Skip to main content

จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

เมื่อคณะเจ้า"ขัดขวาง"การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับเจ้าเพื่อยกเลิกตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ(แต่ฝ่ายเจ้าไม่ยอมเซ็นต์)
คณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเจ้า (ฉบับปี ๒๔๙๒)
และสั่ง "ปลด" ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่มีพฤติการณ์เป็นเสี้ยนหนามในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
โดยนำเอารัฐธรรมนูญของคณะราษฎรกลับเอามาใช้อีกครั้งโดยการแก้ไขเพิ่มเติมปี ๒๔๙๕
ระหว่างนั้นในหลวงไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร
คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงประกาศใช้อำนาจโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านกษัตริย์ไปในครานั้น

การรัฐประหาร คือ การกระทำต่อตัวบทรัฐธรรมนูญหรือรากฐานของรัฐให้เปลี่ยนแปลงไปโดยวิถีทางที่ผิดกฎหมาย อันเป็นการแย่งชิงอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจรัฐ ไปเป็นของ "ฝ่ายเดียวกับผู้ก่อการรัฐประหาร" เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการกระทำรัฐประหาร ฉะนั้น การรัฐประหารสำเร็จแล้วอำนาจไปอยู่ที่ใคร ผู้นั้นเองเป็น "ฝ่ายเดียวกับคณะรัฐประหาร" จะโดยชัดแจ้ง (สั่งการ) หรือโดยปริยาย (ยินยอมโดยการนิ่ง) เป็นต้น และใครสูญสิ้นอำนาจไปจากระบบการเมืองภายหลังรัฐประหาร องค์กรนั้นแหละที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายรัฐประหาร

ดังกล่าวข้างต้นเป็นการคิดในลำดับเหตุผลสามัญและสอดรับในทางหลักวิชา แต่ก็น่ากังขาในคำอธิบายของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในตำรา "กฎหมายมหาชน เล่ม ๒" ว่า ทุกครั้งเมื่อรัฐประหารสำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยย่อมย้อนกลับไปเป็นของ "กษัตริย์"[๑] เป็นไม่น้อย และเป็นคำอธิบายที่ชอบกลอย่างยิ่งต่อบทบาท "คนรับใช้บริการเขียนตำราของฝ่ายอนุรักษ์นิยม"

อย่างไรก็ตาม เราก็พบว่ามีรัฐประหารอยู่ครั้งหนึ่งในปี ๒๔๙๔ ที่อำนาจอธิปไตยไม่ได้ไหลย้อนกลับไปที่กษัตริย์ เป็นแน่แท้ ในคราวที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งปลด "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (กลางอากาศ) แล้วตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นเป็นผู้ใช้ "อำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน" แทน ตามคำบอกเล่าของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ทรงเล่าว่า

"วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ เวลาค่ำรัฐมนตรีบางคนมาหา ขอให้ลงชื่อล้มรัฐธรรมนูญที่กำลังใช้อยู่ ถามเหตุก็บอกรวม ๆ ว่ามันใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีทางปราบปรามคอมมิวนิสต์ได้พอเพียง ได้ชี้แจงว่าเหตุมันไม่น่าจะอยู่ที่รัฐธรรมนูญกระมังและถึงอย่างไร ๆ ก็ขอให้ระลึกว่า อีก ๓ วันเท่านั้น พระเจ้าอยู่หัวก็จะเสด็จกลับถึงพระนคร ไม่ควรจะด่วนทำอะไรลงไป ไว้ถวายให้ท่านทรงพระราชวิจารณ์จะดีกว่า ทางรัฐบาลไม่ยอม แม้ตอนดึกนายกรัฐมนตรีจะได้มาเองก็ไม่ยอมรออยู่ดี พอก็ไม่ยอมลงชื่อ ครั้นวันรุ่งขึ้นมีประกาศทางราชการว่า คณะรัฐมนตรีชั่วคราวถืออำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว ก็สิ้นพูดกัน"[๒]

 กล่าวได้ว่า ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๙๔ เป็นช่วงระยะเวลาที่ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" ทำหน้าที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แทนในหลวง หรือกล่าวโดยตำแหน่งที่ปลดผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ในหลวงทรงตั้งทิ้งไปเสีย (กลางอากาศ) ระหว่างนั้น "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" เป็นผู้ทรงและใช้อำนาจอธิปไตยโดยแท้จริง โดยอำนาจรัฐประหาร แต่จอมพล ป. ยังเลือกที่จะให้มีกษัตริย์อยู่ต่อไป เมื่อทรงนิวัติกลับพระนคร ในหลวงจึงรับมอบอำนาจจาก "นายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ไปดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป และจอมพล ป. ก็กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดั่งเดิม เดินหน้าดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไปจนสำเร็จ." (เหตุการณ์นี้เป็นความพยายามของรัฐบาลจอมพล ป. ในการนำเอารัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ กลับมาใช้อีกครั้งโดยแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้ในปี ๒๔๙๕)
______________________________
[๑] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, "กฎหมายมหาชน เล่ม ๒ : การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย" พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐, หน้า ๒๔๔.
[๒] พิทยลาภพฤติยากร, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น, "อัตตชีวประวัติ" (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๗) หน้า ๑๔๖.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