Skip to main content

ประมาณตีสาม เราค่อยๆไต่ขึ้นสู่เขตภูเขาสูง ฉันนึกเดาเอาว่าที่นี่น่าจะเป็นเขตรัฐสลังงอร์ เพราะว่าเผอิญสายตาปะทะกับป้ายที่เขียนว่า เกนติ้ง ไฮแลนด์ มีลูกศรชี้ไปทางซ้ายมือ แต่รถยังมุ่งหน้าตรงไป กระทั่งฉันเห็นเมืองเล็กๆมีไฟฟ้าสว่างไสว สาดจับที่รูปปั้นขององค์พระศิวะสีทองอร่ามความสูงร่วมร้อยเมตร ยืนตระหง่านตรงปากทางขึ้นถ้ำซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยไปกว่ากัน ฉันรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นถ้ำบาตู ฮินดูสถานที่สำคัญของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และถัดมาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีป้ายเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์โอรัง อัสลี ฉันจึงมั่นใจว่าตอนนี้เรากำลังปีนอยู่บนสันเขาสูงที่ทอดตัวยาวกั้นแผ่นดินมาเลเซียออกเป็นตะวันออกและตะวันตก และเราย่างเข้าสู่เขตรัฐสลังงอร์แล้วจริงๆ


 

ถนนกลายเป็นสองเลนเล็กๆ ที่คดเคี้ยววกวน ความเร็วรถไม่น่าจะมากนักแต่การพุ่งลงจากภูเขาสูงและการแซงแบบกระชั้นชิดหลายครั้งทำเอาฉันลุ้นลืมหายใจ ลืมง่วงลืมเพลียอย่างไม่ทันรู้ตัว คิดว่าถนนในมาเลเซียมีมาตรฐานความปลอดภัยและรถราก็ไม่มากไม่มายจนเกินไปนัก อัตราการเกิดอุบัติเหตุคงไม่เยอะหรอกนา

 

ตีห้ากว่าๆ เรามาถึงเมืองจารันตุด เพราะคนขับรถตะโกนบอก ขณะนั้นเหลือผู้โดยสารเพียงสี่คน สองคนที่ลงจากรถคือฉันและปิ๋น อีกสองคนยังนั่งอยู่ นาทีนั้นฉันจึงฉลาดขึ้นบ้าง เพราะหนึ่งในนั้นคือหนุ่มน้อยคนช่างรัก ที่บอกว่าบ้านเขาอยู่กัวลา ทาฮัน นั้นแสดงว่ารถน่าจะไปต่อยังเมืองนั้น และเป็นโอกาสที่จะเข้าถึงป่าได้ง่ายที่สุด แต่ฉันก็ไม่ได้พยายามจะหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะที่มีอยู่ในมือก็น่าจะนำพาให้ไปถึงป่าได้ และเป็นเส้นทางที่ฉันชอบเสียด้วย นั่นคือการเดินทางด้วยเรือ

 

การเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และการเดินทางแบบปุบปับไม่ได้วางแผน ทำให้ฉันไม่ได้หยิบเอาหนังสือคู่มือการเดินทางฉบับโลนลี่แพลเน็ตมาด้วย จึงต้องค่อยๆงมทางอย่างทุลักทุเล และเป็นบทเรียนให้จดจำไปใช้ในอนาคตว่า การเดินทางด้วยตัวเองอย่าลืมไก๊ด์บุคกับแผนที่ฉบับมาตรฐานเป็นเด็ดขาด

 

รถเมล์คันนั้นจากไปแล้ว ที่ท่ารถมีแค่เราสองคนเท่านั้น ฉันหันไปมองรอบๆอย่างตื่นตาตื่นใจ เพราะว่าที่นี่ไม่มีอาคารสูงใหญ่ มีแค่เรือนแถวชั้นเดียวที่สร้างง่ายๆ เหมือนร้านขายของเล็กๆน้อยข้างท่ารถที่บ้านเรา ฉากหลังที่เป็นภูเขาลูกเล็กๆทอดตัวยาวทางทิศตะวันตก มีม่านหมอกห่มคลุมบางๆ ชวนให้นึกถึงเมืองลาวที่เรียบง่าย ในนาทีนั้นฉันยิ่งสร้างภาพอันยิ่งใหญ่ของผืนป่ากว้างแห่งนั้นว่า มันจะต้องเป็นดงดิบหนาทึบร้างไร้ผู้คนสัญจรอย่างแน่นอน เพราะที่นี่ยังเป็นเมืองเล็กขนาดนี้ แล้วในป่าจะเงียบเหงาขนาดไหน

