Skip to main content

คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ท่านที่เคยเห็นแบบฟอร์มเวลาขึ้นศาลจะพบว่ามีคำว่า "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ลงท้ายเอกสาร คงเกิดคำถามในใจว่ามันคืออะไร? เขียนทำไม? เรามาพิจารณาคนที่ทำงานในสายวิชาชีพผู้พิพากษา พวกเขามีทรรศนะต่อแบบฟอร์มนี้อย่างไร? นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แห่งสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในทุก ๆ ภาคสองของหลักสูตรการศึกษา ช่วงสัปดาห์ที่ ๕-๖ ของทุกปี นายอุดม เฟื่องฟุ้ง จะบรรยายเกี่ยวกับการตรวจคำคู่ความที่ยื่นต่อศาล (มาตรา ๑๘ ป.วิ.พ.)

นายอุดมฯ อดีตรองประธานศาลฎีกา และอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙) มีทรรศนะเกี่ยวกับอำนาจตุลาการว่า อำนาจตุลาการเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ (อำนาจอื่น ๆ ของรัฐเปลี่ยนทั้งหมด "แต่การใช้อำนาจตุลาการยังคงกระทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" ดู หน้า ๑๕๔)

ตามทรรศนะของนายอุดมฯ นั้น การแสดงความเคารพผ่านศาลจึงเป็นภาพเสมือนการแสดงความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ ("ไม่ใช่ว่าเป็นการเคารพผู้พิพากษา" ดู หน้า ๑๕๔)

"มีปัญหาในทางปฏิบัติเกิดขึ้นอย่างหนึ่ง บางเรื่องกฎหมายไม่ได้บังคับให้คู่ความต้องทำ เช่น ไม่ว่าคำร้อง คำขอต่าง ๆ จะลงท้ายด้วยควรมิควรแล้วแต่จะโปรด และลงชื่อ เคยมีทนายความถามว่าตามกฎหมายต้องทำหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่มีกฎหมายบังคับต้องทำ และก็ชี้แจงว่าตั้งแต่เดิมอำนาจในการพิจารณาคดีเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ อำนาจของข้าราชการส่วนต่าง ๆ ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปโดยให้ข้าราชการทำหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด แต่การใช้อำนาจตุลาการยังคงกระทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ธรรมเนียมก็สืบเนื่องว่าอะไรที่ยื่นต่อศาลซึ่งทำในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์เหมือนกับที่กราบบังคมทูลต่อองค์พระมหากษัตริย์และการใช้ถ้อยคำดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการแสดงความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ว่าเป็นการเคารพผู้พิพากษา

การเคารพในสิ่งที่ควรเคารพนั้นเป็นมงคลของผู้กระทำการเคารพนั้นเอง แต่ถ้าเขาไม่ทำศาลจะนำเหตุนั้นมาเป็นข้ออ้างไม่รับคำคู่ความของเขาไม่ได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจกรณีที่คู่ความไม่ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติ" - อุดม เฟื่องฟุ้ง.

ดู อุดม เฟื่องฟุ้ง, "คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๑ ตอน ๑." พิมพ์ครั้งที่ ๖. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๒. หน้า ๑๕๓-๑๕๔.  <<ดาวน์โหลดไฟล์ pdf :  http://www.mediafire.com/?47a48vxv7i7x427 >>

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า คำบรรยายเช่นนี้ของนายอุดม เฟื่องฟุ้ง นั้นเป็นการแสดงทรรศนะที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" จะเห็นได้ว่า อำนาจตุลาการเป็นหน่วยหนึ่งของอำนาจอธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เราย่อมประจักษ์แจ้งว่า อำนาจตุลาการย่อมเป็นของปวงชนชาวไทย นั่นเอง เช่นเดียวกับอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ เพียงแต่กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งผู้พิพากษาขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยมากที่สุดในบรรดาองค์กรของรัฐทุกองค์กร ท่านอาจารย์อุดม เฟื่องฟุ้ง จึงรู้สึกไปว่า "อำนาจตุลาการเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์" ซึ่งเป็นการบรรยายโดยขัดตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง และสะท้อนว่าท่านขาดมโนสำนึกในทางประชาธิปไตย

ท่านผู้พิพากษาทั้งหลายใช้อำนาจของปวงชน ซึ่งเป็นผู้ทรงอำนาจอธิปไตย (อำนาจอธิปไตยมีผู้ทรงได้เพียงหน่วยเดียวเท่านั้น) การบรรยายเช่นนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผ่านสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สู่นักศึกษาซึ่งจะเข้าสู่วิชาชีพผู้พิพากษา อัยการ ในภายหน้า นับเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งของตุลาการ-ผู้พิพากษาไทย และถือกันว่าเป็น "เรื่องถูกต้อง" ตามโลกทัศน์แคบๆ ของนักกฎหมายไทยจำนวนไม่น้อยในลัทธิเชื่อตามครูบาอาจารย์.

....................................................................

ในท้ายนี้ ผมขอนำคำบรรยายที่ผมเคยโพสต์บรรยายประกอบเกี่ยวกับภาพ "หอยเกาะหลัก" และเทียบเคียง ความสัมพันธ์ของศาลไทยกับมูลนายในอดีต เป็นการส่งท้ายบทความนำเสนอชิ้นนี้

 (ภาพจาก wikipedia)

โครงสร้างสังคมไทยตาม "โบราณราชประเพณี"  : ทาส จะเบ่งได้ก็ต้องเกาะบารมีของนายเงิน/มูลนายที่มีอำนาจมาก ทาสก็จะข่มไพร่ได้, มูลนายจะมีอำนาจเกียรติยศมาก จะเบ่งได้ก็ต้องเกาะ "มูลนายที่มีอำนาจสูงสุด"(บางยุคก็คือ กษัตริย์ บางยุคก็คือ ขุนนางผู้ใหญ่) ในกฎหมายตราสามดวง มูลนายบางส่วน ก็คือ ผู้พิพากษานั่นเอง

"จ่าศาล" เบ่งใส่คู่ความได้ ตะคอกบ้างอะไรบ้าง ก็เพราะคิดว่าตัวเองอาศัยเกาะตีนศาล, ผู้พิพากษาเบ่งได้ก็เพราะทำตัวเป็น "หอย" ที่เกาะหลักแน่นแข็งขันจะแงะก็แงะยากมันไม่ยอมอิสระจาก"หลัก" หอยมันจะเกาะหลักไปจนกว่า "หลักจะล้ม" - ระหว่างนี้ พวกหอยมันมัวแย่งกันเกาะ "หลัก" จนดูน่าทุเรศทุรังเหลือเกิน

นับวัน หลักมันก็ยิ่งทรุด ถ้าจะพัง พวกหอยมันก็ขอกระเจิงพังไปพร้อมกัน ถึงเวลานั้นค่อยตัวใครตัวมัน แต่ระหว่างนี้ พวกมันขอเกาะกินกับหลักเสาต้นนี้ไปก่อน อย่างอิ่มหมีพีมัน.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง