Skip to main content

เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

คงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า คำพิพากษาศาลทหารคดีอาชญากรสงครามที่ ๑/๒๔๘๙ ได้พิพากษาว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๘ ที่รัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ตราขึ้นกำหนดโทษทางอาญาเพื่อลงโทษบุคคลในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้นเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการตรากฎหมายเพื่อบังคับใช้ย้อนหลังลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เป็นอันขัดรัฐธรรมนูญฯ (๒๔๗๕) เป็นเหตุให้ไม่อาจส่งตัวบุคคลในรัฐบาลจอมพล ป. ไปดำเนินคดีในศาลที่ต่างประเทศได้อีกเพราะจะเป็นฟ้องซ้ำนั้น

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เคยสัมภาษณ์หม่อมราชวงศ์เสนีย์เมื่อปี ๒๕๒๐ เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือวารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์ ปี ๒๕๒๐… ก็ถามท่านเกี่ยวกับคดีนี้ว่า ท่านอาจารย์จบเนติบัณฑิตอังกฤษเกียรตินิยมเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยจนกระทั่งเขากำหนดให้มีเสนีย์เดย์ในเนติบัณฑิตอังกฤษท่านอาจารย์จะไม่รู้เชียวหรือว่า กฎหมายที่ท่านเสนอขัดรัฐธรรมนูญ ท่านหัวเราะ อาจารย์ถามว่าเตี๊ยมไว้กับหลวงจำรูญเนติศาสตร์ ซึ่งเป็นคนตัดสินคดีนี้หรือเปล่า ท่านบอกไม่ได้เตี๊ยมศาลก็เป็นศาลไปเตี๊ยมท่านได้อย่างไร ผมก็ถามท่านว่าท่านรู้แล้วว่ามันขัดรัฐธรรมนูญใช่ไหมครับแต่ท่านก็ยังเสนอเพื่อที่จะไม่ต้องส่งจอมพล ป.ไปยังศาลอาชญากรสงคราม ซึ่งถ้าท่านจอมพล ป. ถูกไปตัดสินในศาลอาชญากรสงครามในเมืองไทยอยู่ในฐานะลำบากกลายเป็นประเทศแพ้สงครามขึ้นมาทันที ท่านก็หัวเราะไม่ตอบ การที่ผู้ใหญ่ถ่อมตัวหัวเราะแล้วไม่ตอบ ก็ทำให้อาจารย์สรุปว่า ท่านรู้ทั้งรู้ว่ากฎหมายจะขัดรัฐธรรมนูญ (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียน)

ผมจึงค้นหาดูเบื้องต้นว่า เสนีย์ ปราโมช มีความเห็นว่า พ.ร.บ.อาชญากรสงคราม ที่ออกกฎหมายย้อนหลังเพื่อลงโทษจำเลยนั้น ขัดรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ เราอาจพิจารณาเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่ออ่านความเห็นของเสนีย์ ปราโมช ในคราวร่างรัฐธรรมนูญฯ (๒๔๘๙) ที่จะบัญญัติหลักการห้ามตรากฎหมายย้อนหลัง บทบัญญัติหมวดนิติบัญญัติมีการถกเถียงกันมาก โดยมีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งคือ “การห้ามออกกฎหมายย้อนหลัง ซึ่งเป็นเป็นผลจากการแปรญัตติของนายทองเปลว ชลภูมิ กรรมาธิการนำมายกร่างเป็นมาตรา ๑๗ ทวิ ในมาตรานี้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กรรมาธิการไม่เห็นด้วย และขอให้บันทึกว่า สภานิติบัญญัติทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย ถ้าหากสภานิติบัญญัติเห็นสมควรออกกฎหมายย้อนหลังเพื่อเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุผลอื่นใดย่อมกระทำได้ จึงไม่ควรมีมาตรานี้จำกัดอำนาจนิติบัญญัติ” และหากไม่บัญญัติห้ามไว้ ตามนัยของเสนีย์ ก็คือ การตรากฎหมายย้อนหลังเพื่อลงโทษบุคคลต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั่นเอง

กล่าวได้ว่า ความเข้าใจของ เสนีย์ ปราโมช มองว่า สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจสูงสุดในแดนนิติบัญญัติ ดังนั้นจะตรากฎหมายย้อนหลังก็ต้องกระทำได้ การกล่าวนี้เป็นการยืนกรานความเห็นของตนในคดีอาชญากรสงครามว่า สภามีอำนาจที่จะทำเช่นนั้น อีกทั้งเสนีย์ก็พยายามต่อสู้ประเด็นนี้มิให้ตราบทบัญญัติห้ามการตรากฎหมายย้อนหลังขึ้นในรัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙

เราจะเห็นได้ว่าเมื่อบวรศักดิ์ ชื่นชมเสนีย์ว่า “ท่านรู้อยู่แล้วว่ามันขัดรัฐธรรมนูญใช่ไหมครับแต่ท่านก็ยังเสนอเพื่อที่จะไม่ต้องส่งจอมพล ป.ไปยังศาลอาชญากรสงคราม” แล้วเสนีย์ ปราโมช “หัวเราะแล้วไม่ตอบ” นั้น คงจะไม่มีความนัยอื่น (อย่างที่บวรศักดิ์เข้าใจผิด) หากแต่การหัวเราะตอบนั้น มีความหมายโดยตรงก็คือ ขำในสิ่งที่บวรศักดิ์กล่าวเรื่อยเปื่อย เท่านั้นเอง.

_________________________

เชิงอรรถ

 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ (การบรรยายครั้งที่ ๖ วันศุกร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ใน รวมคำบรรยาย เล่ม ๘ ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๓, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,  หน้า ๑๐๕-๑๐๖.

 บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ, ชีวประวัติธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๕๐, หน้า ๒๓.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"