Skip to main content

 

ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภา

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล


     เนื่องจากเหตุการณ์วานนี้ (๒๐ ส.ค.๒๕๕๖) พรรคประชาธิปัตย์โจมตีเรื่อง "ประธานรัฐสภาไม่เป็นกลาง" แล้วอ้างเป็นเหตุป่วนสภาโวยวาย โหยหวน และจะบุกเข้าถึงตัวประธานนั้น

     เราต้องเข้าใจก่อนนะว่า "ประธานสภา" ไม่มีอำนาจชี้ขาดผลของการอภิปราย เพราะคนที่ทรงอำนาจชี้ขาดผลของการอภิปรายก็คือ "สมาชิกของสภาทั้งสภา" นั่นเอง ประธานสภาเพียงแต่ทำหน้าที่รักษากรอบการประชุมให้เป็นไปตามลำดับ และทำหน้าที่เป็น "คู่รับฟัง" คำอภิปรายของผู้อภิปราย (สมาชิกสภาจะพูดกับประธานสภาเท่านั้น เพื่อไม่ให้การอภิปรายเป็นการโต้เถียงกันไปมาแบบลำตัด)

     การฝักใฝ่ทางการเมืองข้างใดข้างหนึ่งของประธาน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการลงมติของสภาใดๆทั้งสิ้น สมาชิกสภาแต่ละคนยังล้วนทรงสิทธิและมีอิสระในการแสดงเจตจำนงโหวตในทางใดทางหนึ่งอยู่ทุกขณะเวลา

     ซึ่งต่างจากกรณี "ผู้พิพากษา" ในห้องพิจารณาคดี จะเป็นองค์กรที่มีอำนาจชี้ขาดผลของคดี นะ อันนี้ถ้าไม่เป็นกลาง ต้องไล่ลงจากบัลลังก์ (ตามระบบคัดค้านผู้พิพากษา ถึงสภาพไม่เป็นกลางทั้งภายในและภายนอก)

     ความฝักใฝ่พรรคการเมืองของประธาน ไม่กระทบต่อ "ผลของมติ" ที่พิจารณาในสภาเลยครับ และโดยสภาพ ประธานสภาก็มาจากสมาชิกสภาเลือกกันมาคนหนึ่งให้เป็นประธาน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งนั่นเอง จึงฝักใฝ่การเมืองกันทั้งสภา แต่ละคนสังกัดพรรคการเมืองทั้งนั้น ระบบมันคือแบบนี้

     เวลาโหวตลงมติประธานสภาก็จะมีเพียง ๑ เสียงเท่า ๆ กับสมาชิกในสภาทุกท่านนั่นเอง แต่โดยธรรมเนียมประธานจะงดออกเสียง แต่ถ้าสมมติเกิดกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานก็จะลงคะแนนเสียงชี้ขาด

     เรื่องที่อ้างมาเพื่อป่วนสภานั้น พยายามทำราวกับว่า "ประธานสภา" คือ "ผู้พิพากษามติของที่ประชุมสภาทั้งสภา" เสียกระนั้นเลย อันนี้จะเลยเถิดไปใหญ่ เขาทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้พวกท่านพูดจาแทรกสอดกัน ไม่ให้พวกท่านคุยกันเอง เขามีหน้าที่จัดการประชุมให้ดำเนินไปตามคิวเท่านั้น แต่พรรคประชาธิปัตย์จะมาโวยวาย อย่างนี้คือ "ปฏิปักษ์ต่อระบบรัฐสภา" นะ คือ ไม่ปรารถนาจะทำงานในระบบรัฐสภา.

000


     บางท่านถามว่า ตอนที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไปดึงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ฉุดกระชากให้ออกจากที่นั่ง และขโมยค้อนที่ใช้เคาะของประธานสภา แบบนี้ผลจะเป็นอย่างไร - ผมจำได้ว่าข้อบังคับการประชุมสภาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะมีข้อบังคับอยู่ว่า ถ้าประธานสภาฯ ยืนขึ้น สมาชิกสภาฯต้องหยุดพูดและนั่งลงทันที มาดูข้อบังคับการประชุมสภาฯ ในปัจจุบันก็พบว่า ข้อบังคับข้อนี้ยังมีอยู่

"ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้ที่กำลังพูด หยุดพูดและนั่งลงทันที" ข้อ ๖๙ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑


     ฉะนั้น เมื่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไปกระชากประธานสภาฯ ออกจากที่นั่ง และเมื่อประธานสภาฯอยู่ในท่ายืน สมาชิกสภาทุกคน ก็จะต้องรีบกลับไปที่นั่ง และต้องเงียบ นี่คือผลของ การไม่มีเก้าอี้นั่งของประธานสภา

     และประธานสภา มีอำนาจไล่สมาชิกบางคนที่ก่อกวนการประชุมให้ออกจากห้องประชุมในขณะนั้นได้ แต่ถ้าไม่เชื่อฟังคำสั่งประธานอีกก็ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจของสภานำตัวออกไปออกนอกบริเวณที่ประชุมและคำสั่งประธานสภานี้ผู้ใดจะโต้แย้งไม่ได้ (ข้อ ๑๗๔) แล้วดำเนินการประชุมต่อไป นี่คือแซงชั่นของการฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุม

     โดยระบบมันเป็นแบบนี้ เหตุการณ์วุ่นวายถึงขนาดจะบุกทำร้ายประธานไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสภาพ

     แต่ทีนี้ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคารพข้อบังคับการประชุมเลย เมื่อประธานเคาะค้อนให้นั่งก็ยังแหกปากอยู่ร่ำไป และเมื่อประธานสภายืน ก็ยังแหกปากอยู่ไม่หยุด เช่นนี้ โดยสภาพแล้วสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจเข้าร่วมการประชุมสภาได้เพราะไม่เคารพข้อบังคับ

     เมื่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทำร้ายร่างกายตำรวจสภาซึ่งกำลังปกป้องประธานสภาจากการสร้างความปั่นป่วนของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ย่อมมีความผิดอาญา ฐานทำร้ายเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน รัฐเป็นผู้เสียหาย เป็นความผิดซึ่งหน้า จับกุมได้ทันที ความผิดเหล่านี้โทษหนักอยู่ แต่ไม่ถึงเป็นกบฏ

000

     วานนี้นอกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะโวยวายและชกตำรวจสภาแล้ว ยังมีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางรายส่งเสียงโหยหวนในห้องประชุม เพื่อส่งเสริมความวุ่นวายให้ทวียิ่งขึ้นในห้องประชุมร่วมกับสมาชิกพรรคเดียวกันที่กำลังโวยวายอยู่ ในเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ปรารถนาที่จะดำเนินการประชุมสภา มุ่งปั่นป่วนการดำรงอยู่ของที่ประชุมสภาเป็นเนืองนิจ หากยับยั้งชั่งใจสติสัมปชัญญะของตนไม่ได้ ก็พักงานหรือลาออกไปเป็น "กุ๊ย" ที่บ้านเถอะครับ และในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ทำตัวเป็น "กุ๊ย" ได้สมบทบาท "กุ๊ย" ตามพจนานุกรม (ฉบับ ๒๔๙๓ และ ๒๕๒๕) นิยามว่า "คนเลว, คนโซ" หรือจะหมายถึง "ผี" ก็ได้

     พูดถึง "ผี" ตามคติไตรภูมิพระร่วง มี "ผีชนิดหนึ่ง" น่าจะตรงกับ "กุ๊ย" ตามพจนานุกรมมากที่สุด ก็คือ "ผีเปรต" จัดเป็นสิ่งมีชีวิตในอบายภูมิ จะร้องโหยหวนเมื่อไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้/ไม่ได้ดั่งใจปรารถนา ทรมาน ร่างโซ กินเลือดหนองเป็นอาจิณ

     ตามธรรมดา การชกกันในการกีฬา ไม่ถือเป็นเรื่องเลวร้าย ถ้าชกกันตามกติกาและบนเวทีมวย

     แต่ "การชก" เพื่อวัตถุประสงค์ปั่นป่วนผู้อื่น หรือในกรณีนี้คือเพื่อให้สภาอยู่ในสภาวะที่ไม่อาจประชุมต่อไปได้ มุ่งหมายให้ภารกิจของรัฐไม่อาจเป็นไปโดยบรรลุผลแล้ว เช่นนี้ ถือได้ว่า "ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง" เป็นการเข้าประชุมในเชิงบ่อนทำลายให้การประชุมไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ต้องตามนิยาม "กุ๊ย" ในสถานหนึ่ง

    การกรีดร้องโหยหวนของ "สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์" ในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกิริยาคล้ายผีเปรตอย่างน่าอัศจรรย์ ต้องตามนิยาม "กุ๊ย" ในอีกสถานหนึ่ง

     ณ วันนี้ กล่าวได้ว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สวมบทบาท "กุ๊ย" ได้ครบถ้วนทั้งสองสถานแล้วครับ เมื่อถึงคราวไปเกิดใหม่ (พ้นสมาชิกภาพเมื่อใด) ก็ขออย่าได้ผุดได้เกิด (ได้รับการเลือกตั้ง) อีกเลยนะครับ.


_________________________

เชิงอรรถ

หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์, เผยแพร่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ใน http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05qazROemMzTmc9PQ%3D%3D&subcatid

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๙ง, ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/079/9.PDF

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"