 

ฝันหวานค่อยๆละลายหายไป เมื่อเวลาผ่านไปเกือบชั่วโมง ขณะที่ฉันนอนเอนกพิงกระเป๋าเดินทางบนมายาวในอาคารเล็กๆของท่ารถ มีผู้หญิงมาเลเซียเชื้อสายจีนคนหนึ่งเดินมาถามว่า จะไปป่าทามัน เนการ่าใช่ไหม ฉันบอกว่าใช่ เธอเสนอให้เหมารถแท๊กซี่ของเธอ คิดราคาไม่แพง ฉันงงเล็กน้อย ถามว่าที่นั่นมีถนนเข้าไปถึงแล้วเหรอ เธอบอกว่าใช่ ฉันบอกว่าฉันอยากเดินทางเข้าไปทางแม่น้ำมากกว่า เธอจึงเสนอว่า ถ้าอย่างนั้นก็เหมาไปที่ท่าเรือก็ได้นี่คิดเงินแค่ 30 เหรียญเท่านั้น ฉันบอกเธอว่า ฉันยังมีเวลารอรถเมล์ท้องถิ่นอีกนาน เพราะเรือเที่ยวแรกออกเวลา 10 โมงเช้า รถเมล์เที่ยวแรกที่จะไปเมืองเตมบลิง ออกจากที่นี่ 8.30 . ฉันมีเวลาเหลือเฟือที่จะนั่งดูชีวิตผู้คนอยู่แถวนี้

 

เธอคนนั้นจากไปแล้ว มีผู้ชายหน้าตาแบบคนอินเดียเดินเข้ามา เขาเสนอว่าให้ไปป่าทางถนนด้วยรถตู้ของเขา คิดค่ารถคนละ 70 เหรียญ ฉันบอกเขาว่าขอบคุณ ฉันอยากไปทางเรือ ในช่วงเวลานั้นมีสาวๆฝรั่งผมทองสามคนแบกเป้ใบโตมาขึ้นรถตู้ ท่าทางพวกเธอไม่ลังเลที่จะใช้ถนนเข้าสู่ป่า แต่ฉันกับปิ๋นยืนยันว่าต้องการผจญภัยทางน้ำ

 

รถเมล์ของเรามาถึงที่ท่ารถตรงเวลา เมื่อเราขึ้นไปนั่งบนรถ สิ่งที่พบเห็นทั้งหมดเรียกได้ว่า เหลือเชื่อ เกินคาด เพราะรถคันเก่าๆคันนี้ มีคนขับที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ความเก่าและรกเขรอะขระจนแทบนั่งไม่ลง เบาะสีดำเปียกชื้นไปด้วยราดำ เศษขยะพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยซุกอยู่ทุกซอกของรถ ที่เหลือเชื่อกว่านั้นคือ บนรถมีแค่เราสองคน จ่ายค่ารถไปคนละ 1.50 เหรียญ (ราวๆ 15 บาท) ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงถึงท่าเรือเตมบลิง แต่รถคันนั้นยังวิ่งต่อไปยังในเมืองเตมบลิง ที่อยู่ห่างจากท่าเรือราวๆ 5 กิโลเมตร

 

ความฉลาดค่อยๆปรากฏตัว มาเย้ยฉันทีละนิด นับตั้งแต่รถแล่นออกจากท่ารถเพียงเล็กน้อย ฉันเห็นเมืองจารันตุดตัวจริง หาใช่เมืองเล็กๆไกลปืนเที่ยงไม่ แต่เป็นเมืองขนาดกลางที่มีร้านรวงพอสมควร และที่มีมากหนาตาคือบริษัททัวร์ป่า ที่มีป้ายโฆษณาคึกคัก

 

ความจริงยิ่งปรากฏชัดเมื่อเรามาถึงท่าเรือ ที่นั่นมีหนุ่มสาวชาวฝรั่งร่วมร้อยคนกำลังรอเรืออยู่ก่อนหน้าแล้ว พวกเขามากับบริษัททัวร์ ที่ขายบริการแบบคอนแท็คทัวร์โดยที่ผู้ซื้อบริการไม่ต้องโง่งมโข่งในเรื่องใดๆทั้งสิ้น

 

เขาเหล่านั้นน่าจะเดินทางมาจากเมืองเคแอล เมื่อคืนนี้

 

 


ท่ารถ เมืองจารันตุด

 

 


ร้านอาหาร


 


ในเมืองจารันตุด


 


ที่ท่าเรือเตมบลิง

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล