Skip to main content

Blade Runner 2049 (2017)

อะไรคือความเป็นมนุษย์?
 
เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังภาคต่อที่น่าจับตามองที่สุดแห่งปี หลังจาก Blade Runner ภาคแรกที่ออกมาในปี 1982 ได้สร้างตำนานหนัง Sci-Fi ผสม Film Noir ก่อให้เกิดแนวทางที่เรียกว่า Cyberpunk อันเป็นเอกลักษณ์จนได้รับการกล่าวถึงในวงกว้าง ผ่านมากว่า 35 ปี ในที่สุดก็ถึงคราวที่ Blade Runner 2049 จะมารับไม้ต่อของตำนานบทนี้
 
การกลับมาครั้งนี้ก็ไม่ธรรมดา เพราะได้ผู้กำกับฝีมือดีอย่าง Denis Villeneuve ที่เคยฝากผลงานมาแล้วทั้งในภาพยนตร์เรื่อง Arrival, Sicario และ Prisoners ด้านตัวนักแสดงเองก็มีแต่ระดับแม่เหล็ก ทั้ง Ryan Gosling, Jared Leto รวมไปถึง Harrison Ford ที่กลับมารับบท Rick Deckard จากในภาคแรกอีกครั้ง แม้กระทั่งงานดนตรีก็ยังได้เจ้าพ่องานสกอร์แห่งฮอลลีวู้ดอย่าง Hans Zimmer ที่ทำร่วมกับ Benjamin Wallfisch
 
ตัวหนังเล่าเรื่อง 30 ปีหลังจากเหตุการณ์ในภาคแรก เรื่องของเจ้าหน้าที่ K (Ryan Gosling) เบลดรันเนอร์ผู้มีหน้าที่ตามล่าและ ‘ปลดระวาง’ มนุษย์เทียม (Replicant) ที่หลบหนีมายังโลก โดยที่ตัวเขาเองก็เป็นมนุษย์เทียมเช่นเดียวกัน 
 
วันหนึ่งเขาได้รับมอบหมายให้ไปกำจัดมนุษย์เทียมที่ฟาร์มแห่งหนึ่ง และได้ค้นพบเรื่องน่าตกใจบางอย่างที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับโลกที่เขาอยู่ ความจริงที่เขาค้นพบนั้นเกี่ยวข้องกับ Rick Deckard (Harrison Ford) เบลดรันเนอร์รุ่นเก๋าที่หายตัวไปตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน เขาจึงต้องออกตามหา Rick ให้เจอ
 
ในขณะเดียวกัน Niander Wallace (Jared Leto) เจ้าของวอลเลซ คอร์ปอเรชั่น บริษัทผู้สร้าง Replicant ก็ต้องการที่จะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ K ค้นพบ จึงสั่งให้มนุษย์เทียมสาวที่เป็นเหมือนมือขวาของเขาคอยติดตาม K ไป
 
เราขอเตือนคุณล่วงหน้าว่าอย่าโดนหลอกโดยภาพลักษณ์ดุเดือดของเทรลเลอร์ ถ้าคุณคาดหวังที่จะดูหนังแอคชั่นไซไฟลุย ๆ ระทึก ๆ สู้กันมัน ๆ คุณคิดผิด ถ้าคุ้นเคยกับหนังของผู้กำกับเดนิสมาบ้าง (โดยเฉพาะเรื่อง Prisoners) น่าจะพอเดาได้ว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่นิ่ง ๆ ช้า ๆ ดูแล้วต้องคิดตาม ต้องตั้งใจฟังบทสนทนาตลอด โดยเฉพาะถ้าใครเป็นสายปรัชญาน่าจะชอบ เพราะมีการเล่นประเด็นที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อยู่ตลอดเรื่อง
 
ตลอดระยะเวลา 163 นาทีของหนัง แม้จะมีบางช่วงที่รู้สึกเนือยอยู่บ้าง แต่ไม่มีช่วงไหนเลยที่ดูแล้วไม่ตั้งคำถามกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น อะไรที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์? ในเมื่อเขามีชีวิต ความคิด มีความรู้สึก แถมบางทีมีความสามารถสูงกว่า แล้วอะไรทำให้คุณค่าในตัวเขาอยู่ต่ำกว่ามนุษย์แท้? โดยเจ้าหน้าที่ K ก็ออกเดินทางไปตามหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกับเรา การเฝ้ามองความเผลี้ยนแปลงในตัวของ K จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้แม้จะปวดปะสสาวะตั้งแต่นาทีที่ 100 เป็นต้นมา
 
อีกตัวละครหนึ่งที่จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ คือ Joi (Ana de Armus) โดยจอยคือโปรแกรมโฮโลแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เป็นเพื่อนคู่ใจของชายหนุ่ม แน่นอนว่า K ก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้จอย เธอเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเขา เพราะเธอคือสิ่งที่ยืนยันความเป็นมนุษย์ของ K — มนุษย์ที่เต็มไปด้วยความปราถนา และความต้องการการยอมรับ นี่อาจจะเป็นเพียงแค่ความรักระหว่างโปรแกรมกับมนุษย์เทียม แต่มันกลับดู ‘จริง’ และ ‘งดงาม’ เหลือเกิน
 
แม้โลกของเบลดรันเนอร์จะดูน่าตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีมากมาย และแสงไฟตระการตาในเมืองที่ดูไม่มีวันหลับใหล แต่นั่นเป็นเพียงเปลือกนอก เพราะความจริงมันคือโลกอนาคตที่ทุกอย่างไร้ซึ่งความหวัง ไม่ว่าจะธรรมชาติที่ถูกทำลายจนไม่มีชิ้นดี วัฒนธรรมที่ถูกกลืนหายจนสูญสิ้นความหลากหลาย มนุษย์ที่สร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อกดขี่ และยกระดับตัวเองให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่ที่น่ากลัวกว่าคือ มีหลายอย่างที่เราสามารถเห็นได้จากโลกทุกวันนี้
 
โลกธรรมดาในปี 2017 ที่ไม่มีมนุษย์เทียม ไม่มีเบลดรันเนอร์ แต่กลับมีการกดขี่ การแบ่งแยก และการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นให้เห็นจนแทบจะเป็นเรื่องปกติ
 
โดยสรุปแล้ว หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ถูกสร้างอย่างประณีตบรรจง ทั้งในแง่บท การแสดงที่ทรงพลัง การกำกับศิลป์ที่สวยงาม แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวถึงเกือบสามชั่วโมงที่ทุกอย่างเกิดขึ้น
 
อีกตัวละครหนึ่งที่จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ คือ Joi (Ana de Armus) โดยจอยคือโปรแกรมโฮโลแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เป็นเพื่อนคู่ใจของชายหนุ่ม แน่นอนว่า K ก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้จอย เธอเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเขา เพราะเธอคือสิ่งที่ยืนยันความเป็นมนุษย์ของ K — มนุษย์ที่เต็มไปด้วยความปราถนา และความต้องการการยอมรับ นี่อาจจะเป็นเพียงแค่ความรักระหว่างโปรแกรมกับมนุษย์เทียม แต่มันกลับดู ‘จริง’ และ ‘งดงาม’ เหลือเกิน
 
แม้โลกของเบลดรันเนอร์จะดูน่าตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีมากมาย และแสงไฟตระการตาในเมืองที่ดูไม่มีวันหลับใหล แต่นั่นเป็นเพียงเปลือกนอก เพราะความจริงมันคือโลกอนาคตที่ทุกอย่างไร้ซึ่งความหวัง ไม่ว่าจะธรรมชาติที่ถูกทำลายจนไม่มีชิ้นดี วัฒนธรรมที่ถูกกลืนหายจนสูญสิ้นความหลากหลาย มนุษย์ที่สร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อกดขี่ และยกระดับตัวเองให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่ที่น่ากลัวกว่าคือ มีหลายอย่างที่เราสามารถเห็นได้จากโลกทุกวันนี้ โลกธรรมดาในปี 2017 ที่ไม่มีมนุษย์เทียม ไม่มีเบลดรันเนอร์ แต่กลับมีการกดขี่ การแบ่งแยก และการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นให้เห็นจนแทบจะเป็นเรื่องปกติ
 
โดยสรุปแล้ว หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ถูกสร้างอย่างประณีตบรรจง ทั้งในแง่บท การแสดงที่ทรงพลัง การกำกับศิลป์ที่สวยงาม แต่ด้วยระยะเวลาที่ยาวถึงเกือบสามชั่วโมงที่ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า อาจทำให้มีคนถอดใจไประหว่างทาง แต่เราแนะนำให้คุณลองตั้งใจดูสักครั้ง เพราะแม้จะรายได้ไม่สู้ดีนัก (มีข่าวแว่วมาว่าผู้ผลิตอาจขาดทุนถึง 80 ล้านเหรียญ) แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นตำนานในวันข้างหน้า เหมือนกับที่ Blade Runner ภาคแรกเคยทำมาแล้วเมื่อ 35 ปีก่อน
 
*****

Reach for the Sky (2015)

ทั้งชีวิตเพื่อหนึ่งวันสอบ
 
Reach for the Sky หรือชื่อไทยว่า “ฝากฝันไว้ที่ปลายฟ้า” เป็นสารคดีที่ตีแผ่ถึงหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ นั่นก็คือการศึกษา โดยใช้วิธีการเล่าผ่านตัวละครเด็กที่กำลังจะสอบ “ซูนึง” ซึ่งเป็นการสอบใหญ่ คล้ายกับการสอบแอดมิชชั่นบ้านเรา
 
ครั้งแรกที่ได้เห็นทีเซอร์ก็พาลให้นึกว่า “นี่มันสารคดีหรือหนังแอคชั่น?! ” เพราะภาพที่เห็นคือรถมอเตอร์ไซค์วิ่งสวนไปมาราวกับอยู่ในเขตสงคราม ประโยคที่ขึ้น voice over เหมือนกำลังปลุกใจทหารก่อนไปออกศึก การสอบซูนึงนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มากในเกาหลี เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลจะขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อให้การสอบผ่านไปอย่างราบรื่นที่สุด เช่น ตลาดหุ้น บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะเปิดช้ากว่าปกติหนึ่งชั่วโมงเพื่อลดความติดขัดทางจราจร ข้อสอบจะถูกส่งไปด้วยรถหุ้มเกราะที่ได้รับการคุ้มกันอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อสอบรั่วไหล เครื่องบินจะถูกระงับการขึ้นบินในช่วงสอบฟังภาษาอังกฤษเพื่อไม่ให้ส่งเสียงรบกวนผู้เข้าสอบ รวมไปถึงรถไฟก็จะถูกลดความเร็วลงเช่นกัน และถ้าหากนักเรียนไปไม่ทันก็สามารถโทรหาตำรวจเพื่อให้ไปส่งถึงสนามสอบได้ทันที 
 
SKY เป็นตัวย่อของชื่อสามมหาวิทยาลัย อันได้แก่ Seoul National University, Korea University และ Yonsei University ทั้งสามมหาวิทยาลัยนี้เปรียบเสมือน Ive League ของประเทศเกาหลีใต้ เป็นเหมือน 'ขอบฟ้า' ที่เด็กมัธยมปลายทุกคนอยากจะเอื้อมให้ถึง และพร้อมจะเสียเวลาเพิ่มอีกปี หรือแม้แต่สองปี เพื่อสอบใหม่ ถ้าหากทำไม่ได้ในครั้งแรก ทำให้เกิดวัฒนธรรมการสอบใหม่ โดยเด็กที่รอสอบใหม่จะถูกเรียกว่า 'Repeater' ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ.
 
หนังเล่าผ่านชีวิตของสามตัวละครเป็นหลัก คือ ฮย็อนฮา เธอเป็นหนึ่งใน Repeater แม้จะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเองอยากเรียนอะไร
 
คนต่อมา คือ ฮเยอิน เด็ก ม.6 ที่กำลังจะสอบซูนึงเป็นครั้งแรก เธอต้องแบกรับความกดดันตลอดเวลา เพราะแม่ของเธอชอบคอยย้ำทั้งตัวเธอเอง และบอกกับคนอื่นตลอดว่า “เมื่อก่อนเธอเป็นเด็กที่เรียนเก่ง ถ้าตั้งใจจะต้องสอบได้แน่” 
 
คนสุดท้าย คือ มินจุน อีกหนึ่ง Repeater ที่ตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนประจำสำหรับเตรียมสอบโดยเฉพาะ ซึ่งมีบรรยากาศกดดัน มีกฏเกณฑ์มากมาย มีอาจารย์คุมที่เข้มงวดราวกับผู้คุมในเรือนจำ
 
ตัวละครไม่ได้มีแค่เด็กเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอีกตัวละครหนึ่งอย่าง คิมคีฮุน เขาเป็นทั้งติวเตอร์วิชาภาษาอังกฤษคนดัง และมหาเศรษฐี โดยตลอดเรื่องเราจะได้เห็น
 
ภาพของนักเรียนที่นั่งมองเขาราวด้วยสายตากับเขาเป็นความหวังของชีวิต แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังได้ยินประโยคอย่าง “ห้องนี้รับเด็กได้น้อยไป” ตอนที่เขากำลังจะอัดเทปสอนพิเศษ ชวนให้สงสัยว่าเขาคือครูผู้ช่วยเหลือเด็ก ๆ หรือเป็นเพียงนักธุรกิจที่คอยกอบโกยผลประโยชน์จากระบบที่ล้มเหลวเช่นนี้กันแน่
 
วิธีการเล่าเรื่องของหนังสารคดีเรื่องนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือก่อนสอบ วันสอบ และหลังสอบ โดยจะนับถอยหลังเข้าใกล้วันสอบเรื่อย ๆ ระดับความลุ้นระทึกของคนดูก็เพิ่มตามจำนวนวันในนาฬิกาที่ลดน้อยลง สิ่งเดียวที่เราเห็นจากเด็กทั้งสามคนคือการเรียน สลับกับการให้กำลังใจ (กึ่งกดดัน) ของผู้ปกครอง ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อความสบายใจของตน ทั้งไหว้ บนบาน ดูดวง และอีกสารพัดสิ่ง จนแทบไม่มีภาพของการเล่น การพบปะเพื่อนฝูง การใช้เวลาในแบบที่วัยรุ่นควรจะใช้ ไม่มีเวลาแม้จะออกไปค้นหาว่าตัวเองชอบอะไรเสียด้วยซ้ำ และความเครียดก็พุ่งมาถึงจุดสูงสุดเมื่อถึงวันสอบซูนึง จนกระทั่งสอบเสร็จแล้ว การรอผลก็ยังคงเป็นช่วงเวลาที่ระทึกไม่ต่างกับตอนก่อนสอบ แม้หลังประกาศผล ก็ยังคงมีการสอบรอบสัมภาษณ์ที่ทุกคนต้องเตรียมตัวอย่างหนักเพื่อที่จะ ‘แสร้ง’ เป็นคนแบบที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะชอบ
 
เมื่อผนวกแรงกดดันจากทั้งตัวเอง ครอบครัว และสังคมเข้าไป จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมวัยรุ่นหลายคนจึงยอมทิ้งชีวิตวัยเด็กทั้งหมดไปเพื่อการสอบ จนถึงขั้นมีคนพูดขึ้นว่า “เกรดสำคัญกว่าเพื่อน” หรือแม้แต่ “ผมว่าการเรียนไม่สำคัญเท่าการได้เข้ามหาวิทยาลัยที่ดี”
 
ในฐานะที่เป็นวัยรุ่นไทยคนหนึ่ง แม้จะโชคดีที่ระบบการศึกษาไทยไม่ได้บ้าเลือดถึงขั้นเกาหลีใต้ แต่ก็พูดได้ว่าวัฒนธรรมการ 'เรียนเพื่อสอบ' นี้ เป็นปัญหาใหญ่เกิดขึ้นกับบ้านเรามานาน และไม่มีทีท่าที่จะดีขึ้น
 
ทุกอย่างที่ได้เห็นในสารคดีเรื่องนี้ ชวนให้คิดจริง ๆ ว่าระบบการศึกษาแบบนี้ดีกับเด็กจริงหรือ เราใช้เวลากว่าสิบปีไปกับการเรียนโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากจะเป็นอะไรกันแน่ เช่นหนึ่งในตัวละครอย่างฮย็อนฮา ที่เลือกเป็นครูเพียงเพราะหมอดูบอกว่าเธอเหมาะกับอาชีพนี้ 
 
การเตรียมตัวสอบเหมือนกับเป็นเครื่องทำข้อสอบไร้วิญญาณ การทนรับแรงกดดันจำนวนมหาศาลทั้งจากตัวเอง คนรอบข้าง รวมไปถึงสังคม จนกลายเป็นคนที่รู้เยอะแต่มุมมองคับแคบนั้น 'คุ้ม' จริงหรือ เหมือนกับคำโปรยของหนังที่อยู่บนโปสเตอร์ว่า “What's the point of all this?” หรือ “ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร?”
 
*****

A Ghost Story (2017)

ผีผ้าปูที่นอนที่พาคนดูไปสำรวจพื้นที่ เวลา และการดำรงอยู่ของตัวตน
 
พูดถึงหนังผีแล้วคนส่วนใหญ่จะนึกถึงความสยองขวัญ ความระทึก ฉากหลอกหลอนที่ชวนให้ปิดตา แต่ A Ghost Story ไม่ใช่หนังสยองขวัญ (Horror) ที่หลอกคนดูด้วยผี แต่กลับเป็นความ ‘คำนึง’ เสียมากกว่า ที่จะหลอกหลอนและติดอยู่ในห้วงความคิดของคนดูแม้เดินออกจากโรงภาพยนตร์ไปแล้ว
A Ghost Story เล่าถึงความสัมพันธ์ของหญิงสาว M (Rooney Mara) และนักดนตรีหนุ่มผู้เป็นสามี C (Casey Affleck) ทั้งคู่ทะเลาะกันเพราะความเห็นต่างเรื่องการย้ายบ้าน วันหนึ่งชายหนุ่มประสบอุบัติเหตุรถชนจนเสียชีวิต แต่ด้วยความรัก หรืออาจจะเป็นความยึดติด เขาได้กลับมาหาภรรยาที่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง—ในสภาพของผีห่มผ้าปูที่นอนสีขาว
 
ด้วยหน้าตาของผีที่ดู 'ไม่จริงจัง' เหมือนกับคอสตูมวันฮัลโลวีนของเด็กอายุสิบขวบ ที่ตอนแรกเหมือนจะน่าขำ แต่เมื่อถูกแวดล้อมด้วยสภาพรอบข้างที่ทั้งหดหู่ เศร้าหมอง และจริงจัง กลับทำให้ผู้ชมมองข้ามความน่าขำนั้นไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อรู้ว่าภายใต้ผ้าปูที่นอนสีขาวนั้นคือวิญญาณที่ไม่สามารถสื่อสารกับคนรัก ทำได้แค่เพียงมองเธอที่กำลังโศกเศร้าเพราะการจากไปของตน 
 
“คุณทำทุกอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะยังคงอยู่ หลังจากคุณตายจากไปแล้ว” คือบทพูดของชายคนหนึ่งในงานปาร์ตี้ซึ่งจัดขึ้นในบ้านของเขา หลังจากที่ M ย้ายออกไปแล้ว ใจความของประโยคนี้คงสรุปหนังทั้งเรื่องได้ดีที่สุด เพราะสาเหตุที่เขายังคงติดอยู่ที่บ้านหลังนี้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ แม้ว่าภรรยาของเค้าจะย้ายออกไปนานแล้ว ถึงแม้จะมีผู้อยู่อาศัยใหม่เข้ามาคนแล้วคนเล่า จนถึงวันที่บ้านแห่งนี้โดนทุบและถูกสร้างขึ้นเป็นอย่างอื่น เขาก็ยังอยากมีตัวตนใน 'พื้นที่' แห่งนี้ เพราะมันเต็มไปด้วยความทรงจำระหว่างเขาและภรรยา
 
ที่นี่อาจจะเป็นที่เดียวที่ทำให้เขายังคงมีตัวตนอยู่
 
เหมือนกับที่เขาเคยบอกกับภรรยาในครั้งที่ยังมีชีวิตว่า สิ่งที่เขาชอบในบ้านหลังนี้  และทำให้เขาไม่อยากย้ายไปไหน คือ 'history'
 
เอกลักษณ์อีกอย่างของหนังเรื่องนี้คือความนิ่ง โดยเฉพาะฉากกินพายในตำนานของ M ที่เป็นการแช่ภาพนิ่งเป็นเวลาเกือบห้านาที ไม่มีการตัด ไม่มีลูกเล่นใด ๆ เพื่อสื่อถึงความเศร้าของตัวละครหลังจากสูญเสียสามีไป รวมไปถึงอัตราส่วนภาพที่เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก็สื่อถึงความอึดอัด และให้ความรู้สึกเหมือนกับโดนขังในพื้นที่หนึ่งได้เป็นอย่างดี
 
การที่ผู้กำกับหนังกระแสหลักจากสตูดิโอใหญ่โดดมาทำงานอินดี้ที่เป็นตัวของตัวเองนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้บ่อย เช่นเดียวกับผู้กำกับ David Lowery ซึ่งผลงานเรื่องก่อนของเขาคือ Pete’s Dragon (2016) หนังว่าด้วยการผจญภัยและมิตรภาพของเด็กกำพร้าหนุ่มกับมังกรคู่ใจ
 
ตัวเดวิดเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ผมไม่คิดว่าจะสามารถโน้มน้าวให้มีใครมาลงทุนกับหนังเรื่องนี้ (A Ghost Story) ได้ หรือถ้ามีจริง ๆ มันก็คงเป็นขั้นตอนที่ยาวนาน ผมรู้ว่ามันจะทำให้การทำงานของผมช้าลง”
 
มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังสยองขวัญ แต่เป็นหนังแนวทางใหม่ที่เรียกว่า ‘หลังสยองขวัญ’  (post-horror) เสียมากกว่า โดยคนดูจะไม่ได้เห็นการหลอกแบบตรงไปตรงมา แต่จะพบกับการตั้งคำถามเชิงปรัชญาหนัก ๆ  และความน่ากลัวที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวผี แต่การแยกประเภทย่อยเช่นนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ชมมากนัก
 
โดยสรุปแล้ว หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่สวยงาม บีบคั้นอารมณ์ และชวนให้ขบคิดถึงอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย แต่อาจไม่เหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะคนที่ทนกับความนิ่งและเงียบเป็นเวลานานไม่ได้
 

 

บล็อกของ Nisit Review

Nisit Review
ด้วยประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจ จากการเรียนรายวิชาบังคับต่างๆ ของคณะรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น จุฬาฯ ได้แก่ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (INTRO SOC ANTHRO) วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง (INTRO POL GOV) วิชาตรรกะ เหตุผล และการค้นคว้าทางสังคมศาสตร
Nisit Review
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล สัมภาษณ์ชยางกูร ธรรมอัน และดานิเอล แปล ในยุคที่ถูกขนานนาม “หลังความจริง” (Post-Truth) การมาของโดนัล ทรัมป์ น่าจะเป็นสัญญาณที่ยืนยันว่าเราอยู่ในยุคนี้จริงๆ อย่างไรก็ดี หนึ่งปีภายหลังจากการขึ้นมาสู่อำนาจของเขา การเลือกตั้งระดับรัฐและท้
Nisit Review
ภาพวาดท่านรพินทรนาถ ฐากูร ระบายด้วยสีธรรมชาติ เพื่อประกอบหนังสือ ชาตินิยม ฝีมือของ สุวัลญา ศักดิ์สมบัติ นักศึกษาจิตรกรรม แห่งศานตินิเกตัน ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย ผู้แปลหนังสือ "ชาตินิยม" (Nationalism) ของรพินทรนาถ ฐากูร จะพาไปสำรวจความคิดว่าด้วยช
Nisit Review
The No-Nonsense Guide to Conflict and PeaceEdited by Helen WareNew InternationalistPublished October 1, 2006144 pages  หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อช่วยทำความเข้าใจเ
Nisit Review
ไฟที่ยังลุกลามโหมกระหน่ำปลายด้ามขวานประเทศไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปีที่ผ่านมา ตอกย้ำถึงความรุนแรงที่ยังปะทุร้อยเท่าพันทวีในทุกๆ ปี ความสูญเสีย รอยเลือด และหยาดน้ำตาที่เกิดขึ้น กลายเป็นโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่บนแผ่นดินไทย เกิดเป็นคำถามที่คั่งค้างในใจว่าคนในพื้นที่จะอยู่กันเช่นไร แล้วเหตุใดจึงไม่ย้า
Nisit Review
Blade Runner 2049 (2017)อะไรคือความเป็นมนุษย์? เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังภาคต่อที่น่าจับตามองที่สุดแห่งปี หลังจาก Blade Runner ภาคแรกที่ออกมาในปี 1982 ได้สร้างตำนานหนัง Sci-Fi ผสม Film Noir ก่อให้เกิดแนวทางที่เรียกว่า Cyberpunk อันเป็นเอกลักษณ์จนได้รับการกล่า
Nisit Review
No Enemies, No Hatred: Selected Essays and PoemsBy Liu XiaoboEdited by Perry Link, Tienchi Martin-Liao, Liu XiaForeword by Vaclav HavelHarvard University Press
Nisit Review
จากกรณีปัญหาสภานิสิตมีมติระงับการดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวแทนนิสิต (CU Coronet) เนื่องจากมีกระบวนการคัดเลือกไม่โปร่งใส (รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ประกาศสภานิสิต) มติดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาพิพาทระหว่างฝ่ายกิจการนิสิตแล
Nisit Review
เรื่อง: ณฐ อัฐวุฒิกุล และธีรภัทร อรุณรัตน์ ในวงการวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของไทยมีเพียงไม่กี่คนที่มีวัยวุฒิที่มาพร้อมกับประสบการณ์อันโดดเด่น แน่นอนว่าหลาย ๆ คนไม่ได้อยู่ดูพัฒนาการในสังคมไทยต่อ บางคนที่ยังอยู่ถ้าไม่ป่วยไข้เอาการ ก็ป่วยการเมืองไม่กล้าจะพูดอะไรตร