  ข้างในพยายามปล่อยวาง วางกาย วางจิต กายรู้วางแล้ว แต่จิตมันวางยาก เราต้องพยายามให้มีสติต่อเนื่องเรื่อยไป สติสำคัญที่สุดเลย สติจะเพิ่มได้ยังไง เกิดขึ้นได้จากการทำ สติอ่อนๆ เป็นทางให้มีสติมากขึ้น สติกลางๆเป็นทางทำให้จิตมีพลัง สติที่เข้มแข็งเกิดขึ้น กลายเป็นมหาสติ ควบคุมจิตได้ จิตจะเข้าไปหาความจริง คือ กาย สักแต่ว่ากาย จิต สักแต่ว่าจิต นี่คือความจริงที่เราต้องการ เรียกว่าเห็นความจริง เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป จิตของเราจะไม่เป็นกังวล มันต้องเห็นด้วยจิต ลึกซึ้งอยู่ในจิต แจ้งชัดตามความเป็นจริงอยู่ในจิต นี่ล่ะ เป็นเหตุให้เราจะต้องเจริญสติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

 

ส่วนอย่างอื่น เมื่อเราทำถูกต้องแล้ว หมดทุกอย่างแล้ว หายก็เอา ไม่หายก็เอา ไม่ยินดีไม่ยินร้าย นี่ล่ะ หลักธรรมที่จะเข้ามาหาจิตเรา ทีนี้ก็พิสูจน์สิว่า ระหว่างกรรมดีกับกรรมไม่ดีของเรา อันไหนจะให้ผลมากกว่ากัน...นี่ นี่แหละ คือการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดแต่เรื่องธรรมชาติฝ่ายรูป ยานั่น ยานี่ อาหารชนิดนั้น ชนิดนี้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมตรงนั้นตรงนี้ แต่พระพุทธเจ้าสูงขึ้นมากว่านั้น ด้วยการให้รักษาจิตเป็นธรรมชาติ ไม่เข้าไปหลงยึดว่าอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิต เป็นตัวเราเป็นของเรา สักแต่ว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราไม่หลงยินดียินร้าย

 

ทีนี้เมื่อเวลาจิตเราสงบ เราให้บุญได้ เวลาเราออกจากสมาธิ เรามีจิตสงบถือว่าเป็นกุศล มีพลังมาก ฝ่ายที่อยู่สูงเขาจะรับพลังนี้ได้ เราก็อุทิศบุญนี้ไป ยกบุญให้ โดยเฉพาะผู้ที่เต็มใจมาช่วยเรา เราอุทิศบุญให้ เขาก็จะมาช่วยเรา เราก็ปล่อยวางความอยาก อยากที่จะหาย ความไม่อยากจะเป็นเราก็วางลง ไม่เช่นนั้นเราก็ไม่สามารถรักษาความพอดีในจิตเราได้ ไม่สามารถรักษาสมดุลของร่างกาย ของจิตใจได้ เรียกว่า เราต้องมาปรับที่จิตของเรา

 

ในเมื่อความจริงก็คือความจริง ร่างกายไม่ใช่ของเราแน่ๆ เข้าใจแล้วทีนี้ คราวนี้มาเข้าใจเรื่องจิตอีกอย่างหนึ่ง เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ล่ะกระบวนการฝ่ายนามธรรม

 

เวลาอะไรมากระทบใจปุ๊บ มันเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิญญาณจิต ถ้ากระทบแล้วรู้สึกสบาย เราก็จะพอใจ ถ้าไม่สบาย เราก็จะไม่พอใจ ถ้าเรารู้ทันก็จะไม่เป็นไร แค่รู้ว่าสบาย หรือไม่สบาย แต่ถ้าไม่สบาย แล้วเราอยากให้หายไป ด้วยความไม่ชอบใจ มันจะเปลี่ยนโทสะ ขัดข้องภายในจิต เราจะต้องรู้ทันภายในจิต ที่อธิบายให้ฟังหมายถึงว่า กระบวนการฝ่ายจิตมันเกิดขึ้นได้ เวลาเราไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม กระทบปั๊บมันเกิดวิญญาณหนึ่งรับรู้ รู้แจ้งในอารมณ์ปั๊บ มันจะเกิดขึ้นในกระบวนการนี้อย่างเป็นธรรมชาติ เราห้ามไม่ได้เลย เราต้องมีสติดูใจเราไปเรื่อยๆ จึงจะทันมัน เมื่อทันแล้วสิ่งเหล่านี้ด็จะดับ มันจะไม่มีผลอะไรต่อจิต แต่ถ้าเราไม่ทัน มันมีผลเกิดเป็นเราขึ้นมา เกิดความชอบใจ เกิดความอยากได้ มันก็ปรุงแต่งในทางจะเอา อยากได้ อยากมี อยากเอา

 

ถ้าสติเราอ่อน มันก็ปรุงมาก แต่ถ้าสติแข็ง มันก็ปรุงน้อย ดับได้เร็วขึ้น ดับได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าสติรู้ทันอารมณ์ได้ตลอด มันก็จะว่างจากอารมณ์ แต่พอเผลอมันก็มีบ้าง ก็แล้วไป ไม่เป็นไร เพราะเรายังอยู่ในขั้นฝึกอบรมอยู่ เหมือนความโกรธ ที่เกิดขึ้นมา มันก็ปรุงแต่งไปอีกแบบหนึ่ง ก็ให้รู้ทันความคิดของเราเอง ที่เรียกว่าทันกระบวนการความคิด รู้จักกระบวนการฝ่ายนาม เราก็สามารถวางจิตให้อยู่ตามธรรมชาติของมัน

 

เวลา 18 กว่านาที ที่หลวงพ่อสอนลูก ด้วยหลักธรรมที่ลึกซึ้ง นั่นเป็นเพียงครั้งเดียว ในวันเดียว ตลอดเวลาที่ลูกอยู่ที่วัด ถ้าท่านไม่ได้รับนิมนต์ไปไหน ไม่มีเลยสักวันที่ท่านจะไม่มาโปรดลูก และมอบสิ่งที่ดีงามล้ำค่านั้นให้แก่ลูกของแม่

 

และท่อนสุดท้ายในเสียงที่บันทึก ท่านกล่าวว่า...

"เอาล่ะ หลวงพ่อจะไม่พูดอะไรแล้วนะ ทำสมาธินะ แล้วหลวงพ่อจะประคองจิตให้"

นั่นคือที่มาของ "การเปิดร่างกายให้เทวดามารักษา" ที่ลูกเขียนไว้ในวันต่อๆมา

 

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล