Skip to main content

 

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

 

 

"ประกาศคณะราษฎร" ในตอนที่กล่าวว่า "มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่าราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน"

เรามักจะพบ "ข้อโต้แย้ง" ข้อความในประกาศคณะราษฎรในท่อนความดังกล่าวทำนองว่า "ถ้าเจ้ากีดกันสามัญชนในการเข้าถึงการศึกษาแล้ว จะมีคนจบนอก อย่างปรีดี พนมยงค์ พจน์ พหลโยธิน ฯลฯ ได้อย่างไร?"

ในชั้นต้นเราอาจพิเคราะห์ได้ว่า ผู้เป็นเสี้ยนหนามทางความคิดความรับรู้ เช่น บรรดากบฎผู้มีบุญในสมัย ร.๕ (กบฎผู้มีบุญ คือ ผู้ที่มีชาวบ้านยกย่องนับถือตามท้องถิ่นต่างๆ จนรัฐบาลกษัตริย์เกรงว่าจะกระทบต่อพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ จึงต้องปราบปราม เช่น ครูบาศรีวิชัย เป็นต้น) ทั้งปรากฏในข้อโจมตีของรัชกาลที่ ๕ ว่า ประชาชนเป็นพวกไม่รู้จักคิด ("แต่ก่อนมาพระบรมราโชบายอันใดที่จะทำไปไม่ใคร่จะได้แสดงให้ราษฎรทราบเพราะเหตุว่าถึงทราบก็ปราศจากความคิด หรือกลับคิดเห็นการให้ผิดไปโดยมิได้แกล้ง") ฉะนั้น เพื่อ "ผนึกความรู้เข้าสู่ส่วนกลาง" จึงต้องให้การศึกษาแก่คนพวกนี้

 
ถ้าเราสำรวจพระราชดำรัส และแบบเรียนในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะพบข้อน่าสนใจดังนี้

๑.รัฐบาลกษัตริย์ชักจูงคนให้มาสนใจ "แบบเรียนที่รัฐกำหนดเนื้อหา (อุดมการณ์แห่งสยาม)" ด้วยแรงจูงใจบางประการ (คือ ถ้าไม่เรียนก็จะไม่ได้ "รับราชการ") :
"นักเรียนทั้งปวง...เราจะขอกล่าวซ้ำอีกว่าต่อไปภายหน้า คนที่ไม่รู้หนังสือแล้วจะไม่ได้รับราชการเป็นแน่แท้" (พระราชดำรัสพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ พ.ศ.๒๔๒๙)

๒.เมื่อมีกระทรวงธรรมการแล้วก็ทำ "แบบเรียน" ปลูกฝังอุดมการณ์จงรักภักดีต่อกษัตริย์และชาติผ่าน "การศึกษา" :
"อย่าลืมว่าเราเป็นคนรักชาติของเราและรักพระเจ้าอยู่หัวของเรามากกว่าตัวของเราเอง" (แบบเรียนธรรมจรรยา เล่ม ๒, ๒๔๖๖)

๓.แม้ประชาชนจะมีการศึกษาแต่ความเจริญทั้งปวงต้องขึ้นต่อการนำของกษัตริย์ (ต้องรู้จักสำเหนียกตน "ข้าเจ้า") เพื่อความเป็นอิศรภาพจากต่างชาติ ดำรงความเป็นเอกราช (ราชา+คนเดียว) :
"ท่านทั้งหลายผู้เป็นประชาชนของเรา บัดนี้ควรที่เราทั้งหลายจะปณิธานอันดีและรักษาไว้ด้วย เราตั้งใจอธิษฐานว่าเราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างดีที่สุดที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่งซึ่งมีอิศรภาพและความเจริญ และส่วนท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้น จะเป็นผู้มีความตรงและความจริงต่อพระเจ้าแผ่นดินของตน และช่วยกันกระทำการทุกสิ่งซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงทำให้เป็นการดีแก่ท่านทั้งหลายด้วย"

จะเห็นได้ว่า การให้ "การศึกษา" นั้นเป็นทั้งการเข้าครอบงำสติปัญญา และ (ภายใต้การครอบงำนั้น - ความรู้เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่มีพลังและบงการความคิดของคนได้) ให้ประชาชนที่อยู่ภายใต้การครอบงำนั้น "เชื่อฟังกษัตริย์-รับใช้เจ้า" เช่นนี้จะกล่าวว่า พวกเจ้าให้ประชาชนได้เรียนอย่างเต็มที่ ก็คงไม่ได้ เพราะการเรียนนั้นต้องอยู่บนฐานที่ว่า เรียนมาเพื่อรับใช้พวกเจ้า และทำตามคำสั่งของกษัตริย์เท่านั้น (กษัตริย์เป็นผู้นำชาติ และชาติจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อถูกนำโดยกษัตริย์) เขาปลูกฝังสำนึกกันแบบนี้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงพิจารณาได้ว่า ประกาศคณะราษฎร กล่าวไม่ผิดแต่อย่างใด.


________________________


เชิงอรรถ

อ่าน ประกาศคณะราษฎร ใน "เว็บไซต์นิติราษฎร์" : http://www.enlightened-jurists.com/directory/84/Statement-of-Thai-Revolutionary.html

ประยุทธ์ สิทธิพันธ์, "มหาราชกวี", กรุงเทพ : เสียงไทย, ๒๕๑๐, หน้า ๔๗๑.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสตอบในการพระราชทานรางวัลนักเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใน "พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๗ ถึง พ.ศ.๒๔๕๓)", พระนคร, กรมศิลปากร, ๒๔๕๘. หน้า ๓๘.

หนังสือแบบเรียนธรรมจรรยา เล่ม ๒ พ.ศ.๒๔๖๖ ใน "วิทยาจารย์" เล่ม ๒, หน้า ๑๖๕.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, อ้างแล้ว, หน้า ๒๙-๓๐.

 

 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง